สังกะสี (Zinc) : ประโยชน์ และสิ่งควรรู้

ผู้เขียน Dr. Sommai Kanchana
0
สังกะสี

สังกะสี Zinc คืออะไร

ธาตุสังกะสี หรือ Zinc คือสารอาหารที่มีบทบาทที่จำเป็นหลายอย่างต่อร่างกาย เพราะร่างกายไม่สามารถผลิตสังกะสีได้เองตามธรรมชาติ เราจึงจำเป็นต้องได้รับผ่านอาหารหรืออาหารเสริม ในบทความนี้จะอธิบายทุกอย่างที่คุณควรรู้เกี่ยวกับสังกะสี รวมไปถึงการทำงาน ประโยชน์ต่อสุขภาพ ปริมาณที่ควรแนะนำและโอกาสในการเกิดผลข้างเคียง แร่สังกะสีคือสารอาหารที่จำเป็น ซึ่งร่างกายไม่สามารถผลิตได้หรือเก็บไว้ได้ ด้วยเหตุนี้เองคุณจึงจำเป็นต้องได้รับผ่านอาหารที่บริโภคเข้าไป สังกะสีเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อกระบวนต่างๆมากมายของร่างกาย ซึ่งรวมไปถึง:
  • การแสดงออกของยีน
  • การสังเคราะห์แสง
  • การทำงานของภูมิคุ้มกัน
  • การสังเคราะห์โปรตีน
  • การสังเคราะห์ดีเอ็นเอ
  • กระบวนการหายของแผลปกติ
  • การเจริญเติบโตและการพัฒนาการ
สังกะสี คือ สิ่งที่พบได้ตามธรรมชาติในทั้งพืชและสัตว์ คุณสามารถรับประทานอาหารเสริมสังกะสีหรืออาหารเสริมรวมสารอาหารที่มีสังกะสีเป็นส่วนประกอบ เพราะว่าสังกะสีมีบทบาทต่อการทำงานของภูมิคุ้มกัน สังกะสีจึงมักถูกนำไปเติมให้กับยาพ่นจมูก ยาอม และเพื่อการรักษาหวัดตามธรรมชาติอื่นๆ

Zinc ช่วยอะไร

สังกะสีเป็นแร่ธาตุที่มีความจำเป็นที่ร่างกายต้องใช้ในหลายๆทาง ในความเป็นจริงแล้วนั้น สังกะสีคือเกลือแร่รองอันดับสองในร่างกายของเรา – รองจากธาตุเหล็ก -ที่มีอยู่ในเซลล์ทุกๆเซลล์ สังกะสีมีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเอนไซม์มากกว่า 300 ชนิดที่ช่วยในการเผาผลาญ การย่อยอาหาร การทำงานของประสาทและกระบวนการอื่นๆอีกมากมาย สังกะสียังมีความสำคัญสำหรับการพัฒนาการและการทำงานของเซลล์ภูมิคุ้มกัน แร่ธาตุชนิดนี้คือส่วนสำคัญต่อสุขภาพของผิวพรรณ การสังเคราะห์ดีเอ็นเอและการผลิตโปรตีน ยิ่งกว่านั้น สังกะสียังช่วยเรื่องการเจริญเติบโตและพัฒนาการของร่างกาย เพราะสังกะสีมีบทบาทในการเจริญเติบโตและการแบ่งตัวของเซลล์ สังกะสี คือ สิ่งจำเป็นสำหรับการรับรู้กลิ่นและรสชาติ เพราะมีหนึ่งในเอนไซม์ที่สำคัญสำหรับเรื่องรสชาติและกลิ่น การขาดสังกะสีจะไปลดความสามารถในการรับรู้กลิ่นและรสชาติ 

ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย

สังกะสีจะช่วยทำให้ระบบภูมิต้านทานของร่างกายแข็งแรง เพราะเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการทำงานของเซลล์ภูมิคุ้มกัน และการส่งสัญญานของเซลล์ การพร่องสังกะสีอาจทำให้การตอบสนองของภูมิต้านทานอ่อนแอ อาหารเสริมสังกะสีจะช่วยกระตุ้นเซลล์ภูมิต้านทานอละช่วยลดภาวะความเครียดออกซิเดชั่น ยกตัวอย่าง จากการศึกษาตัวอย่าง7ตัวอย่างที่รับประทานสังกะสี 80-92 มก.ต่อวันอาจช่วยลดระยะการเกิดอาการหวัดได้มากถึง 33%    ยิ่งกว่านั้นอาหารเสริมสังกะสียังช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อและช่วยให้การตอบสนองภูมิต้านทานในผู้สูงอายุดีขึ้นได้ด้วย

อาหารเสริมซิงค์ช่วยทำให้แผลหายเร็วขึ้น

สังกะสีมักถูกนำมาใช้ในโรงพยาบาลในการรักษาคนไข้จากแผลไฟไหม้ แผลบางชนิดและอาการบาดเจ็บผิวหนังอื่นๆ เพราะแร่ธาตุนี้มีบทบาทที่สำคัญในการสังเคราะห์คอลลาเจน การทำงานของภูมิคุ้มกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการสมานแผล ในขณะที่มีภาวะพร่องสังกะสีที่ทำให้แผลหายช้าลง การรับประทานอาหารเสริมก็จะช่วยเร่งการฟื้นฟูให้แผลหายได้. ยกตัวอย่างจากการศึกษาคน 60 คนที่เป็นแผลเบาหวานที่เท้าเป็นเวลา 12 สัปดาห์ โดยรักษาด้วยการสังกะสี 200 มก. ต่อวัน พบว่าช่วยลดขนาดของแผลลงได้อย่างชัดเจนเมื่อเทียบกับคนที่ทานยาหลอก

กินซิงค์ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคในผู้สูงอายุบางโรค

สังกะสีอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคผู้สูงอายุได้อย่างชัดเจน เช่นโรคปอดอักเสบ โรคติดเชื้อและโรคจอประสาทตาเสื่อม(AMD). สังกะสีอาจช่วยบรรเทาภาวะเครียดออกซิเดชั่นและช่วยการตอบสนองของภูมิค้มกันดีขึ้นได้ด้วยการสร้างการทำงานของที-เซลล์ ซึ่งจะช่วยปกป้องร่างกายของเราจากการติดเชื้อ ผู้สูงอายุที่รับประทานอาหารเสริมที่มีสังกะสีพบว่ามีการตอบสนองต่อวัคซีนไข้หวัดใหญ่ดีขึ้น ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคปอดอักเสบและเสริมสร้างประสิทธิภาพทางด้านจิตใจ จากการศึกษาพบว่าผู้สูงอายุที่ได้รับสังกะสี 45 มก. ต่อวันอาจช่วยลดอัตราการติดเชื้อลงได้เกือบ 66% เพิ่มเติมจากการศึกษาขนาดใหญ่กับคนมากกว่า 4,200 คน ด้วยการให้รับประทานอาหารเสริมสารต้านอนุมูลอิสระ -วิตามินอี วิตามินซีและเบต้าแคโรทีน – ร่วมกับสังกะสี 80 มก. ช่วยลดการสูญเสียการมองเห็นและลดความเสี่ยงในการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อมลงได้

ประโยชน์ของสังกะสีอาจช่วยในการรักษาสิว

สิว คือ สิ่งที่เกิดจากการอุดตันของต่อมผลิตน้ำมัน แบคทีเรียและการอักเสบ เป็นโรคผิวหนังทั่วๆไปที่ส่งผลกับคนทั่วโลกราว 9.4% จากการศึกษาพบว่าการรักษาด้วยสังกะสีทั้งแบบทาเฉพาะที่และแบบรับประทานสามารถส่งผลดีในการรักษาสิวได้โดยการลดการอักเสบ การเจริญเติบโตของเชื้แบคทีเรีย P. acnes และช่วยกดการทำงานของต่อมน้ำมัน คนที่เป็นสิวมีแนวโน้มที่จะมีระดับสังกะสีต่ำด้วย ดังนั้น อาหารเสริมอาจช่วยลดอาการดังกล่าวได้

ช่วยลดการอักเสบ

สังกะสีช่วยลดภาวะเครียดออกซิเดชั่นและลดระดับการอักเสบของโปรตีนบางตัวในร่างกายได้ ภาวะเครียดออกซิเดชั่นอาจทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรัง มีส่วนในการเกิดอาการเจ็บป่วยเรื้อรังในวงกว้าง เช่นโรคหัวใจ มะเร็งและจิตเสื่อม จากการศึกษาผู้สูงอายุ 40 คน ที่รับประทานสังกะสี 45 มก.ต่อวันพบว่าช่วยลดการอักเสบลงได้เมื่อเทียบกับคนที่กินยาหลอกZinc

อาการพร่องสังกะสี

ถึงแม้ภาวะพร่องสังกะสีรุนแรงนั้นพบได้น้อยมากก็ตาม แต่ก็อาจเกิดขึ้นได้ในคนที่มีการเปลี่ยนแปลงของยีน ทารกที่ทานนมจากแม่ที่มีสังกะสีไม่พอเพียง คนที่ติดแอลกอฮอล์และทุกคนที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน อาการของคนที่มีภาวะพร่องสังกะสีรุนแรงคือการเจริญเติบโตและพัฒนาการไม่ดี ภาวะพัฒนาการทางเพศล่าช้า มีผื่นผิวหนัง ท้องเสียเรื้อรัง แผลรักษาหายช้าและมีปัญหาด้านพฤติกรรม คนที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะพร่องสังกะสีคือ:
  • คนที่เป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร เช่นโรคโครห์น
  • คนที่เป็นมังสวิรัติ
  • หญิงตั้งครรภ์และหญิงที่ให้นมบุตร
  • คนที่เป็นโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว
  • คนที่ขาดสารอาหาร รวมไปถึงคนที่เป็นโรคอะนอเร็กเซียหรือบูลิเมีย
  • คนที่เป็นโรคไตเรื้อรัง
  • คนที่ติดแอลกอฮอล์
อาหารพร่องสังกะสีเล็กน้อยอาจมีอาการท้องเสีย ภูมิคุ้มกันลดลง ผมบาง ความอยากอาหารลดลง อารมณ์แปรปรวน ผิวแห้ง ภาวะมีบุตรยากและแผลหายช้า ภาวะพร่องสังกะสีนั้นยากที่จะตรวจเจอด้วยการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพราะร่างกายจะควบคุมระดับของสังกะสี ดังนั้นคุณอาจจะพร่องสังกะสีแม้จะตรวจออกมาว่ามีระดับปกติก็ตาม แพทย์จะพิจารณาจากปัจจัยเสี่ยงอื่น – เช่นการรับประทานอาหารที่ไม่ดีและเรื่องยีน – ร่วมกับผลการตรวจเลือดเพื่อตัดสินใจว่าจำเป็นต้องรับประทานอาหารเสริมหรือไม่

อาหารที่มีธาตุสังกะสี

ธาตุสังกะสีในพืชและสัตว์มีอยู่ตามธรรมชาติมากมาย และง่ายสำหรับคนส่วนใหญ่ในการเลือกบริโภคให้ได้ในปริมาณที่เหมาะสม อาหารที่มีสังกะสีสูงที่สุดคือ
  • หอยต่างๆ: หอยนางรม ปู หอยแมลงภู่ ลอปเตอร์และหอยกาบ
  • เนื้อสัตว์: เนื้อวัว หมู แกะ
  • สัตว์ปีก: ไก่งวงและไก่
  • ปลา: ปลาลิ้นหมา ซาดีน แซลมอนและปลาโซล
  • ถั่ว: ถั่วลูกไก่ เลนทิล ถั่วดำ ถั่วแดงและอื่นๆ
  • ถั่วและเมล็ด: เม็ดฟักทอง เม็ดมะม่วงหิมพานต์ เมล็ดเฮมพ์และอื่นๆ
  • ผลิตภัณฑ์นม: นม โยเกิร์ตและชีส
  • ไข่
  • โฮลเกรน: ข้าวโอ๊ต ควินัว ข้าวกล้องและอื่นๆ
  • ผักบางชนิด: เห็ด เคล ถั่ว แอสปารากัสและบีทกรีน
ผลิตภัณฑ์จากสัตว์เช่นเนื้อและหอย ที่มีสังกะสีเป็นส่วนประกอบสูงในรูปแบบที่ทำให้ร่างกายสามารถดูดซึมได้ง่าย

โทษของธาตุสังกะสี

ภาวะพร่องสังกะสีทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อสุขภาพได้ การรับประทานมากเกินไปก็เกิดผลข้างเคียงที่ไม่ดีได้เช่นกัน สาเหตุส่วนใหญ่ที่เกิดสารพิษจากสังกะสีก็คือการรับประทานอาหารเสริมสังกะสีที่มากเกินไป ซึ่งอาจก่อให้เกิดอาการเฉียบพลันหรือเรื้อรังได้ทั้งสิ้น อาการของการเกิดสารพิษคือ: การได้รับสังกะสีมากเกินไปอาจไปทำให้สารอาหารตัวอื่นๆเกิดภาวะพร่อง ยกตัวอย่างเช่น ภาวะสังกะสีสูงเรื้อรังอาจมีผลต่อการดูดซึมทองแดงและเหล็ก

ซิงค์กินตอนไหน

เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยวการบริโภคที่มากเกินไป ควรออกห่างจากอาหารเสริม Zinc ที่มีปริมาณสังกะสีสูง เว้นเสียแพทย์สั่ง ปริมาณที่แนะนำให้บริโภคต่อวันคือ 11 มก.สำหรับผู้ชายและ 8 มก. สำหรับผู้หญิง หญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตรควรบริโภค 11 และ 12 มก.ต่อวัน ระดับสังกะสีที่สูงสุดคือ 40 มก.ต่อวัน ข้อมูลนี้ไม่สามารถใช้ได้กับคนที่มีภาวะพร่องสังกะสี  คนที่อาจต้องการการทานอาหารเสริมในปริมาณสูง หากคุณเลือกจะรับประทานเป็นอาหารเสริม ควรเลือกชนิดที่สามารถดูดซึมได้ เช่น สังกะสีซิเตรต หรือ สังกะสีกลูโคเนต และออกให้ห่างจากชนิดสังกะสีออกไซด์ ซึ่งร่างกายดูดซึมได้ยาก และควรรับประทานตอนท้องว่างเพื่อการดูดซึมที่ดี

ใครที่ควรเสริมสังกะสี

สังกะสีเป็นแร่ธาตุสำคัญที่มีบทบาทสำคัญในการทำงานของร่างกายต่างๆ มีความสำคัญต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน การรักษาบาดแผล การสังเคราะห์ DNA และการทำงานที่เหมาะสมของเอนไซม์หลายชนิด แม้ว่าสังกะสีจะจำเป็นสำหรับทุกคน แต่บางกลุ่มก็อาจมีความต้องการสังกะสีสูงกว่าหรือมีความเสี่ยงต่อการขาดสังกะสีมากกว่า ซึ่งรวมถึง:
  • ทารกและเด็ก:
      • สังกะสีมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกและเด็ก มีบทบาทในการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน และการขาดสารอาหารอาจทำให้การเจริญเติบโตและพัฒนาการหยุดชะงักได้
  • สตรีมีครรภ์และให้นมบุตร:
      • สตรีมีครรภ์และให้นมบุตรต้องการสังกะสีเพิ่มเติมเพื่อรองรับการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกในครรภ์และทารก สังกะสีมีความสำคัญต่อการสร้างอวัยวะและระบบภูมิคุ้มกันของทารกอย่างเหมาะสม
  • มังสวิรัติและวีแกน:
      • อาหารจากพืชอาจให้สังกะสีที่มีประโยชน์ทางชีวภาพน้อยกว่าเมื่อเทียบกับอาหารจากสัตว์ ผู้ที่เป็นมังสวิรัติควรตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีอาหารจากพืชที่มีสังกะสีสูงไว้ในอาหาร เช่น พืชตระกูลถั่ว เมล็ดพืช ถั่วเปลือกแข็ง และธัญพืชไม่ขัดสี
  • ผู้สูงอายุ:
      • ผู้สูงอายุอาจมีการดูดซึมสังกะสีลดลง และอาจมีความเสี่ยงต่อการขาดสังกะสีมากขึ้น ปริมาณสังกะสีที่เพียงพอเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการรักษาการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันและป้องกันการเสื่อมตามอายุ
  • ผู้ที่มีความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร:
      • ภาวะต่างๆ เช่น โรคโครห์น  โรคเซลิแอค และความผิดปกติของระบบทางเดินอาหารอื่นๆ อาจทำให้การดูดซึมสังกะสีลดลง บุคคลที่มีภาวะเหล่านี้อาจจำเป็นต้องติดตามระดับสังกะสีของตนเอง และหากจำเป็น ให้พิจารณาการเสริมภายใต้คำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ
  • ผู้ที่เป็นโรคเรื้อรังบางชนิด:
      • อาการเรื้อรังบางอย่าง เช่น โรคเบาหวานและโรคไตเรื้อรัง อาจเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงการเผาผลาญสังกะสี บุคคลที่มีภาวะเหล่านี้อาจมีความต้องการสังกะสีที่แตกต่างกัน
  • นักกีฬา:
    • การออกกำลังกายอย่างหนักสามารถเพิ่มความต้องการสังกะสีของร่างกายได้ นักกีฬา โดยเฉพาะผู้ที่เล่นกีฬาประเภทที่ต้องใช้ความอดทน อาจมีความต้องการสังกะสีสูงขึ้น
สิ่งสำคัญที่ควรทราบคือแม้ว่าสังกะสีจะมีความจำเป็นต่อสุขภาพ แต่การบริโภคที่มากเกินไปอาจเป็นอันตรายได้ ค่าเผื่ออาหารที่แนะนำ (RDA) สำหรับสังกะสีจะแตกต่างกันไปตามอายุ เพศ และช่วงชีวิต โดยทั่วไป วิธีที่ดีที่สุดคือได้รับสารอาหารจากการรับประทานอาหารที่สมดุลแทนที่จะพึ่งอาหารเสริม เว้นแต่จะได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ แหล่งอาหารที่ดีของสังกะสี ได้แก่ เนื้อสัตว์ สัตว์ปีก ปลา ผลิตภัณฑ์นม ถั่ว เมล็ดพืช พืชตระกูลถั่ว และเมล็ดธัญพืช  

ประเด็นสำคัญ

สังกะสีเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการสังเคราะห์ดีเอ็นเอ การทำงานของภูมิต้านทาน การเผาผลาญ และการเจริญเติบโต สังกะสีอาจช่วยลดการอักเสบและความเสี่ยงในการเกิดโรคตามอายุบางอย่าง ผู้ชายควรบริโภค 11 มก. และ 8 มก.สำหรับผู้หญิงผ่านการรับประทานเข้าไป แต่สำหรับผู้สูงอายุและคนที่มีโรคที่ไปยับยั้งการดูดซึมสังกะสี อาจจำเป็นต้องได้รับอาหารเสริมดังกล่าว เพราะอาหารเสริมที่มีปริมาณสังกะสีสูงอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตราย จึงเป้นเรื่องสำคัญที่ต้องทำตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัดและรับประทานอาหารเสริมเท่าที่จำเป็นเท่านั้น

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.mayoclinic.org/drugs-supplements-zinc/art-20366112
  • https://www.medicalnewstoday.com/articles/263176
  • https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3724376/
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด