กระดูกสะโพกหัก (Broken Hip) : อาการ สาเหตุ การรักษา

กายวิภาคของสะโพก

กระดูกสะโพกหัก (Broken Hip) เป็นภาวะที่ร้ายแรงในผู้ป่วยทุกช่วงอายุ และหากเกิดขึ้นแล้ว เกือบทุกเคสจะต้องเข้ารับการผ่าตัดเท่านั้น ภาวะแทรกซ้อนจากภาวะสะโพกหักอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตต่อผู้ป่วยได้

สะโพกเป็นอวัยวะที่อยู่ส่วนบนของโคนขาและเป็นส่วนหนึ่งของกระดูกเชิงกราน ส่วนภาวะที่กระดูกสะโพกหักมักจะเป็นการหักที่ส่วนบนของโคนขาหรือกระดูกต้นขา

ทั้งนี้ ช่วงสะโพกจะมีข้อต่อ ซึ่งเป็นจุดที่กระดูกตั้งแต่สองชิ้นขึ้นไปมาต่อกัน และสะโพกยึดกันได้เพราะข้อต่อที่ใช้ลูกลื่นกลมรองรับอยู่ในเบ้า โดยลูกลื่นกลมดังกล่าวจะอยู่ส่วนหัวของโคนขา และเบ้าเป็นส่วนโค้งของกระดูกเชิงกรานที่เรียกว่า อะซีตาบูลัม โครงสร้างของสะโพกช่วยให้เคลื่อนไหวได้หลากหลายกว่าข้อต่อประเภทอื่น ๆ เช่น สามารถหมุนและขยับสะโพกได้หลายทิศทาง ข้อต่ออื่น ๆ เช่น หัวเข่าและข้อศอกจะเคลื่อนไหวได้ในทิศทางเดียวเท่านั้น

กระดูกสะโพกหักเกิดจากอะไร

กระดูกสะโพกหักอาจเกิดจากหลายสาเหตุ ได้แก่ :

  • ล้มลงบนพื้นผิวแข็ง หรือตกจากที่สูงลงมามาก ๆ

  • เกิดการบาดเจ็บที่สะโพก เช่น จากอุบัติเหตุรถชน

  • เกิดจากโรคต่าง ๆ เช่น โรคกระดูกพรุน ซึ่งเป็นภาวะที่ทำให้สูญเสียเนื้อเยื่อกระดูก

  • มีโรคอ้วนที่ทำให้น้ำหนักตัวไปกดทับกระดูกสะโพกมากเกินไป

กระดูกสะโพกหักมีกี่ประเภท

กระดูกสะโพกหักมักเกิดขึ้นในส่วนของลูกลื่นกลม (โคนขา) ของข้อต่อสะโพกและอาจเกิดขึ้นในบริเวณต่าง ๆ ได้ เวลาผ่านไป เบ้าหรืออะซิตาบูลัมอาจแตกหักได้

คอกระดูกต้นขาหัก: การแตกหักประเภทนี้เกิดขึ้นได้ที่โคนขาประมาณ 1 หรือ 2 นิ้วจากส่วนหัวของกระดูกที่เบ้ารองรับ ในกรณีนี้ คอกระดูกต้นขาหักทำให้หลอดเลือดฉีกขาด ซึ่งไปปิดกั้นการไหลเวียนเลือดไปสู่ลูกลื่นกลมของสะโพกได้

กระดูกสะโพกอินเตอร์โทรแคนเทอริกหัก: การแตกหักของกระดูกสะโพกอินเตอร์โทรแคนเทอริกจะห่างจากสะโพกออกไป โดยห่างจากข้อต่อราว 3 ถึง 4 นิ้ว อย่างไรก็ตาม กระดูกหักประเภทนี้จะไม่ปิดกั้นการไหลเวียนของเลือดไปที่โคนขา

การแตกหักภายในเยื่อหุ้มข้อ: การแตกหักประเภทนี้จะส่งผลกระทบต่อลูกลื่นกลมและเบ้าส่วนสะโพก และยังอาจทำให้เกิดการฉีกขาดของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงลูกลื่นกลมได้

ใครเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกสะโพกหักบ้าง

ปัจจัยบางอย่างอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะกระดูกสะโพกหักได้ เช่น:

เคยมีประวัติกระดูกสะโพกหัก: หากเคยมีภาวะกระดูกสะโพกหักมาก่อน ก็มีความเสี่ยงมากขึ้นที่จะเกิดได้อีก

เชื้อชาติ: คนเชื้อสายเอเชียหรือคอเคเซียนมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็น  โรคกระดูกพรุน  ได้มากกว่าคนเชื้อชาติอื่น

เพศ: ผู้หญิงมีโอกาสเกิดภาวะกระดูกสะโพกหักได้มากกว่าผู้ชาย เพราะผู้หญิงมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคกระดูกพรุนมากกว่าผู้ชาย

อายุ: คนที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปอาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะกระดูกสะโพกหักได้ง่าย เมื่ออายุมากขึ้น ความแข็งแรงและความหนาแน่นของมวลกระดูกจะลดลง กระดูกที่อ่อนแอจะแตกหักได้ง่าย นอกจากนี้ ยิ่งอายุมากขึ้นก็จะยิ่งมีปัญหาเรื่องการมองเห็นและการทรงตัว ตลอดจนปัญหาอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดการหกล้มได้

Broken Hip

ภาวะทุพโภชนาการ: อาหารเพื่อสุขภาพจะมีสารอาหารที่สำคัญต่อสุขภาพของกระดูก เช่น โปรตีน วิตามินดี และแคลเซียม หากได้รับแคลอรี่หรือสารอาหารไม่เพียงพออาจทำให้เกิดภาวะทุพโภชนาการ หรือภาวะขาดสารอาหารได้ ซึ่งอาจทำให้เสี่ยงต่อการเกิดภาวะกระดูกหักได้เช่นกัน ทั้งนี้จาก  งานวิจัยแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ พบว่า ผู้สูงอายุที่ขาดสารอาหารมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะสะโพกแตกหักได้มากกว่าผู้ที่ได้รับสารอาหารเพียงพอ นอกจากนี้ เด็ก ๆ เองก็ควรจะได้รับแคลเซียมและวิตามินดีที่เพียงพอเพื่อสุขภาพของกระดูกในอนาคต

ภาวะกระดูกสะโพกหักมีอาการอย่างไร

อาการของกระดูกสะโพกหักอาจรวมถึง:

  • มีอาการปวดบริเวณสะโพกและขาหนีบ

  • ขาข้างที่มีภาวะกระดูกสะโพกหักมักจะสั้นกว่าขาข้างที่มีกระดูกสะโพกปกติ

  • เดินไม่สะดวก หรือทิ้งน้ำหนักตัวไปบนขาหรือสะโพกข้างที่มีภาวะกระดูกสะโพกหักไม่ได้

  • เกิดสะโพกอักเสบ

  • มีอาการบวมช้ำ

กระดูกสะโพกหักอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ หากสงสัยว่ามีกระดูกสะโพกหัก ให้พบแพทย์ได้ทันที

การวินิจฉัยกระดูกสะโพกหัก

แพทย์อาจสังเกตเห็นสัญญาณที่ชัดเจนของกระดูกสะโพกหัก เช่น บวมช้ำ หรือผิดรูป อย่างไรก็ตาม เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยโรคได้ถูกต้อง แพทย์อาจขอให้ผู้ป่วยเข้ารับการตรวจพิเศษเพื่อยืนยันการประเมินผลเบื้องต้น

การตรวจวินิจฉัยด้วยภาพถ่ายช่วยให้แพทย์ระบุตำแหน่งของกระดูกที่หักได้ชัดเจนขึ้น แพทย์อาจให้ผู้ป่วยทำเอกซเรย์ถ่ายภาพสะโพก หากทำแล้วไม่เผยให้เห็นกระดูกที่หัก แพทย์อาจเลือกใช้วิธีอื่นแทน เช่น สร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) หรือ การตรวจวินิจฉัยโรคด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT)

MRI อาจเผยให้เห็นตำแหน่งของกระดูกสะโพกที่หักได้ดีกว่าการฉายรังสีเอกซ์ เครื่องมือการตรวจวินิจฉัยด้วยภาพนี้สามารถสร้างภาพบริเวณสะโพกโดยละเอียดได้มาก ทั้งนี้ แพทย์จะสามารถดูภาพเหล่านี้บนฟิล์มหรือบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ได้เลย

 CT เป็นวิธีการถ่ายภาพที่สามารถสร้างภาพของกระดูกสะโพก กล้ามเนื้อ เนื้อเยื่อ และไขมันโดยรอบได้

การรักษากระดูกสะโพกหัก

แพทย์อาจต้องพิจารณาอายุและสภาพร่างกายของผู้ป่วยก่อนที่จะวางแผนการรักษา หากผู้ป่วยอายุมาก ๆ และมีโรคประจำตัวต่าง ๆ นอกเหนือจากกระดูกสะโพกหักแล้ว แพทย์อาจเลือกวิธีการรักษาที่แตกต่างกันไป ทั้งนี้ ตัวเลือกการรักษาอาจรวมถึง:

แพทย์อาจสั่งจ่ายยาแก้ปวดเพื่อลดความรู้สึกปวด นอกจากนี้ วิธีที่แพทย์เลือกใช้บ่อยที่สุดคือ การผ่าตัดเพื่อซ่อมแซมหรือเปลี่ยนสะโพก

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกคือการเอาส่วนที่เสียหายของสะโพกออกและใส่ชิ้นส่วนสะโพกเทียมเข้าไปแทนที่ หากผู้ป่วยต้องเข้ารับการผ่าตัด แพทย์อาจแนะนำให้ทำกายภาพบำบัดไปด้วย เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็วขึ้น

การฟื้นตัวและแนวโน้มระยะยาว

ผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้ภายในสองสามวันหลังการผ่าตัด และอาจต้องใช้เวลาซักเพื่อพักฟื้น ทั้งนี้ การฟื้นตัวของผู้ป่วยจะขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของผู้ป่วยก่อนเกิดการบาดเจ็บหรือกระดูกหัก

ในหลายกรณี แม้ว่าการผ่าตัดจะประสบความสำเร็จ แต่ภาวะแทรกซ้อนอาจเกิดขึ้นในภายหลังได้เช่นกัน และนอกจากนี้ กระดูกสะโพกหักอาจทำให้ความสามารถในการเดินและขยับเขยื้อนลดลง แต่หากผู้ป่วยลุกขึ้นเดินเหินไม่ได้ ก็อาจนำไปสู่ภาวะอื่นได้อีก เช่น:

สำหรับผู้สูงอายุ

ภาวะกระดูกสะโพกหักอาจรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่เป็นผู้สุงอายุ เนื่องจากความเสี่ยงของการผ่าตัดในผู้สูงอายุ และความต้องการการฟื้นตัวทางกายภาพ

ทั้งนี้ หากการฟื้นตัวไม่คืบหน้า ผู้ป่วยอาจต้องเข้าพักในสถานพยาบาลในระยะยาว การสูญเสียความคล่องตัวและการช่วยเหลือตัวเองไม่ได้อาจทำให้ผู้ป่วยบางรายเกิดภาวะซึมเศร้า และอาจทำให้การฟื้นตัวเกิดขึ้นได้ช้า

สำหรับผู้ป่วยที่สูงอายุอาจต้องใช้เวลาในการรักษาตัวจากการผ่าตัดสะโพก และป้องกันไม่ให้เกิดกระดูกหักขึ้นมาใหม่ได้ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทแคลเซียมช่วยสร้างความหนาแน่นของกระดูกได้ แพทย์อาจแนะนำการออกกำลังกายแบบแอโรบิกที่เน้นให้ทิ้งน้ำหนักตัวลงที่ขาเพื่อป้องกันกระดูกหักและสร้างความแข็งแรง ทั้งนี้ ปรึกษาแพทย์ก่อนออกกำลังกายหลังการผ่าตัดสะโพกก่อนเสมอ

เตรียมตัวเมื่อต้องพบแพทย์

แพทย์หรือสถานพยาบาลอาจส่งตัวผู้ป่วยไปให้ศัลยแพทย์กระดูก

แพทย์จำเป็นต้องซักประวัติคนไข้ และถามคำถาม เช่น:

  • ผู้ป่วยเพิ่งหกล้มมา หรือได้รับบาดเจ็บที่สะโพกหรือไม่

  • ปวดมากแค่ไหน

  • ผู้ป่วยสามารถทิ้งน้ำหนักตัวที่ขาข้างสะโพกที่บาดเจ็บได้หรือไม่

  • ผู้ป่วยเคยตรวจความหนาแน่นของกระดูกหรือไม่

  • ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่า มีโรคประจำตัวอื่น ๆ หรือไม่

  • ผู้ป่วยกำลังใช้ยาอะไรบ้าง รวมทั้ง รับประทานวิตามินและอาหารเสริมอะไรบ้าง

  • ผู้ป่วยดื่มแอลกอฮอล์หรือเป็นคนสูบุหรี่หรือไม่

  • ผู้ป่วยเคยเข้ารับการผ่าตัดหรือไม่

  • ผู้ป่วยมีปัญหาอื่น ๆ อีกหรือไม่

  • คนในครอบครัวของผู้ป่วยมีประวัติเกิดกระดูกหักหรือเป็นโรคกระดูกพรุนหรือไม่

  • ผู้ป่วยสามารถเดินเหินและช่วยเหลือตัวเองในชีวิตประจำวันได้หรือไม่

โภชนาการที่เหมาะสมเมื่อกระดูกสะโพกหัก

โภชนาการที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ที่ฟื้นตัวจากสะโพกหัก เนื่องจากสามารถช่วยในกระบวนการบำบัด ส่งเสริมสุขภาพกระดูก และช่วยรักษาสุขภาพและความแข็งแรงโดยรวม คำแนะนำด้านอาหารที่ควรพิจารณาในช่วงพักฟื้นหลังสะโพกหักมีดังนี้
  • ปริมาณโปรตีน : โปรตีนเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการซ่อมแซมเนื้อเยื่อและการบำรุงรักษากล้ามเนื้อ รวมแหล่งโปรตีนไร้ไขมันในอาหารของคุณ เช่น สัตว์ปีก ปลา เนื้อไม่ติดมัน ไข่ ผลิตภัณฑ์นม พืชตระกูลถั่ว และเต้าหู้
  • แคลเซียมและวิตามินดี : สารอาหารเหล่านี้มีความสำคัญต่อสุขภาพกระดูก อาหารที่อุดมด้วยแคลเซียม ได้แก่ ผลิตภัณฑ์จากนม (ตัวเลือกที่มีไขมันต่ำหรือไม่มีไขมัน) นมจากพืชเสริมคุณค่า ผักใบเขียว และอัลมอนด์ วิตามินดีช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมและสามารถได้รับจากแสงแดดและอาหารเสริม เช่น ธัญพืชและผลิตภัณฑ์จากนม
  • วิตามินซี : วิตามินนี้ช่วยในการผลิตคอลลาเจน ซึ่งมีความสำคัญต่อการรักษาบาดแผลและการซ่อมแซมเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ผลไม้รสเปรี้ยว สตรอเบอร์รี่ พริกหยวก และบรอกโคลีเป็นแหล่งวิตามินซีที่ดี
  • กรดไขมันโอเมก้า 3 : พบในปลาที่มีไขมัน (เช่น ปลาแซลมอน ปลาแมคเคอเรล และปลาซาร์ดีน) เมล็ดแฟลกซ์ เมล็ดเชีย และวอลนัท กรดไขมันโอเมก้า 3 มีคุณสมบัติต้านการอักเสบที่สามารถช่วยในการรักษาได้
  • อาหารที่อุดมด้วยไฟเบอร์ : อาการท้องผูกอาจเป็นปัญหาที่พบบ่อยในระหว่างการฟื้นตัว การบริโภคอาหารที่มีเส้นใยสูง เช่น ธัญพืชไม่ขัดสี ผลไม้ ผัก และพืชตระกูลถั่วสามารถช่วยป้องกันปัญหานี้ได้
  • การให้น้ำ : การให้ความชุ่มชื้นเป็นสิ่งสำคัญต่อสุขภาพโดยรวม และสามารถช่วยในการย่อยอาหารและการรักษา ตั้งเป้าที่จะดื่มน้ำปริมาณมากตลอดทั้งวัน
  • หลีกเลี่ยงน้ำตาลส่วนเกินและอาหารแปรรูป : อาหารเหล่านี้อาจทำให้เกิดอาการอักเสบและอาจขัดขวางกระบวนการบำบัด ให้เน้นไปที่อาหารทั้งส่วนที่อุดมด้วยสารอาหารแทน
  • จำกัดการบริโภคเกลือ : โซเดียมส่วนเกินอาจทำให้เกิดการกักเก็บของเหลวและอาการบวมได้ เลือกใช้สมุนไพร เครื่องเทศ และเครื่องปรุงรสอื่นๆ เพื่อปรุงรสอาหารแทนที่จะพึ่งเกลือมากนัก
  • มื้อเล็กๆ บ่อยครั้ง : การรับประทานอาหารมื้อเล็กๆ และบ่อยขึ้นสามารถช่วยรักษาระดับพลังงานและให้สารอาหารที่สม่ำเสมอ
  • ปรึกษานักโภชนาการ : หากคุณมีข้อจำกัดด้านอาหาร สภาวะทางการแพทย์ หรือข้อกังวลใดๆ โปรดพิจารณาปรึกษานักโภชนาการที่ลงทะเบียน พวกเขาสามารถช่วยคุณสร้างแผนโภชนาการส่วนบุคคลที่เหมาะกับความต้องการของคุณได้
โปรดจำไว้ว่าความต้องการทางโภชนาการของแต่ละบุคคลอาจแตกต่างกันไปตามปัจจัยต่างๆ เช่น อายุ เพศ ระดับกิจกรรม และสถานะสุขภาพโดยรวม ปรึกษากับผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของคุณเสมอก่อนทำการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญกับการรับประทานอาหารของคุณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงระยะฟื้นตัวหลังจากสะโพกหัก พวกเขาสามารถให้คำแนะนำที่เหมาะกับสถานการณ์เฉพาะของคุณได้

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา


เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด