โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง หรืออักเสบเกิดขึ้นเมื่อคุณไม่สามารถหดเกร็งกล้ามเนื้อหรือเคลื่อนไหวได้ตามปกติ หรือสามารถเรียกว่า
- ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลดลง
- กล้ามเนื้ออ่อนแรง
- กล้ามเนื้ออ่อนแอ
- แขนขาอ่อนแรง
- แขนไม่มีแรงข้างเดียว หรือขาไม่มีแรงข้างเดียว
- ขาอ่อนแรงเฉียบพลัน
- กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้แก่
มีโรคหลายประเภทที่ทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง เช่น ตัวอย่างเช่น
- ระบบประสาทกล้ามเนื้อทำงานผิดปกติ เช่น โรคกล้ามเนื้อดูเชน โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอแอลเอส
- มีความผิดปกติเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์เช่นต่อมไทรอยด์ทำงานมากหรือน้อยกว่าปกติ
- สารอิเล็กโทรไลต์ในเลือดไม่สมดุล เช่น ภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ ภาวะขาดแคลนแมกนีเซียมและภาวะแคลเซียมในเลือดสูง
- เส้นเลือดอุดตันในสมอง
- โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท
- กลุ่มอาการความอ่อนล้าเรื้อรัง (CFS)
- ภาวะกล้ามเนื้อตึงตัวน้อยหมายถึงการขาดแคลนภาวะตึงตัวของกล้ามเนื้อ โดยปกติมักพบอาการนี้ตั้งแต่เกิด
- ปลายประสาทอักเสบ
- อาการปวดตามเส้นประสาทหรือความรู้สึกปวดแสบปวดร้อนตามเส้นประสาท
- กล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง
- พิการหรือไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เป็นเวลานาน
- ติดสุราเรื้อรัง
- ยาสแตนตินและยาลดไขมัน
- ยารักษาอาการหัวใจเต้นผิดปกติ เช่น ยา Amiodarone (Pacerone) หรือยา Procainamide
- ยาคอร์ติสเตียรอยด์
- ยา Colchicine (Colcrys, Mitigare) เป็นยาสำหรับรักษาโรคเกาต์
การวินิจฉัยสาเหตุของกล้ามเนื้ออ่อนแรง
หากคุณมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง โดยไม่ทราบสาเหตุควรทำการนัดพบผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเพื่อทำการตรวจร่างกายต่อไป คุณจะถูกถามเกี่ยวกับอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง ได้แก่ คุณมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงมานานเท่าไหร่แล้วและสอบถามเกี่ยวกับอาการอื่นๆ รวมถึงประวัติทางการแพทย์ของครอบครัว ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจะทำการตรวจร่างกายดังต่อไปนี้- ปฏิกิริยาตอบสนองอัตโนมัติ
- ความรู้สึก
- กล้ามเนื้อตึง
- การทำ CT สแกนหรือ MRI เพื่อตรวจสอบโครงสร้างภายในของร่างกาย
- การทดสอบเส้นประสาทเพื่อประเมินว่าเส้นประสาททำงานได้ดีเพียงใด
- การตรวจกล้ามเนื้อและเส้นประสาทด้วยไฟฟ้า (EMG) เพื่อตรวจสอบการทำงานของระบบประสาทภายในกล้ามเนื้อ
- การตรวจเลือดเพื่อตรวจสอบสัญญาณของการติดเชื้อในกล้ามเนื้อ
ทางเลือกการรักษาสำหรับภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรง
เมื่อแพทย์สามารถระบุสาเหตุของอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงของคุณได้ แพทย์จะแนะนำวิธีการรักษาที่เหมาะสม โดยแผนการรักษาของคุณขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงและความรุนแรงของอาการที่เกิดขึ้น โดยมีทางเลือกสำหรับการรักษาภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงดังนี้การทำกายภาพบำบัด
นักกายภาพบำบัดสามารถแนะนำวิธีการออกกำลังกายที่ช่วยทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงดีขึ้นได้ ตัวอย่างเช่นการออกกำลังกายแบบใช้แรงต้าน เพื่อกระตุ้นให้มีการใช้งานกล้ามเนื้อส่วนที่มีอาการอ่อนแรงหรือไม่ค่อยได้ใช้งานการใช้ยา
ยาแก้ปวดที่หาซื้อได้ทั่วไป เช่น ยาไอบลูโพรเฟนหรือยาพาราเซลตามอลสามารถช่วยขัดการกับความเจ็บปวดที่เกิดจากอาการดังต่อไปนี้ได้แก่- ปลายประสาทอักเสบ
- อาการเจ็บปวดตามเส้นประสาท
เปลี่ยนแปลงการทานอาหาร
ควรเปลี่ยนไปทานอาหารที่ช่วยทำให้สารเกลือแร่ในร่างกายของคุณสมดุล ซึ่งแพทย์อาจแนะนำให้ทานอาหารเสริม เช่นแคลเซียม แมกนีเซียมออกไซด์หรือโพแทสเซียมออกไซด์ โดยขึ้นอยู่ชนิดของแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการการผ่าตัด
การผ่าตัดสามารถนำมาใช้กับโรคบางชนิดได้เช่น ต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไปหรือภาวะหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทสถานการณ์ฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้น
ในบางกรณีภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคร้ายแรงได้เช่นลิ่มเลือดอุดตันในสมอง หากคุณเคยมีอาการดังต่อไปนี้ ควรโทรติดต่อเบอร์ 1669 หรือหน่อยแพทย์ฉุกเฉินในท้องถิ่นทันที- กล้ามเนื้ออ่อนแรงเฉียบพลัน
- มีอาการชาหรือสูญเสียความรู้สึกเฉียบพลัน
- ไม่สามารถเคลื่อนไหวแขนขา เดิน ยืนหรือนั่งตัวตรงได้
- แสดงอารมณ์ออกทางสีหน้าลำบาก
- มีอาการสับสนงุนงงและพูดลำบากแบบเฉียบพลัน
- กล้ามเนื้อหน้าอกอ่อนแรง เนื่องจากอาการหายใจลำบาก
- หมดสติ
อาหารที่ดีต่อกล้ามเนื้ออ่อนแรง
หากคุณหรือคนที่คุณรู้จักกำลังประสบกับกล้ามเนื้ออ่อนแรง สิ่งสำคัญคือต้องพิจารณารับประทานอาหารที่สนับสนุนสุขภาพของกล้ามเนื้อ อาหารที่อุดมด้วยสารอาหารมีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างกล้ามเนื้อและป้องกันความอ่อนแอเพิ่มเติม ต่อไปนี้คืออาหารบางส่วนที่สามารถช่วยรักษาสุขภาพของกล้ามเนื้อได้:- อาหารที่อุดมด้วยโปรตีน:โปรตีนเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสุขภาพของกล้ามเนื้อ เนื่องจากมีการสร้างกรดอะมิโน ที่จำเป็นสำหรับการซ่อมแซมและการเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อ รวมแหล่งโปรตีนไร้ไขมันในอาหารของคุณ เช่น:
- อกไก่และไก่งวง
- ปลา (เช่น ปลาแซลมอน ทูน่า และปลาเทราท์)
- เนื้อวัวหรือเนื้อหมูไม่ติดมัน
- ไข่
- กรีกโยเกิร์ต
- เต้าหู้หรือเทมเป้
- พืชตระกูลถั่ว (เช่น ถั่วเลนทิล ถั่วชิกพี และถั่ว)
- ผลิตภัณฑ์นม (เช่น นมไขมันต่ำและคอทเทจชีส)
- ปลาที่มีไขมัน:ปลาที่มีไขมันเช่นปลาแซลมอน ปลาแมคเคอเรล และปลาซาร์ดีนอุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งมีคุณสมบัติต้านการอักเสบและสามารถบำรุงสุขภาพของกล้ามเนื้อได้
- ผลิตภัณฑ์นม:ผลิตภัณฑ์นมเป็นแหล่งโปรตีนและแคลเซียมที่ดีเยี่ยม ซึ่งจำเป็นต่อสุขภาพของกล้ามเนื้อและกระดูก เลือกใช้แบบไขมันต่ำหรือแบบลดไขมันเพื่อจำกัดการบริโภคไขมันอิ่มตัว
- ถั่วและเมล็ดพืช:อัลมอนด์ วอลนัท และเมล็ดเจียอุดมไปด้วยไขมัน โปรตีน และสารอาหารรองที่ดีต่อสุขภาพของกล้ามเนื้อ
- ผักใบเขียว:ผักใบเขียวเข้ม เช่น ผักโขมและผักเคล เป็นแหล่งวิตามินและแร่ธาตุที่ดี รวมถึงแคลเซียม ซึ่งมีความสำคัญต่อการหดตัวของกล้ามเนื้อ
- ผลเบอร์รี่:ผลเบอร์รี่ เช่น บลูเบอร์รี่ สตรอเบอร์รี่ และแบล็กเบอร์รี่ อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งสามารถช่วยลดการอักเสบของกล้ามเนื้อและความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชั่น
- ผลไม้รสเปรี้ยว:ผลไม้รสเปรี้ยว เช่น ส้มและเกรปฟรุตมีวิตามินซีสูง ซึ่งมีบทบาทในการผลิตคอลลาเจนและการซ่อมแซมกล้ามเนื้อ
- ควินัว:ควินัวเป็นแหล่งโปรตีนที่สมบูรณ์ที่ให้กรดอะมิโนที่จำเป็นสำหรับการซ่อมแซมและการเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อ
- มันเทศ:มันเทศเป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนชั้นดีและให้โพแทสเซียม ซึ่งมีความสำคัญต่อการทำงานของกล้ามเนื้อ
- เนื้อไม่ติดมัน:เนื้อวัวไม่ติดมันอุดมไปด้วยโปรตีน ธาตุเหล็ก และสังกะสีคุณภาพสูง ซึ่งสนับสนุนสุขภาพของกล้ามเนื้อและการฟื้นตัว
- ถั่วและพืชตระกูลถั่ว:เป็นแหล่งโปรตีนจากพืช เส้นใยอาหาร วิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นที่ดีเยี่ยม
- ไข่:ไข่เป็นแหล่งโปรตีนที่สมบูรณ์และยังมีกรดอะมิโน วิตามิน และแร่ธาตุที่จำเป็นซึ่งสนับสนุนสุขภาพของกล้ามเนื้อ
- ข้าวโอ๊ต:ข้าวโอ๊ตเป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรตและเส้นใยที่ดี ซึ่งเป็นพลังงานที่ยั่งยืนสำหรับการออกกำลังกาย
- อะโวคาโด:อะโวคาโดเป็นแหล่งของไขมันและโพแทสเซียมที่ดีต่อสุขภาพ ซึ่งสามารถช่วยป้องกันการเป็นตะคริวของกล้ามเนื้อและสนับสนุนการทำงานของกล้ามเนื้อ
- คอทเทจชีส:คอทเทจชีสมีโปรตีนสูงและให้สมดุลของโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตเพื่อการฟื้นฟูกล้ามเนื้อ
นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา
- https://patient.info/signs-symptoms/tiredness-fatigue/muscle-weakness
- https://www.regionalonehealth.org/blog/2019/06/14/my-muscles-feel-sore-weak-and-tired-should-i-see-a-doctor/
- https://www.uofmhealth.org/health-library/wkfat
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น