เบื่ออาหาร (Anorexia) : อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคเบื่ออาหารคือ

โรคเบื่ออาหาร (Anorexia) คือการที่ความต้องการอาหารในการรับประทานอาหารของคุณนั้นลดน้อยลง หรือไม่มีเลย  ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม อาการเบื่ออาหาร หรือไม่อยากอาหาร และการใช้ยาบางอย่างนั้นก็อาจให้เกิดภาวะเบื่ออาหารได้เช่นกัน อาการเบื่ออาหารสามารถเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ การเกิดภาวะเบื่ออาหารได้ เช่นผู้ป่วยมีอาการทางจิตและอาการทางร่างกาย หากคุณมีอาการเบื่ออาหาร อาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น น้ำหนักลดลง หรือเกิดภาวะขาดสารอาหาร อาการเหล่านี้หากปล่อยทิ้งไว้โดยที่ไม่ได้รับการรักษา ก็อาจเกิดผลกระทบที่ร้ายแรงต่อสุชภาพได้ ซึ่งการหาสาเหตุของภาวะเบื่ออาหารและหาวิธีการรักษานั้นเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เบื่ออาหาร (Anorexia)

สาเหตุโรคเบื่ออาหาร

อาการต่างๆที่เกิดมาจากนั้น สามารถนำไปสู่อาการเบื่ออาหารได้ ซึ่งส่วนใหญ่นั้นความอยากอาหารนั้นอาจกลับมาเป็นปกติได้เมื่อได้รับการรักษาอาการเหล่านั้นแล้ว

การใช้ยา

การใช้ยาบางชนิดนั้นก็ทำให้เกิดอาการเบื่ออาหารได้เหมือนกัน อาจรวมถึงยาเสพติดที่ผิดกฏหมายด้วย เช่น โคเคน เฮโรอิน และยาบ้าหรือแอมเฟตามิน เป็นต้น และอาจรวมถึงยาตามที่แพทย์สั่งด้วย  ยาตามที่แพทย์สั่งบางชนิดนั้น ก็ทำให้เกิดอาการเบื่ออาหาร ได้แก่:

อาการทางจิต

อาการทางจิตนั้นเป็นสาเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดภาวะเบื่ออาหาร ในวัยผู้ใหญ่ได้  แต่ถึงกระนั้นผู้เชี่ยวชาญก็ยังไม่สามารถหาสาเหตุที่แท้จริงได้ ว่าทำไมเกิดอาการเบื่ออาหาร อาการเบื่ออาหารอาจเกิดขึ้นได้เมื่อคุณมีความรู้สึกมีภาวะ ซึมเศร้า สลดหดหู่ เสียใจ หรือมีความวิตกกังวล นอกจากนี้ ความเบื่อหน่ายและความเครียดก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเบื่ออาหารได้เช่นเดียวกัน ภาวะการรับประทานอาหารที่ผิดปกติ เช่น โรคกลัวอ้วนหรือ anorexia nervosa ก็มีอาการเบื่ออาหารร่วมด้วย ซึ่งผู้ป่วยโรคกลัวอ้วนมักจะกดดันให้ตัวเองอดอาหารหรือทำทุกวิถีทางเพื่อให้น้ำหนักลดลง คนที่มีอาการเหล่านี้นั้น มักมีภาวะน้ำหนักตัวน้อยและมีความกลัวว่าจะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งผู้ป่วยโรคกลัวอ้วนสามารถทำให้เกิดภาวะขาดสารอาหารด้วย

อาการป่วยทางร่างกาย

อาการเบื่ออาหารที่เกิดจากอาการป่วยทางร่างกายนั้น มีดังนี้: โรคมะเร็งนั้นก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการเบื่ออาหารได้ โดยเฉพาะหากเกิดโรคมะเร็งที่มีความรุนแรงในอวัยวะต่อไปนี้: นอกจากนี้การตั้งครรภ์ในไตรมาสแรกนั้น ก็ทำให้เกิดอาการเบื่ออาหารได้เช่นเดียวกัน

เชื้อแบคทีเรีย และ เชื้อไวรัส

อาการเบื่ออาหารนั้นอาจมีสาเหตุมาจาก การติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส เชื้อราหรือการติดเชื้อมาจากสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง นี่เป็นเพียงผลที่ทำให้เกิดอาการเบื่ออาหารที่มาจากอาการดังนี้: ซึ่งอาการเบื่ออาหารจะหายไป หลังจากที่ได้รับการรักษาโรคเหล่านี้ นอกจากนี้แล้วหากผู้ป่วยตั้งครรภ์ผู้ป่วยอาจจะมีอาการข้างเคียงคือเบื่ออาหารคลื่นไส้อ่อนเพลียได้

การรักษาโรคเบื่ออาหาร

การรักษาโรคเบื่ออาหารนั้นขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ ซึ่งหากเกิดจากเชื้อแบคทีเรียหรือการติดเชื้อไวรัส คุณมักจะไม่ต้องรับการรักษาที่เฉพาะเจาะจงอาการ เนื่องจากความอยากอาหารจะกลับมาเป็นปกติ เมื่อการรักษาอาการนั้นได้หายขาดไปแล้ว

การดูแลรักษาแบบพื้นบ้าน

หากโรคเบื่ออาหารเกิดจากโรคในร่างกาย เช่นโรคมะเร็ง หรือโรคที่มีอาการเรื้อรัง อาจเป็นเรื่องยากที่จะทำการกระตุ้นความอยากอาหารให้เกิดขึ้นได้ แต่อย่างไรก็ตาม การรับประทานอาหารกับครอบครัวหรือเพื่อนฝูง การได้รับประทานอาหารที่ชอบ หรือการรับประทานอาหารที่ร้านอาหารนั้น ก็ช่วยกระตุ้นความอยากอาหารเพิ่มขึ้นมาได้ เพื่อเป็นการกระตุ้นความอยากอาหารให้เพิ่มมากขึ้น คุณอาจจะรับประทานอาหารมื้อใหญ่วันละมื้อ โดยมีของว่างระหว่างมื้อหรือการแบ่งมื้ออาหารเป็นมื้อเล็กย่อยลงมา ก็เพิ่มความอยากอยากอาหารได้ และมีอาหารอยู่ในกระเพาะอาหารได้ง่ายมากกว่าอาหารมื้อใหญ่มื้อเดียว การออกกำลังกายแบบเบาสามารถเพิ่มความอยากอาหารได้เช่นเดียวกัน และเพื่อให้แน่ใจว่าคุณได้รับรับสารอาหารที่เพียงพอในแต่ละวัน ควรจะได้รับพลังงานและแคลเซี่ยมที่สูงด้วยเช่นกัน ซึ่งคุณอาจจะต้องการดื่มเครื่องดื่มเสริมโปรตีนเข้าไปด้วย การจดบันทึกเกี่ยวกับอาหารที่คุณรับประทานหรือดื่มเข้าไปในแต่ละวันหรือแต่ละสัปดาห์นั้น มีประโยชน์อย่างมาก ซึ่งจะทำให้แพทย์นั้นประเมินสารอาหารที่ได้รับแต่ละวันและความอยากอาหารที่ลดลงได้ด้วย

การรักษาโดยใช้ยา

ระหว่างที่คุณพบแพทย์นั้น แพทย์จะสร้างภาพรวมของอาการที่เกิดขึ้นกับคุณ แพทย์จะทำการชั่งน้ำหนักตัวและวัดส่วนสูง และนำน้ำหนักตัวและส่วนสูงที่ได้นั้นมาเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยมาตรฐานของประชากรทั่วไป นอกจากนี้ แพทย์จะสอบถามถึงประวัติการใช้ยา และการรับประทานอาหารของคุณ ซึ่งคุณต้องเตรียมตัวตอบคำถามต่อไปนี้:
  • อาการเริ่มเกิดขึ้นเมื่อไหร่
  • มีอาการที่ที่อ่อนหรือรุนแรงหรือไม่
  • น้ำหนักตัวลดลงไปกี่กิโลกรัม
  • หากมีอาการที่ก่อให้เกิด
  • หากคุณมีอาการอื่นร่วมด้วย
หลังจากนั้น จำเป็นต้องมีการทดสอบเพื่อหาสาเหตุของอาการเบื่ออาหารของคุณให้ได้ การทดสอบอาการเบื่ออาหาร มีดังนี้:
  • การตรวจอัลตร้าซาวน์ในช่องท้องของคุณ 
  • การตรวจการทำงานตับ ต่อมไทรอยด์ และไต (การตรวจนี้มักจะเพียงตัวอย่างของเลือดเท่านั้น)
  • การตรวจด้วยรังสีพิเศษupper GI ที่รวมถึงการฉายแสงรังสีเอ็กซเรย์ที่แสดงผลของหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กของคุณ
  • การฉายรังสีCT scanที่ศีรษะ หน้าอก หน้าท้อง หรือเชิงกราน 
ในบางกรณี คุณอาจได้รับการทดสอบการตั้งครรภ์และตรวจหาเชื้อเอชไอวีโดยใช้ปัสสาวะ ซึ่งปัสสาวะของคุณนั้นก็จะใช้ตรวจหาร่องรอยของสารเสพติดอีกด้วย หากคุณมีอาการเบื่ออาหารของคุณจนส่งผลให้เกิดภาวะการขาดอาหาร คุณอาจได้รับสารอาหารผ่านทางหลอดเลือดดำ  ซึ่งแพทย์อาจจะแนะนำกรรักษาโดยการใช้ยารับประทานเพื่อกระตุ้นความอยากอาหารของคุณให้เพิ่มขึ้น หากคุณมีอาการเบื่ออาหารที่เกิดมาจากภาวะซึมเศร้า ภาวะการรับประทานอาหารที่ผิดปกติ หรือการใช้ยาในทางที่ผิด อาจส่งให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางจิตวิทยา เพื่อทำการรักษาต่อไป อาการเบื่ออาหารที่เกิดจากการใช้ยานั้น อาจให้รับการรักษาโดยการลดปริมาณยาที่ใช้หรือเปลี่ยนให้ใช้ยาตัวอื่นแทนตามคำสั่งของแพทย์ และไม่ควรเปลี่ยนยารักษาเองโดยที่ไม่ปรึกษาแพทย์เสียก่อน

แนวทางของโรคเบื่ออาหารหากไม่ได้รับการรักษา

หากอาการเบื่ออาหารของคุณนั้นเกิดในระยะเวลาอันสั้น ก็จะรักษาให้หายขาดไดโดยที่ไม่มีผลกระทบในระยะยาวได้ แต่อย่างไรก็ตาม หากอาการเบื่ออาหารที่มาจากโรคในร่างกาย อาจจะแย่ลงได้หากไม่ได้รับการรักษา หากไม่ได้การรักษาอาการเบื่ออาหาร ก็สามารถเกิดอาการที่มีความรุนแรงขึ้นร่วมด้วยได้ เช่น:
  • มีความเมื่อยล้าอย่างมาก
  • น้ำหนักลด
  • อัตราการเต้นของหัวใจที่รวดเร็วขึ้น 
  • มีอาการไข้
  • มีความหงุดหงิดมากขึ้น
  • มีความรู้สึกไม่สบายมีไข้หรือมีความไม่สบายตัว
หากคุณมีอาการเบื่ออาหารและคุณมีภาวะขาดสารอาหารหรือขาดวิตามินและการขาดเกลือแร่ในร่างกาย อาการเหล่านี้สามารถเป็นภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายถึงชีวิตได้ ดังนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญมาก หากคุณมีการเบื่ออาหารโดยที่ไม้ได้การแก้ไขหลังจากการรักษาอาการป่วยเฉียบพลันหรือมีอาการเบื่ออาหารนานกว่า 2 สัปดาห์ คุณควรพบแพทย์โดยด่วน เพื่อรับการรักษาที่ทันท่วงที

อาการเบื่ออาหารที่ควรรีบรักษา

หากคุณมีอาการเบื่ออาหารน้ำหนักลดโดยที่ไม่มีสาเหตุควรพบแพทย์ทันที เพื่อรับการรักษาโดยด่วน เรื่องที่สำคัญที่สุดในการรักษาคือ การขอความช่วยเหลือทางการแพทย์หากคุณมีอาการเบื่ออาหารที่เกิดจาก ภาวะซึมเศร้า การดื่มแอลกอฮอล์ 

การเพิ่มน้ำหนักในผู้เบื่ออาหาร 

สำหรับคนที่เป็นโรคอะนอเร็กเซีย การเพิ่มน้ำหนักอาจเป็นกระบวนการที่ยากและละเอียดอ่อน การจำกัดอาหารเป็นเวลานานยังทำให้เกิดการขาดโปรตีน สารอาหารรอง และกรดไขมัน ซึ่งหมายความว่าการจัดการด้านโภชนาการเป็นกุญแจสำคัญ ซึ่งมักจะหมายความว่าต้องมีการวางแผนมื้ออาหารโดยผู้เชี่ยวชาญเพื่อแก้ไขความไม่สมดุลและไม่ก่อให้เกิดปัญหาเพิ่มเติม ความพยายามก้าวร้าวเพื่อเพิ่มน้ำหนักในช่วงแรกของการรักษาอาจส่งผลเสียได้ วิธีการรักษาโรคอะนอเร็กเซียใดๆ ก็ตามมักจะพิจารณาในบริบททางจิตวิทยาที่กว้างขึ้น ซึ่งหมายความว่าจะเน้นไปที่การพูดคุยกับผู้ป่วยและทำความเข้าใจความต้องการของพวกเขา 

สถิติการเบื่ออาหารในประเทศไทย

โดยสถิตินี้มาจากบทความที่มีชื่อเรื่องว่า แพทย์ชี้เด็กไทยยุคใหม่อาจขาดสารอาหารเพราะพฤติกรรมการกิน ซึ่งำด้ทำการวิจัยว่า เด็กอายุ 4-10 ปี เป็นช่วงที่มีอาการเบื่ออาหารมากที่สุด ซึ่งเป็นปัจัยหลักในการเสริมสร้างร่างกายและพัฒนาการของเด็ก ซึ่งมีสาเหตมาจากการเลี้ยงดูและให้อาหารที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งจากผลการสำรวจในปี 2555 พบว่ามีเด็กวัย 5 ขวบถึงร้อยละ 16 มีการขาดสารอาหารเรื้อรัง คือมีภาวะแคระแกร็น ซึ่งมีส่วนสูงที่ต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ ซึ่งคิดเป็นเปอร์เซนต์ได้ พบมากที่ภาคอีสาน 18.9 เปอร์เซนต์ รองลงมาก็คือภาคใต้ มี16.7เปอร์เซนต์ ซึ่งเป็นปัญหาที่น่าเป็นห่วงมาก เพราะการขาดสารอาหารนั้นส่งผลถึงการเจริญเติบโตของร่างกายและพัฒนาการของเด็กตามวัย ซึ่งทำให้เจริญเติบโตตามวัยได้ไม่เต็มที่ และส่งผลเสียกับเด็กได้ในระยะยาว เช่นปัญหาการเรียนและสุขภาพของเด็กในอนาคตอีกด้วย

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/anorexia-nervosa/symptoms-causes/syc-20353591
  • https://www.nhs.uk/conditions/anorexia/
  • https://www.medicinenet.com/script/main/art.asp?articlekey=2268

เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด