สาเหตุ และอาการโรคไต (Symptoms and Causes of Kidney Disease)

โรคไตคืออะไร

ไตเป็นอวัยวะขนาดเท่ากำมืออยู่บริเวณใต้ชายโครงสองข้างกระดูกสันหลัง ข้างละหนึ่ง 1 ไต ไตเป็นอวัยวะที่สำคัญที่มีส่วนทำให้ร่างกายสุขภาพดี มีหน้าที่หลักคือ ปล่อยน้ำส่วนเกินและกรองของเสียอื่นๆจากเลือด ของเสียนี้จะอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ และออกมาเมื่อเราปัสสาวะ ไตยังมีหน้าที่ควบคุมความเป็นกรดด่าง เกลือ และโพแทสเซียมในเลือด และผลิตฮอร์โมนที่ควบคุมความดันโลหิตและควบคุมการสร้างเม็ดเลือดแดง และยังกระตุ้นให้สร้างวิตามินดีซึ่งช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียม โรคไต มีผลกระทบต่อคนไทยราว 8 ล้านคน โรคไตเกิดขึ้นเมื่อไตเสียหาย ทำงานไม่ได้ตามปกติ ความเสียหายนั้นอาจเกิดจากเบาหวาน,ความดันสูงและโรคเรื้อรังอื่นๆ โรคไตก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่นอีก เช่นกระดูกอ่อนแอ,เส้นประสาทเสียหายและขาดสารอาหาร หากโรคเลวร้ายลงไปเรื่อยๆ ไตจะหยุดทำงาน ต้องมีการล้างไตทดแทนทำงานของไต การล้างไตคือการกรองและทำให้เลือดบริสุทธิ์โดยใช้เครื่องมือ ไม่ได้ช่วยรักษาโรคไต แต่ช่วยยืดชีวิตให้ยืนยาวขึ้น

สาเหตุและประเภทของโรคไต

โรคไตเรื้อรัง

โรคไตเรื้อรังคือการที่ไตเสื่อมต่อเนื่องยาวนาน ส่วนใหญ่มักเกิดจากความดันโลหิตสูง พบได้บ่อย ความดันเลือดสูงเป็นอันตรายต่อไตเพราะจะทำให้ความดันที่หน่วยไตเพิ่มขึ้น หน่วยไตคือเส้นเลือดเล็กมากๆในไต เป็นส่วนที่มีการกรองของเสียออกจากเลือด นานไปความดันเลือดที่เพิ่มขึ้นทำลายเส้นเลือดเล็กๆนี้และไตค่อยๆเสื่อมลง เมื่อการทำงานของไตค่อยๆเสียไปจนถึงถึงจุดที่ไตทำงานไม่ได้อีกต่อไป ผู้ป่วยจะต้องล้างไต  การล้างไตช่วยกรองของเหลวและของเสียออกจากเลือด ช่วยทำหน้าที่แทนไต แต่ไม่ช่วยรักษาโรค การเปลี่ยนไตเป็นทางเลือกในรักษา แต่ก็ขึ้นอยู่กับสภาพของโรค เบาหวานเป็นสาเหตุหลักของโรคไต เบาหวานคือโรคที่มีน้ำตาลในเลือดสูง ทำให้เส้นเลือดในไตเสื่อมไปเรื่อยๆ ไตจึงกรองของเสียไม่ได้ดี และเกิดไตวายตามมา

นิ่วในไต

นิ่วในไตเป็นสาเหตุของโรคไตที่พบบ่อยเช่นกัน เกิดจากเกลือแร่และสารอื่นๆในเลือดตกตะกอนในไตเกิดเป็นนิ่ว นิ่วมักหลุดออกมาพร้อมปัสสาวะ และทำให้ปวดมาก แต่มักไม่เกิดปัญหาร้ายแรงใดๆ

ไตอักเสบ

เกิดการอักเสบของหน่วยเล็กๆในไตที่ทำหน้าที่กรองเลือด อาจเกิดจากการติดเชื้อ ยาหรือเป็นตั้งแต่เกิด ส่วนใหญ่จะหายได้เอง

ถุงน้ำในไต

โรคนี้เกิดจากความผิดปกติของพันธุกรรมที่ทำให้มีถุงน้ำมากมายในไต และจะเพิ่มขึ้นตามอายุ รบกวนการทำงานของไตและทำให้ไตวาย ถุงน้ำในไตเป็นโรคที่ร้ายแรง 

การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ

การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ คือการติดเชื้อแบคทีเรียที่ส่วนใดๆในทางเดินปัสสาวะ ที่พบบ่อยคือที่กระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะ โรคนี้รักษาได้ง่ายและมักไม่ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรง แต่หากปล่อยไว้ไม่รักษา การติดเชื้ออาจลามไปที่ไตและทำให้ไตวายได้

อาการโรคไต

อาการของโรคไตมักไม่แสดงอาการจนกว่าจะมีอาการรุนแรง อาการเหล่านี้อาจเป็นอาการเตือนว่าคุณอาจเป็นโรคไต อาการเริ่มต้นของคนเป็นโรคไต มีดังนี้

คนเป็นโรคไตที่พัฒนาไปเป็นไตวายอาจจะมีอาการดังนี้

ปัจจัยเสี่ยงของผู้ที่เป็นโรคไต

ผู้ที่เป็นเบาหวานมี่ความเสี่ยงสูงที่จะเกิดโรคไต และเบาหวานเป็นสาเหตุอันดับหนึ่งของโรคไต (ราว 44% ของผู้ป่วยใหม่) คุณอาจมีความเสี่ยงเป็นโรคไตหากคุณ
  • ความดันโลหิตสูง
  • มีคนในครอบครัวเป็นโรคไตเรื้อรัง
  • อายุมาก
  • มีเชื้อชาติ อัฟริกัน สเปน เอเชียหรืออเมริกันอินเดียน

Symptoms and Causes of Kidney Disease

การตรวจวินิจฉัยโรคไต

การตรวจวินิจฉัยได้แก่
  • อัตราการกรองของไต
การตรวจนี้จะวัดว่าไตทำงานได้ดีดีหรือไม่ และใช้ชี้วัดว่าโรคไตอยู่ในระยะใด
  • การตรวจอุลตร้าซาวด์ไตหรือตรวจด้วย CT scan
การตรวจอุลตร้าซาวด์ไตหรือตรวจด้วย CT scan จะได้ภาพที่ชัดเจนของไตและทางเดินปัสสาวะ ทำให้แพทย์เห็นว่าไตมีขนาดเล็กหรือใหญ่เกินไปหรือไม่ และยังให้เห็นภาพก้อนเนื้อหรือปัญหาอื่นๆ หากมี
  • การตัดชิ้นเนื้อไต
แพทย์จะตัดชิ้นเนื้อเล็กๆจากไต เพื่อนำไปตรวจว่าคุณเป็นโรคไตชนิดใดและความเสียหายของไตมากน้อยเพียงใด
  • การตรวจปัสสาวะ
แพทย์อาจให้ตรวจปัสสาวะเพื่อดูอัลบูมินซึ่งเป็นโปรตีนที่ออกมาในปัสสาวะ หากเกิดความเสียหายกับไต
  • การตรวจครีเอตินินในเลือด
ครีเอตินินเป็นของเสียที่เกิดจากกล้ามเนื้อ ที่ต้องถูกขับออกทางปัสสาวะทุกวัน เมื่อไตเสียหน้าที่การกรอง ครีเอตินินจะสะสมในเลือด ทำให้ระดับครีเอตินินในเลือดเพิ่มขึ้น

รักษาโรคไตได้อย่างไร

การรักษาส่วนใหญ่มุ่งไปที่การรักษาโรคที่ทำให้ไตเสื่อม ซึ่งแพทย์จะช่วยให้คุณควบคุมความดันเลือด,น้ำตาลในเลือดและระดับคอเลสเตอรอล และอาจใช้วิธีการเหล่านี้ในการรักษาโรคไต

ยา

แพทย์อาจสั่งยากลุ่ม Angiotensin-converting enzyme (ACE) Inhibitors เช่น Lisinopril และ Ramipril  หรือกลุ่ม Angiotensin receptor blockers (ARBs) เช่น Irbesartan และ Olmesartan  ซึ่งเป็นยาควบคุมความดันเลือดที่จะช่วยชะลอการเกิดโรคไต บางครั้งแพทย์อาจสั่งยาเหล่านี้เพื่อช่วยการทำงานของไต แม้ว่าคุณจะไม่มีความดันโลหิตสูง คุณอาจได้รับยาลดคอเลสเตอรอล (เช่น Simvastatin) เพื่อช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลและทำให้ไตทำงานได้ดี ซึ่งขึ้นกับอาการของคุณ แพทย์อาจให้ยาที่ช่วยลดบวมและรักษาเลือดจาง

อาการและการเปลี่ยนวิถีชีวิต

การปรับอาหารสำคัญเท่าเทียมกับยา การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตให้ดีต่อสุขภาพ ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคที่ทำให้ไตเสื่อม แพทย์อาจแนะนำให้คุณ
  • ควบคุมโรคเบาหวานโดยการฉีดอินซูลิน
  • งดอาหารที่คอเลสเตอรอลสูง
  • ลดเกลือในอาหาร
  • กินอาหารที่ดีต่อสุขภาพหัวใจเช่น ผลไม้,ผัก,ธัญพืชทั้งเมล็ดและนมไขมันต่ำ
  • ลดการดื่มแอลกอฮอล์
  • หยุดสูบบุหรี่
  • เคลื่อนไหวร่างกายให้มากขึ้น
  • ลดน้ำหนัก

การฟอกไตกับโรคไต

การฟอกไตเป็นวิธีกรองเลือดโดยใช้เครื่องมือ ใช้เมื่อผู้ป่วยไตวายหรือใกล้ไตวาย ผู้ที่เป็นโรคไตระยะสุดท้ายต้องฟอกไตถาวรหรือจนกว่าจะได้รับบริจาคไตที่เข้ากันได้ เพื่อผ่าตัดเปลี่ยนไต การฟอกไตมีสองแบบคือ การฟอกเลือดและล้างไตทางช่องท้อง

การฟอกเลือด

เลือดของผู้ป่วยจะผ่านเครื่องมือพิเศษที่กรองของเสียและของเหลวออกจากเลือด การฟอกเลือดทำที่ศูนย์ฟอกเลือดหรือในโรงพยาบาล โดยทั่วไปจะทำสัปดาห์ละสามครั้ง ครั้งหนึ่งนานสามถึงห้าชั่วโมง แต่อาจทำในเวลาสั้นกว่านี้และบ่อยครั้งก็ได้ ก่อนจะทำการฟอกเลือด ผู้ป่วยจะถูกเจาะเส้นเลือด (AV fistula) โดยการนำเส้นเลือดแดงและดำมาต่อกันที่บริเวณท้องแขนใต้ข้อศอกลงมา เพื่อให้เส้นเลือดใหญ่ขึ้นง่ายแก่การเพิ่มเลือดไหลเวียนทั่วร่างกายในขณะฟอกเลือด ทำให้กรองและขจัดของเสียได้ดีขึ้น ถ้าหากไม่สามารถใช้เส้นเลือดแดงและดำของผู้ป่วยได้ อาจต้องใส่ท่อพลาสติกแทน ผลข้างเคียงของการฟอกเลือดที่เกิดบ่อยคือความดันเลือดต่ำ,กล้ามเนื้อเป็นตะคริวและคัน

การล้างไตทางช่องท้อง

ใช้เยื่อบุช่องท้องทำหน้าที่แทนไต ใส่ท่อไว้ที่ท้องผู้ป่วย ใส่น้ำยาล้างไตเข้าไปในช่องท้อง เยื่อบุช่องท้องจะกรองของเสียและของเหลวออกจากเลือดมาที่น้ำยาล้างไต ทิ้งไว้ 2-3 ชั่วโมง ปล่อยน้ำยาล้างไตที่มีของเสียออกและใส่น้ำยาใหม่เข้าไปแทน มีการล้างไตทางช่องท้องสองแบบ คือการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่องด้วยตนเอง ส่วนใหญ่จะถ่ายน้ำยาล้างไตวันละ 4 ครั้งคือเช้า กลางวัน ก่อนอาหารเย็นและก่อนนอน และการล้างไตทางช่องท้องด้วยเครื่องอัตโนมัติ ใช้เครื่องอัตโนมัติซึ่งจะใช้ในเวลากลางคืน เมื่อผู้ป่วยนอนหลับ ผลข้างเคียงที่พบบ่อยคือ การติดเชื้อในช่องท้องหรือบริเวณหน้าท้อง(ที่ฝังท่อ) ผลข้างเคียงอื่นเช่น น้ำหนักเพิ่ม หรือไส้เลื่อน(ลำไส้ลอดผ่านผนังช่องท้องบริเวณที่ฉีกขาด)

ผู้ป่วยโรคไตจะเป็นอย่างไรในระยะยาว

โรคไตจะไม่หายไปเองง่ายๆ วิธีที่ดีที่สุดในการดูแลไตคือการมีวิถีชีวิตที่ดีต่อสุขภาพ และทำตามคำแนะนำของแพทย์ ไตจะเสื่อมลงเรื่อยๆ และอาจนำไปสู่การไตวาย และถึงแก่ชีวิตได้หากไม่รักษา ไตวายเกิดเมื่อไตแทบจะไม่ทำงานหรือหยุดทำงานโดยสิ้นเชิง ซึ่งช่วยได้โดยการฟอกไต ในบางกรณี แพทย์อาจแนะนำให้เปลี่ยนไต

ป้องกันโรคไตอย่างไรดี

ปัจจัยเสี่ยงบางอย่าง เช่น อายุ เชื้อชาติหรือประวัติครอบครัว อาจควบคุมไม่ได้ แต่นี่เป็นวิธีที่ช่วยป้องกันโรคไตได้
  • ดื่มน้ำมากๆ
  • ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด หากคุณเป็นเบาหวาน
  • ควบคุมความดันเลือด
  • ลดการกินเกลือ
  • เลิกสูบบุหรี่

ระวังการกินยาที่ซื้อจากร้านขายยา

คุณควรต้องกินยาตามปริมาณที่กำหนดให้ การกินแอสไพรินหรือ Ibuprofen มากเกินไป อาจทำให้ไตเสียหายได้ ควรปรึกษาแพทย์หากปริมาณยาที่กินตามปกติไม่ช่วยลดความเจ็บปวด

ตรวจคัดกรองโรคไต

ปรึกษาแพทย์เพื่อการตรวจเลือดคัดกรองโรคไต โรคไตมักไม่มีอาการจนกระทั่งเป็นมากแล้ว ควรตรวจเลือดเพื่อดูค่าครีเอตินิน และตรวจปัสสาวะเพื่อดูโปรตีนอัลบูมินในปัสสาวะ และถ้าหากคุณเป็นเบาหวานโรคหัวใจและความดันเลือดสูง ควรต้องตรวจปีละครั้ง

ลดอาหารบางชนิด

สารเคมีหลายอย่างในอาหารอาจทำให้เกิดนิ่วในไต เช่น
  • โซเดียมที่มากเกินไป
  • โปรตีนจากสัตว์ เช่นไก่และเนื้อ
  • กรดซิตริก ที่พบในผลไม้ซิตรัสเช่น ส้ม มะนาวและเกรปฟรุต
  • ออกซาเลต สารเคมีที่พบใน ผักโขม มันหวาน และช็อคโกแลต

อาหารที่ดีต่อผู้ป่วยโรคไต

ผู้ที่เป็นโรคไตมักจะต้องคำนึงถึงอาหารของตนเองเพื่อจัดการสภาพของตนเองและส่งเสริมสุขภาพไตโดยรวม คำแนะนำด้านอาหารอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับระยะและประเภทของโรคไต ต่อไปนี้เป็นแนวทางทั่วไปสำหรับอาหารที่มักถือว่ามีประโยชน์ต่อผู้ที่เป็นโรคไต:
  • อาหารที่มีโพแทสเซียมต่ำ:
      • ในโรคไต ไตอาจมีปัญหาในการรักษาสมดุลของโพแทสเซียมให้เหมาะสม อาหารที่มีโพแทสเซียมต่ำ ได้แก่ แอปเปิ้ล เบอร์รี่ องุ่น กะหล่ำปลี และถั่วเขียว
  • อาหารที่มีฟอสฟอรัสต่ำ:
      • เช่นเดียวกับโพแทสเซียม ไตช่วยควบคุมระดับฟอสฟอรัส ในโรคไต ระดับฟอสฟอรัสอาจสูงขึ้น อาหารที่มีฟอสฟอรัสต่ำ ได้แก่ ข้าว พาสต้า ขนมปัง ถั่วเขียว และแครอท
  • อาหารโซเดียมต่ำ:
      • การจำกัดการบริโภคโซเดียม (เกลือ) เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการจัดการความดันโลหิตและความสมดุลของของเหลว อาหารที่มีโซเดียมต่ำ ได้แก่ ผลไม้สด ผัก เนื้อไม่ติดมัน และธัญพืชไม่ขัดสี หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูปและบรรจุห่อซึ่งมักจะมีโซเดียมในระดับสูง
  • โปรตีนคุณภาพสูง:
      • ขึ้นอยู่กับระยะของโรคไต บุคคลอาจจำเป็นต้องปรับปริมาณโปรตีนของตนเอง แหล่งโปรตีนคุณภาพสูง ได้แก่ เนื้อไม่ติดมัน สัตว์ปีก ปลา ไข่ และผลิตภัณฑ์จากนม แหล่งโปรตีนจากพืช เช่น ถั่วและเต้าหู้ก็เป็นทางเลือกที่ดีเช่นกัน
  • เครื่องดื่มที่มีฟอสฟอรัสจำกัด:
      • เครื่องดื่มอย่างโคล่าและดาร์กโซดาบางชนิดอาจมีสารเติมแต่งฟอสฟอรัส แนะนำให้เลือกเครื่องดื่มที่มีปริมาณฟอสฟอรัสต่ำ 
  • ไขมันเพื่อสุขภาพ:
      • รวมแหล่งไขมันที่ดีต่อสุขภาพ เช่น น้ำมันมะกอก อะโวคาโด และถั่วต่างๆ ในปริมาณที่พอเหมาะ หลีกเลี่ยงไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานส์ที่พบในอาหารแปรรูปและอาหารทอด
  • อาหารออกซาเลตจำกัด:
      • นิ่วในไตบางชนิดประกอบด้วยแคลเซียมออกซาเลต หากคุณมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคนิ่วในไต อาจแนะนำให้จำกัดอาหารที่มีออกซาเลตสูง เช่น บีทรูท ช็อคโกแลต และถั่วต่างๆ
  • ปริมาณของเหลวที่เหมาะสม:
    • ปริมาณของเหลวที่เพียงพอเป็นสิ่งสำคัญสำหรับสุขภาพไต น้ำเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีภาวะไตบางอย่างอาจจำเป็นต้องจำกัดการบริโภคของเหลว ดังนั้นจึงจำเป็นต้องปฏิบัติตามคำแนะนำเฉพาะบุคคลจากแพทย์

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.niddk.nih.gov/health-information/kidney-disease
  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/chronic-kidney-disease/symptoms-causes/syc-20354521
  • https://www.webmd.com/a-to-z-guides/understanding-kidney-disease-basic-information
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด