สับปะรด (Pineapple) – สูตรอาหารและสุขภาพ

ผู้เขียน Dr. Wikanda Rattanaphan
0
สับปะรด

สับปะรด 

สับปะรด ชื่อวิทยาศาสตร์ Ananas Comosus คือ ผลไม้เขตร้อนที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ และอร่อยอย่างเหลือเชื่อ สับปะรดเป็นผลไม้พื้นเมืองของทวีปอเมริกาใต้ ผู้ที่ค้นพบยุโรปใหม่เป็นคนตั้งชื่อให้หลังจากเห็นว่ามีความคล้ายคลึงกับลูกสน สรรพคุณสับปะรดมีมากมาย  เป็นผลไม้ยอดนิยมที่อุดมไปด้วยสารอาหาร สารต้านอนุมูลอิสระ และสารประกอบที่มีประโยชน์อื่นๆ เช่น มีเอนไซม์ที่ช่วยสู้กับกับการอักเสบ และเชื้อโรค สับปะรดมีสารประกอบที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย รวมไปถึงเรื่องช่วยการย่อย เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และเร่งการฟื้นตัวจากการผ่าตัด และอื่นๆ

ประโยชน์ของสับปะรด 

สับปะรดอุดมไปด้วยสารอาหาร สับปะรดมีแคลลอรี่ต่ำแต่มีสารอาหารมากอย่างเหลือเชื่อ สับปะรด 1 ถ้วย (5.8 ออนซ์ หรือ 165 กรัม) มีสารอาหารคือ :
  • แคลลอรี่: 82.5
  • ไขมัน: 1.7 กรัม
  • โปรตีน: 1 กรัม
  • คาร์บ: 21.6 กรัม
  • ใยอาหาร: 2.3 กรัม
  • วิตามินซี: 131%  ของปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน
  • แมงกานีส: 76%  ของปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน
  • วิตามินบี6: 9%  ของปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน
  • ทองแดง: 9%  ของปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน
  • ไทแอมีน: 9%  ของปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน
  • โฟเลต: 7%  ของปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน
  • โพแทสเซียม: 5% ของปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน
  • แมกนีเซียม: 5%  ของปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน
  • ไนอาซิน: 4%  ของปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน
  • กรดแพนโทเทนิก: 4%  ของปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน
  • ไรโบเฟลวิน: 3%  ของปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน
  • เหล็ก: 3%  ของปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน
สับปะรดยังมีแร่ธาตรองของวิตามินเอ และเค ฟอสฟอรัส สังกะสีและแคลเซียม

Pineapple

สับปะรดมีสารต้านอนุมูลอิสระช่วยต่อสู้เชื้อโรค

สับปะรดไม่ได้มีแต่เพียงสารอาหารที่อุดมสมบูรณ์เท่านั้น แต่สับปะรดยังมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีต่อสุขภาพอีกด้วย สารต้านอนุมูลอิสระคือ โมเลกุลที่ช่วยให้ร่างกายต่อสู้กับภาวะเครียดออกซิเดชั่นได้ ภาวะเครียดออกซิเดชั่นคือ สภาวะที่มีอนุมูลอิสระจำนวนมากในร่างกาย ซึ่งเจ้าอนุมูลอิสระนี้จะทำปฏิกิริยากับเซลล์ของร่างกายและเป็นสาเหตุให้เกิดความเสียหายที่มีผลต่อการอักเสบเรื้อรัง ระบบภูมิต้านทานอ่อนแอ และเป็นโรคที่อันตรายอีกมากมาย สับปะรดยังมีสารต้านอนุมูลอิสระพิเศษที่เรียกว่าฟลาโวนอยด์ และกรดฟีนอลิกรวมอยู่ด้วย

เอนไซม์ในสับปะรดช่วยการย่อยอาหาร

เอนไซม์ในสับปะรดที่ช่วยย่อยเรียกว่า โบรมีเลน สารนี้จะทำงานเป็นเอนไซม์โปรตีเอส ซึ่งช่วยย่อยโมเลกุลโปรตีนให้เป็นก้อนเล็กๆ เป็นกรดอะมิโน และเปปไทด์เล็กๆ เมื่อโมเลกุลโปรตีนถูกย่อยสลาย พวกมันก็จะง่ายในการดูดซึมเข้าสู่ลำไส้เล็ก ซึ่งสิ่งนี้จะเกิดประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับคนที่มภาวะโรคตับอ่อนหลั่งเอนไซม์น้อยกว่าปกติ ซึ่งเป็นโรคที่ตับอ่อนไม่สามารถผลิตเอนไซม์ในการย่อยได้มากพอ

อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง

โรคมะเร็งคือ โรคเรื้อรังของการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ไม่สามารถควบคุมได้ การเกิดโรคมะเร็งมีผลสืบเนื่องมาจากภาวะเครียดออกซิเดชั่น และการอักเสบเรื้อรัง สับปะรดมีสารประกอบที่อาจไปช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งได้ เพราะสับปะรดอาจช่วยทำให้เกิดภาวะเครียดออกซิเดชั่นน้อย และลดการอักเสบ หนึ่งในสารประกอบนี้อยู่ในเอนไซม์การย่อยที่เรียกว่าโบรมีเลน จากการศึกษาในหลอดทดลองพบว่าสารนี้ช่วยต่อสู้กับโรคมะเร็งได้ สารโบรมีเลนจะไปกดการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งหน้าอก และกระตุ้นเซลล์ที่ตายได้ จากการทดลองพบว่าสารโบรมีเลนอาจช่วยกระตุ้นระบบภูมิต้านทานให้ผลิตโมเลกุลที่สร้างเซลล์เม็ดเลือดขาวให้มีประสิทธิภาพ ไปกดการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง และกำจัดเซลล์มะเร็ง

น้ำสับปะรดช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน และยับยั้งการอักเสบ

สับปะรดถูกใช้เป็นยารักษามานานหลายศตวรรษ สับปะรดมีวิตามินหลากหลายชนิดเป็นส่วนประกอบ รวมถึงแร่ธาตุ และเอนไซม์เช่น โบรมีเลนที่อาจช่วยเสริมภูมิต้านทาน และยับยั้งการอักเสบ จากการศึกษาเด็กที่มีสุขภาพดีทั้งกลุ่มที่ไม่ทานสับปะรดเลย และรับประทานบ้าง (140 กรัม) หรือรับประทานปริมาณมาก (280 กรัม) เป็นประจำเป็นเวลา 9 สัปดาห์เพื่อดูการเสริมภูมิคุ้มกันของพวกเขา พบว่าเด็กที่กินสับปะรดทุกวันมีความเสี่ยงในการติดเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อไวรัสต่ำกว่าอย่างเห็นได้ชัด เด็กที่รับประทานสับปะรดปริมาณมากพบว่ามีเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ต่อสู้เชื้อโรค (แกรนูโลไซต์) มากกว่าเด็กอีกสองกลุ่มถึงสี่เท่า

อาจช่วยลดอาการของข้ออักเสบ

 โรคข้ออักเสบมีหลายชนิด แต่ส่วนใหญ่มักมีการอักเสบในข้อต่อ เพราะสับปะรดมีสารโบรมีเลน ที่มีคุณสมบัติต้านการอักเสบ ซึ่งอาจช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดในอาการโรคข้ออักเสบ จากการวิเคราะห์คุณสมบัติของสารโบรมีเลนพบว่าสามารถรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมได้ และสารโบรมีเลนยังอาจช่วยบรรเทาอาการโรคข้ออักเสบ โดยเฉพาะในระยะสั้น

ช่วยเร่งการฟื้นฟูหลังการผ่าตัด หรือหลังออกกำลังกายอย่างหนัก

การรับประทานสับปะรดอาจช่วยลดเวลาในการฟื้นฟูหลังการผ่าตัด หรือออกกำลังกาย ซึ่งเป็นเพราะคุณสมบัติต้านการอักเสบของสารโบรมีเลน โบรมีเลนอาจช่วยลดการอักเสบ การบวม รอยฟกช้ำ และความเจ็บปวดที่อาจเกิดขึ้นหลังการผ่าตัด ซึ่งดูเหมือนจะลดการอักเสบได้ด้วย ยกตัวอย่าง จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่าคนที่บริโภคโบรมีเลนก่อนการผ่าตัดฟันสามารถลดความเจ็บปวดอย่างเห็นได้ชัดเจนและรู้สึกมีความสุขได้มากกว่าคนที่ไม่ทาน การออกกำลังอย่างหนักหน่วงสามารถสร้างความเสียหายเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ และสาเหตุของการอักเสบได้ 

มีรสชาติอร่อยและง่ายในการเพิ่มลงไปในโภชนาการ

สับปะรดมีรสหวาน หาง่าย และสามารถนำไปใส่เพิ่มเติมในโภชนาการได้ง่าย สับปะรดสามารถหาซื้อได้ง่าย และมีตลอดทั้งปีตามท้องตลาด สับปะรดมีทั้งแบบสด กระป๋อง หรือแช่แข็ง คุณสามารถมีความสุขไปกับสับปะรดได้ด้วยการรับประทานเปล่าๆ หรือใส่ในน้ำปั่น สลัด และพิซซ่าทำเองที่บ้าน ต่อไปนี้คือ สูตรอาหารง่ายๆจากสับปะรดสด:
  • มื้อเช้า: สับปะรด บลูเบอรี่ และกรีกโยเกิร์ตปั่น
  • สลัด: ไก่ย่าง อัลมอนด์ บลูเบอรี่ และสลัดสับปะรด 
  • มื้อกลางวัน: เบอร์เกอร์ฮาวายเอี้ยนโฮมเมด (เบอร์เกอร์เนื้อพร้อมกับสับปะรด)
  • มื้อเย็น: แฮมอบทานคู่กับสับปะรด และเชอรี่
  • ของหวาน: ฟรุตสลัดสับปะรด

ใครที่ควรทานสัปปะรดมากกว่าผู้อื่น

สับปะรดเป็นผลไม้ที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่มีวิตามิน แร่ธาตุ และสารต้านอนุมูลอิสระที่จำเป็น มันอาจเป็นอาหารเสริมที่อร่อยและสดชื่นสำหรับการควบคุมอาหารอย่างสมดุลสำหรับประชากรทั่วไป
  • ผู้ที่กำลังมองหาวิตามินซี:
      • สับปะรดเป็นแหล่งวิตามินซีที่ดีเยี่ยม ซึ่งมีความสำคัญต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน สุขภาพผิว และการดูดซึมธาตุเหล็ก บุคคลที่ต้องการเพิ่มปริมาณวิตามินซีจะได้รับประโยชน์จากการนำสับปะรดเข้าไปในอาหาร
  • สุขภาพทางเดินอาหาร:
      • สับปะรดมีเอนไซม์ที่เรียกว่าโบรมีเลน ซึ่งอาจช่วยในการย่อยอาหาร โบรมีเลนขึ้นชื่อในด้านคุณสมบัติต้านการอักเสบและการย่อยอาหาร ทำให้สับปะรดเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการดูแลสุขภาพทางเดินอาหาร
  • นักกีฬาและผู้ชื่นชอบการออกกำลังกาย:
      • สับปะรดมีน้ำตาลธรรมชาติ เช่น ฟรุกโตส ซึ่งช่วยเพิ่มพลังงานได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังมีอิเล็กโทรไลต์ จึงเป็นทางเลือกที่ให้ความชุ่มชื้นและสดชื่นสำหรับผู้ที่ออกกำลังกาย
  • การจัดการน้ำหนัก:
      • สับปะรดเป็นผลไม้แคลอรี่ต่ำที่มีปริมาณน้ำสูง ทำให้เป็นทางเลือกของว่างที่น่าพึงพอใจและดีต่อสุขภาพสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก ปริมาณเส้นใยในสับปะรดอาจทำให้รู้สึกอิ่มได้เช่นกัน
  • คนที่ชอบของหวาน:
      • สำหรับผู้ที่ชอบหวาน สับปะรดอาจเป็นทางเลือกที่มีรสหวานตามธรรมชาติและดีต่อสุขภาพแทนของขบเคี้ยวและขนมหวานที่มีน้ำตาล ตอบสนองความอยากหวานพร้อมทั้งให้สารอาหารที่จำเป็น
  • การสูงวัยอย่างมีสุขภาพดี:
    • สารต้านอนุมูลอิสระในสับปะรด รวมถึงวิตามินซีและแมงกานีส สามารถมีส่วนดีต่อสุขภาพผิวโดยรวมและอาจมีประโยชน์ในการต่อต้านวัย การเพิ่มสับปะรดในอาหารอาจเป็นประโยชน์สำหรับบุคคลที่สนใจในการรักษาสุขภาพผิวให้แข็งแรง
อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่ควรทราบคือปฏิกิริยาของแต่ละคนต่ออาหารแต่ละชนิดอาจแตกต่างกันไป บางคนอาจแพ้สับปะรดหรืออาจรู้สึกไม่สบายทางเดินอาหารเนื่องจากโบรมีเลน ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น กรดไหลย้อน หรือท้องร่วงง่าย อาจต้องการรับประทานสับปะรดในปริมาณที่พอเหมาะ เช่นเดียวกับการพิจารณาเรื่องอาหารใดๆ ขอแนะนำให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพหรือนักโภชนาการเพื่อให้แน่ใจว่าการใส่สับปะรดสอดคล้องกับเป้าหมายด้านสุขภาพของแต่ละบุคคล ตลอดจนข้อจำกัดหรือเงื่อนไขด้านอาหารที่เฉพาะเจาะจง

บทสรุป

สับปะรดมีรสชาติอร่อย แคลลอรี่ต่ำ และเต็มไปด้วยสารอาหาร และสารต้านอนุมูลอิสระสารอาหาร และส่วนประกอบในสับปะรดมีสรรพคุณที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพที่น่าประทับใจ ซึ่งรวมไปถึงทำให้การย่อยดีขึ้น ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง ภูมิต้านทานดีขึ้น บรรเทาอาการข้ออักเสบ และช่วยฟื้นฟูหลังการผ่าตัด และการออกกำลังกายอย่างหนักหน่วงสับปะรดเป็นผลไม้อเนกประสงค์ และสามารถบริโภคได้หลากหลายรูปแบบเพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพ ลองเพิ่มสับปะรดลงในอาหารที่รับประทาน
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด