แมงกานีสเป็นแร่ธาตุรอง ที่ร่างกายต้องการในปริมาณน้อย
แมงกานีสทำให้สมอง และระบบประสาททำงานได้อย่างเป็นปกติ รวมไปถึงระบบเอนไซม์ของร่างกายด้วย
ในขณะที่แมงกานีสประมาณ 20 มิลลิกรัมถูกกักเก็บในไต ตับ ตับอ่อน และกระดูก คุณก็ยังจำเป็นต้องได้รับแมงกานีสจากอาหาร
แมงกานีสเป็นสารอาหารที่สำคัญที่ถูกพบมากในเมล็ดพืช และธัญพืช แมงกานีสถูกพบเล็กน้อยใน ถั่ว ผักใบเขียว และชา
1. อาจช่วยให้สุขภาพกระดูกดีขึ้นเมื่อรวมกับสารอาหารอื่น
แมงกานีสสำคัญต่อสุขภาพของกระดูก รวมไปถึงการพัฒนา และการคงสภาพของกระดูก เมื่อรวมกับแคลเซียม ซิงค์ และทองแดง แมงกานีสช่วยเสริมสร้างมวลกระดูก ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากในผู้ใหญ่2. มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระซึ่งอาจช่วยลดการเกิดโรคต่าง ๆ
แมงกานีสเป็นส่วนหนึ่งของสารต้านอนุมูลอิสระซุปเปอร์ออกไซด์ดิสมิวเทส (SOD) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญต่อร่างกาย สารต้านอนุมูลอิสระช่วยป้องกันเซลล์จากอนุมูลอิสระ ซึ่งทำลายเซลล์ในร่างกาย ทำให้เกิดการแก่ โรคหัวใจ และมะเร็งบางชนิด SOD ช่วยต่อสู้กับผลกระทบที่รุนแรงจากอนุมูลอิสระโดยการเปลี่ยนซุปเปอร์ออกไซด์เป็นโมเลกุลที่เล็กลงที่จะไม่ทำลายเซลล์ อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะอันตรายหรือไม่3. ช่วยลดการอักเสบ เมื่อรวมกับกลูโคซามีน และ Chondroitin
จากที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง แมงกานีสอาจช่วยลดการอักเสบ และความเจ็บปวดที่เกี่ยวข้องกับโรคที่เกิดจากการอักเสบได้ อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจ ลิ้นอักเสบ4. ควบคุมน้ำตาลในเลือด
แมงกานีสมีบทบาทในการควบคุมน้ำตาลในเลือด ในสัตว์บางชนิด การขาดแมงกานีสทำให้เกิดความไม่ทนทานต่อน้ำตาล ซึ่งคล้าย ๆ กับเบาหวาน อย่างรไก็ตาม การศึกษาในมนุษย์ยังไม่แน่ชัด แมงกานีสมีหน้าที่หลายอย่างที่จะช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด การมีแมงกานีสต่ำอาจทำให้เกิดผลเสียต่อการควบคุมน้ำตาลในเลือด5. ลดการเกิดโรคลมชัก
โรคหลอดเลือดสมองทำให้เกิดโรคลมชักในผู้ที่มีอายุมากกว่า 35 ปี ซึ่งเป็นผลจากการลดลงของการไหลเวียนเลือดในสมอง แมงกานีสช่วยให้หลอดเลือดขยายตัว ทำให้เลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื่อสมองได้ การมีแมงกานีสในร่างกายในปริมาณที่เหมาะสมอาจช่วยทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น และช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคอย่างเช่นโรคหลอดเลือดสมอง6. มีหน้าที่ช่วยเผาผลาญสารอาหาร
แมงกานีสช่วยกระตุ้นเอนไซม์หลายชนิดในกระบวนการเผาผลาญ ทั้งยังมีบทบาทในกระบวนการเคมีต่าง ๆ ในร่างกาย นอกจากนี้ ยังช่วยย่อยโปรตีน และกรดอะมิโนต่าง ๆ รวมไปถึงการเผาผลาญคอเลสเตอรอล และคาร์โบไฮเดรต แมงกานีสช่วยให้ร่างกายสามารถใช้ประโยชน์จากวิตามินต่าง ๆ เช่น โคลีน ไทอะมีน วิตามินซี และวิตามินอี และยังช่วยให้ตับทำงานปกติอีกด้วย7. อาจใช้ลดอาการก่อนประจำเดือนมาเมื่อใช้ร่วมกับแคลเซียม
ผู้หญิงหลายคนมีปัญหาเกี่ยวกับอาการก่อนประจำเดือนมา อาการเหล่านั้น เช่น วิตกกังวล ปวดท้องน้อย อารมณ์แปรปรวน หรือซึมเศร้า จากการศึกษาพบว่า การรับประทานแมงกานีส และแคลเซียมอาจช่วยทำให้อาการก่อนประจำเดือนมาดีขึ้นได้ อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจ ปวดประจำเดือน8. อาจช่วยปกป้องสมองจากสารอนุมูลอิสระ และทำให้สมองทำงานดีขึ้น
แมงกานีสเป็นแร่ธาตุที่สำคัญต่อการทำงานของสมองที่ดี และมักใช้รักษาโรคที่มีความผิดปกติทางระบบประสาทต่าง ๆ คุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระของแมงกานีสเป็นตัวช่วยที่ป้องกันไม่ให้อนุมูลอิสระทำลายเซลล์สมอง นอกจากนี้ แมงกานีสสามารถช่วยเชื่อมต่อสารสื่อประสาท และกระตุ้นการเคลื่อนที่ของไฟฟ้าในร่างกายของเราได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งอาจทำให้การทำงานของสมองดีขึ้น9. มีส่วนทำให้ไทรอยด์มีสุขภาพดีขึ้น
แมงกานีสเป็นสารประกอบสำคัญของเอนไซม์หลายชนิด ซึ่งหมายความว่าแมงกานีสช่วยให้เอนไซม์ทำงานอย่างเหมาะสม นอกจากนี้ แมงกานีสยังมีหน้าที่ในการสร้างฮอร์โมนไทรอกซีนที่เป็นฮอร์โมนสำคัญที่ทำให้ต่อมไทรอยด์ทำงานเป็นปกติ ซึ่งจะช่วยให้การรับรส การเผาผลาญ น้ำหนัก และการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ เป็นปกติ10. อาจช่วยรักษาแผลโดยการมีบทบาทในการสร้างคอลลาเจน
แร่ธาตุรอง เช่น แมงกานีสเป็นแร่ธาตุที่สำคัญในกระบวนการรักษาแผล การรักษาของแผลนั้นจำเป็นต้องใช้คอลลาเจนมาก แมงกานีสจำเป็นต่อการสร้างกรดอะมิโนโพรไลน์ ซึ่งจำเป็นต่อคอลลาเจน และการรักษษแผลในเซลล์ผิวหนังของมนุษย์ การศึกษาแสดงให้เห็นว่าการทาแมงกานีส แคลเซียม และซิงค์บนแผลเรื้อรังเป็นเวลา 12 สัปดาห์จะช่วยทำให้แผลดีขึ้นได้ แต่ผลการรักษานี้ยังจำเป็นต้องทำการทดลองต่อไปอาหารที่มีแมงกานีส
แมงกานีสเป็นแร่ธาตุที่จำเป็นที่มีบทบาทสำคัญในกระบวนการทางสรีรวิทยาต่างๆ รวมถึงการเผาผลาญ การสร้างกระดูก และการทำงานของสารต้านอนุมูลอิสระ การรวมอาหารที่อุดมไปด้วยแมงกานีสไว้ในอาหารของคุณสามารถช่วยให้คุณมั่นใจได้ว่าคุณจะบรรลุความต้องการในแต่ละวัน ต่อไปนี้คืออาหารที่เป็นแหล่งแมงกานีสที่ดี:-
ถั่ว:
-
-
- ถั่วไพน์
- พีแคน
- วอลนัท
- เมล็ดทานตะวัน
- เมล็ดฟักทอง
- ถั่ว
- ถั่วชิกพี
- ถั่วดำ
- ถั่วลิมา
-
-
ธัญพืช:
-
ผักใบเขียว:
-
-
- ผักโขม
- ผักคะน้า
- กระหล่ำปลี
- ชาร์ทสวิส
- ผักกาดเขียว
-
-
ชา:
-
-
- ชาดำและชาเขียวมีแมงกานีสในปริมาณปานกลาง
-
-
ผลไม้:
-
-
- สัปปะรด
- อะโวคาโด
- บลูเบอร์รี่
- ราสเบอรี่
- สตรอเบอร์รี่
-
-
อาหารทะเล:
-
-
- หอยแมลงภู่
- หอยกาบ
- กั้ง
- ปลาเทราท์
-
-
เครื่องเทศ:
-
เต้าหู้และเทมเป้:
-
- เต้าหู้และเทมเป้ซึ่งเป็นแหล่งโปรตีนจากพืชก็มีแมงกานีสเช่นกัน
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น