อิเล็กโทรไลต์-เกลือแร่ผิดปกติ (Electrolyte Disorders) – อาการ ประเภท การรักษา

ผู้เขียน Dr. Wikanda Rattanaphan
0
อิเล็กโทรไลต์-เกลือแร่ผิดปกติ

ความเข้าใจเกี่ยวกับอิเล็กโทรไลต์

อิเล็กโทรไลต์ Electrolyte คือแร่ธาตุและสารประกอบที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติในร่างกาย สารอิเล็กโทรไลต์จะช่วยควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ เรารู้จักอิเล็กโทรไลต์กันดีในชื่อของ เกลือแร่ ตัวอย่างของอิเล็กโทรไลต์รวมไปถึง
  • แคลเซียม
  • คลอไรด์
  • แมกนีเซียม
  • ฟอสเฟต
  • โปแตสเซียม
  • โซเดียม
สารตัวนี้มีให้เห็นอยู่ในเลือด ของเหลวของร่างกายและปัสสาวะ สามารถรับประทานพร้อมอาหาร เครื่องดื่มและอาหารเสริม ภาวะอิเล็กโทรไลต์ผิดปกติเกิดขึ้นเมื่อระดับของอิเล็กโทรไลต์ในร่างกายอาจจะสูงหรือต่ำไป สารอิเล็กโทรไลต์จำเป็นในการรักษาความสมดุลของร่างกายเพื่อให้ร่างกายทำงานอย่างเหมาะสม  ภาวะไม่สมดุลของอิเล็กโทรไลต์รุนแรงอาจเป็นสาเหตุให้เกิดปัญหารุนแรงได้เช่น โคม่า ชักและหัวใจหยุดเต้น

อาการภาวะอิเล็กโทรไลต์ผิดปกติ

ภาวะอิเล็กโทรไลต์ผิดปกติชนิดไม่รุนแรงอาจไม่มีอาการใดๆ โรคจะไม่สามารถหาเจอจนกว่าจะถูกเจอได้ในระหว่างการตรวจเลือดเป็นประจำ อาการมักเริ่มปรากฏเมื่อมีอาการรุนแรงมากขึ้น อาการของภาวะอิเล็กโทรไลต์ผิดปกติทั่วๆไปที่พบคือ: โทรปรึกษาแพทย์ทันทีหากมีอาการเหล่านี้และสงสัยว่าอาจมีภาวะอิเล็กโทรไลต์ผิดปกติ ภาวะดังกล่าวอาจเป็นอันตรายถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษา

สาเหตุของอาการภาวะอิเล็กโทรไลต์ผิดปกติ

ภาวะอิเล็กโทรไลต์ผิดปกติส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นเพราะร่างกายสูญเสียน้ำผ่าการอาเจียนที่ยาวนาน ท้องเสียหรือเหงื่อออก โรคบางชนิดก็สามารถเป็นสาเหตุของภาวะอิเล็กโทรไลต์ผิดปกติได้ ในบางกรณี บางโรคเช่นโรคไตเรื้อรังหรือฉับพลันก็อาจเป็นหนึ่งในสาเหตุ สาเหตุจริงๆขึ้นอยู่กับชนิดของภาวะอิเล็กโทรไลต์ผิดปกติ

ชนิดของภาวะอิเล็กโทรไลต์ผิดปกติ

ระดับอิเล็กโทรไลต์สูงเป็นเรียกว่า “ไฮเปอร์-” ระดับอิเล็กโทรไลต์พร่องจะเรียกว่า “ไฮโป-”:
  • แคลเซียม: Hypercalcemia และ Hypocalcemia
  • คลอไรด์: Hyperchloremia และ Hypochloremia
  • แมกนีเซียม: Hypermagnesemia และ Hypomagnesemia
  • ฟอสเฟต: Hyperphosphatemia หรือ Hypophosphatemia
  • โปแตสเซียม: Hyperkalemia และ Hypokalemia
  • โซเดียม: Hypernatremia และ Hyponatremia

แคลเซียม

แคลเซียม คือ แร่ธาตที่จำเป็นที่ร่างกายใช้เพื่อรักษาความดันเลือดให้คงที่และควบคุมการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อโครงร่าง แคลเซียมใช้เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูกและฟัน Hypercalcemia ภาวะแคลเซียมในเลือดสูงเกิดขึ้นเมื่อมีแคลเซียมในเลือดมากเกินไป ซึ่งมักมีสาเหตุมาจาก:
  • โรคไต
  • ไทรอยด์ผิดปกติ ซึ่งรวมถึง ภาวะฮอร์โมนพาราไทรอยด์สูง
  • โรคปอด เช่น วัณโรคหรือโรคซาร์คอยโดซิส
  • โรคมะเร็งบางชนิด รวมถึงมะเร็งปอดและมะเร็งหน้าอก
  • การใช้ยาลดกรด แคลเซียมหรือแาหารเสริมวิตามินดีมากเกินไป
  • ยาบางชนิดเช่น ลิเทียม ทีโอฟิลลีน หรือยาขับน้ำบางชนิด
ภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำกว่าปกติ เกิดขึ้นเมื่อเกิดภาวะพร่องแคลเซียมในกระแสเลือด ที่มีสาเหตุมาจาก 

คลอไรด์

คลอไรด์คือสิ่งจำเป็นในการรักษาสมดุลของเหลวในร่างกายให้มีความเหมาะสม Hyperchloremia ภาวะเลือดเป็นกรดคลอดไรด์ เกิดขึ้นเมื่อมีคลอไรด์ในร่างกายมากเกินไป สามารถเกิดขึ้นเป็นผลมาจาก: Hypochloremia ภาวะคลอไรด์ในเลือดต่ำ เกิดขึ้นเมื่อมีคลอไรด์ในร่างกายน้อยเกินไป มักเกิดขึ้นเพราะมีปัญหาเกี่ยวกับโซเดียมและโปแตสเซียม สาเหตุอื่นๆที่อาจทำให้เกิดภาวะดังกล่าว เช่น:
  • โรคซิสติด ไฟโบรซิส
  • การรับประทานผิดปกติ เช่น โรคอะเร็กนอเซีย
  • หิษจากแมลงป่องกัด
  • ไตวายฉับพลัน

แมกนีเซียม

แมกนีเซียมคือแร่ธาตุที่สำคัญที่ช่วยควบคุมการทำงานที่สำคัญ เช่น:
  • การหดตัวของกล้ามเนื้อ
  • จังหวะการเต้นของหัวใจ
  • การทำงานของประสาท
Hypermagnesemia ภาวะแมกนีเซียมในเลือดสูง หมายถึงจำนวนแมกนีเซียมที่มากเกินไป วามผิดปกตินี้ส่งผลกระทบต่อคนที่เป็นโรคแอดดิสันและโรคไตระยะสุดท้าย Hypomagnesemia ภาวะแมกนีเซียมต่ำ หมายความถึงมีแมกนีเซียมในร่างกายต่ำมากเกินไป สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจาก:

Electrolyte Disorders

ฟอสเฟต

ไต กระดูกและลำไส้ทำงานเพื่อรักษาระดับฟอสเฟตให้มีความสมดุลในร่างกาย ฟอสเฟตมีความจำเป็นในวงกว้างสำหรับการทำงานและมีผลต่อแคลเซียม Hyperphosphatemia ภาวะฟอสฟอรัสในเลือดสูงเกิดขึ้นเพราะ:
  • มีระดับแคลเซียมต่ำ
  • โรคไตเรื้อรัง
  • หายใจลำบากขั้นรุนแรง
  • ต่อมพาราไทรอยด์ไม่ทำงาน
  • กล้ามเนื้อบาดเจ็บรุนแรง
  • ภาวะ Tumor lysis syndrome เป็นภาวะแทรกซ้อนจากการรักษาโรคมะเร็ง
  • การใช้ยาระบายที่มีฟอสเฟตเป็นส่วนประกอบมากเกินไป
ภาวะระดับฟอสเฟตต่ำ หรือ Hypophosphatemia สามารถพบได้ใน
  • ติดแอลกอฮอล์ฉับพลัน
  • แผลไฟไหม้รุนแรง
  • อดอยาก
  • ภาวะพร่องวิตามินดี
  • ต่อมพาราไทรอยด์ทำงานมากเกินไป
  • ยาบางชนิด เช่นการรักษาภาวะขาดเหล็กด้วยการฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ไนอาซิน (Niacor, Niaspan) และแอนตาซิดบางชนิด

โพแทสเซียม

โพแทสเซียมคือส่วนสำคัญสำหรับควบคุมการทำงานของหัวใจ อีกทั้งยังช่วยรักษาความแข็งแรงของประสาทและกล้ามเนื้อ Hyperkalemia ภาวะโพแทสเซียมสูงอาจเกิดขึ้นเพราะระดับโปแตสเซียมสูง เป็นภาวะที่อาจทำให้เสียชีวิตได้หากไม่ได้รับการวินิจฉัยและไม่รับการรักษา สิ่งกระตุ้นคือ:
  • ภาวะขาดน้ำรุนแรง
  • ไตวาย
  • เลือดเป็นกรดรุนแรง ซึ่งรวมถึงภาวะเลือดเป็นกรด
  • ยาบางชนิด รวมถึงยาความดันเลือดและยาขับปัสสาวะ
  • ภาวะต่อมหมวกไตบกพร่อง ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อระดับคอร์ติซอลต่ำเกินไป
Hypokalemia ภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำกว่าปกติเกิดขึ้นเมื่อมีระดับโพแทสเซียมต่ำเกินไป ซึ่งมักเกิดขึ้นมาจาก:
  • การรับประทานอาหารที่ผิดปกติ
  • อาเจียนหรือท้องเสียรุนแรง
  • ภาวะขาดน้ำ
  • ยาบางชนิด รวมถึงยาระบาย ยาขับปัสสาวะและคอร์ติโคสเตียรอยด์
อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจ ภาวะขาดน้ำ

โซเดียม

โซเดียมคือสิ่งที่จำเป็นสำหรับร่างกายในการรักษาสมดุลของเหลวและเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการทพชำงานของร่างกายที่ปกติ อีกทั้งยังช่วยควบคุมการทำงานของประสาทและการหดตัวของกล้ามเนื้อ Hypernatremia ภาวะโซเดียมในเลือดสูง เกิดขึ้นเมื่อมีโซเดียมในเลือดมากเกินไป ระดับโซเดียมที่สูงผิดปกติอาจเกิดจาก:
  • การบริโภคน้ำที่ไม่เพียงพอ
  • ภาวะขาดน้ำอย่างรุนแรง
  • การสูญเสียของเหลวในร่างกายมากเกินไปเป็นผลมาจากการอาเจียนมาก ท้องเสีย เหงื่อออกหรือมีอาการป่วยเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ
  • ยาบางชนิดรวมไปถึง คอร์ติโคสเตียรอยด์
Hyponatremia ภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ เกิดขึ้นเมื่อมีโซเดียมน้อยมากเกินไป สาเหตุของโซเดียมต่ำที่พบได้ทั่วไปคือ:
  • การสูญเสียของเหลวมากเกินไปผ่านทางผิวจากเหงื่อหรือการเผาไหม้
  • อาเจียนหรือท้องเสีย
  • โภชนาการที่ไม่ดี
  • การใช้แอลกอฮอล์ที่ผิดปกติ
  • ภาวะการดื่มน้ำมากเกินไป
  • ไทรอยด์ ไฮโปทาลามัสหรือต่อมหมวกไตผิดปกติ
  • ตับ หัวใจหรือไตวาย
  • ยาบางชนิด รวมถึงยาขับปัสสาวะและยากันชัก
  • กลุ่มอาการของการหลั่งฮอร์โฒนต้านการขับปัสสาวะไม่เหมาะสม

การวินิจฉัยภาวะอิเล็กโทรไลต์ผิดปกติ

การตรวจเลือดทั่วไปสามารถตรวจวัดระดับอิเล็กโทรไลต์ในร่างกาย การตรวจเลือดนี้เพื่อดูการทำงานของไตคือสิ่งที่สำคัญ แพทย์อาจต้องการตรวจร่างกายหรือตรสจพิเศษเพื่อให้แน่ใจว่าเป็นภาวะอิเล็กโทรไลต์หรือไม่ การตรวจจะขึ้นอยู่กับสภาพของร่างกาย ยกตัวอย่างเช่น ภาวะโซเดียมมากเกินไปสามารถเป็นสาเหตุทำให้สูญเสียความยืดหยุ่นในผิวได้เพราะมีภาวะขาดน้ำอย่างเห็นได้ชัด แพทย์อาจสั่งตรวจการยืดหยุ่นหัวนมเพื่อประเมินภาวะขาดน้ำที่ส่งผลกระทบ แพทย์อาจตรวจปฏิกิริยาโต้ตอบ การเพิ่มหรือลดของระดับอิเล็กโทรไลต์สามารถส่งผลต่อปฏิกิริยาตอบโต้ของร่างกาย

การรักษาภาวะอิเล็กโทรไลต์ผิดปกติ

การรักษาขึ้นอยู่กับชนิดของอิเล็กโทรไลต์ผิดปกติและภาวะที่ทำให้เกิด โดยทั่วไปแล้วการรักษามักเป็นการปรับคืนความสมดุลของแร่ธาตุในร่างกายให้มีความเหมาะสม ซึ่งทำได้โดย:

การให้สารเหลวผ่านหลอดเลือดดำ

การให้สารเหลวผ่านหลอดเลือดดำ โซเดียมคลอไรด์จะสามารถช่วยคืนน้ำให้ร่างกาย การรักษานี้มักใช้ในกรณีภาวะขาดน้ำที่เป็นผลมาจากการอาเจียนหรือท้องเสีย อาหารเสริมอิเล็กโทรไลต์สามารถเติมผ่านของเหลวที่ฉีดเข้าร่างกายเพื่อแก้ไขภาวะพร่องได้

การให้ยาบางชนิดผ่านทางหลอดเลือดดำ

การให้ยาผ่านทางหลอดเลือดดำสามารถช่วยคืนความสมดุลของอิเล็กโทรไลต์ได้อย่างรวดเร็ว สามารถป้องกันผลกระทบด้านลบในขณะที่เริ่มรักษาด้วยวิธีอื่นๆ ยาที่ได้รับจะขึ้นอยู่กับภาวะอิเล็กโทรไลต์ผิดปกติที่เป็น ยาอาจรวมถึง แคลเซียมกลูโคเนต แมกนีเซียม คลอไรด์ และโพแตสเซียม คลอไรด์ 

ยาชนิดรับประทานและอาหารเสริม

ยาชนิดรับประทานและอาหารเสริมมักถูกนำมาใช้เพื่อแก้ไขแร่ธาตุผิดปกติเรื้อรังในร่างกาย  ขึ้นอยู่กับชนิดของอิเล็กโทรไลต์ผิดปกติที่มี อาจได้รับยาหรืออาหารเสริมเช่น:
  • แคลเซียม กลูโคเนต คาร์บอเนต ไซเตรทหรือแลคเตท
  • แมกนีเซียม ออกไซด์
  • โปแตสเซียม คลอไรด์
  • ยาจับฟอสเฟต ซึ่งรวมถึง เซเวลาเมอร์ ไฮโดรคลอไรด์ (Renagel) แลนทานัม (ฟอสเรนอล)และการรักษาด้วยแคลเซียม เช่น แคลเซียม คาร์บอเนต 

การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม

กาารฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมคือชนิดของการฟอดเลือดที่ใช้เครื่องเพื่อกำจัดของเสียออกจากเลือด เป็นทางเดียวเพื่อนำเอาเลือดไปหมุนเวียนในเครื่องไตเทียมคือแพทย์จะผ่าตัดสร้างเส้นฟอกเลือดหรือจุดทางเข้าเพื่อต่อเข้ากับหลอดเลือด  จุดทางเข้านี้จะเป็นจุดให้เลือดไหลผ่านร่างกายในระหว่างการรักษาด้วยการฟอกเลือด ซึ่งหมายความว่าจะได้เลือดที่มีผ่านการกรองและบริสุทธิ์มากกว่า การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมสามารถนำมาใช้เมื่อภาวะอิเล็กโ?รไลต์ผิดปกติที่มีสาเหตุมาจาดไตเสียหายฉับพลันและการรักษาชนิดอื่นๆไม่ได้ผล แพทย์จะตัดสินใจฝช้วิธีการรักษาด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมก็ต่อเมื่ออิเล็กโทรไลต์มีปัญหาที่อาจทำให้เสียชีวิตได้

ความเสี่ยงของภาวะอิเล็กโทรไลต์

ทุกคนที่มีภาวะอิเล็กโทรไลต์ผิดปกติ บางคนจะมีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้นเพราะโรคประจำตัว ภาวะที่เพิ่มความเสี่ยงสำหรับอิเล็กโทรไลต์ผิดปกติคือ:
  • การใช้แอลกอฮอล์ผิดปกติ
  • ตับแข็ง
  • ภาวะหัวใจล้มเหลว
  • โรคไต
  • การรับประทานผิดปกติ เชานอะนอเร็กเซียและบูลิเมีย
  • การบาดเจ็บ เช่นแผลไฟไหม้รุนแรง หรือกระดูกแตกหัก
  • ไทรอยด์ผิดปกติ
  • ต่อมหมวกไตผิดปกติ

การป้องกันภาวะอิเล็กโทรไลต์ผิดปกติ

ปฏิบัติตามคำแนะนำเพื่อช่วยป้องกันภาวะอิเล็กโทรไลต์ผิดปกติได้ดังตอไปนี้:
  • พยายามอย่าขาดน้ำหากมีอาการอาเจียนนานๆ ท้องเสียหรือเหงื่อออก
  • ไปพบแพทย์หากมีอาการของอิเล็กโทรไลต์ผิดปกติ
หากภาวะอิเล็กโทรไลต์ผิดปกติมีสาเหตุมาจากการใช้ยาหรือภาวะโรค แพทย์จะปรับเปลี่ยนยาและการรักษา เพื่อช่วยป้องกันการเกิดภาวะอิเล็กโทรไลต์ขึ้นอีกในอนาคต

โภชนาการที่สำคัญเมื่ออิเล็กโทรไลต์ผิดปกติ

ความผิดปกติของอิเล็กโทรไลต์เกี่ยวข้องกับความไม่สมดุลของระดับแร่ธาตุที่จำเป็นหรืออิเล็กโทรไลต์ในร่างกาย อิเล็กโทรไลต์ทั่วไป ได้แก่ โซเดียม โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม คลอไรด์ ฟอสเฟต และไบคาร์บอเนต โภชนาการที่เหมาะสมมีบทบาทสำคัญในการจัดการความผิดปกติของอิเล็กโทรไลต์ อย่างไรก็ตาม คำแนะนำด้านอาหารอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับชนิดและสาเหตุของความไม่สมดุลของอิเล็กโทรไลต์ ต่อไปนี้เป็นแนวทางทั่วไปในการจัดการโภชนาการในบริบทของความผิดปกติของอิเล็กโทรไลต์ทั่วไป:

ภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ (ระดับโซเดียมต่ำ):

  • ข้อจำกัดของของเหลว:
      • ในกรณีที่ภาวะโซเดียมในเลือดต่ำซึ่งมีระดับโซเดียมต่ำ อาจจำเป็นต้องจำกัดปริมาณของเหลว ซึ่งจะช่วยป้องกันการเจือจางโซเดียมในร่างกายอีกต่อไป
  • อาหารที่อุดมด้วยโซเดียม:
      • การบริโภคอาหารที่มีโซเดียมสูง เช่น เกลือแกง น้ำซุป ผักดอง มะกอก และอาหารแปรรูป อย่างไรก็ตาม อาหารควรมีความสมดุล และควรหลีกเลี่ยงการบริโภคโซเดียมมากเกินไป
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบ:
    • จำกัดการบริโภคอาหารที่มีน้ำมาก เช่น แตงโมและแตงกวา เนื่องจากอาหารเหล่านี้จะส่งผลต่อการบริโภคของเหลวโดยรวม

ภาวะโซเดียมในเลือดสูง (ระดับโซเดียมสูง):

  • ความชุ่มชื้น:
      • ในกรณีของภาวะโซเดียมในเลือดสูง ปริมาณของเหลวที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะน้ำ ถือเป็นสิ่งสำคัญในการช่วยลดความเข้มข้นของโซเดียม อย่างไรก็ตามอัตราการเปลี่ยนของเหลวควรค่อยเป็นค่อยไปเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน
  • อาหารโซเดียมต่ำ:
    • ลดการบริโภคอาหารโซเดียมสูง เช่น อาหารแปรรูป ซุปกระป๋อง และของขบเคี้ยวที่มีรสเค็ม

ภาวะโพแทสเซียมต่ำ (ระดับโพแทสเซียมต่ำ):

  • อาหารที่อุดมด้วยโพแทสเซียม:
      • รับประทานอาหารที่มีโพแทสเซียมสูง เช่น กล้วย ส้ม มะเขือเทศ มันฝรั่ง ผักใบเขียว และโยเกิร์ต อย่างไรก็ตาม อาจจำเป็นต้องจำกัดโพแทสเซียมในอาหารตามเงื่อนไขทางการแพทย์บางประการ
  • หากต้องจำกัดอาหารที่มีโพแทสเซียมสูง:
    • ในกรณีที่จำเป็นต้องจำกัดโพแทสเซียม ให้จำกัดอาหารที่มีโพแทสเซียมสูง เช่น กล้วย ส้ม มะเขือเทศ และผลิตภัณฑ์ทดแทนเกลือที่มีโพแทสเซียมสูง

ภาวะโพแทสเซียมสูง (ระดับโพแทสเซียมสูง):

  • อาหารโพแทสเซียมต่ำ:
      • ปฏิบัติตามอาหารที่มีโพแทสเซียมต่ำโดยหลีกเลี่ยงอาหารที่มีโพแทสเซียมสูง เช่น กล้วย ส้ม มะเขือเทศ มันฝรั่ง และอาหารทดแทนเกลือ

ภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ (ระดับแคลเซียมต่ำ):

  • อาหารที่อุดมด้วยแคลเซียม:
      • เพิ่มการบริโภคอาหารที่อุดมด้วยแคลเซียม รวมถึงผลิตภัณฑ์จากนม ผักใบเขียว อัลมอนด์ และอาหารเสริม
  • วิตามินดี:
    • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้รับวิตามินดีเพียงพอซึ่งจำเป็นต่อการดูดซึมแคลเซียม แหล่งที่มา ได้แก่ แสงแดด ปลาที่มีไขมัน และอาหารเสริมวิตามินดี

แคลเซียมในเลือดสูง (ระดับแคลเซียมสูง):

  • ความชุ่มชื้น:
      • การให้น้ำที่เพียงพอสามารถช่วยส่งเสริมการขับแคลเซียมในปัสสาวะ ส่งเสริมการบริโภคของเหลวเว้นแต่มีข้อห้าม
  • จำกัดอาหารที่มีแคลเซียมสูง:
    • จำกัดการบริโภคอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น ผลิตภัณฑ์จากนม อาหารเสริม และปลาบางชนิด

ภาวะแมกนีเซียมในเลือดต่ำ (ระดับแมกนีเซียมต่ำ):

  • อาหารที่อุดมด้วยแมกนีเซียม:
      • รวมอาหารที่อุดมด้วยแมกนีเซียมในอาหาร เช่น ถั่ว ธัญพืชไม่ขัดสี ผักใบเขียว และพืชตระกูลถั่ว
  • การเสริมแมกนีเซียม:
    • ในกรณีที่รุนแรง อาจจำเป็นต้องเสริมแมกนีเซียมภายใต้การดูแลของแพทย์

ภาวะแมกนีเซียมในเลือดสูง (ระดับแมกนีเซียมสูง):

  • จำกัดอาหารที่อุดมด้วยแมกนีเซียม:
      • จำกัดการบริโภคอาหารที่อุดมด้วยแมกนีเซียม เช่น ถั่ว  ธัญพืชไม่ขัดสี และปลาบางชนิด
  • ความชุ่มชื้น:
    • การให้น้ำที่เพียงพอสามารถช่วยส่งเสริมการขับแมกนีเซียมในปัสสาวะ
แผนโภชนาการเฉพาะบุคคลมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการจัดการความผิดปกติของอิเล็กโทรไลต์ และผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ รวมถึงนักโภชนาการ มีบทบาทสำคัญในการปรับคำแนะนำด้านอาหารให้เหมาะกับความต้องการและสภาวะทางการแพทย์ของแต่ละบุคคล
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด