สมุนไพรกระวาน (Cardamom) : ประโยชน์ 10 ประการ

กระวาน (Cardamom) คือ เครื่องเทศที่มีรสชาติเข้มข้น หวานเล็กน้อย ซึ่งบางคนอาจนำมาเปรียบเทียบกับมินต์ ต้นกำเนิดของกระวานอยู่ในอินเดีย แต่มีจำหน่ายทั่วโลก ในปัจจุบันมีการนำมาในสูตรอาหารทั้งคาวและหวาน เมล็ดน้ำมัน และสารสกัดจากกระวานนั้นมีคุณสมบัติทางยาที่น่าสนใจ และถูกนำมาใช้ในยาแผนโบราณมานานหลายศตวรรษแล้ว

ประโยชน์ 10 ประการของกระวานที่ดีต่อสุขภาพ และมีผลยืนยันทางวิทยาศาสตร์แล้ว

1. คุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ และขับปัสสาวะที่ช่วยลดความดันโลหิตได้

กระวานอาจเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่มีปัญหาความดันโลหิตสูง ผลการศึกษาหนึ่ง นักวิจัยได้ให้ผงกระวาน 3 กรัมต่อวัน กับผู้ใหญ่ 20 คนที่เพิ่งได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง หลังจากผ่านไป 12 สัปดาห์ระดับความดันโลหิตลดลงเข้าสู่ระดับปกติอย่างมีนัยสำคัญ ผลการศึกษาที่มีแนวโน้มพบความเกี่ยวข้องกับสารต้านอนุมูลอิสระในกระวานในปริมาณที่ค่อนข้างสูง ซึ่งจากผลการศึกษาพบว่าสารต้านอนุมูลอิสระของผู้เข้าร่วมการศึกษาเพิ่มขึ้น 90% เมื่อสิ้นสุดการศึกษา สารต้านอนุมูลอิสระยังสัมพันธ์กับความดันโลหิตที่ลดลง นักวิจัยสงสัยว่าเครื่องเทศอาจลดความดันโลหิต เนื่องจากมีฤทธิ์ขับปัสสาวะได้ เพราะสามารถกระตุ้นการขับปัสสาวะ เพื่อขจัดน้ำที่สะสมในร่างกายได้ เช่นของเหลวบริเวณหัวใจ สารสกัดจากกระวานช่วยเพิ่มการขับปัสสาวะและลดความดันโลหิตในหนูทดลองได้

สรุป

กระวานอาจช่วยลดความดันโลหิตในคนส่วนใหญ่ได้ เนื่องจากคุณสมบัติเพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระ และการขับปัสสาวะ

2. สารต้านมะเร็ง

สารประกอบในกระวานอาจช่วยต่อต้านเซลล์มะเร็งได้ การศึกษาในหนูแสดงให้เห็นว่าผงกระวานสามารถเพิ่มการทำงานของเอนไซม์บางชนิดที่ช่วยต่อต้านมะเร็งได้ เครื่องเทศอาจช่วยเพิ่มความสามารถของเซลล์ที่ใช้จัดการเนื้องอกที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติได้ ผลการศึกษาหนึ่ง นักวิจัยได้แบ่งหนูทดลองออกเป็น 2 กลุ่ม และมีการให้สารประกอบที่ทำให้เกิดมะเร็งผิวหนัง  โดยกลุ่มหนึ่งจะได้รับอาหารที่มีส่วนผสมของกระวานปริมาณ  500 มก. ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม (227 มก. ต่อปอนด์) ในแต่ละวัน หลังจากผ่านไป 12 สัปดาห์มีเพียง 29% ของกลุ่มที่กินกระวานที่เกิดมะเร็งเมื่อเทียบกับหนูในกลุ่มทดลองอีกกลุ่มที่เกิดมะเร็งถึง 90% การวิจัยเกี่ยวกับเซลล์มะเร็งในมนุษย์และผลจากกระวานพบว่าให้ผลลัพธ์ที่คล้ายคลึงกัน การศึกษาชิ้นหนึ่งแสดงให้เห็นว่าสารประกอบบางชนิดในเครื่องเทศสามารถหยุดการเพิ่มจำนวนของเซลล์มะเร็งในช่องปากที่ทดสอบในหลอดทดลองได้ แม้ว่าผลลัพธ์จะมีแนวโน้มที่ดี แต่การศึกษาเหล่านี้เป็นเพียงผลการทดลองกับหนูหรือหลอดทดลองเท่านั้น จำเป็นต้องมีการวิจัยของมนุษย์ก่อน จึงจะสามารถยืนยันผลการทดลองได้

สรุป

สารประกอบบางอย่างในกระวานอาจต้านมะเร็ง และหยุดการเติบโตของเนื้องอกในหนูและหลอดทดลองได้ จำเป็นต้องมีการวิจัยในมนุษย์เพื่อตรวจสอบว่าผลลัพธ์เหล่านี้ส่งผลต่อมนุษย์ด้วยหรือไม่

3. การป้องกันอาการเรื้อรังด้วยฤทธิ์ต้านการอักเสบ

กระวานอุดมไปด้วยสารประกอบที่ลดอาการอักเสบได้ดี การอักเสบเกิดขึ้นเมื่อร่างกายสัมผัสกับสิ่งแปลกปลอม  การอักเสบเฉียบพลันนั้นเป็นสิ่งที่ต้องได้รับการดูแลและรักษา และการอักเสบแบบเรื้อนังยังเป็นสาเหตุของโรคต่าง ๆ ได้ สารต้านอนุมูลอิสระที่พบมากในกระวานช่วยปกป้องเซลล์จากความเสียหาย และหยุดการอักเสบได้ การศึกษาชิ้นหนึ่งพบว่าสารสกัดจากกระวานปริมาณ 50–100 มก. ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. (23–46 มก. ต่อปอนด์) มีประสิทธิภาพในการยับยั้งสารที่ทำให้เกิดการอักเสบได้ถึง 4 ชนิดในหนูทดลอง การศึกษาอื่นในหนูทดลองแสดงให้เห็นว่าการกินผงกระวานสามารถลดการอักเสบที่ตับ ซึ่งเกิดจากการรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตและไขมันสูง ๆ ได้ แม้ว่าจะมีการศึกษาเกี่ยวกับฤทธิ์ต้านการอักเสบของกระวานในมนุษย์จะยังมีไม่มากนัก แต่การวิจัยแสดงให้เห็นว่าอาหารเสริมที่มีกระวานสามารถเพิ่มปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระได้มากถึง 90%

สรุป

สารต้านอนุมูลอิสระในกระวานสามารถปกป้องเซลล์จากความเสียหาย ชะลอ และป้องกันการอักเสบในร่างกายได้

4. ช่วยแก้ปัญหาการย่อยอาหาร และแผลในระบบทางเดินอาหาร

กระวานถูกนำมาใช้เป็นเวลามานานหลายพันปี เพราะช่วยในระบบย่อยอาหาร กระวานจะใช้ผสมร่วมกับเครื่องเทศ สมุนไพร อื่น ๆ เพื่อบรรเทาอาการไม่สบาย คลื่นไส้ อาเจียน คุณสมบัติที่ได้รับการวิจัยมากที่สุดของกระวาน คือความเกี่ยวข้องกับการบรรเทาปัญหาในกระเพาะอาหาร หรือความสามารถในการรักษาแผลในระบบทางเดินอาหาร ผลการศึกษาในหนูทดลองที่ได้รับสารสกัดจากกระวาน ขมิ้น และใบ Sembung ในน้ำร้อนก่อนให้แอสไพรินในปริมาณสูง ๆ เพื่อทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร หนูเหล่านี้กลับมีแผลลดน้อยลง เมื่อเทียบกับหนูที่ได้รับปริมาณแอสไพรินเท่า ๆ กัน การศึกษาที่คล้ายกันในหนูพบว่าสารสกัดจากกระวานเพียงอย่างเดียวสามารถป้องกัน หรือลดขนาดของแผลในกระเพาะอาหารได้อย่างสมบูรณ์ประมาณ 50% ในความเป็นจริงปริมาณสารสกัดจากกระวาน 12.5 มก. ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. (5.7 มก. ต่อปอนด์) มีประสิทธิภาพ.ในการรักษาบาดแผลมากกว่ายาต้านการเกิดแผลทั่วไป การวิจัยในหลอดทดลองยังชี้ให้เห็นว่ากระวานอาจป้องกันเชื้อ Helicobacter pylori ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่สัมพันธ์กับการเกิดแผลในกระเพาะอาหารส่วนมากได้ จำเป็นต้องมีผลวิจัยเพิ่มเติมเพื่อระบุว่าเครื่องเทศจะมีผลเช่นเดียวกันนี้กับแผลในกระเพาะอาหารของมนุษย์หรือไม่

สรุป

กระวานอาจป้องกันปัญหาทางเดินอาหาร และมีการทดสอบแล้วว่าสามารถลดปริมาณ และขนาดของแผลในกระเพาะอาหารในหนูทดลองได้cardamom

5. การรักษากลิ่นปาก และป้องกันฟันผุ

การใช้กระวานเพื่อรักษากลิ่นปาก และทำให้สุขภาพช่องปากดีขึ้นเป็นวิธีการรักษาที่มีมาแต่โบราณ ในบางวัฒนธรรมเป็นเรื่องปกติที่จะทำให้ลมหายใจสดชื่นขึ้น ด้วยการรับประทานกระวานทั้งฝักหลังอาหาร แม้แต่ Wrigley ผู้ผลิตหมากฝรั่งก็ใช้เครื่องเทศในผลิตภัณฑ์ของพวกเขา สาเหตุที่กระวานสามารถช่วยให้ลมหายใจสดชื่นขึ้นคล้ายกับมิ้นต์นั้นอาจเนื่องมาจากประสิทธิภาพในการต่อสู้กับแบคทีเรียในช่องปากทั่วไป การศึกษาชิ้นหนึ่งพบว่าสารสกัดจากกระวานมีประสิทธิภาพในการต่อสู้กับแบคทีเรีย 5 ชนิดที่เป็นสาเหตุของฟันผุ การทดสอบในหลอดทดลองพบว่าสารสกัดจากกระวานสามารถป้องกันการเติบโตของแบคทีเรียได้ถึง 0.82 นิ้ว (2.08 ซม.) การวิจัยยังพบว่าสารสกัดจากกระวานสามารถลดจำนวนแบคทีเรียในตัวอย่างน้ำลายได้ 54% อย่างไรก็ตามการศึกษาทั้งหมดนี้ได้ทำในหลอดทดลอง จึงยังไม่ชัดเจนว่าผลลัพธ์นี้จะใช้ได้กับมนุษย์หรือไม่

สรุป

กระวานมักใช้ในการรักษากลิ่นปาก และเป็นส่วนประกอบของหมากฝรั่งบางชนิด เนื่องจากกระวานสามารถฆ่าแบคทีเรียในช่องปาก และป้องกันฟันผุได้

6. ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย และรักษาการติดเชื้อ

กระวานมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียภายนอก และอาจรักษาการติดเชื้อในร่างกายได้ การวิจัยแสดงให้เห็นว่าสารสกัดจากกระวาน และน้ำมันหอมระเหยมีสารประกอบที่ต่อสู้กับแบคทีเรียหลายสายพันธุ์ได้ การศึกษาในหลอดทดลองพบว่าผลกระทบของสารสกัดกระวานต่อยีสต์ Candida สายพันธุ์ที่ดื้อยา และทำให้เกิดการติดเชื้อราได้ สารสกัดกระวานสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของยีสต์บางสายพันธุ์ได้ 0.39–0.59 นิ้ว (0.99–1.49 ซม.) การวิจัยในหลอดทดลอง ยังพบว่าน้ำมันหอมระเหย และสารสกัดจากกระวานมีประสิทธิภาพเทียบเท่า หรือมากกว่ายารักษาโรคที่ใช้ต้านเชื้อแบคทีเรีย E. coli และ Staphylococcus ที่ทำให้เกิดอาการอาหารเป็นพิษได้ดี การศึกษาในหลอดทดลองยังพบว่าน้ำมันหอมระเหยของกระวานมีฤทธิ์จัดการกับแบคทีเรีย Salmonella ที่ทำให้เกิดอาการอาหารเป็นพิษ และแบคทีเรีย Campylobacter ที่ทำให้เกิดการอักเสบของกระเพาะอาหารได้ การศึกษาพบความเกี่ยวข้องกับผลการต้านเชื้อแบคทีเรียของกระวานได้ ผลการศึกษาเฉพาะสายพันธุ์ของแบคทีเรียที่แยกได้เฉพาะในห้องปฏิบัติการเท่านั้น แต่ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนพอที่จะกล่าวอ้างสรรพคุณของกระวานว่าให้ผลเช่นเดียวกันในมนุษย์

สรุป

น้ำมันหอมระเหยและสารสกัดจากกระวานอาจมีผลกับแบคทีเรียหลายสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดการติดในทางเกินอาหาร ทำให้อาหารเป็นพิษ และเกิดปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะอาหาร อย่างไรก็ตามการวิจัยได้ทำเฉพาะในหลอดทดลองเท่านั้น ยังไม่มีการทดสอบในมนุษย์

7. ช่วยเพิ่มอัตราการหายใจ และปริมาณออกซิเจน

สารประกอบในกระวานอาจช่วยเพิ่มการไหลเวียนของอากาศไปยังปอด และทำให้การหายใจดีขึ้น เมื่อใช้ในการบำบัดด้วยกลิ่นจากกระวานสามารถช่วยให้ลดปัญหากลิ่นกาย และเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ออกซิเจนของร่างกายในระหว่างการออกกำลังกายได้ ผลการศึกษาหนึ่งกับกลุ่มผู้เข้าร่วมที่สูดดมน้ำมันหอมระเหยกระวานเป็นเวลา 1 นาทีก่อนเดินบนลู่วิ่ง นาน 15 นาที พบว่าคนกลุ่มนี้จะมีการดูดซึมออกซิเจนที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้สูดดม นอกจากนี้กระวานยังอาจช่วยเพิ่มการหายใจ และการใช้ออกซิเจน โดยการผ่อนคลายทางเดินหายใจ ที่เป็นประโยชน์ต่อการรักษาโรคหอบหืด การศึกษาในหนูและกระต่ายพบว่าการฉีดสารสกัดจากกระวานสามารถผ่อนคลายทางเดินหายใจบริเวณลำคอได้  หากสารสกัดมีผลคล้ายกันในผู้ที่เป็นโรคหอบหืดอาจใช้ป้องกันไม่ให้ทางเดินหายใจอักเสบ ควบคุมและช่วยให้การหายใจดีขึ้นได้

สรุป

กระวานอาจทำให้การหายใจดีขึ้น ด้วยการกระตุ้นการดูดซึมออกซิเจนที่ดีขึ้น และทำให้อากาศถ่ายเทไปยังปอดได้ดีในมนุษย์และสัตว์ 

8. ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด

เมื่อรับประทานผงกระวานอาจลดน้ำตาลในเลือดได้ การศึกษาหนึ่งพบว่าการให้หนูกินอาหารที่มีไขมันสูงและมีคาร์โบไฮเดรตสูง (HFHC) จะส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดของพวกเขาสูงขึ้นนานกว่าผู้ที่รับอาหารตามปกติ เมื่อหนูกินอาหาร HFHC และได้รับผงกระวาน น้ำตาลในเลือดของหนูจะไม่เพิ่มขึ้นนานกว่าระดับน้ำตาลในเลือดของหนูที่กินอาหารปกติ อย่างไรก็ตามแป้งอาจไม่ให้ผลเช่นเดียวกันนี้กับผู้ที่ป่วยเป็นเบาหวานประเภทที่ 2 ผลการศึกษาในผู้ใหญ่กว่า 200 คนที่มีอาการเบาหวาน โดยแบ่งผู้เข้าร่วมออกเป็น 4 กลุ่ม แต่ละกลุ่มรับประทานเฉพาะชาดำ หรือชาดำที่มีอบเชย กระวาน หรือขิงปริมาณ 3 กรัมทุกวัน นาน 8 สัปดาห์ ผลการวิจัยพบว่าอบเชยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี ซึ่งไม่ใช่กระวาน หรือขิง เพื่อให้เข้าใจถึงผลของกระวานต่อน้ำตาลในเลือดในมนุษย์ อาจจำเป็นต้องทำการศึกษาเพิ่มเติม

สรุป

การศึกษาเกี่ยวกับหนูแสดงให้เห็นว่ากระวานอาจช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ แต่จำเป็นต้องมีการศึกษาในมนุษย์เพื่อยืนยันผลเพิ่มขึ้น

9. ประโยชน์ต่อสุขภาพด้านอื่น ๆ ของกระวาน

นอกเหนือจากประโยชน์ต่อสุขภาพที่กล่าวมาแล้วกระวานอาจดีต่อสุขภาพในรูปแบบอื่น ๆ ด้วย การศึกษาในหนูพบว่าระดับสารต้านอนุมูลอิสระที่สูงในกระวาน สามารถป้องกันการอาการตับโต ความวิตกกังวล และช่วยลดน้ำหนักได้ : การป้องกันตับ: สารสกัดจากกระวานจะช่วยลดระดับเอนไซม์ในตับ ไตรกลีเซอไรด์ และคอเลสเตอรอลได้ และยังป้องกันการขยายตัวของตับ และน้ำหนักตับได้ จึงช่วยลดความเสี่ยงของโรคไขมันพอกตับได้ ความวิตกกังวล: การศึกษาในหนู พบว่าสารสกัดจากกระวานช่วยลดพฤติกรรมวิตกกังวลได้ อาจเพราะระดับสารต้านอนุมูลอิสระในเลือดที่เชื่อมโยงกับพัฒนาการด้านอารมณ์ความวิตกกังวล และความผิดปกติทางอารมณ์อื่น ๆ การลดน้ำหนัก: การศึกษาในผู้หญิงที่เป็นโรคเบาหวานที่มีปัญหาน้ำหนักเกิน และเป็นโรคอ้วน 80 คนพบความสัมพันธ์ระหว่างกระวานและรอบเอวที่ลดลงเล็กน้อย  อย่างไรก็ตามการศึกษาในหนูทดลองเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของการลดน้ำหนัก และเครื่องเทศยังไม่พบผลลัพธ์ที่เชื่อมโยงกันอย่างมีนัยสำคัญ ผลการศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างกระวานและประโยชน์ต่าง ๆ เหล่านี้ยังไม่เพียงพอ และส่วนมากเป็นผลการทดลองในสัตว์ นอกจากนี้สาเหตุที่เครื่องเทศสามารถช่วยปรับปรุงสุขภาพของตับ อาการวิตกกังวล และน้ำหนักยังไม่ชัดเจนนัก

สรุป

ผลการศึกษายังไม่เพียงพอที่จะชี้ให้เห็นว่าอาหารจากกระวานสามารถลดรอบเอว และป้องกันอาการวิตกกังวล และไขมันพอกตับได้ สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเหล่านี้ยังไม่ชัดเจน แต่อาจเกี่ยวข้องกับปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระที่สูงมากในกระวาน

10. ความปลอดภัยสำหรับคนส่วนมาก และสามารถใช้ได้อย่างหลากหลาย

กระวานนั้นปลอดภัยสำหรับคนส่วนมาก วิธีใช้กระวานทั่วไป คือการใช้กระวานเป็นเครื่องปรุงในอาหาร หรือการปรุงอาหาร ซึ่งมีหลากหลายมาก และมักนำมาใช้ในแกงและสตูว์แบบอินเดีย รวมถึงคุกกี้ ขนมปังขิง ขนมปัง และขนมอบอื่น ๆ การใช้ผลิตภัณฑ์อาหารที่ใช้สารสกัดจากกระวาน และน้ำมันหอมระเหยจากกระวานมีแนวโน้มที่จะแพร่หลายมากขึ้น เนื่องจากผลการวิจัยเกี่ยวกับการใช้ยาชนิดนี้ อย่างไรก็ตามในปัจจุบันยังไม่มีปริมาณที่แนะนำการใช้เครื่องเทศ เนื่องจากการศึกษาส่วนมากกระทำในสัตว์ทดลอง การใช้อาหารที่มีกระวานควรได้รับคำแนะนำโดยผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ นอกจากนี้อาหารจากกระวานอาจไม่เหมาะกับเด็ก สตรีที่กำลังตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตรด้วย อาหารเสริมส่วนมากแนะนำให้ใช้ผงกระวาน 500 มก. หรือสารสกัดวันละครั้งหรือ 2 ครั้ง องค์การอาหารและยาไม่ได้ควบคุมอาหารที่มีส่วนประกอบจากกระวาน ดังนั้นให้เลือกผลิตภัณ์ที่ผ่านการทดสอบแล้ว หากต้องการลองใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของกระวาน ควรให้แพทย์เป็นผู้แนะนำ หากสนใจที่จะลองใช้กระวาน โปรดจำไว้ว่าการเพิ่มเครื่องเทศลงในอาหารอาจเป็นวิธีที่ปลอดภัยที่สุด

สรุป

การใช้กระวานเพื่อปรุงอาหารนั้นปลอดภัยสำหรับคนส่วนมาก ผลิตภัณฑ์และสารสกัดจากกระวานยังไม่ได้รับการวิจัยอย่างละเอียด และควรดำเนินการภายใต้คำแนะนำของแพทย์เท่านั้น

ใครที่ไม่เหมาะกับกระวาน

กระวานเป็นเครื่องเทศยอดนิยมที่ใช้ในการปรุงอาหารและยาแผนโบราณ และโดยทั่วไปถือว่าปลอดภัยสำหรับคนส่วนใหญ่เมื่อบริโภคในปริมาณปานกลางเป็นเครื่องเทศในอาหารหรือชา อย่างไรก็ตาม มีข้อควรพิจารณาบางประการสำหรับบุคคลที่ควรใช้กระวานด้วยความระมัดระวังหรือหลีกเลี่ยง:
  • อาการแพ้:เช่นเดียวกับอาหารหรือเครื่องเทศอื่นๆ บางคนอาจแพ้กระวาน ปฏิกิริยาการแพ้กระวานนั้นเกิดขึ้นได้ยาก แต่อาจรวมถึงอาการต่างๆ เช่น คัน ลมพิษ บวม หายใจลำบาก และไม่สบายทางเดินอาหาร หากคุณสงสัยว่าจะแพ้กระวาน ให้ไปพบแพทย์
  • นิ่ว:กระวานอาจกระตุ้นการผลิตน้ำดี ซึ่งอาจเป็นปัญหาสำหรับบุคคลที่เป็นโรคนิ่วหรือมีประวัติเกี่ยวกับถุงน้ำดี ขอแนะนำให้ปรึกษาผู้ให้บริการด้านสุขภาพหากคุณมีปัญหาเกี่ยวกับถุงน้ำดีก่อนที่จะใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารกระวานหรือบริโภคในปริมาณมาก
  • การตั้งครรภ์และให้นมบุตร:แม้ว่าโดยทั่วไปแล้วกระวานจะถือว่าปลอดภัยในปริมาณอาหารในระหว่างตั้งครรภ์และให้นมบุตร แต่การบริโภคก็จำเป็นต้องปานกลาง ควรหลีกเลี่ยงการใช้หรืออาหารเสริมมากเกินไปในระหว่างตั้งครรภ์ เว้นแต่จะได้รับคำแนะนำจากผู้ให้บริการด้านสุขภาพ
  • ความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด:กระวานมีสารประกอบที่อาจมีผลต้านเกล็ดเลือดเล็กน้อย ซึ่งหมายความว่าอาจส่งผลต่อการแข็งตัวของเลือด หากคุณมีความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือดหรือกำลังใช้ยาที่ส่งผลต่อการแข็งตัวของเลือด (สารต้านการแข็งตัวของเลือด) ควรปรึกษาผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของคุณก่อนรับประทานอาหารเสริมกระวานในปริมาณมาก
  • ปฏิกิริยาระหว่างยา:กระวานไม่เป็นที่รู้จักว่ามีปฏิสัมพันธ์กับยาอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตาม หากคุณกำลังใช้ยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีกรอบเวลาในการรักษาที่จำกัด แนวทางปฏิบัติที่ดีเสมอคือการหารือเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงอาหารหรืออาหารเสริมกับผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของคุณ เพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่มีการโต้ตอบที่อาจเกิดขึ้น
  • กระเพาะอาหารที่บอบบาง:ผู้ที่มีกระเพาะอาหารที่บอบบางบางคนอาจรู้สึกไม่สบายทางเดินอาหารหากรับประทานกระวานในปริมาณมาก ในกรณีเช่นนี้ ควรใช้กระวานในปริมาณที่พอเหมาะ
โปรดจำไว้ว่ากระวานมักถูกใช้เป็นเครื่องเทศในการปรุงอาหาร และโดยทั่วไปแล้วการนำไปใช้ในการทำอาหารก็ปลอดภัยสำหรับคนส่วนใหญ่ หากคุณมีความกังวลเป็นพิเศษเกี่ยวกับการใช้กระวานเนื่องจากการแพ้ อาการทางการแพทย์ หรือการใช้ยา ขอแนะนำให้ปรึกษากับผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพหรือนักโภชนาการที่ลงทะเบียนเพื่อรับคำแนะนำเฉพาะบุคคล

ภาพรวมของกระวาน

กระวานเป็นยาโบราณที่มีสรรพคุณทางยามากมาย ใช้ลดความดันโลหิต ปรับปรุงการหายใจ และช่วยลดน้ำหนัก ผลการศึกษาในสัตว์ทดลองและในหลอดทดลองยังแสดงให้เห็นว่ากระวานช่วยต่อสู้กับเนื้องอก ปรับปรุงอาการวิตกกังวล ต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย และปกป้องตับได้ แม้ว่าหลักฐานในกรณีนี้จะยังไม่ชัดเจนนักก็ตาม อย่างไรก็ตามมีผลงานวิจัยของมนุษย์เพียงเล็กน้อย หรือไม่มีเลยในการกล่าวอ้างประโยชน์ด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับกระวาน จำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความชัดเจนว่าสามารถได้ผลดีกับมนุษย์หรือไม่ อย่างไรก็ตามการเพิ่มกระวานลงในอาหาร อาจเป็นวิธีที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการดูแลสุขภาพได้ดี สารสกัดจากกระวานและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ อาจให้ประโยชน์ได้เช่นกัน แต่ควรใช้ความระมัดระวังและอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.webmd.com/vitamins/ai/ingredientmono-614/cardamom
  • https://www.britannica.com/plant/cardamom
  • https://www.medicalnewstoday.com/articles/326532
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด