ภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ (Hyponatremia) : อาการ สาเหตุ การรักษา

ภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ (Hypomatremia)  เกิดขึ้นเมื่อน้ำ และโซเดียมไม่สมดุลกัน อาจจะเกิดจากน้ำมากเกินไป หรือโซเดียมน้อยเกินไป

โซเดียม (Sodium) คือ อิเล็กโทรไลต์สำคัญที่ช่วยรักษาสมดุลน้ำของเซลล์ร่างกาย มีความสำคัญต่อการทำงานของกล้ามเนื้อ และเส้นประสาทที่ถูกต้อง รวมทั้งรักษาระดับความดันโลหิตให้คงที่ด้วย

ระดับโซเดียมที่ปกติควรอยู่ระหว่าง 135-145 มิลลิแอมป์ต่อลิตร ภาวะโซเดียมต่ำ คือ ระดับโซเดียมต่ำกว่า 135 mEq / L

อาการของภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ

อาการของภาวะโซเดียมในเลือดต่ำนั้นแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล หากระดับโซเดียมลดลงเรื่อย ๆ อาจจะไม่พบอาการใดๆ แต่หากลดอย่างรวดเร็วอาจจะมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น

การสูญเสียโซเดียมอย่างรวดเร็ว กะทันหัน เป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์

โดยอาการทั่วไปของร่างกายขาดโซเดียม  ได้แก่

Hyponatremia

สาเหตุของภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ

มีหลายสาเหตุที่สามารถทำให้ร่างกายขาดเกลือแร่ ระดับโซเดียมขสามารถต่ำเกินไปหากร่างกายสูญเสียน้ำ และอิเล็กโทรไลต์มากเกิน โดยสาเหตุที่ทำให้โซเดียมในเลือดต่ำมีดังนี้

  • อาเจียนรุนแรง หรือท้องร่วง
  • ยาบางชนิด เช่น ยาซึมเศร้าและยาแก้ปวด
  • ยาขับปัสสาวะ
  • ดื่มน้ำมากๆ ขณะออกกำลังกาย
  • เหงื่อออกมาก
  • โรคไต
  • โรคตับ
  • ปัญหาเกี่ยวกับหัวใจความผิดปกติของต่อมหมวกไต เช่น โรคแอดดิสัน (Addison’s disease)  ที่ส่งผลต่อากรควบคุมสมดุลของโซเดียม โพแทสเซียม และน้ำในร่างกาย
  • ต่อมไทรอยด์ไม่ทำงาน
  • กระหายน้ำมากเกินไป จนดื่มน้ำเยอะ
  • กลุ่มอาการของฮอร์โมนแอนติไดยูเรติกที่ไม่เหมาะสม (SIADH) ทำให้ร่างกายเก็บน้ำมากกว่าปกติ
  • โรคเบาจืด ทำให้ร่างกายไม่สร้างฮอร์โมนแอนติไดยูเรติก
  • กลุ่มโรคคุชชิ่ง ซินโดรม ซึ่งทำให้ระดับคอร์ติซอลสูง

ผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ

ปัจจัยที่ส่งผลให้เสี่ยงต่อโซเดียมในเลือดต่ำได้แก่

  • เป็นผู้สูงอายุ

  • ใช้ยาขับปัสสาวะ

  • ใช้ยากล่อมประสาท

  • เป็นนักกีฬาที่ออกแรงเยอะ

  • เป็นผู้ที่อาศัยอยู่ในสภาพอากาศที่อบอุ่น

  • รับประทานอาหารที่มีโซเดียมต่ำ

  • มีปัญหาโรคหัวใจ หรือโรคไต

หากเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงตามที่กล่าวมา ควรระมัดระวังในการบริโภคน้ำ และอิเล็กโทรไลต์

การตรวจสอบภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ

แพทย์สามารถตรวจหาระดับโซเดียมต่ำได้ ต่อให้ไม่มีการแสดงอาการ แพทย์จะแผ่นตรวจการเผาผลาญ เพื่อทดสอบหาปริมาณอิเล็กโทรไลต์ และแร่ธาตุในเลือดของคุณ

แผ่นตรวจการเผาผลาญสามารถบ่งชี้ภาวะโซเดียมในเลือดต่ำได้แม้ว่าบุคคลนั้นๆ จะไม่แสดงอาการ

หากระดับของโซเดียมผิดปกติแพทย์จะสั่งให้ทำการตรวจปัสสาวะ เพื่อตรวจสอบปริมาณโซเดียมในปัสสาวะเพิ่มเติม ผลการทดสอบนี้จะสามารถช่วยให้ แพทย์วินิจฉัยภาวะโซเดียมในเลือดต่ำได้

  • หากระดับโซเดียมในเลือดของต่ำ แต่ระดับโซเดียมในปัสสาวะสูง แสดงว่าร่างกายสูญเสียโซเดียมมากเกินไป

  • หากระดับโซเดียมต่ำทั้งในเลือด และปัสสาวแสดงว่า ร่างกายได้รับโซเดียมไม่เพียงพอ หรืออาจมีน้ำมากเกินไปในร่างกาย

การรักษาภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ

การรักษาภาวะโซเดียมในเลือดต่ำนั้นมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดโซเดียมในเลือดต่ำ

  • ลดการดื่มน้ำ

  • ปรับปริมาณการใช้ยาขับปัสสาวะ

  • รับประทานยาเพื่อบรรเทาอาการ เช่น ปวดศีรษะ คลื่นไส้ และชัก

  • การรักษาตามอาการที่เกิดขึ้น

  • ให้สารละลายที่จำเป็นผ่านหลอดเลือดดำ

การป้องกันโซเดียมในเลือดต่ำ

การรักษาระดับน้ำ และอิเล็กโทรไลต์ให้สมดุลนั้นช่วยป้องกันภาวะโซเดียมในเลือดต่ำได้

กรณีที่เป็นนักกีฬาสิ่งสำคัญคือ ต้องดื่มน้ำในปริมาณที่เหมาะสมระหว่างออกกำลังกาย

สำหรับการพิจารณาเลือกเครื่องดื่ม ควรเลือกที่มีมีอิเล็กโทรไลต์ และช่วยเติมโซเดียมที่สูญเสียไปจากการขับเหงื่อ โดยเครื่องดื่มเหล่านี้ยังมีประโยชน์ ในกรณีที่สูญเสียของเหลวปริมาณมาก เนื่องจากอาเจียน หรือท้องร่วงได้

ในระหว่างวัน ผู้หญิงควรดื่มน้ำ 2.2 ลิตร สำหรับผู้ชายควรดื่มน้ำ 3 ลิตร เมื่อร่างกายได้รับน้ำเพียงพอ ปัสสาวะจะเป็นสีใส และจะไม่ทำให้กระหายน้ำ

นี่คือสิ่งสำคัญในการเพิ่มปริมาณน้ำในร่างกาย

  • อากาศอบอุ่น

  • อยู่บนที่สูง

  • ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

  • อาเจียน

  • ท้องร่วง

  • มีไข้

ไม่ควรดื่มน้ำเกิน 1 ลิตรต่อชั่วโมง เนื่องจากเป็นปริมาณที่มากเกินไป และจะทำให้ร่างกายเสียสมดุล

ภาวะแทรกซ้อนของโซเดียมในเลือดต่ำ

ภาวะโซเดียมในเลือดต่ำเป็นภาวะทางการแพทย์ที่มีความเข้มข้นของโซเดียมในเลือดต่ำผิดปกติ โซเดียมเป็นอิเล็กโทรไลต์ที่จำเป็นซึ่งมีบทบาทสำคัญในการรักษาสมดุลของของเหลวในร่างกาย เมื่อระดับโซเดียมต่ำเกินไป อาจทำให้เกิดอาการและอาการแทรกซ้อนได้ ความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ขึ้นอยู่กับระดับและระยะเวลาของภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ ภาวะแทรกซ้อนของภาวะโซเดียมในเลือดต่ำอาจรวมถึง:
  • อาการทางระบบประสาท: ภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ อาจส่งผลต่อระบบประสาทส่วนกลางและทำให้เกิดอาการทางระบบประสาทต่างๆ ได้แก่:
  • ภาวะสมองบวม:ในภาวะโซเดียมในเลือดต่ำอย่างรุนแรง ระดับโซเดียมต่ำอาจทำให้เซลล์สมองบวมด้วยน้ำ ทำให้เกิดภาวะสมองบวม ซึ่งอาจส่งผลให้ความดันในกะโหลกศีรษะเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตและนำไปสู่อาการต่างๆ เช่น ปวดศีรษะอย่างรุนแรง สภาวะทางจิตที่เปลี่ยนแปลงไป อาการชัก และอาการโคม่า
  • ภาวะแทรกซ้อนทางเดินหายใจ:ภาวะโซเดียมในเลือดต่ำอย่างรุนแรงอาจส่งผลต่อศูนย์ทางเดินหายใจในสมอง นำไปสู่รูปแบบการหายใจที่ผิดปกติ หยุดหายใจขณะหลับ (หยุดหายใจชั่วคราว) และหยุดหายใจในกรณีที่รุนแรง
  • ปัญหาเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด:ภาวะโซเดียมในเลือดต่ำสามารถรบกวนกิจกรรมทางไฟฟ้าตามปกติของหัวใจ ทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (จังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ) ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ นอกจากนี้ยังอาจทำให้เกิดความดันโลหิตต่ำซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะ เป็นลม และช็อกได้
  • อาการระบบทางเดินอาหาร:คลื่นไส้และอาเจียนเป็นอาการทั่วไปของภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ อาการเหล่านี้สามารถนำไปสู่การขาดน้ำและความไม่สมดุลของอิเล็กโทรไลต์ ซึ่งทำให้อาการแย่ลงไปอีก
  • ตะคริวและความอ่อนแอของกล้ามเนื้อ:ระดับโซเดียมต่ำอาจส่งผลต่อการทำงานของกล้ามเนื้อ ทำให้เกิดตะคริว อ่อนแรง และกระตุก
  • สุขภาพของกระดูก:ภาวะโซเดียมในเลือดต่ำเรื้อรังสามารถนำไปสู่การลดแร่ธาตุของกระดูก เพิ่มความเสี่ยงของการแตกหักและปัญหากระดูก
  • ฟังก์ชั่นการรับรู้บกพร่อง:ภาวะโซเดียมในเลือดต่ำเป็นเวลานานหรือเกิดขึ้นอีกสามารถนำไปสู่ความบกพร่องทางสติปัญญา ปัญหาความจำ และความยากลำบากในด้านสมาธิและความสนใจ
  • ความผิดปกติของไต:ในบางกรณี ภาวะโซเดียมในเลือดต่ำอาจเป็นผลมาจากความผิดปกติของไต และอาจทำให้การทำงานของไตแย่ลงไปอีก ซึ่งนำไปสู่วงจรที่เลวร้ายของความไม่สมดุลของอิเล็กโทรไลต์
  • สาเหตุที่สำคัญ:สิ่งสำคัญคือต้องระบุสาเหตุที่แท้จริงของภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ ซึ่งอาจรวมถึงสภาวะต่างๆ เช่น ภาวะหัวใจล้มเหลว โรคไต ความไม่สมดุลของฮอร์โมน และการใช้ยาบางชนิด การไม่แก้ไขสาเหตุที่แท้จริงอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับภาวะหลักได้
การรักษาภาวะโซเดียมในเลือดต่ำขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของโรค กรณีที่ไม่รุนแรงอาจได้รับการจัดการโดยการจำกัดปริมาณของเหลว ในขณะที่กรณีที่รุนแรงกว่านั้นอาจต้องให้สารละลายน้ำเกลือไฮเปอร์โทนิกทางหลอดเลือดดำเพื่อเพิ่มระดับโซเดียมอย่างค่อยเป็นค่อยไป การวินิจฉัยและการรักษาอย่างทันท่วงทีถือเป็นสิ่งสำคัญเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ บุคคลที่มีความเสี่ยงต่อภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ เช่น นักกีฬาและผู้ที่รับประทานยาที่ส่งผลต่อความสมดุลของของเหลว ควรได้รับการตรวจสอบและให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะดังกล่าวเพื่อลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อน

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/hyponatremia/symptoms-causes/syc-20373711

  • https://www.webmd.com/a-to-z-guides/what-is-hyponatremia

  • https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4192979/


เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด