วัณโรค (Tuberculosis) : สถานการณ์ในประเทศไทย อาการ สาเหตุ การรักษา

วัณโรค (Tuberculosis)

วัณโรค (Tuberculosis หรือ TB) คืออะไร วัณโรค หรือโรค TB คือโรคติดต่อที่มีผลโดยตรงต่อปอดของร่างกาย วัณโรคเกิดจากสาเหตุการติดเชื้อแบคทีเรียอย่างรุนแรง และสามารถติดต่อกันได้ง่าย ทางอากาศ การหายใจ จาม และไอ และการที่อยู่ร่วมกับผู้ป่วยที่เป็นวัณโรคเป็นระยะเวลาติดต่อกันยาวนาน โรควัณโรคมักจะส่งผลต่อปอดโดยตรง แต่สามารถส่งผลกระทบต่ออวัยวะส่วนอื่นได้เช่นกัน เช่น กระดูกไขสันหลัง ไต สมอง ซึ่งอาการจะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับเชื้อวัณโรคจะเจริญเติบโตอยู่ที่ตำแหน่งใดของร่างกาย ยกตัวอย่างเช่น หากเป็นวัณโรคไต จะส่งผลให้ผู้ป่วยปัสสาวะออกมาเป็นเลือด

ใครที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อวัณโรค

ผู้ที่ติดยาเสพติด หรือผู้ติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในระยะยาวส่งผลให้ได้รับเชื้อวัณโรค รวมทั้งผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIV และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง หากผู้ป่วยวัณโรคมีเชื้อ HIV ร่วมด้วย นั่นหมายความว่ามีความเสี่ยงอันตรายถึงชีวิต ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ในการติดเชื้อวัณโรค เช่น ผู้ที่ใช้ยารักษาโรคเพื่อการปลูกถ่ายอวัยวะต่างๆ มักอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อวัณโรคเช่นกัน เช่น หรือผู้ที่เดินทางไปยังประเทศหรือพื้นที่ที่มีอัตราการเป็นวัณโรคสูง เช่น
  • ประเทศอินเดีย
  • ประเทศเม็กซิโก และประเทศอื่นๆในละตินอเมริกา
  • ประเทศจีนและประเทศอื่นๆในเอเชีย
  • ประเทศรัสเซีย และประเทศอื่นๆของอดีตสหภาพโซเวียต
  • เกาะของเอเชียตะวันออกเฉียงมต้
  • Sub-Saharan Africa หรือ บริเวณพื้นที่ของประเทศในทวีปแอฟริกา
  • ประเทศสหพันธรัฐไมโครนีเซีย

สถานการณ์วัณโรคในประเทศไทย

องค์การอนามัยโลกจัดให้ประเทศไทยเป็น 1 ใน 14 ประเทศของโลกที่มีภาระวัณโรค  สำนักวัณโรครายงานผลการดำเนินงานวัณโรคของประเทศไทยปี 2559 พบว่ามีผู้ป่วยขึ้นทะเบียนรักษาวัณโรค (ผู้ป่วยรายใหม่และกลับเป็นซ้ำ) 70,114 ราย ผู้ป่วยวัณโรคที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวี 6,794 ราย ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 11 ของผู้ที่ได้รับการตรวจเชื้อ HIV  วัณโรคดื้อยาหลายขนาน 955 ราย และวัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมาก 13 ราย โดยมีผลสำเร็จการรักษาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่และกลับเป็นซ้ำร้อยละ 82.9

สาเหตุของการเกิดโรควัณโรคมีอะไรบ้าง

แบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรควัณโรค คือแบคทีเรียชนิด Mycobacterium Tuberculosis เชื้อแบคทีเรียชนิดนี้จะถูกส่งผ่าน ละอองอากาศ และเมื่อเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้อยู่ในละอองอากาศ ผู้ที่สูดอากาศเข้าไป จะได้รับเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้เข้าสู่ร่างกาย หากเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้เข้าสู่ร่างกายแล้ว สามารถแพร่กระจายได้อีกโดย
  • การไอ
  • การจาม
  • การพูด
  • การร้องเพลง
ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันในร่างกายแข็งแรงดี ถึงแม้ได้รับเชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium Tuberculosis ไปแล้วอาจไม่ส่งผลอะไรต่อร่างกาย แต่จะเรียกว่าอยู่ในภาวะมีเชื้อวัณโรคแฝงเข้าสู่ร่างกายแล้ว

อาการของวัณโรค เป็นอย่างไร 

ผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อวัณโรคในบางรายแล้วนั้น อาการเริ่มแรกของวัณโรคอาจยังไม่แสดงอาการอะไร เนื่องจากเชื้อวัณโรคจะแฝงตัวภายในร่างกายอาจเป็นระยะเวลายาวนานเป็นปี ถึงจะแสดงอาการและพัฒนากลายเป็นโรควัณโรค เชื้อวัณโรคเป็นสาเหตุที่ทำให้มีผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ เช่นการไอ ไอเป็นเลือด มีเสมหะ ไอติดต่อกันเป็นระยะเวลามากกว่า 3 สัปดาห์ ส่งผลให้มีอาการปวดเจ็บคอเวลาไอและ แน่นหน้าอก

อาการวัณโรคจะแบ่งออกเป็น 2 ระยะ

  • ระยะแฝง (Latent TB)  เมื่อผู้ป่วยได้รับเชื้อแล้วอาการวัณโรคระยะแรกจะไม่มีอาการใด ๆ เนื่องจากเชื้อไม่ได้รับการกระตุ้น ถึงแม้แบคทีเรียก็ยังคงอยู่ในร่างกาย และสามารถก่อให้เกิดอาการจนเข้าสู่ระยะแสดงอาการได้ ทั้งนี้หากผู้ป่วยมีการตรวจพบเจอเชื้อในช่วงระยะแฝง แพทย์อาจให้เข้ารับการรักษาและควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อ รวมถึงลดความเสี่ยงที่อาการจะเข้าสู่ระยะแสดงอาการ
  • ระยะแสดงอาการ (Active TB) เป็นระยะที่เชื้อได้รับการกระตุ้นจนเกิดอาการต่าง ๆ โดยอาการในระยะนี้จะปรากฏให้เห็นได้ชัดเจน เช่น มีอาการไอเรื้อรัง ไอเป็นเลือด เจ็บหน้าอก หรือรู้สึกเจ็บเวลาหายใจหรือไอ อ่อนเพลีย มีไข้ หนาวสั่น มีอาการเหงื่อออกในเวลากลางคืน น้ำหนักลด และความอยากอาหารลดลง

วิธีสังเกตอาการวัณโรค

หากคุณมีอาการเหล่านี้ นานกว่า 2 สัปดาห์ ควรพบแพทย์
  • ไอต่อเนื่องติดต่อกัน
  • อ่อนเพลีย น้ำหนักลด และเบื่ออาหาร
  • ไอหรือเสมหะมีเลือดปน
  • มีไข้โดยไม่ทราบสาเหตุ

การวินิจฉัยโรควัณโรค

การทดสอบผิวหนัง

แพทย์จะทดสอบผิวหนังด้วยการใช้โปรตีนบริสุทธิ์ (PPD) เพื่อตรวจสอบว่ามีเชื้อแบคทีเรียวัณโรคหรือไม่ สำหรับการทดสอบด้วยวิธีนี้ แพทย์จะฉีดสารโปรตีนบริสุทธิ์ที่มีสมบัติเหมือนเชื้อวัณโรค PPD 0.1 มิลลิลิตร เข้าสู่ผิวหนังชั้นบนสุดของผู้ป่วย หลังจากนั้น 2-3 วัน ผู้ป่วยจะต้องไปพบแพทย์อีกครั้งเพื่อดูผลของผิวหนังว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร หากผิวหนังบริเวณที่ฉีดโปรตีนลงไป มีลักษณะเป็นวงกว้าง บวมใหญ่ขึ้นมากกว่า 5 มม. นั่นหมายถึงว่าผู้ป่วยมีเชื้อวัณโรคอยู่ในร่างกาย หากผิวที่ได้รับการฉีดโปรตีนมีวงกว้างใหญ่ขึ้นระหว่าง 5-15 มม. แสดงว่าผู้ป่วยติดเชื้อวัณโรคอย่างแน่นอน อย่างไรก็ตาม การใช้วิธีนี้อาจไม่ได้ผลกับผู้ป่วยบางราย หากใช้วิธีนี้กับผู้ที่เพิ่งได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันวัณโรค อาจจะไม่พบเชื้อ การตรวจเลือด แพทย์จะใช้วิธีตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อวัณโรค หากพบเชื้อแล้ว การตรวจเลือดสามารถยืนยันได้อีกว่าเชื้อวัณโรคนั้นอยู่ในระยะแฝงหรือระยะแสดงอาการ

การเอ็กซเรย์หน้าอก

แพทย์จะให้ผู้ป่วยเอ็กซเรย์หน้าอก เพื่อหาจุดเล็กๆที่ปรากฏขึ้นที่ปอด หรือหาการเกิดฝีในปอด ซึ่งจุดที่เกิดขึ้นบริเวณปอด เป็นสัญญาณของการติดเชื้อวัณโรคปอด หรือเชื้อวัณโรคกำลังเพาะเชื้ออยู่บนปอดของผู้ป่วย

การตรวจด้วยวิธีอื่นๆ

แพทย์จะทำการตรวจเสมหะ หรือสารคัดหลั่งจากปอด เพื่อตรวจเชื้อวัณโรค ผู้ป่วยควรสวมหน้ากากอนามัยระหว่างทำการตรวจ เพื่อไม่ให้เชื้อสามารถแพร่กระจายสู่ผู้อื่นได้ง่าย หากมีอาการไอ จาม หรือมีละอองน้ำลายจากการพูดคุย หากผู้ป่วยตรวจพบว่ามีเชื้อวัณโรคอยู่ในร่างกาย ควรรีบรักษาโดยทันที เพื่อป้องกันอาการแฝงของวัณโรค และเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่บุคคลอื่นได้ด้วย  Tuberculosis

แนวทางการรักษาโรควัณโรค

โรควัณโรครักษาหายได้ ผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อวัณโรค จะต้องรับประทานยารักษาวัณโรคที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย อย่างน้อยประมาณ  6 เดือนถึง 9 เดือน  ต้องรับประทานยาให้ครบกำหนดตามที่แพทย์สั่งเพื่อป้องกันเชื้อแบคทีเรียวัณโรคกลับสู่ร่างกาย แพทย์จะสั่งจ่ายยาหลายชนิดเพื่อรักษาอาการของผู้ป่วยวัณโรค ยาที่พบบ่อยที่สุดสำหรับการรักษาวัณโรค TB ได้แก่
  • isoniazid
  • ethambutol (Myambutol)
  • pyrazinamide
  • rifampin (Rifadin, Rimactane)
  • rifapentine (Priftin)
ยารักษาวัณโรคอาจส่งผลข้างเคียงต่อผู้ป่วยและอาจมีอาการข้างเคียง เช่น : หากมีอาการผิดปกติดังกล่าวตลอดระยะเวลาการกินยารักษาวัณโรค ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อให้แพทย์ตรวจสอบค่าตับของผู้ป่วย เพื่อป้องกันการเกิดลดผลกระทบที่รุนแรงต่อตับของผู้ป่วย

แนวโน้มของวัณโรคมีอะไรบ้าง

ผู้ป่วยวัณโรคสามารถหายจากวัณโรคได้ หากรับประทานยาติดต่อกันตามแพทย์สั่ง และได้รับการรักษาอาการเป็นอย่างดี  หากผู้ป่วยมีเชื้ออื่นๆแทรกซ้อนด้วย เช่นผู้ป่วยที่มีเชื้อ HIV อาจส่งผลให้รักษายากยิ่งขึ้น เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIV ไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อวัณโรคได้ ผู้ป่วยวัณโรค ควรได้รับการรักษาตั้งแต่แรกเริ่ม เพื่อให้ยาปฏิชีวนะทำหน้าที่รักษาอาการได้อย่างเต็ม และเพื่อไม่ให้ส่งผลต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนต่อไปในอนาคต

การดูแลผู้ป่วยวัณโรค

หากผู้ป่วยเป็นวัณโรคแล้ว ควรปฏิบัติตัวดังนี้
  • กินยาตามชนิดและขนาดที่แพทย์จนครบกำหนดหลังกินยาไประยะหนึ่ง อาการไอและอาการทั่ว ๆ ไปจะดีขึ้น ห้ามหยุดกินยาเด็ดขาด
  • ควรสวมหน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่น และไม่ควรใช้ซ้ำเพราะหน้ากากอนามัยสามารถเป็นพาหะได้ หากใช้แล้ว ควรเก็บทิ้งอย่างมิดชิด เพื่อไม่ให้เชื้อโรคแพร่กระจายได้อีก
  • หากมีเสมหะ ควรบ้วนเสมหะลงในภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิด
  • จัดบ้านให้อากาศถ่ายเทสะดวก ให้แสงแดดส่องถึงและควรนำเครื่องนอนออกตากแดดอยู่สม่ำเสมอ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ได้ทุกชนิด โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ เนื้อปลา นม ไข่ ผักและผลไม้
  • นอนกลางวันอย่างน้อยวันละ 1 ชั่วโมง
  • ควรงดสิ่งเสพติดทุกชนิด เช่น เหล้า บุหรี่ ฯลฯ
  • ไม่เที่ยวในสถานที่ที่มีผู้คนแออัด เพราะอาจนำเชื้อไปแพร่ให้ผู้อื่น หรือติดเชื้อโรคจากผู้อื่นเข้าสู่ร่างกายเพิ่มเติม

วิธีป้องกันวัณโรค

ควรรู้จักวิธีป้องกันการติดเชื้อวัณโรค เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายของเชื้อให้น้อยลง มีวิธีต่าง ๆ ดังนี้ สำหรับผู้ป่วยผู้ป่วยควรรับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด และรับประทานตามกำหนดระยะเวลา ผู้ป่วยที่ติดเชื้อวัณโรค ควรสวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลาหากต้องออกไปข้างนอก หรือขณะไปพบแพทย์ ผู้ป่วยที่เคยรับเชื้อวัณโรคแล้ว ควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการได้รับเชื้อวัณโรคอีก เช่น สถานที่ในโรงพยาบาล หากจำเป็นต้องไปควรสวมใส่หน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันเชื้อแบคทีเรียที่ล่องลอยอยู่ในอากาศ หากไม่ระมัดระวังอาจทำให้เชื้อกลับเข้าสู่ร่างกายได้อีก สำหรับบุคคลทั่วไป หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยวัณโรคในระยะแสดงอาการเนื่องจากเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่มีโอกาสแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นได้มากที่สุด ดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ โดยรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และหมั่นตรวจสุขภาพประจำปี ฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ การได้รับวัคซีนป้องกันวัณโรค BCG ตั้งแต่เด็กจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อวัณโรคได้ ซึ่งในปัจจุบันเด็กไทยแรกเกิดสามารถรับการฉีดวัคซีนชนิดนี้ได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ หากรับบริการจากทางโรงพยาบาลของรัฐตามสิทธิการรักษา

คำถามที่พบบ่อย

วิธีที่เร็วที่สุดในการรักษาวัณโรคคืออะไร  หลังจากใช้ยาปฏิชีวนะเป็นเวลา 2 สัปดาห์ คนส่วนใหญ่ไม่ติดเชื้ออีกต่อไปและรู้สึกดีขึ้น อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือต้องรับประทานยาต่อไปตามที่แพทย์สั่งและรับประทานยาปฏิชีวนะให้ครบ การ รับประทานยาเป็นเวลา 6 เดือนเป็นวิธีที่ดีที่สุดเพื่อให้แน่ใจว่าแบคทีเรียวัณโรค จะถูกฆ่า คุณสามารถรักษาวัณโรคให้หายขาดได้หรือไม่  กรณีวัณโรคส่วนใหญ่สามารถรักษาให้หายได้เมื่อได้รับยาและรับประทานอย่างเหมาะสม ทำไมรักษาวัณโรคไม่ได้  นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่ามัยโคแบคทีเรียนั้นยากที่จะฆ่า เพราะ เซลล์ที่อยู่เฉยๆ มีอยู่แม้ในผู้ป่วยที่เป็นโรค และเซลล์เหล่านี้มีความไวต่อ ยาปฏิชีวนะน้อยกว่าแบคทีเรียที่มีฤทธิ์ในการเผาผลาญ จะเกิดอะไรขึ้นถ้าคุณได้รับเชื้อวัณโรค วัณโรค (TB) เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อโรคที่แพร่กระจายจากคนสู่คนทางอากาศ วัณโรคมักส่งผลต่อปอด แต่อาจส่งผลต่อส่วนอื่นๆ ของร่างกายด้วย เช่น สมอง ไต หรือกระดูกสันหลัง ผู้ที่เป็นวัณโรคสามารถเสียชีวิต ได้หากไม่ได้รับการรักษา ผู้ป่วยวัณโรคสามารถมีชีวิตอยู่ได้นานแค่ไหน เมื่อผู้ป่วยวัณโรคไอออกมา บาซิลลัสสามารถอยู่นอกร่างกายได้นานถึงหกเดือน หากได้รับการปกป้องจากแสงแดดโดยตรง วัณโรคมีความรุนแรงแค่ไหน เป็นภาวะที่ร้ายแรง แต่สามารถรักษาให้หายได้ด้วยการรักษาที่เหมาะสม วัณโรคส่วนใหญ่ส่งผลกระทบต่อปอด อย่างไรก็ตาม อาจส่งผลต่อส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย รวมถึงต่อม กระดูก และระบบประสาท เป็นวัณโรคห้ามกินอะไร อาหารทอดและอาหารขยะที่มีไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานส์จะทำให้อาการที่เกี่ยวข้องกับวัณโรคแย่ลง เช่น ท้องร่วง ปวดท้อง และความเหนื่อยล้า หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์โดยสิ้นเชิงตลอดระยะเวลาการรักษา เนื่องจากอาจรบกวนการรักษาและอาจส่งผลข้างเคียงได้ ปลอดภัยไหมที่จะอยู่ใกล้คนที่เป็นวัณโรค  สิ่งสำคัญคือต้องรู้ว่าบุคคลที่สัมผัสเชื้อแบคทีเรีย TB ไม่สามารถแพร่เชื้อแบคทีเรียไปยังผู้อื่นได้ทันที เฉพาะผู้ที่เป็นโรควัณโรคเท่านั้นที่สามารถแพร่เชื้อแบคทีเรียวัณโรคไปยังผู้อื่นได้ ก่อนที่คุณจะสามารถแพร่เชื้อวัณโรคไปยังผู้อื่นได้ คุณจะต้องหายใจเอาแบคทีเรีย TB เข้าไปและติดเชื้อเสียก่อน อาหารอะไรรักษาวัณโรค อาหารที่อุดมด้วยสังกะสี ถั่ว เป็นแหล่งที่ดีของสังกะสีที่สามารถให้สารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย ถั่วและเมล็ดพืชต่างๆ เช่น เมล็ดทานตะวัน เมล็ดเจีย เมล็ดฟักทอง และเมล็ดแฟลกซ์ค่อนข้างมีประโยชน์ต่อผู้ป่วยวัณโรค รวมอาหารเหล่านี้ไว้ในอาหารของคุณเพื่อช่วยคุณในการต่อสู้กับโรคต่างๆ เช่น วัณโรค ทำไมวัณโรคจึงร้ายแรง  แบคทีเรียมักจะโจมตีปอด แต่แบคทีเรีย TB สามารถโจมตีส่วนใดก็ได้ของร่างกาย เช่น ไต กระดูกสันหลัง และสมอง ไม่ใช่ทุกคนที่ติดเชื้อวัณโรคจะป่วย เป็นผลให้มีภาวะที่เกี่ยวข้องกับวัณโรคอยู่ 2 ประการ ได้แก่ การติดเชื้อวัณโรคแฝง (LTBI) และโรควัณโรค หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม โรค TB อาจถึงแก่ชีวิตได้ ปอดหายหลังจากเป็นวัณโรคหรือไม่ ซึ่งแตกต่างจากการติดเชื้อทางเดินหายใจอื่น ๆ วัณโรคสามารถนำไปสู่ความเสียหายของปอดอย่างถาวร ดังนั้น วัณโรคอาจเปลี่ยนจากโรคติดเชื้อที่รักษาได้ให้กลายเป็นโรคเรื้อรังที่ก่อให้เกิดความเจ็บป่วยในผู้ป่วยที่รักษาได้สำเร็จ

ลิ้งค์ด้านล่างเป็นแหล่งข้อมูลบทความของเรา

  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/tuberculosis/symptoms-causes/syc-20351250
  • https://www.nhs.uk/conditions/tuberculosis-tb/
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด