ขิงมีประโยชน์ต่อสุขภาพ (Benefits of Ginger)

ขิง (Ginger) เป็นพืชตระกูลไม้ดอก ที่มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขิงนั้นเป็นเครื่องเทศที่ดีต่อสุขภาพ ขิงจัดอยู่ตระกูล Zingiberaceae และเป็นพืชที่มีลักษณะใกล้ชิดกับขมิ้น กระวาน และข่า เหง้า หรือราก (ส่วนที่อยู่ใต้ดินของลำต้น) เป็นส่วนที่นิยมใช้เป็นเครื่องเทศ มักเรียกว่ารากขิงหรือเหง้าขิง ขิงสามารถใช้แบบสด แบบแห้ง แบบเป็นผง หรือแบบเป็นน้ำมัน เหง้าขิงเป็นส่วนผสมที่พบบ่อยในสูตรอาหาร บางครั้งก็ใช้เติมแต่งในอาหารแปรรูปและเครื่องสำอาง  รายการต่อไปนี้เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ 11 ประการของขิง ที่ได้รับการยืนยันจากงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์

1. ขิงประกอบด้วยสาร Gingerol ขิงสรรพคุณเป็นยาที่ดี

ขิงมีประวัติการใช้งานที่ยาวนานมากในรูปแบบต่างๆในแพทย์แผนโบราณและการแพทย์ทางเลือก มันถูกใช้เพื่อช่วยในการย่อยอาหาร ลดอาการคลื่นไส้ และช่วยต่อสู้กับไข้หวัดและโรคไข้หวัด  Gingerol เป็นสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพหลักในขิง ซึ่งทำให้ขิงมีคุณสมบัติทางยา Gingerol จากงานวิจัยพบว่า มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ และมีประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระ  ตัวอย่างเช่น อาจช่วยลดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น ซึ่งเป็นผลมาจากการมีอนุมูลอิสระในร่างกายมากเกินไป 

2.น้ำขิงรักษาอาการคลื่นไส้โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาการแพ้ท้อง

ขิงมีประสิทธิภาพสูงในการรักษาอาการคลื่นไส้ ขิงช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส้ อาเจียน ในผู้ที่ได้รับการผ่าตัดบางประเภท ขิงอาจช่วยลดอาการคลื่นไส้จากการให้ยาเคมีบำบัดด้วยเช่นกัน แต่จำเป็นต้องมีการศึกษาในมนุษย์มากขึ้น และมีแนวโน้มว่าช่วยรักษาอาการคลื่นไส้ได้ดี เมื่อใช้รักษาอาการคลื่นไส้ที่มีสาเหตุมาจากการตั้งครรภ์ เช่น อาการแพ้ท้อง แต่จากการศึกษาพบว่า ขิงไม่มีผลต่ออาการอาเจียน แม้ว่าขิงจะถือว่าปลอดภัย แต่ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานในปริมาณมาก หากคุณกำลังตั้งครรภ์ และข้อควรระวัง ขอแนะนำให้สตรีมีครรภ์ที่ใกล้เจ็บครรภ์คลอด หรือเคยแท้งบุตรหลีกเลี่ยงขิง

3. ขิงสรรพคุณช่วยลดน้ำหนัก 

การทบทวนผลงานวิจัยในปี 2019 เกี่ยวกับอาหารที่มีประโยชน์ ยังสรุปได้ว่า ขิงมีผลดีอย่างมากต่อโรคอ้วน และการลดน้ำหนักได้  หลักฐานที่สนับสนุนบทบาทของขิงในการช่วยป้องกันโรคอ้วนนั้น มีความน่าเชื่อถือมากโดยมีการศึกษาในสัตว์ทดลองหรือหนูทดลอง หนูที่กินน้ำขิงหรือสารสกัดจากขิงพบว่าน้ำหนักตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าพวกเขาจะได้รับอาหารที่มีไขมันสูงก็ตาม ความสามารถของขิงที่มีผลต่อการลดน้ำหนักโดยอาจมาจากกลไกบางอย่าง เช่นการที่ขิงมีศักยภาพที่ช่วยเพิ่มการเผาผลาญแคลอรี่ หรือลดการอักเสบ 

4. ช่วยลดอาการปวดจากโรคข้อเข่าเสื่อม

โรคข้อเข่าเสื่อม (Osteoarthritis (OA)) เป็นปัญหาสุขภาพที่พบบ่อย โรคนี้เกี่ยวข้องกับการเสื่อมของข้อต่อในร่างกายซึ่งนำไปสู่อาการต่างๆเช่น ปวดข้อและข้อติดตึง การทบทวนงานวิจัยชิ้นหนึ่ง พบว่าคนที่ใช้ขิงในการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม พบว่าขิงมีส่วนสำคัญในการลดความเจ็บปวดและความพิการจากโรคข้อเข่าเสื่อม 

5. อาจช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดและลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ

การวิจัยครั้งนี้ค่อนข้องใหม่ ซึ่งพบว่าขิงอาจมีคุณสมบัติป้องกันโรคเบาหวานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการศึกษาในปี 2015 โดผู้ที่มีโรคเบาหวานชนิดที่2 จำนวน 41คน รับประทานขิงปริมาณ 2 กรัมต่อวัน สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ถึงร้อยละ 12 นอกจากนี้ยังทำให้ฮีโมโกลบิน A1c (HbA1c) ดีขึ้นอย่างมาก ซึ่งเป็นตัวชี้วัดระดับน้ำตาลในเลือดระยะยาว จากการทดลองพบว่า HbA1c ลดลง ร้อยละ 10 ในช่วง 12 สัปดาห์ และขิงสามารถลดอัตราส่วน Apolipoprotein B / ApolipoproteinA-I ลง ร้อยละ 28 และ malondialdehyde (MDA) ลดลง ร้อยละ 23 ซึ่งสารจำพวกนี้เป็นผลพลอยได้จากปฏิกิริยาออกซิเดชัน อัตราส่วน ApoB / ApoA-I ที่สูงและระดับ MDA สูงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญสำหรับโรคหัวใจ 

6. สามารถช่วยรักษาอาการอาหารไม่ย่อย

อาหารไม่ย่อยเรื้อรังมีลักษณะอาการปวดเป็นๆหายๆ และรู้สึกไม่สบายบริเวณส่วนบนของกระเพาะอาหาร พบการย่อยอาหารที่ล่าช้าของกระเพาะอาหารเป็นกลไกลสำคัญของอาการอาหารไม่ย่อย ขิงแสดงให้เห็นว่า สามารถช่วยเร่งให้กระเพาะอาหารย่อยอาหารได้เร็วขึ้น การบริโภคขิงช่วยเร่งการย่อยอาหารของกระเพาะอาหารอย่างมีนัยสำคัญ จากการวิจัยพบว่าต้องใช้เวลาในการย่อยอาหาร 13.1 นาที สำหรับผู้ที่ได้รับขิงและ 26.7 นาทีสำหรับผู้ที่ได้รับยาหลอก Benefits of Ginger

7.  ขิงสรรพคุณช่วยลดอาการปวดประจำเดือน

ขิงถูกใช้ในการบรรเทาอาการปวดมาช้านาน ซึ่งรวมถึงอาการปวดประจำเดือนด้วย ในการศึกษาในปี 2009 ผู้หญิง 150 คน ให้ทานขิงหรือยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID) ในช่วง 3 วันแรกของประจำเดือน  ทั้งสามกลุ่มได้รับขิงผงวันละ 4 ครั้ง (250 มก.) กรดเมเฟนามิก (250 มก.) หรือไอบูโพรเฟน (400 มก.) ขิงสามารถลดอาการปวดได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นเดียวกับ NSAIDs สองตัว การศึกษาเมื่อเร็วๆนี้ได้ข้อสรุปว่าขิงมีประสิทธิภาพมากกว่ายาหลอก และมีประสิทธิภาพเท่าเทียมกันกับยาแก้ปวดชนิด NSAIDs  เช่น กรด Mefenamic และ Acetaminophen / คาเฟอีน / Ibuprofen(Novafen)  

8. น้ำขิงสรรพคุณช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล

ไขมันไม่ดี (LDL) ในระดับที่สูงมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของโรคหัวใจ อาหารที่คุณกินมีอิทธิพลอย่างมากต่อระดับ LDL การศึกษาในปี 2018 ผู้ที่มีไขมันในเลือดสูงจำนวน 60 คน ในจำนวนนี้มี 30 คนที่ได้รับผงขิง 5 กรัมในแต่ละวัน พบว่าระดับ LDL (ไขมันไม่ดี) ของพวกเขาลดลง ร้อยละ 17.4 ในช่วงระยะเวลา3 เดือน แม้ว่า LDL จะลดลงอย่างน่าประทับใจ แต่สิ่งสำคัญคือผู้เข้าร่วมการศึกษาได้รับขิงในปริมาณที่สูงมาก  

9. ขิงอาจจะมีสารที่ช่วยป้องกันมะเร็ง

 ขิงมีคุณสมบัติในการต่อต้านมะเร็งซึ่งเป็นผลมาจาก Gingerol ซึ่งพบได้ในขิงดิบ Gingerol ถูกมองว่าเป็นส่วนประกอบในที่มีประสิทธิภาพ และมีคุณค่าเป็นอย่างมาก  อย่างไรก็ตามการศึกษาติดตามในบุคคลที่มีความเสี่ยงสูงในการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ และทวารหนัก ไม่ได้มีผลลัพธ์ไปในทางเดียวกัน จากงานวิจัยพบว่ามีหลักฐานบางอย่างที่แสดงให้เห็นว่าขิงอาจจะมีผลต่อต้านการเกิดโรคมะเร็งทางเดินอาหารอื่นๆ เช่น โรคมะเร็งตับอ่อน และมะเร็งตับ นอกจากนี้ ยังอาจมีผลต่อต้านการเกิดมะเร็งเต้านม และมะเร็งรังไข่ด้วย แต่ทั้งนี้จำเป็นต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติม  สรุป ขิงมีสาร Gingerol ซึ่งอาจมีผลในการป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง อย่างไรก็ตามจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม

10. ดื่มน้ำขิงและป้องกันโรคความจำเสื่อม

ปฏิกิริยาออกซิเดชั่น และการอักเสบเรื้อรัง สามารถเร่งกระบวนการเสื่อมของเซลล์ได้ เชื่อกันว่าขิงเป็นหนึ่งในตัวช่วยในการลดโอกาสในการเกิดโรคสมองเสื่อม (Alzheimer’s disease) และช่วยป้องกันการแก่ชราของเชลล์ตามอายุไข การศึกษาในสัตว์ทดลองบางงาน ชี้ให้เห็นว่า สารต้านอนุมูลอิสระ และสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพในขิง สามารถยับยั้งการตอบสนองต่อการอักเสบที่เกิดขึ้นในสมองได้ นอกจากนี้ยังมีหลักฐานบางอย่างที่แสดงว่า ขิงสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสมองได้ การศึกษาในปี 2012 ในผู้หญิงวัยกลางคนที่มีสุขภาพดี การรับประทานขิงเป็นประจำสามารถช่วยเพิ่มความจำในการทำงานได้ 

11. สามารถช่วยต่อสู้กับการติดเชื้อ

Gingerol สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ ในความเป็นจริงสารสกัดจากขิงสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิด จากการศึกษาในปี 2008 พบว่า ขิงมีประสิทธิภาพมากในการต่อต้านแบคทีเรียในช่องปากที่เป็นสาเหตุให้เกิดโรคเหงือกอักเสบ(Gingivitis) และโรคปริทันต์อักเสบ (Periodontitis)  นอกจากนี้ ขิงสดยังมีผลต่อเชื้อไวรัสในทางเดินหายใจ (Syncytial (RSV)) ซึ่งเป็นสาเหตุของการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ  ขิงอุดมไปด้วยสารอาหาร และสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่มีประโยชน์อย่างมากต่อร่างกายและสมอง  โดยถือว่าเป็นหนึ่งในอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย 

หากดื่มน้ำขิงหรือทานขิงมากไป

โดยทั่วไปแล้วการบริโภคขิงในปริมาณปานกลางจะปลอดภัยและมีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายประการ อย่างไรก็ตาม หากคุณบริโภคขิงมากเกินไปก็อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ ต่อไปนี้เป็นสิ่งที่ควรพิจารณา:
  • อาการไม่สบายทางเดินอาหาร:ขิงขึ้นชื่อในเรื่องรสเผ็ดและฉุน การกินขิงมากเกินไปอาจทำให้ระบบย่อยอาหารไม่สบาย รวมทั้งอาการเสียดท้อง มีลมในท้อง และปวดท้อง นอกจากนี้ยังสามารถทำหน้าที่ระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหารในปริมาณที่มากเกินไป
  • ความเสี่ยงต่อเลือดออก: การรับประทานขิงในปริมาณมาก โดยเฉพาะจากอาหารเสริมหรือในรูปแบบเข้มข้น อาจส่งผลให้เลือดบางลงได้ หากคุณกำลังใช้ยาลดความอ้วนหรือมีเลือดออกผิดปกติ การบริโภคขิงมากเกินไปอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการตกเลือด จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพหากคุณมีข้อกังวล
  • การตั้งครรภ์และให้นมบุตร:สตรีมีครรภ์และให้นมบุตรควรบริโภคขิงในปริมาณที่พอเหมาะ การบริโภคขิงมากเกินไปในระหว่างตั้งครรภ์อาจสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของการแท้งบุตร  ผู้ให้เชี่ยวชาญเพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับการบริโภคขิงระหว่างตั้งครรภ์และให้นมบุตร
  • ปฏิกิริยาระหว่างยา:ขิงสามารถโต้ตอบกับยาบางชนิดได้ อาจส่งผลต่อการเผาผลาญของยาบางชนิด ซึ่งอาจลดประสิทธิผลหรือเพิ่มความเสี่ยงต่อผลข้างเคียง หากคุณกำลังใช้ยา โดยเฉพาะยาต้านการแข็งตัวของเลือดหรือยารักษาโรคเบาหวาน ให้ปรึกษาผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพเกี่ยวกับการบริโภคขิง
  • ปฏิกิริยาการแพ้:แม้ว่าจะเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก แต่บางคนอาจแพ้ขิงและอาจมีอาการต่างๆ เช่น ผื่น คัน หรือหายใจลำบากหากรับประทานในปริมาณมาก
  • การอักเสบ:แม้ว่าขิงจะขึ้นชื่อเรื่องคุณสมบัติต้านการอักเสบในปริมาณปานกลาง แต่การบริโภคที่มากเกินไปอาจนำไปสู่ผลที่ตามมา  เช่น การกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันมากเกินไปและทำให้เกิดการอักเสบ
เพื่อหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นและได้รับประโยชน์ต่อสุขภาพของขิง สิ่งสำคัญคือต้องบริโภคในปริมาณที่พอเหมาะ ในกรณีส่วนใหญ่ การเพิ่มขิงในปริมาณที่เหมาะสมในอาหารของคุณจะปลอดภัยและสามารถเป็นประโยชน์ได้ หากคุณมีข้อกังวลเรื่องสุขภาพ ข้อจำกัดด้านอาหาร หรือกำลังใช้ยา ขอแนะนำให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพหรือนักโภชนาการเพื่อกำหนดปริมาณขิงที่เหมาะสมกับความต้องการส่วนบุคคลของคุณ

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.webmd.com/diet/ss/slideshow-health-benefits-ginger
  • https://www.medicalnewstoday.com/articles/265990
  • https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK92775/
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด