การตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาสแรก (First Trimester Problems)

ผู้เขียน Dr. Sommai Kanchana
0
การตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาสแรก

การตั้งท้องไตรมาสแรก

นี่คือช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้นโดยเฉพาะถ้าหากเป็นลูกคนแรกของคุณ คุณจะสังเกตเห็นได้ถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในร่างกายของคุณ หลายคนยังไม่รู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลง ส่วนมากแล้วผู้หญิงทั่วไปที่ตั้งครรภ์จะแข็งแรงดี แต่มีอาการบางอย่างที่คุณต้องใส่ใจมากขึ้นในช่วงเดือนแรก ๆ ของการตั้งครรภ์ เช่น อาการคลื่นไส้ เลือดออกจากช่องคลอดเล็กน้อย และตกขาว ซึ่งไม่ใช่เรื่องผิดปกติร้ายแรง แต่อาจแสดงว่าการตั้งครรภ์มีปัญหา คุณอาจกำลังเข้าใจผิด และละเลยสิ่งเล็กๆ น้อยๆ พวกนี้ที่นำไปสู่ปัญหาใหญ่ การรู้ว่าสิ่งใดควรระวังจะทำให้คุณและลูกของคุณปลอดภัย หากคุณกังวลหรือมีอาการผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์

ภาวะผิดปกติระหว่างตั้งครรภ์

1. มีเลือดออกทางช่องคลอด

หากมีเลือดออกเล็กน้อยเป็นเรื่องปกติ แต่การมีเลือดออกมากอาจเป็นสัญญาณของว่ากำลังจะ แท้งบุตร หรือการตั้งครรภ์นอกมดลูก  กรณีที่เลือดออกยิ่งมีสีแดงมากเท่าไหร่ก็ยิ่งบ่งบอกว่าอันตรายเท่านั้น หากคุณมีเลือดออก และปวดเกร็งคล้ายกับการปวดท้องประจำเดือน แสดงว่าอันตราย”  หากมีอาการนี้พร้อมกับปวดท้องน้อยแบบเสียดอาจเป็นสัญญาณของการตั้งครรภ์นอกมดลูกซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงที่เกิดจากไข่ที่ผสมแล้วไปฝังตัวนอกมดลูก แทนที่จะฝังตัวในมดลูกตามปกติ สิ่งที่ควรทำ : ควรไปพบแพทย์ แพทย์จะตรวจสอบด้วยการอัลตร้าซาวด์ และรักษาตามอาการที่พบ เช่น การให้เลือด

2. คลื่นไส้ และอาเจียนมาก

อาการคลื่นไส้อาเจียนในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์เป็นเรื่องปกติที่ผู้หญิงส่วนใหญ่ต้องพบ หากรุนแรงจนถึงขั้นร่างกายขาดน้ำนั่นเป็นสิ่งที่ควรระวัง หากร่างกายสูญเสียน้ำนานกว่า 12 ชั่วโมง ควรรีบไปพบแพทย์ รวมถึง :“ การอาเจียนที่มากจนไม่สามารถดำเนินชีวิตประจำวันตามปกติได้,น้ำหนักลดลง, วิงเวียนศีรษะ ,ขาดน้ำ  และความไม่สมดุลย์ของอิเล็กโทรไลต์ในร่างกาย”  สิ่งที่ควรทำ: ไปพบแพทย์เพื่อตรวจรักษา “ มียาหลายตัวที่รักษาอาการคลื่นไส้ได้ และหากอาการรุนแรงอาจจะจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล อาการคลื่นไส้ และอาเจียนเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ แต่ถ้ามีอาการรุนแรงอาจเกิดปัญหาได้ ” ผู้หญิงส่วนใหญ่ที่มีอาการคลื่นไส้และอาเจียนในการตั้งครรภ์ไตรมาสแรก มักจะมีครรภ์ที่แข็งแรงเป็นปกติดี 

3. มีไข้สูง

การมีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียสในระหว่างตั้งครรภ์นั้นถือว่าร้ายแรง เพราะเป็นสัญญาณบอกว่า กำลังเกิดการติดเชื้อซึ่งอาจส่งผลต่อทารก การมีไข้ในระหว่างตั้งครรภ์ โดยมีผื่นที่ผิวหนังและปวดข้อด้วยอาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อ เช่น Cytomegalovirus (CMV), Toxoplasma และ Parvovirus ซึ่ง CMV เป็นสาเหตุอาการหูหนวกตั้งแต่กำเนิดที่เราพบได้บ่อย  ควรไปพบแพทย์ เพื่อตรวจว่ามีการติดเชื้อหรือไม่ ให้สังเกตอาการมีไข้ อาการทางเดินหายใจ การปวดเมื่อยตามร่างกาย ผื่นและปวดข้อ และแจ้งให้แพทย์ทราบ หญิงตั้งครรภ์ที่สุขภาพแข็งแรง อาจได้รีบคำแนะนำให้รับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่

4. มีตกขาวจากช่องคลอดและคัน

การมีตกขาวบ้างในระหว่างตั้งครรภ์เป็นเรื่องปกติ แต่ในบางครั้งสิ่งเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อ หรือเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่สามารถส่งผลต่อทารกในครรภ์  การติดเชื้อในระหว่างตั้งครรภ์นั้นเป็นอันตรายต่อทารก สิ่งที่ควรทำ: ควรไปพบแพทย์ทันที อย่าอายแพทย์ เพราะมันอาจจะทำให้เกิดปัญหากับทารกในครรภ์ได้

5. ปวดแสบระหว่างปัสสาวะ

สิ่งนี้เป็นสัญญาณบ่งบอกว่า : “เกิดการติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ หรือทางเดินปัสสาวะส่วนใดส่วนหนึ่ง และหากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้อาการรุนแรงขึ้นได้ สิ่งที่ควรทำ: ควรไปพบแพทย์ หากติดเชื้อ ควรรักษา และใช้ยาบรรเทาอาการปวด เพื่อให้คุณมีสุขภาพครรภ์ที่แข็งแรง

6. ปวดขาข้างเดียว หรือขาบวมข้างเดียว หรือมีอาการปวดศีรษะรุนแรง

ผู้ที่ตั้งครรภ์ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการนี้ แต่การตั้งครรภ์จะเพิ่มโอกาสเกิดลิ่มเลือดมากขึ้น ลื่มเลือดที่น่องทำให้เกิดอาการปวดหรือบวม และหากลิ่มเลือดเคลื่อนไปที่ปอดอาจถึงแก่ชีวิตได้ การเกิดลิ่มเลือดในสมองเป็นสาเหตุของอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง แต่ยังมีสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะรุนแรงในระหว่างตั้งครรภ์ได้ สิ่งที่ควรทำ: หากมีอาการหลอดเลือดอุดตัน หรือปวดศีรษะอย่างรุนแรง ควรแจ้งแพทย์ให้ทราบโดยทันที

7. โรคเรื้อรังกำเริบ

ผู้หญิงบางคนที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคต่อมไทรอยด์ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหอบหืด หรือโรคลูปัสควรสังเกตการเปลี่ยนแปลงของร่างกายในระหว่างตั้งครรภ์ อธิบายเพิ่มเติม : หากโรคประจำตัวกำเริบสามารถส่งผลต่อสุขภาพของมารดา และทารกได้ ตัวอย่างเช่น หากฮอร์โมนไทรอยด์สูง หรือต่ำเกินไปมีความเสี่ยงต่อการแท้งบุตรมากขึ้น หากควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ จะเพิ่มความเสี่ยงในการแท้งบุตร หรือความผิดปกติของทารกในครรภ์ คุณแม่ตั้งครรภ์ ควรดูแลโรคประจำตัวที่เป็นอย่างใกล้ชิดในระหว่างตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตามผู้หญิงส่วนใหญ่จะมีสุขภาพแข็งแรงระหว่างการตั้งครรภ์  ดังนั้นคุณควรมีความสุขในระหว่างตั้งครรภ์ ความเครียดเป็นเรื่องที่ไม่ดี ยิ่งคิดบวกมากเท่าไหร่ก็จะยิ่งดีต่อแม่และทารกมากเท่านั้น ดังนั้นให้แน่ใจว่าคุณมีการดูแล ระหว่างการตั้งครรภ์ที่ดี,รับประทานอาหารที่ดี,พักผ่อนอย่างเพียงพอ และรับประทานวิตามินก่อนคลอด

ไตรมาสของการตั้งครรภ์

การตั้งครรภ์แบ่งเป็นสามไตรมาส การตั้งครรภ์ทั้งหมด 40 สัปดาห์หรือ280วัน จึงแบ่งเป็น
  • สัปดาห์ที่ 1-13 นับเป็นไตรมาสที่หนึ่ง
  • สัปดาห์ที่ 14-28 นับเป็นไตรมาสที่สอง
  • สัปดาห์ที่ 29-40 นับเป็นไตรมาสที่สาม<a href=First Trimester Problems” width=”600″ height=”365″ />

การดูแลและการปฏิบัติตัวในระหว่างการตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 1

ในระหว่างการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ มีการเปลี่ยนแปลงของร่างกายต่อเนื่องตลอดเวลา  อาการแรกเริ่มของการตั้งครรภ์คือ ขาดประจำเดือน ในหญิงที่มีประจำเดือนมาเป็นปกติ จะรู้ตัวได้เร็วกว่า หลังจากนั้นอาจเริ่มมีอาการคลื่นไส้อาเจียน (แพ้ท้อง) อ่อนเพลีย คัดตึงเต้านม และอื่นๆ  เมื่อประจำเดือนไม่มา และสงสัยว่าจะตั้งครรภ์ ควรตรวจการตั้งครรภ์ เครื่องมือตรวจการตั้งครรภ์ที่มีขายทั่วไปอาจบอกได้ในขั้นต้น แต่ควรไปตรวจที่โรงพยาบาลเพราะการตรวจได้ผลแน่นอนกว่า และจะได้ฝากครรภ์(ให้แพทย์หรือผดุงครรภ์ดูแลสุขภาพทั้งแม่และทารกในครรภ์) เพื่อให้แน่ใจว่าทั้งมารดาและทารกจะมีสุขภาพแข็งแรงและผ่านการตั้งครรภ์ไปได้ด้วยดีจนกระทั่งคลอด การดูแลตนเอง
  1. ฝากครรภ์กับผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ อาจเป็นพยาบาลผดุงครรภ์ หรือแพทย์ การฝากครรภ์เพื่อจะได้ดูแลสุขภาพของมารดาและทารก ตรวจดูความผิดปกติและความเสี่ยงที่อาจเกิดได้ระหว่างการตั้งครรภ์  ในการฝากครรภ์ครั้งแรกจะมีการตรวจเลือดเพื่อหาความผิดปกติ,ตรวจร่างกายทั่วไป,ฉีดวัคซีน,ให้คำแนะนำการปฎิบัติตัวระหว่างตั้งครรภ์ การสังเกตความผิดปกติที่อาจเกิดได้ในระหว่างตั้งครรภ์ และจะนัดพบเป็นระยะ ถี่ขึ้นตามอายุครรภ์ 
  2. รับประทานอาหารครบหมู่และสมดุลย์ ไม่ต้องรับประทานอาหารใดเป็นพิเศษ งดดื่มสุรา สูบบุหรี่ พักผ่อนให้เพียงพอ ทำกิจกรรมต่างๆได้ตามปกติ รวมทั้งการมีเพศสัมพันธ์ เว้นแต่เคยมีประวัติการแท้ง หรือผู้ที่ดูแลแนะนำเป็นอย่างอื่น
  3. หากมีอาการคลื่นไส้อาเจียนมาก ไม่สามารถรับประทานอาหารได้ หรือมีอาการเลือดออกทางช่องคลอด ควรปรึกษาแพทย์

การแท้งบุตร

การแท้งบุตรคือการสูญเสียการตั้งครรภ์ในช่วง 20 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ สาเหตุของการแท้งบุตรเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย การแท้งบุตรส่วนใหญ่เกิดขึ้นในช่วงไตรมาสแรก ซึ่งก็คือช่วง 13 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ ความผิดปกติของโครโมโซมสามารถรบกวนการพัฒนาที่เหมาะสมของไข่ที่ปฏิสนธิได้ หรือปัญหาทางกายภาพกับระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิงอาจทำให้ทารกที่มีสุขภาพแข็งแรงเติบโตได้ยาก บางคนเรียกการแท้งบุตรว่าการทำแท้งที่เกิดขึ้นเอง เนื่องจากร่างกายจะกำจัดทารกในครรภ์ออกไปเหมือนกับการทำแท้งตามขั้นตอน สัญญาณที่พบบ่อยที่สุดของการแท้งบุตรคือเลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติ อาการอื่นๆ อาจรวมถึงอาการปวดท้องส่วนล่างและตะคริว และอาการของการตั้งครรภ์หายไป เช่น การแพ้ท้อง การแท้งบุตรส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัด เมื่อการแท้งบุตรเกิดขึ้นภายใน 12 สัปดาห์ เนื้อเยื่อมักจะละลายหรือหายไปเองตามธรรมชาติโดยไม่จำเป็นต้องดำเนินการใดๆ เพิ่มเติม บางรายอาจต้องใช้ยาหรือขั้นตอนเล็กๆ น้อยๆ ในการผ่าตัดเพื่อช่วยในการผ่านของเนื้อเยื่อที่สลายไป 

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.healthline.com/health/pregnancy/complications-treatments
  • https://www.hopkinsmedicine.org/health/wellness-and-prevention/the-first-trimester
  • https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/pregnancy-week-by-week/in-depth/pregnancy/art-20047208
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด