กระ (Freckles) : สาเหตุ อาการ วิธีการรักษา

ผู้เขียน Dr. Sommai Kanchana
0
กระ

กระ คืออะไร  

กระ (Freckles) คือ จุดสีน้ำตาลเล็กๆบนผิวของคุณ ซึ่งมักเกิดในบริเวณที่โดนแสงแดดบ่อยๆ ส่วนใหญ่ไม่เป็นอันตราย พวกมันก่อตัวขึ้นจากการที่ร่างกายผลิตเมลานินมากเกินไป ซึ่งมีผลต่อผิวหนังและสีผม (การสร้างเม็ดสี) โดยรวมแล้ว กระ ถูกกระตุ้นจากการสัมผัสรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) เป็นเวลานานๆ  กระ มี 2 ประเภทคือ กระตื้น (Ephelides) และ กระแดด (Solar lentigines ) กระตื้น เป็นประเภทที่คนส่วนใหญ่รู้จัก กระแดดเป็นจุดด่างดำของผิวหนังที่เกิดขึ้นในช่วงวัยผู้ใหญ่ ซึ่งประกอบด้วย กระผู้สูงอายุ (Aging spot ) และ จุดด่างดำ (Sunspots)  กระ ทั้งสองประเภทอาจมีลักษณะคล้ายกัน แต่แตกต่างกันในลักษณะของการเกิด 

กระบนใบหน้าเกิดจากอะไร

กระตื้น ( Ephelides ) กระ เหล่านี้เกิดจากการโดนแดดและการถูกแดดเผา สามารถเกิดได้ในทุกคนที่ไม่ได้ป้องกันตัวเองจากแสงอาทิตย์ ส่วนใหญ่จะปรากฏบนใบหน้า หลังมือ และลำตัวส่วนบน กระ ประเภทนี้มักจะพบได้บ่อยในกลุ่มคนที่มีสีผิวอ่อน และสีผมอ่อน คนผิวขาว และเอเชีย มีแนวโน้มที่จะเป็น กระ ชนิดนี้มากกว่าเชื้อชาติอื่น   กระแดด (Solar lentigines ) เช่นเดียวกับ กระตื้น แต่มีแนวโน้มที่จะเกิดในคนผิวขาว และผู้ใหญ่ที่มีอายุมากกว่า 40 ปี

อะไรที่เพิ่มโอกาสในการเป็นกระ 

การเป็นกระ เกิดขึ้นได้จากทั้งจากสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ และพันธุกรรม รวมไปถึงการถูกแดดเผาบ่อยๆก็สามารถเพิ่มโอกาสในการเกิดกระได้มากขึ้น  ในกาศึกษาจากผู้หญิงฝรั่งเศสวัยกลางคนจำนวน 523 คน โดยมีปัจจัย 2 อย่างที่กระตุ้นให้เกิดกระ ได้แก่ การถูกแดดเผาบ่อยๆ และยีนที่เรียกว่า MC1R ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมการสร้างเม็ดสี แต่ยีนตัวนี้ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อทุกคนในลักษณะเดียวกัน เมลานิน มีสองประเภทคือฟีโอเมลานิน (Pheomalanin) และ ยูเมลานิน (Eumelanin) ผู้ที่มีผิวผลิตฟีโอมาลานิน แต่ไม่ได้รับการปกป้องจากรังสียูวี มีแนวโน้มที่จะมี
  • ผมสีแดงหรือสีบลอนด์ 
  • ผิวบาง 
  • ฝ้า กระ จุดด่างดำ
  • สีผิวเปลี่ยนเป็นสีแทนยาก
ผู้ที่มียูเมลานินมาก จะได้รับการป้องกันการทำลายผิวหนังจากรังสียูวี และมี:
  • ผมสีน้ำตาล หรือสีดำ 
  • ผิวคล้ำ ผิวเข้ม 
  • สีผิวเปลี่ยนเป็นสีแทนง่าย 
กระแดด ( Lentigines ) สำหรับกระแดดมีงานวิจัยในฝรั่งเศส ที่พบว่ามีปัจจัยหลายอย่างเพิ่มโอกาสที่จะเกิดกระแดด ได้แก่ 
  • ผิวคล้ำ
  • ความสามารถในการเปลี่ยนสีผิวเป็นสีแทน
  • ประวัติการเป็น ฝ้า กระ
  • แสงแดด
  • การรักษาด้วยฮอร์โมน เช่น การรับประทานยาคุมกำเนิด

กระ และจุดด่างดำต่างกันอย่างไร?

กระ ทั้งหมดสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กระตื้น และ กระแดด แม้ว่ากระและจุดด่างดำจะมีความแตกต่างกัน แต่จุดด่างดำก็เป็นส่วนหนึ่งของกระแดด ซึ่งบางครั้งอาจพบเป็นเกล็ด  
กระตื้น กระแดด
ต้นกำเนิด เกิดจากแสงแดด และ พันธุกรรม เกิดจากการตากแสงแดดเป็นเวลานาน 
ลักษณะการเกิด อาจพบครั้งแรก 2-3 ปีหลังมีการตากแดด และจางลงตามอายุ  สะสมตามอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากอายุ 40 ปีและไม่จางหายไป
บริเวณที่เกิด ใบหน้า คอ หน้าอก และแขน พบมากที่สุดบริเวณผิวหนังที่ถูกแสงแดด ใบหน้า มือแขนท่อนอก หน้าอก หลังและหน้าแข้ง
การสัมผัสแสงแดด ส่วนใหญ่จะปรากฏในฤดูร้อน และจะจางลงในช่วงฤดูหนาว ไม่เปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล
ขนาด 1 ถึง 2 มิลลิเมตร หรือใหญ่กว่า 2 มิลลิเมตร หรือใหญ่กว่า
ขอบของรอยโรคบนผิวหนัง มีขอบเขตไม่ชัดเจน มีขอบเขตอย่างชัดเจน
สี แดงถึงน้ำตาลอ่อน เหลืองอ่อนถึงน้ำตาลเข้ม

ความแตกต่างระหว่างกระ และไฝ (Moles)

ไฝไม่เหมือนกับกระ โดยที่ไฝจะเห็นเป็นรอยโรคที่ผิวหนังอย่างชัดเจน มักมีสีเข้มและไม่จำเป็นต้องออกแดดก็เกิดไฝได้ ไฝพบได้บ่อยในคนที่มีผิวสีอ่อน

ไฝเกิดจากสร้างเซลล์เม็ดสีของผิวหนังที่มากเกินไป มากกว่าเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงบริเวณผิวหนัง โดยปกติไฝจะปรากฏตั้งแต่เกิด  ไฝสามารถเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบ สีของไฝมีตั้งแต่สีน้ำตาลไปจนถึงสีชมพู และสามารถมีรูปร่างได้หลายแบบ ในคนหนุ่มสาวไฝมักจะอยู่กับพวกเขาไปจนโตเป็นผู้ใหญ่  Frecklesควรไปพบแพทย์เพื่อรักษากระหรือไฝหรือไม่? กระ และไฝ โดยปกติแล้วไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แต่ไฝที่มีขนาดใหญ่ขึ้น เข้มขึ้น ก็มีมีความเสี่ยงที่จะเป็น มะเร็งผิวหนัง ได้ แบบทดสอบตัวเองเพื่อตรวจดูกระและไฝ 
  • A – Asymmetry ความสมมาตร ลากเส้นผ่านศูนย์กลาง หากครึ่งหนึ่งไม่เท่ากันแสดงว่าไม่สมมาตร
  • B – Border เส้นขอบ ขอบของไฝที่มีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งมักจะไม่สม่ำเสมอมีรอยบากหรือเป็นหลุม เป็นบ่อ
  • C – Color สี ไฝที่มีสีเปลี่ยนไป ถือเป็นสัญญาณเตือน
  • D – Diameter เส้นผ่านศูนย์กลาง ไฝที่ใหญ่กว่า 1/4 นิ้ว (ปลายดินสอ) อาจเป็นมะเร็งได้
  • E – Evolving การพัฒนา รายงานการเปลี่ยนแปลงขนาด รูปร่าง สี หรือระดับการยกตัว ให้แพทย์ทราบ
นัดหมายกับแพทย์หรือแพทย์ผิวหนัง หากฝ้า ไฝ หรือจุดด่างดำของคุณเข้าเกณฑ์ข้างต้นอย่างน้อยหนึ่งข้อ 

ไฝสามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งผิวหนังได้

ความเสี่ยงของมะเร็งผิวหนังจะเพิ่มขึ้นตามจำนวนไฝ คนที่มีไฝ 11-25 จุด สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งผิวหนังได้ 1.6 เท่า ซึ่งอาจสูงถึง 100 เท่า ในคนที่มีไฝ 100 จุดขึ้นไป  ความเสี่ยงอื่นๆ สำหรับมะเร็งผิวหนัง ได้แก่
  • คนที่มีผิวขาว 
  • คนที่มีผมสีแดง และดวงตาสีฟ้า
  • มีประวัติเป็นมะเร็งผิวหนัง ที่ไม่ได้เกิดจากความผิดปกติของเม็ดสี 
  • มีประวัติของการอาบแดดเพื่อให้ผิวมีสีแทน หรือการได้รับแสงแดดมากเกินไป
งานวิจัยฉบับหนึ่ง ระบุว่า ความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งผิวหนังในประชากรผิวขาวมีมากกว่าประชากรที่มีผิวคล้ำประมาณ 20 เท่า  การตรวจคัดกรองประจำปีเป็นสิ่งที่ดี หากคุณอยู่ในกลุ่มประชากรที่มีความเสี่ยง หรือเกิดไฝใหม่ขึ้น

วิธีรักษากระ และการป้องกัน

สำหรับผู้ที่ต้องการหลีกเลี่ยงการเกิดกระ การป้องกันเป็นสิ่งสำคัญ นอกจากนี้ยังสามารถป้องกันกระ และทำให้กระ ลดลงเร็วขึ้นได้ด้วย  สมาคมแพทย์โรคผิวหนังแห่งอเมริกา (American Academy of Dermatology) แนะนำให้ใช้ครีมกันแดดชนิดกันน้ำได้ ที่มีค่า SPF อย่างน้อย 30 และ รอ 15 นาทีก่อนออกไปข้างนอก เพื่อให้ป้องกันแดดได้อย่างเต็มที่ ทำเช่นนี้ทุกวัน แม้ในฤดูหนาว เพื่อป้องกันการเพิ่มขึ้นของเม็ดสี  “คุณไม่สามารถเป็นกระ ได้จริงๆ เว้นแต่คุณจะได้รับแสงแดด”  Dee Anna Glaser, MD, ประธานภาควิชาโรคผิวหนังของมหาวิทยาลัยเซนต์หลุยส์อธิบาย  “แม้ว่าคุณจะมีพันธุกรรมที่เป็นกระ แต่ถ้าแม่และพ่อของคุณช่วยหาครีมกันแดดที่ดีๆให้คุณใช้ และไม่ให้คุณโดนแดด คุณก็อาจจะไม่เป็นกระ” 

การป้องกันที่ไม่ต้องสั่งโดยแพทย์

การศึกษาชิ้นหนึ่งรายงานผลที่ดี ในการลดเลือนกระและเม็ดสี ด้วยผลิตภัณฑ์ต่างๆเช่น:
  • อัลฟาไฮดรอกซิกรด  (Lpha hydroxyl acids)  (8% AHA toner)
  • กรดไตรคลอราซิติก (TCA)
  • กรดฟีนอล ( Phenol ) 
  • กรดลอกเซลล์ผิว ( Acid peels ) 
คุณสามารถซื้อกรดและกรดลอกเซลล์ผิวได้ทางออนไลน์ การศึกษาข้างต้นรายงานว่า Jessner Solution สามารถรักษากระได้ ควรทดสอบการแพ้สารเคมีเสมอ เพื่อหลีกเลี่ยงการระคายเคืองต่อผิวหนัง หากคุณใช้ผลิตภัณฑ์ลอกผิวหน้าที่บ้าน ล้างออกทันทีหากผิวของคุณเริ่มไหม้ และอย่าทิ้งไว้นานเกินกว่าที่แนะนำ

การรักษาด้วยเลเซอร์  ( Laser Therapy ) 

หมอ Glaser แนะนำการรักษาด้วยเลเซอร์ เพื่อทำให้กระ จางลงหรือลดลง เลเซอร์ขัดผิวแบบแยกส่วน( fractionated resurfacing lasers ) สามารถทำงานได้ดี ไม่เพียงแต่บนใบหน้าเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงหน้าอกและที่ไหล่ส่วนบนด้วย เป้าหมายยอดนิยมอีกอย่างสำหรับเลเซอร์เหล่านี้คือการลดกระ ที่บริเวณต้นขา ซึ่งเป็นบริเวณที่ได้รับแสงแดดบ่อยจากการทำกิจกรรมต่างๆ  เลเซอร์ขัดผิวแบบแยกส่วน จะกำหนดเป้าหมายไปที่น้ำที่อยู่ภายในชั้นผิว โดยเลเซอร์จะเจาะผ่านชั้นต่างๆจนมาถึงชั้นกลางของหนังแท้ ทำให้เซลล์เม็ดสีของผิวหนังเก่าถูกขับออกและปฏิกิริยาดังกล่าวนำไปสู่การจัดเรียงตัวใหม่ของคอลลาเจน (collagen remodeling ) และการสร้างคอลลาเจนใหม่ ( new collagen formation)

การกำจัดจุดด่างดำ

โดยทั่วไปแล้วจุดด่างดำ จะไม่จางหายไปเมื่อโดนแสงแดดน้อยลง แต่สามารถทำการรักษากระได้ด้วย
  • ไฮโดรควินโนน ( Hydroquinone )
  • เรตินอยด์ครีม ( Retinoid creams )
  • สารลอกเซลล์ผิว ( Chemical peels )
  • การบำบัดด้วยความเย็นจัด (Cryotherapy)
  • การรักษาด้วยเลเซอร์
ยังมีเลเซอร์อื่นๆ ที่สามารถกำหนดเป้าหมายไปที่เม็ดสีของผิวได้โดยตรง แทนที่จะผ่านชั้นผิวหนัง เลเซอร์เหล่านี้จะกำหนดเป้าหมายและทำลายบริเวณที่มีเม็ดสี เลเซอร์เฉพาะเม็ดสี (The pigment-specific lasers ) จะทำงานได้ดีกับจุดด่างดำบนผิวหนัง 

ทุกอย่างเกี่ยวกับ กระ และไฝ

กระและไฝ มักไม่เป็นอันตราย แต่อาจบ่งบอกถึงความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของมะเร็งผิวหนัง  การทราบถึงความเสี่ยงและรายละเอียดของการประเมิน ABCDE ในการประเมินการเปลี่ยนแปลงของเม็ดสีผิว จะช่วยบอกได้ว่า กระหรือไฝ เป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือไม่ การปรึกษาแพทย์ อาจช่วยให้ระบุจุดที่มีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งผิวหนังได้ และ ให้คำแนะนำในการเฝ้าระวังจุดนั้นอย่างใกล้ชิด

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด