โรคเซลิแอค (Celiac Disease) : อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคเซลิแอคคืออะไร

โรคเซลิแอค (Celiac Disease) คือโรคที่เกี่ยวกับระบบการย่อยอาหาร ที่มีสาเหตุมาจากระบบภูมิคุ้มกันมีปฏิกิริยาต่อกลูเตนแบบผิดปกติ โรคเซลิแอคหรือที่รู้จักกันในชื่ออื่น เช่น:

  • โรคสปรู sprue

  • โรค nontropical sprue

  • โรค gluten-sensitive enteropathy

กลูเตนคือโปรตีนที่พบในอาหารที่ทำมาจากข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ ข้าวไรย์และข้าวทริทิเคลี กลูเตนยังอาจพบได้ในยา วิตามินและลิปสติก การแพ้กลูเตนรู้กันดีว่าเป็นอาการที่ไวต่อกลูเตน  เป็นเพราะร่างกายไม่สามารถย่อยหรือสลายกลูเตนได้ ผู้ป่วยบางรายที่แพ้กลูเตนอาจจะไวต่อกลูเตนไม่มาก ในขณะที่โรคเซลิแอคเป็นโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเองโรคหนึ่ง

โรคเซลิแอค คือการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันที่มีต่อกลูเตนโดยสร้างสารพิษที่ทำลายวิลไล วิลไลคือตุ่มขนาดเล็กๆเหมือนนิ้วมือที่อยู่ในลำไว้เล็ก เมื่อวิลไลถูกทำให้เสียหาย ร่างกายก็จะไม่สามารถดูดซึมสารอาหารจากอาหารได้ ซึ่งสามารถนำไปสู่ภาวะขาดสารอาหารและภาวะแทรกซ้อนของสุขภาพที่รุนแรงอื่นๆได้ รวมไปถึงลำไส้เสียหายถาวร

คนที่ป่วยโรคเซลิแอคมีความจำเป็นต้องกำจัดอาหารที่มีกลูเตนเป็นส่วนประกอบทั้งหมดออกจากอาหารที่รับประทาน  ซึ่งรวมไปถึงผลิตภัณฑ์จำพวกขนมปัง ขนมอบ เบียร์และอาหารทุกชนิดที่มีกลูเตนที่เป็นส่วนผสม

อาการของโรคเซลิแอคคืออะไร

อาการของโรคเซลิแอคนอกจากจะเกิดขึ้นที่ลำไส้และระบบการย่อยแล้ว โรคยังส่งผลให้เกิดอาการในส่วนอื่นๆของร่างกายได้ด้วย เด็กและผู้ใหญ่มีแนวโน้มที่จะมีอาการที่แตกต่างกัน

อาการโรคเซลิแอคในเด็ก

เด็กที่เป็นโรคเซลิแอคจะรู้สึกเหนื่อยและหงุดหงิด เด็กอาจตัวเล็กกว่าปกติและมีภาวะการเข้าสู่ภาวะเจริญพันธ์ช้า และอาจมีอาการอื่นๆร่วมอีกเช่น:

อาการโรคเซลิแอคในผู้ใหญ่

ผู้ใหญ่ที่ป่วยเป็นโรคเซลิแอคมักต้องประสบกับปัญหาเรื่องระบบขับถ่าย ในผู้ป่วยส่วนใหญ่อาการที่เกิดขึ้นมักส่งผลกระทบต่อส่วนอื่นๆของร่างกายด้วย โดยมีอาการต่างๆดังต่อไปนี้:

  • ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก

  • เจ็บตามข้อต่อและขาดความยืดหยุ่น

  • กระดูกเปราะ อ่อน

  • มีอาการเหนื่อยล้า

  • อาการชัก

  • เป็นโรคผิวหนัง

  • มีอาการชาและเป็นเหน็บที่มือหรือเท้า

  • สีฟันเปลี่ยนไปหรือเคลือบฟันเสื่อม

  • เจ็บในปาก

  • มีรอบเดือนผิดปกติ

  • ภาวะมีบุตรยากหรือแท้งบุตร

ภาวะภูมิคุ้มกันทำลายตนเองบนผิวหนัง (DH) คืออีกอาการหนึ่งที่สามารถพบได้ทั่วไปของโรคเซลิแอค DH คือโรคที่มีผื่นคันขึ้นบนผิวหนังอย่างรุนแรงทำให้ผิวขรุขระและเป็นแผลพุพอง อาจเกิดขึ้นที่บริเวณข้อศอก ก้นและหัวเข่า โรค DH  ส่งผลกระทบเฉลี่ยประมาณ 15-25 เปอร์เซนต์ต่อผู้ป่วยโรคเซลิแอคทั้งหมด ผู้ที่ประสบกับโรค DH มักไม่มีอาการเกี่ยวกับระบบย่อย

สิ่งที่สำคัญคืออาการที่เกิดขึ้นนั้นอาจแตกต่างกันออกไปในแต่ละคน ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆเช่น:

  • ช่วงระยะเวลาของการดื่มนมมารดาตอนเป็นทารก

  • อายุที่เริ่มต้นทานกลูเตน

  • จำนวนของกลูเตนที่รับประทาน

  • ลำไส้เสียหายรุนแรง

ผู้ป่วยบางรายที่เป็นโรคเซลิแอคอาจไม่มีอาการ แต่อย่างไรตัวโรคเองยังสามารถพัฒนาให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในระยะยาวที่เป็นผลมาจากโรคได้อยู่ดี

ควรนัดปรึกษาแพทย์หากคุณสงสัยว่าตัวคุณหรือลูกของคุณอาจป่วยเป็นโรคเซลิแอค เมื่อการวินิจฉัยและการรักษาล่าช้าเกินไป ก็อาจนำมาซึ่งภาวะแทรกซ้อนได้มากขึ้น

ใครคือผู้ที่เสี่ยงต่อโรคเซลิแอคบ้าง

โรคเซลิแอคเป็นโรคที่สามารถถ่ายทอดไปสู่ลูกหลานได้ จากข้อมูลของ University of Chicago Medical Center พบว่า 1ใน12 คนมีโอกาสเป็นโรคเซลิแอคได้หากมีพ่อแมีหรือพี่น้องเป็นโรคดังกล่าว

คนที่มีภาวะโรคภูมิคุ้มกันทำลายตัวเองและเป็นโรคเกี่ยวกับทางพันธุกรรมมักจะเป็นเซลิแอคได้มากกว่าคนอื่น ซึ่งอาจมีโรคบางโรคที่เกิดขึ้นร่วมกับโรคเซลิแอคด้วยเช่น:

การวินิจฉัยโรคเซลิแอค

การวินิจฉัยจะเริ่มด้วยการตรวจร่างกายและซักประวัติโรคประจำตัว

แแพทย์จะทำการตรวจสอบหลายอย่างเพื่อนำมาช่วยในการตัดสินโรค คนที่เป็นโรคเซลิแอคพบว่ามักมีระดับ antiendomysium สูง และมี  anti-tissue transglutaminase (tTGA) antibodies สิ่งนี้สามารถตรวจพบเจอได้ด้วยการตรวจเลือด การตรวจสามารถเชื่อถือได้เมื่อมันแสดงตัวออกมาในขณะที่ยังมีกลูเตนอยู่ในอาหารที่รับประทาน

การตรวจเลือดทั่วไป เช่น:

  • การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด

  • การตรวจการทำงานของตับ

  • การตรวจคอเรสเตอรอล

  • การตรวจสารแอลคาไลน์ฟอสฟสเทส

  • การตรวจอัลบูมิน

ในคนที่เป็นโรค DH การตัดชิ้นเนื้อผิวหนังไปตรวจสามารถช่วยทำให้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคเซลิแอคได้ ในระหว่างการตัดชิ้นเนื้อผิวหนังไปตรวจ แพทย์อาจตัดนำเนื้อเยื่อผิวหนังเล็กๆออกมาตรวจด้วยกล้องขยาย หากการตัดชิ้นเนื้อผิวหนังและผลจากการตรวจเลือดสามารถช่วยให้แพทย์สามารถระบุโรคเซลิแอคได้แล้ว การต้องตัดชิ้นเนื้อภายในอาจไม่มีความจำเป็น

ในบางรายที่ผลการตรวจเลือดและการตัดชิ้นเนื้อยังไม่สามารถสรุปได้ การตรวจส่องกล้องระบบทางเดินอาหารส่วนต้นสามารถช่วยทดสอบหาโรคเซลิแอคได้ ในระหว่างการตรวจแพทย์จะสอดใส่สายยางเล็กๆเข้าไปทางปากและลงไปยังลำไส้เล็ก  กล้องเล็กๆที่ติดไว้กับสายจะลงไปตรวจดูลำไส้เพื่อเช็คความเสียหายของวิลไล แพทย์อาจตัดเอาชิ้นเนื้อจากภายในลำไส้ ซึ่งเป็นการเอาตัวอย่างเนื้อเยื่อออกมาจากลำไส้เพื่อนำมาวิเคราะห์

การรักษาโรคเซลิแอค

วิธีเดียวที่จะรักษาโรคเซลิแอคคือการต้องกำจัดกลูเตนออกจากอาหารที่รับประทานอย่างสิ้นเชิง ด้วยการปล่อยให้ลำไส้วิลไลได้รับการเยียวยาและเริ่มต้นดูดซึมสารอาหารได้อย่างเหมาะสม แพทย์จะสอนวิธีหลีกเลี่ยงกลูเตนจากอาหาร แพทย์จะให้คำแนะนำถึงวิธีการอ่านสลากอาหารหรือผลิตภัณฑ์ใดๆเพื่อที่คุณจะสามารถรู้ส่วนผสมว่ามีกลูเตนผสมอยู่หรือไม่

อาการอาจดีขึ้นได้ภายในไม่กี่วันหลังจากเอากลูเตนออกจากอาหารที่รับประทาน แต่อย่างไรก็ตาม คุณไม่ควรหยุดการกินกลูเตนจนกว่าจะได้รับการตรวจ การเอากลูเตน ออกก่อนล่วงหน้าที่จะตรวจอาจทำให้ผลการตรวจผิดพลาดได้

การเตรียมอาหารสำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคเซลิแอค

การพยายามหาอาหารรับประทานแบบไม่มีกลูเตนเลยนั้นไม่ได้เป็นเรื่องง่าย โชคดีที่ตอนนี้มีบริษัทหลายที่ที่ออกผลิตภัณฑ์ปราศจากกลูเตนออกมา ซึ่งสามารถหาได้ตามร้านขายของชำทั่วไป บนผลิตภัณฑ์จะมีฉลากคำว่า “ปราศจากกลูเตน” ติดไว้

หากคุณเป็นโรคเซลิแอค สิ่งที่สำคัญคือการรู้จักชนิดอาหารที่มีความปลอดภัย ต่อไปนี้คือชุดอาหารที่อาจช่วยให้คุณรู้ว่าอะไรคววรรับประทานอะไรควรหลีกเลี่ยง

อาหารที่มีส่วนประกอบดังต่อไปนี้ที่ควรหลีกเลี่ยง:

  • ข้าวสาลี

  • แป้งสเปล

  • ข้าวไรย์

  • ข้าวบาเลย์

  • ข้าวทริทิเคลี

  • ข้าวบัลเกอร์

  • ข้าวสาลีดูรัม

  • แป้งฟารินา

  • แป้งเกรแฮม

  • แป้งซีโมลินา

สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงแม้จะมีฉลากปราศจากกลูเตนก็ตาม เช่น:

  • เบียร์

  • ขนมปัง

  • เค้กและพาย

  • ลูกอม

  • ซีเรียล

  • คุ้กกี้

  • แครกเกอร์

  • กรูตองซ์

  • น้ำเกรวี่

  • เนื้อหรืออาหารทะเลเลียนแบบ

  • ข้าวโอ๊ต

  • พาสต้า

  • เนื้อแปรรูป ไส้กรอกและฮอตด็อก

  • น้ำสลัด

  • ซอสต่างๆ (รวมไปถึงน้ำปลาด้วย)

  • ซุบ

นี่คือแป้งและข้าวสาลีที่ปราศจากกลูเตนที่สามารถรับประทานได้:

  • บัควีท

  • ข้าวโพด

  • ผักโขม

  • แป้งเท้ายายม่อม

  • คอร์นมีล

  • แป้งที่ทำมาจากข้าว ซอส ข้าวโพด มันฝรั่งหรือถั่ว

  • ตอร์ติยาข้าวโพดแท้

  • ควินัว

  • ข้าว

  • มันสำปะหลัง

อาหารสุขภาพที่ปราศจากกลูเตน เช่น:

  • เนื้อสด และสัตว์ปีกที่ไม่ผ่านชุบเกล็ดขนมปัง เคลือบหรือหมัก

  • ผลไม้

  • ผลิตภัณฑ์นมส่วนใหญ่

  • ถั่ว มันฝรั่ง รวมไปถึงมันหวานและข้าวโพด

  • ข้าว ถั่วและถั่วเลนทิล

  • ผัก

  • ไวน์ เหล้ากลั่น ไซเดอร์และเหล้า

อาการของผู้ป่วยควรดีขึ้นภายในไม่กี่วันจนถึงหลายสัปดาห์หลังจากมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการรับประทานอาหาร ในเด็กสำไส้มักจะหายได้เองภายใน 3ถึง6 เดือน แต่อาจใช้เวลาหลายปีในผู้ใหญ่ เมื่อลำไส้ได้รับการเยียวยาสมบูรณ์เต็มที่แล้ว ร่างกายก็จะสามารถดูดซับสารอาหารได้อย่างเหมาะสม

ภาวะแทรกซ้อนของโรคเซลิแอค

โรคเซลิแอค เป็นโรคแพ้ภูมิตนเองที่เกิดจากการบริโภคกลูเตน ซึ่งเป็นโปรตีนที่พบในข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ และข้าวไรย์ เมื่อบุคคลที่เป็นโรคเซลิแอค กินกลูเตน จะทำให้เกิดการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันที่ทำลายเยื่อบุลำไส้เล็ก ทำให้เกิดอาการทางระบบย่อยอาหารและอาการทางระบบต่างๆ หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษา โรคเซลิแอคงอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ต่อไปนี้เป็นภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากโรคเซลิแอค:
  • ภาวะทุพโภชนาการ: ความเสียหายต่อลำไส้เล็กในโรคเซลิแอค อาจทำให้การดูดซึมสารอาหารที่จำเป็นลดลง นำไปสู่ภาวะทุพโภชนาการ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการขาดวิตามิน (เช่น บี 12 ดี และเค) และแร่ธาตุ (เช่น เหล็กและแคลเซียม) ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพมากมาย
  • โรคกระดูกพรุน: โรคเซลิแอค อาจทำให้การดูดซึมแคลเซียมลดลง ซึ่งจะทำให้สูญเสียความหนาแน่นของกระดูก และเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนและกระดูกหัก
  • โรคโลหิตจาง: การดูดซึมธาตุเหล็กและวิตามินบี 12 ไม่เพียงพออาจทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง ส่งผลให้เหนื่อยล้า อ่อนแรง และอาการอื่นๆ
  • โรคผิวหนังอักเสบ : บุคคลบางคนที่เป็นโรคเซลิแอค จะมีอาการทางผิวหนังที่เรียกว่าโรคผิวหนังอักเสบ โดยมีลักษณะเป็นผื่นผิวหนังพุพองและคัน
  • อาการทางระบบประสาท: โรคเซลิแอค อาจส่งผลต่อระบบประสาท ทำให้เกิดอาการทางระบบประสาท เช่น ปวดศีรษะ โรคปลายประสาทอักเสบ และแม้แต่อาการชักในบางกรณีซึ่งพบไม่บ่อย
  • ปัญหาภาวะมีบุตรยากและการสืบพันธุ์: โรคเซลิแอค อาจส่งผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ในทั้งชายและหญิง ผู้หญิงที่เป็นโรคเซลิแอค ที่ไม่ได้รับการรักษาอาจมีปัญหาในการตั้งครรภ์หรือมีความเสี่ยงที่จะแท้งเพิ่มขึ้น ผู้ชายที่เป็นโรคเซลิแอค อาจมีอัตราการเจริญพันธุ์ลดลงเช่นกัน
  • ภาวะแทรกซ้อนทางเดินอาหาร: การอักเสบเรื้อรังและความเสียหายต่อเยื่อบุลำไส้อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น การตีบของลำไส้ แผลในกระเพาะอาหาร และความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของโรคมะเร็งในทางเดินอาหาร แม้ว่าจะพบได้ค่อนข้างน้อยก็ตาม
  • การแพ้แลคโตส: ความเสียหายต่อลำไส้เล็กอาจทำให้เกิดการแพ้แลคโตสทุติยภูมิได้ เนื่องจากเอนไซม์ที่จำเป็นในการย่อยแลคโตสนั้นผลิตโดยเซลล์ในเยื่อบุของลำไส้เล็ก ซึ่งอาจได้รับความเสียหายในโรคเซลิแอค
  • ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของโรคภูมิต้านตนเองอื่น ๆ: บุคคลที่เป็นโรคเซลิแอค มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคภูมิต้านตนเองอื่น ๆ เช่น เบาหวานประเภท 1 ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ภูมิต้านตนเอง และโรคตับภูมิต้านตนเอง
  • คุณภาพชีวิตที่ลดลง: อาการเรื้อรังและข้อจำกัดด้านอาหารอาจส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อคุณภาพชีวิตของบุคคล นำไปสู่ความท้าทายทางสังคมและจิตใจ รวมถึงภาวะซึมเศร้าและความวิตกกังวล
สิ่งสำคัญที่ควรทราบคือความรุนแรงและโอกาสของภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้อาจแตกต่างกันไปในแต่ละคน และหลายๆ กรณีสามารถป้องกันหรือจัดการได้โดยการรับประทานอาหารปลอดกลูเตนอย่างเข้มงวด ซึ่งเป็นวิธีการรักษาโรคเซลิแอกเบื้องต้น การวินิจฉัยตั้งแต่เนิ่นๆ และการรับประทานอาหารปราศจากกลูเตนเป็นประจำเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันหรือบรรเทาภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ หากคุณสงสัยว่าคุณเป็นโรคเซลิแอค หรือได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำงานอย่างใกล้ชิดกับผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพและนักโภชนาการที่ลงทะเบียนเพื่อจัดการกับอาการของคุณอย่างมีประสิทธิภาพ

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://medlineplus.gov/celiacdisease.html

  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/celiac-disease/symptoms-causes/syc-20352220

  • https://www.nhs.uk/conditions/coeliac-disease/

  • https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/14240-celiac-disease


เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด