การตรวจนับเม็ดเลือด (Complete Blood Count : CBC)

การตรวจนับเม็ดเลือดคืออะไร 

การตรวจนับเม็ดเลือดสามารถระบุเซลล์อ่อนหรือเซลล์ผิดปกติได้ อีกทั้งยังสามารถนำมาวินิจฉัยการติดเชื้อ การอักเสบ โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวหรือโรคระบบภูมิต้านทาน
ชนิดของเม็ดเลือดขาว การทำงาน
นิวโตรฟิล ช่วยหยุดจุลินทรีย์ในการติดเชื้อได้ด้วยการไปกินจุลินทรีย์และทำลายพวกมันด้วยเอนไซม์
ลิมโฟไซต์ –ใช้แอนติบอดี้ในการหยุดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อไวรัสจากการเข้าสู่ร่างกาย (บี-เซลล์ ลิมโฟไซต์)  –ฆ่าเซลล์ร่างกายหากมีการบุกรุกจากเชื้อไวรัสหรือเซลล์มะเร็ง (ที-เซลล์ ลิมโฟไซต์)
โมโนไซต์ เป็นมัต โครเพจในเนื้อเยื่อของร่างกาย  ช่วยกินจุลินทรีย์ และกำจัดเซลล์ที่ตายในขณะเดียวกันก็ช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้ระบบภูมิต้านทาน
อีโอซิโนฟิล ช่วยควบคุมการอักเสบ มีการทำงานมากเป็นพิเศษในระหว่างติดเชื้อปรสิต หยุดสารหรือวัสดุแปลกปลอมจากการทำอันตรายต่อร่างกาย
เบโซฟิล ผลิตเอนไซม์ในระหว่างเกิดอาการหอบหืด และเกิดปฏิกิริยาการแพ้

ทำไมจำเป็นต้องตรวจนับเม็ดเลือด?

แพทย์ของคุณอาจสั่งตรวจนับเม็ดเลือดเพื่อหาค่าความสมบูรณ์ของเลือด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการตรวจสุขภาพทั่วไป การตรวจนับเม็ดเลือดที่ตรวจคือการตรวจนับความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC) คือการใช้ในการตรวจนับทุกองค์ประกอบของเลือด:
  • เซลล์เม็ดเลือดขาว ซึ่งจะช่วยหยุดการติดเชื้อ
  • เซลล์เม็ดเลือดแดงซึ่งช่วยลำเลียงออกซิเจน
  • เกร็ดเลือด ช่วยทำให้เลือดแข็งตัว
  • ฮีโมโกลบิน เป็นโปรตีนในเซลล์เม็ดเลือดแดงที่มีออกซิเจน
  • ฮีมาโตคริต คือสัดส่วนของเซลล์เม็ดเลือดแดงกับพลาสมาในเลือด 
การตรวจนับเม็ดเลือดแดงมีความจำเป็นหากผลการตรวจ CBC ไม่อยู่ในช่วงที่ปกติ แพทย์อาจสั่งตรวจนับเม็ดเลือดหากสงสัยว่าคุณอาจมีการติดเชื้อ การอักเสบ โรคไขกระดูก หรือโรคภูมิต้านทานเนื้อเยื่อตัวเอง

การตรวจนับเม็ดเลือดดำเนินการอย่างไร 

แพทย์อาจตรวจเช็ดระดับของเม็ดเลือดขาวได้ด้วยการตรวจเลือดแบบง่ายๆ การตรวจนี้มักตรวจที่ห้องแลบคลินิคผู้ป่วยนอกได้ เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ที่ห้องปฏิบัติการจะใช้เข็มเล็กๆสูบเลือดออกมาจากมือ หรือแขน ไม่มีความจำเป็นต้องเตรียมร่างกายล่วงหน้าก่อนการตรวจเลือด ผู้เชี่ยวชาญทางห้องปฏิบัติการจะนำเลือดตัวอย่างของคุณที่ได้วางบนกระจกสไลด์สำหรับกล้องจุลทรรศน์ และป้ายเลือดลงไป จากนั้นนำไปตรวจด้วยการย้อมสีเพื่อช่วยแยกความแตกต่างชนิดของเซลล์เม็ดเลือดขาวจากตัวอย่างที่ได้ จากนั้นผู้เชี่ยวชาญทางห้องปฏิบัติการตรวจนับจำนวนเม็ดเลือดขาวแต่ละชนิด ผู้เชี่ยวชาญอาจตรวจนับจำนวนเม็ดเลือดแบบ Manual ดูปริมาณจำนวน และขนาดของเซลล์จากสไลด์ แต่ผู้เชี่ยวชาญบางคนอาจตรวจโดยเครื่องตรวจอัตโนมัติ ในกรณีเช่นนี้เครื่องจะทำการวิเคราะห์เซลล์เม็ดเลือดโดยยึดตามหลักเทคนิคการวัดอัตโนมัติ ด้วยเทตโนโลยีของเครื่องตรวจอัตโนมัติจะใช้ไฟฟ้า เลเซอร์ หรือวิธีตรวจจับแสงเพื่อสร้างภาพขนาด รูปทรงและจำนวนของเซลล์เม็ดเลือดจราตัวอย่างได้แม่นยำ จากการศึกษาเมื่อปี 2013แสดงให้เห็นว่าวิธีดังกล่าวนี้ให้ผลการตรวจเลือดมีความแม่นยำมาก ขึ้นอยู่กับความแตกต่างของเครื่องตรวจนับเม็ดเลือดอัตโนมัติแต่ละชนิด  การตรวจนับระดับเม็ดเลือดขาวอีโอซิโนฟิล เบโซฟิลและลิมโฟไซต์อาจจะไม่แม่นยำหากคุณกำลังรับประทานยาคอร์ติโคสเตียรอยด์เช่น เพรดนิโซโลน คอร์ติโซนและไฮโดรคอร์ติโซน หากคุณต้องตรวจเลือดควรแจ้งให้แพทย์ทราบว่ากำลังทานยาดังกล่าวก่อนการตรวจ  Complete Blood Count : CBC

การตรวจนับเม็ดเลือดเกิดภาวะแทรกซ้อนได้หรือไม่?

การเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนจากเลือดออกมีได้น้อยมาก บางคนอาจรู้สึกเจ็บเล็กน้อย หรือเวียนศีรษะ หลังการตรวจ อาจเกิดรอยเขียวช้ำ เลือดออกเล็กน้อย ติดเชื้อ หรือห้อเลือด (เลือดคั่งอยู่ใต้ผิวหนัง) ตรงบริเวณที่ถูกเจาะเลือด

การตรวจผลเลือดมีความหมายอย่างไร 

การออกกำลังกายอย่างเข้มข้น และความเครียดสูงอาจส่งผลต่อการนับเม็ดเลือดขาว โดยเฉพาะระดับเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโตรฟิล จากการศึกษาบางกรณีแสดงให้เห็นว่าคนที่รับประทานมังสวิรัติอาจทำให้จำนวนเม็ดเลือดขาวน้อยกว่าปกติ แต่กระนั้นเหตุผลดังกล่าวนี้ยังไม่ได้รับการยอมรับจากนักวิทยาศาสตร์ การเพิ่มจำนวนที่ผิดปกติในเม็ดเลือดขาวหนึ่งชนิดอาจไปลดจำนวนเม็ดเลือดขาวตัวอื่น หากผลที่ได้มีความผิดปกติทั้งคู่อาจมีสาเหตุมาจากโรคเดียวกัน ผลจากห้องปฏิบัติการอาจมีความหลากหลาย ตามข้อมูลจากสมาคมทันตแพทย์สำหรับเด็กแห่งอเมริกา บอกไว้ว่าเปอร์เซ็นต์ของเม็ดเลือดขาวในคนที่มีสุขภาพดีควรมีดังต่อไป:
  • เม็ดเลือดขาวชนิดนิวโตรฟิล 54 ถึง 62 เปอร์เซ็นต์
  • เม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์ 25ถึง 30 เปอร์เซ็นต์
  • เม็ดเลือดขาวโมโนไซจ์ 0 ถึง 9 เปอร์เซ็นต์
  • เม็ดเลือดขาวอีโอซิโนฟิล 1 ถึง 3 เปอร์เซ็นต์
  • เม็ดเลือดขาวเบโซฟิลด์ 1 เปอร์เซ็นต์
การมีเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโตรฟิลที่เพิ่มมากขึ้นในเลือดนั้นอาตมีความหมายว่าคุณกำลังมี:
  • ภาวะนิวโทรพีเนีย คือโรคเม็ดเลือดขาวที่อาจมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ สเตียรอยด์ การสูบบุหรี่ หรือการออกกำลังกายที่รุนแรง
  • การติดเชื้อฉับพลัน โดยเฉพาะการติดเชื้อแบคทีเรีย
  • ความเครียดฉับพลัน
  • การตั้งครรภ์
  • การอักเสบ เช่น โรคลำไส้อักเสบ หรือโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
  • เนื้อเยื่อบาดเจ็บเนื่องจากการได้รับบาดเจ็บ
  • โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรัง
การมีเปอร์เซ็นต์เม็ดเลือดขาวนิวโตรฟิลในเลือดลดลงอาจบอกได้ว่า:
  • ภาวะนิวโทรพีเนีย โรคเม็ดเลือดขาวที่มีสาเหตุมาจากการสร้างนิวโตรฟิลในไขกระดูดบกพร่อง
  • ภาวะไขกระดูกฝ่อ จำนวนเซลล์เม็ดเลือดที่สร้างโดยไขกระดูกลดลง
  • การติดเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อไวรัสมีการแพร่กระจายหรือมีความรุนแรง
  • มีการรักษาด้วยรังสีบำบัด หรือเคมีบำบัด
การเพิ่มของเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์ในเลือดอาจเกิดจาก:
  • มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มีเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวเริ่มมีในต่อมน้ำเหลือง
  • มีการติดเชื้อแบคทีเรียเรื้อรัง
  • ตับอักเสบ
  • โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดมัยอิโลมา เซลล์มะเร็งในไขกระดูก
  • a ติดเชื้อไวรัส เช่น โรคโมโนนิวคลิโอซิส คางทูม หรือโรคหัด
  • มะเร็งเม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์
เปอร์เซ็นต์เซลล์เม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์ในเลือดลดลงอาจมีผลมาจาก:
  • ไขกระดูกเสียหายเพราะการรักษาด้วยการฉายแสงหรือเคมีบำบัด
  • โรคเอดส์ วัณโรค หรือการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ
  • โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว
  • มีการติดเชื้อรุนแรง เช่น ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด
  • โรคภูมิต้านทานเนื้อเยื่อตนเอง เช่น โรคลูปัส หรือโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
เปอร์เซ็นต์เม็ดเลือดขาวโมโนไซต์ในเลือดเพิ่มมากขึ้นอาจมีสาเหตุมาจาก: เปอร์เซ็นต์เม็ดเลือดขาวอิโอซิโนฟิลในเลือดเพิ่มมากขึ้นอาจมีสาเหตุมาจาก:
  • โรคอีโอสิโนฟิลเลีย ที่มีสาเหตุมาจากโรคภูมิแพ้ โรคจากปรสิต เนื้องอกหรือโรคทางเดินอาหาร
  • การเกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้
  • การอักเสบของผิวหนัง เช่น โรคผิวหนังอักเสบ
  • โรคติดเชื้อปรสิต
  • โรคเกี่ยวกับการอักเสบ เช่น โรคลำไส้อักเสบหรือโรคเซลิแอค
  • โรคมะเร็งบางชนิด
เปอร์เซ็นต์เม็ดเลือดขาวเบโซฟิลด์ในเลือดเพิ่มมากขึ้นอาจมีสาเหตุมาจาก:
  • การแพ้อาหารอย่างรุนแรง
  • การอักเสบ
  • โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว

ใครที่ต้องทำการตรวจนับเม็ดเลือด

การทดสอบความแตกต่างของเลือดหรือที่เรียกว่าการนับความแตกต่างของเซลล์เม็ดเลือดขาว (WBC) เป็นองค์ประกอบของการตรวจนับเม็ดเลือด (CBC) ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับประเภทและเปอร์เซ็นต์สัมพัทธ์ของเซลล์เม็ดเลือดขาวในเลือด โดยทั่วไปการทดสอบนี้จะได้รับคำสั่งจากผู้ให้บริการด้านการแพทย์เพื่อประเมินสุขภาพโดยรวมของระบบภูมิคุ้มกัน และเพื่อช่วยในการวินิจฉัยสภาวะทางการแพทย์ต่างๆ ต่อไปนี้คือบางสถานการณ์ที่อาจแนะนำให้ทำการทดสอบความแตกต่างของเลือด:
  • การตรวจสุขภาพเป็นประจำ:
      • การตรวจวัดความแตกต่างของเลือดอาจรวมอยู่ในการตรวจสุขภาพตามปกติเพื่อประเมินสุขภาพโดยรวมของระบบภูมิคุ้มกัน และตรวจหาความผิดปกติใดๆ ในจำนวนเม็ดเลือดขาว
  • การติดเชื้อ:
      • การติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา หรือปรสิตที่น่าสงสัยสามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงความแตกต่างของเซลล์เม็ดเลือดขาวได้ จำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาวบางประเภทที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงอาจบ่งบอกถึงการมีอยู่และลักษณะของการติดเชื้อ
  • เงื่อนไขการอักเสบ:
      • ภาวะที่มีส่วนประกอบของการอักเสบ เช่น โรคภูมิต้านตนเอง เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ อาจส่งผลต่อชนิดและสัดส่วนของเม็ดเลือดขาวในเลือด
  • ความผิดปกติของไขกระดูก:
      • ความผิดปกติที่ส่งผลต่อไขกระดูก เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาวหรือกลุ่มอาการ myelodysplastic อาจทำให้เกิดความผิดปกติในส่วนต่างของเซลล์เม็ดเลือดขาวได้
  • ปฏิกิริยาการแพ้:
      • ปฏิกิริยาภูมิแพ้อย่างรุนแรงหรือภูมิแพ้อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจำนวนเม็ดเลือดขาว และอาจใช้การทดสอบที่แตกต่างเพื่อประเมินการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน
  • ความผิดปกติของเลือด:
      • ความผิดปกติของเลือดบางอย่าง รวมถึงสภาวะที่ส่งผลต่อการผลิตหรือการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาว อาจถูกระบุได้โดยการทดสอบความแตกต่างของเลือด
  • การติดตามการรักษา:
      • สำหรับบุคคลที่เข้ารับการรักษาอาการที่ส่งผลต่อเลือดหรือระบบภูมิคุ้มกัน เช่น เคมีบำบัดสำหรับโรคมะเร็ง อาจมีการตรวจเลือดแยกเป็นประจำเพื่อติดตามความคืบหน้าของการรักษาและปรับการรักษาให้เหมาะสม
  • ไข้ไม่ทราบสาเหตุ:
      • เมื่อผู้ป่วยมีอาการไข้โดยไม่ทราบสาเหตุ อาจใช้การตรวจเลือดเพื่อระบุสาเหตุที่แท้จริง เช่น การติดเชื้อหรืออาการอักเสบ
  • เจ็บป่วยเรื้อรัง:
      • บุคคลที่เป็นโรคเรื้อรัง โดยเฉพาะผู้ที่ส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันหรือเลือด อาจได้รับการตรวจเลือดเป็นระยะเพื่อติดตามสถานะสุขภาพของตนเอง
  • ก่อนการผ่าตัดหรือขั้นตอนทางการแพทย์บางอย่าง:
    • ในบางกรณี ผู้ให้บริการด้านการแพทย์อาจสั่งการตรวจแยกเลือดโดยเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินก่อนการผ่าตัดหรือก่อนขั้นตอนเพื่อประเมินสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย
สิ่งสำคัญที่ควรทราบก็คือ การทดสอบความแตกต่างของเลือดเป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่งของการประเมินที่ครอบคลุม และการตีความการทดสอบควรทำร่วมกับผลการวิจัยทางคลินิกและห้องปฏิบัติการอื่นๆ การตัดสินใจสั่งตรวจแยกเลือดจะขึ้นอยู่กับประวัติทางการแพทย์ อาการ และวิจารณญาณของผู้ให้บริการด้านสุขภาพแต่ละราย หากคุณมีข้อกังวลเกี่ยวกับสุขภาพของคุณ หรือหากผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพแนะนำให้ทำการตรวจแยกเลือด สิ่งสำคัญคือต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของพวกเขาและหารือเกี่ยวกับคำถามหรือข้อกังวลใดๆ ที่คุณอาจมี

จะเกิดอะไรขึ้นหลังการตรวจนับเม็ดเลือด 

แพทย์อาจจะสั่งตรวจเพิ่มเติมหากยังคงมีการเพิ่ม หรือลดลงของจำนวนเม็ดเลือดขาวตามชนิดที่บอกไว้ข้างต้น ซึ่งการตรวจนั้นอาจรวมไปถึงการตัดชิ้นเนื้อไขกระดูกส่งตรวจเพื่อระบุโรคที่อาจเป็นสาเหตุ แพทย์จะทำการหาข้อสรุปทางเลือกในการจัดการหลังรู้สาเหตุที่ทำให้ได้ผลที่ผิดปกติต่อไป แพทย์อาจสั่งตรวจอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างดังต่อไปนี้เพื่อหาทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับการรักษาดังนี้:
  • การตรวจจำนวนเม็ดเลือดขาวอีโอซิโนฟิล
  • การตรวจวิเคราะห์เซลล์ด้วยเทคนิค Flow Cytometry ซึ่งจะสามารถบอกได้หากมีจำนวนเม็ดเลือดขาวสูงที่มีสาเหตุมาจากมะเร็งในเลือด
  • การตรวจ Immunophenotyping ซึ่งจะช่วยหาวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับโรคที่มีสาเหตุมาจากจำนวนเม็ดเลือดผิดปกติ
  • การตรวจปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรส  Polymerase Chain Reaction (PCR) Test ซึ่งจะช่วยวัดดัชนีชี้วัดทางชีวภาพในไขกระดูก หรือเซลล์เม็ดเลือด โดยเฉพาะในเซลล์มะเร็งเม็ดเลือด
แพทย์อาจมีอีกหลายวิธีในการระบุโรค และรักษาโรคที่มีสาเหตุมาจากจำนวนเซลล์เม็ดเลือดผิดปกติ และคุณภาพชีวิตของคุณจะได้ยังคงดีเหมือนเดิมได้ หากยังไม่ดีขึ้นจำต้องหาสาเหตุต่อไป

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.mayoclinic.org/tests-procedures/complete-blood-count/about/pac-20384919
  • https://www.webmd.com/a-to-z-guides/complete-blood-count
  • https://medlineplus.gov/lab-tests/complete-blood-count-cbc/
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด