ผิวหนังอักเสบ (Dermatitis) คืออะไร : ประเภท สาเหตุ วิธีการรักษา อาการ

 
พญ.พรรณิภา สุขสมบูรณ์กิจเรียบเรียงและปรับปรุงข้อมูลทางการแพทย์โดย : พญ. พรรณิภา สุขสมบูรณ์กิจ

การอักเสบของผิวหนัง

สำหรับลักษณะอาการผิวหนังอักเสบ (Dermatitis) โดยทั่วไปมีลักษณะผิวแห้งและบวมแดงหรืออาจจะมีอาการอื่น ๆ เกิดขึ้นร่วมด้วย โดยขึ้นอยู่กับประเภทของโรคผิวหนังที่คุณเป็น ซึ่งมีสาเหตุแตกต่างกันไป  เมื่อเกิดโรคผิวหนังอักเสบขึ้นก่อให้เกิดความรู้สึกไม่สบายตัวและระคายเคืองมาก ซึ่งบางครั้งอาจมีอาการอักเสบอย่างรุนแรงมากหรือ โดยปกติอาการผิวหนังอักเสบธรรมดาจะไม่มีอาการรุนแรง แต่โรคผิวหนังบางประเภททำให้เกิดอาการอักเสบเรื้อรังได้ นอกจากนี้ผิวหนังอักเสบบางชนิดสามารถปรากฎขึ้นเมื่อสัมผัสกับสิ่งแปลกปลอมบางอย่างที่กระตุ้นทำให้เกิดอาการระคายเคืองหรือบวมแดง โรคผิวหนังบางประเภทพบได้บ่อยในเด็กหรือทารก เช่นผื่นแพ้ผ้าอ้อม หมายถึงอาการที่เกิดขึ้นเมื่อเด็กทารกมีผื่นแดงแสบร้อนบริเวณที่สัมผัสกับผ้าอ้อม ส่วนโรคผิวหนังอักเสบชนิดอื่น ๆ สามารถพบได้ทั่วไปในผู้ใหญ่ โดยสามารถบรรเทาอาการที่เกิดผิวหนังอักเสบด้วยยาหรือครีมทาแก้แพ้ผื่นคัน หากอาการโรคผิวหนังของคุณมีความรุนแรงขึ้นหรือติดเชื้อและมีอาการเจ็บปวดมาก รวมถึงเกิดการแพร่กระจายของเชื้อไปยังบริเวณอื่นของร่างกาย ควรปรึกษาแพทย์ผิวหนังผู้เชี่ยวชาญทันที

อาการของโรคผิวหนังอักเสบ 

อาการของโรคผิวหนังอักเสบระยะเริ่มต้นเป็นอาการที่ไม่รุนแรง โดยจะมีอาการปรากฎขึ้นตั้งแต่ไม่รุนแรงไปจนถึงมีอาการที่รุนแรงมาก และอาการที่เกิดขึ้นจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับว่าผิวส่วนใดของร่างกายเกิดการอักเสบขึ้น ดังนั้นผู้เป็นโรคผิวหนังอักเสบจึงมีอาการที่แตกต่างหลากหลาย บางคนอาจจะมีเพียงอาการผิวแห้งคันหรือเป็นผื่นขึ้น โดยอาจมีอาการคันตามผิวหนังแบบไม่มีผื่นซึ่งเป็นอาการที่ไม่รุนแรง แต่สำหรับผู้ที่มีอาการรุนแรงอาจจะมีแผลพุพองเกิดขึ้นร่วมกับอาการคันเป็นต้น โดยทั่วไปอาการของโรคผิวหนัง มีดังนี้ :

โรคผิวหนังอักเสบมีกี่ประเภท

ผิวหนังอักเสบมีหลายประเภท โดยผิวหนังอักเสบที่พบได้บ่อยมีดังนี้ :
  • โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic dermatitis) หรืออีกชื่อคือโรคผิวหนังอักเสบออกผื่นเป็นโรคผิวหนังอักเสบชนิดหนึ่งที่มีอาการของโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังจากภูมิแพ้ ได้แก่มีผิวแห้งกลายเป็นสีแดงและมีผื่นบริเวณผิวหนังและมีอาการคันเรื้อรัง โดยโรคผิวหนังชนิดนี้เกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย แต่โดยส่วนใหญ่มักพบในเด็กมากกว่าช่วงวัยอื่น ปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ มีเพียงวิธีการรักษาที่ช่วยบรรเทาอาการไม่ให้รุนแรงหรือลุกลามด้วยการใช้ยาทาเพื่อรักษาโรคผิวหนังเรื้อรัง
  • ผื่นแพ้สัมผัส  (Contact dermatitis) หมายถึงผื่นแพ้ที่เกิดขึ้นเมื่อสารสัมผัสกับสารของสิ่งที่ร่างกายแพ้ โดยเมื่อมีอาการแพ้หรือระคายเคืองเกิดขึ้น ร่างกายจะเกิดปฏิกิริยาที่ทำให้ผิวหนังกลายเป็นผื่นแดงเป็นขุยหรือมีตุ่มคันเกิดขึ้น รวมถึงอาการผิวแห้งคันและตกสะเก็ด ทั้งนี้อาการที่ปรากฎจะขึ้นอยู่กับสารก่อภูมิที่แพ้ร่างกายของแต่ละคนตอบสนองต่างกัน 
  • ผื่นผิวหนังอักเสบชนิดตุ่มน้ำ (Dyshidrotic dermatitis) เป็นผิวอาการผิวหนังอักเสบที่ทำให้เกิดตุ่มน้ำใส ๆ บริเวณนิ้ว ฝ่ามือ และฝ่าเท้า ซึ่งอาจทำให้รู้สึกปวดและคันอย่างรุนแรง แต่ตุ่มเหล่านี้สามารถหายได้เองภายใน 2-3 สัปดาห์และอาจเกิดขึ้นซ้ำได้ 
  • โรคต่อมไขมันอักเสบ (Seborrheic dermatitis) เป็นปัญหาผิวเรื้อรังที่มักจะเกิดขึ้นบริเวณหนังศีรษะและใบหน้า นอกจากนี้สามารถพบได้ที่ส่วนอื่นของร่างกายได้เช่นกันดังนั้นผู้ที่มีอาการผิวหนังอักเสบควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมและผิวหนังที่อ่อนโยนและเหมาะกับผิวหนังที่อ่อนแอเพื่อช่วยบรรเทาความรุนแรงของการอักเสบให้ลดลง 
สาเหตุของโรคผิวหนัง สาเหตุของโรคผิวหนังนั้นแตกต่างกันไปตามประเภท  อย่างไรก็ตามโรคผิวหนังบางประเภทอาจเกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ

โรคผิวหนังมีอะไรบ้าง

ผิวหนังอักเสบ (Dermatitis)

โรคผื่นแพ้สัมผัส (Contact dermatitis)

หมายถึงโรคผิวหนังที่เกิดขึ้นเมื่อคุณสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ที่ทำให้เกิดอาการระคายเคืองและสิ่งของหรือสารทั่วไปที่ทำให้เกิดอาการแพ้โดยได้ในชีวิตประจำวัน ได้แก่ : 
  • น้ำยาปรับผ้านุ่ม
  • เครื่องสำอางค์
  • นิเกลหรือเครื่องเงิน 
  • พืชหรือต้นไม้มีพิษ

โรคผิวหนังอักเสบ (Atopic Dermatitis)

เป็นการอักเสบของผิวหนัง ซึ่งเกิดจากสาเหตุหลายประการทั้งปัจจัยจากการทำงานภายในร่างกายและปัจจัยภายนอก ที่ก่อให้เกิดการอักเสบที่ผิวหนังชั้นนอก โดยจะมีผื่นขึ้นบนผิวหนังและผิวบวมแดง รวมถึงมีตุ่มน้ำใส หรือน้ำเหลืองเยิ้มและมีการตกสะเก็ดที่มีอาการคันเกิดขึ้น

โรคต่อมไขมันอักเสบ (Seborrheic dermatitis)

ผิวหนังอักเสบคันที่เกิดจากต่อมไขมัน เป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อราในต่อมน้ำมันบริเวณศีรษะและลำตัว โดยเฉพาะบริเวณที่มีต่อมไขมันมาก ซึ่งมีสาเหตุเกิดจากฮอร์โมน เชื้อราหรือการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมและในบางคนอาจจะเกิดจากพันธุกรรม

โรคผื่นผิวหนังอักเสบที่ข้อเท้า (Stasis dermatitis)

ผื่นผิวหนังอักเสบที่ข้อเท้า จะมีอาการคัน แดง บวม แห้งแตก และมีสะเก็ดหยาบกร้าน โดยอาการของโรคมีทั้งช่วงที่ดีขึ้นและรุนแรงลงกว่าเดิม ซึ่งอาจทำให้ขาบวมได้ โดยเฉพาะในช่วงตอนเย็นหรือหลังจากยืนเป็นเวลานาน และยังมีเส้นเลือดดำขอดบนขากิดขึ้นให้เห็นได้อย่างชัดเจน

โรคผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้

โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังเป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังที่มีชื่อภาษาอังกฤษ ว่า Atopic dermatitis  โรคนี้พบบ่อยในเด็ก โดยส่วนใหญ่ผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้มักมีโรคทางพันธุกรรมอยู่เป็นพื้นฐาน สำหรับอาการที่เกิดขึ้นได้แก่แพ้อากาศ ไอ จามบ่อยๆ หอบหืดและเยื่อบุตาอักเสบ โดยอาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นเฉพาะในช่วงเวลาที่อากาศรอบตัวเปลี่ยนแปลง นอกจากนี้ยังมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องในสภาพแวดล้อมเช่น อาหาร ไรฝุ่น สารก่อการระคาย หรือสารก่อภูมิแพ้ผิวหนัง 

ปัจจัยกระตุ้น

สิ่งแวดล้อมรอบตัวหรือสารภายในร่างกายอาจจะเป็นแรงกระตุ้นที่ทำให้เกิดผิวหนังอักเสบลุกลาม  ซึ่งปัจจัยที่สามารถกระตุ้นทำให้เกิดโรคผิวหนังให้ได้แก่ : ปัจจัยบางอย่างเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคผิวหนังบางชนิดมากกว่าปัจจัยอื่น ๆ ตัวอย่างเช่นการล้างและทำให้มือแห้งบ่อยครั้ง ซึ่งทำให้น้ำมันป้องกันผิวของคุณเปลี่ยนสมดุลค่า pH ของผิว และก่อให้เกิดอาการแพ้ หรือโรคผิวหนัง รวมถึงการรับประทานอาหารบางชนิดที่ร่างกายเกิดอาการแพ้

การรักษาผิวหนังอักเสบ

แพทย์จะทำการตรวจร่างกายและซักถามประวัติทางการแพทย์ก่อนทำการวินิจฉัย ในบางกรณีแพทย์ผิวหนังสามารถวินิจฉัยประเภทของโรคผิวหนังเพียงแค่ตรวจดูภายนอกเท่านั้น หากมีข้อสงสัยว่าโรคผิวหนังที่คุณเป็นอาจจะเกิดจากการอาการแพ้บางชนิด แพทย์อาจจะมีการตรวจสารที่แพ้นั้น ๆ เพื่อค้นหาสาเหตุที่แท้จริงและทำการรักษาต่อไป โดยสามารถใช้วิธีการตรวจหลายอย่างอาจจเช่น การตรวจชิ้นส่วนผิวหนังผ่านกล้องหรือเจาะเลือดและตรวจผลจากเลือด เป็นต้น หลังจากนั้นแพทย์จะทำการวิเคราะห์ผลและทำการรักษาโรคอย่างตรงจุด

ยารักษาผิวหนังอักเสบเรื้อรัง

ยาที่ใช้รักษาอาการที่เกิดขึ้นจากผิวหนังอักเสบได้แก่ ยาแก้แพ้ หรือ antihistamine เป็นยาที่ใช้ระงับอาการแพ้ที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายหลั่งสาร histamine โดยยาชนิดนี้มีสรรพคุณยับยั้งอาการแพ้และช่วยบรรเทาอาการคัน รวมถึงลดผดผื่นที่เกิดจากผิวหนังอักเสบได้เป็นอย่างดี ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) เป็นยาทาผิวหนังอักเสบที่มีทั้งชนิดครีมและขี้ผึ้งหรือชนิดรับประทาน เพื่อบรรเทาอาการบวมและคันโดยเฉพาะ ซึ่งเป็นยาที่ได้รับจากแพทย์เท่านั้น ในกรณีที่วิธีการรักษาอื่น ๆ ใช้ไม่ได้ผล ยาแก้แพ้ เช่น ยาไดเฟนไฮดรามีน (Diphenhydramine) เป็นยาที่ช่วยบรรเทาอาการแพ้และอาการคันรุนแรง สามารถหาซื้อได้เองตามร้านขายยาทั่วไป แต่ควรเลือกใช้อย่างระมัดระวัง เพราะยาแก้แพ้บางชนิดอาจทำให้มีอาการง่วงซึมได้ ยากดภูมิคุ้มกันของร่างกาย มีทั้งยารับประทาน และครีมสำหรับทา โดยเป็นยาช่วยรับมือกับการอักเสบของผิวหนังและลดการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดอาการคันและแดงบนผิวหนัง ใช้เมื่อการรักษาชนิดอื่นไม่ได้ผล แต่ควรใช้เพียงช่วงสั้น ๆ เท่านั้น และไม่ควรใช้กับเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี

วิธีรักษาผิวหนังอักเสบด้วยตัวเอง

 ควรบำรุงรักษาและดูแลผิวไม่ให้แห้งจนเกินไปด้วยการทาโลชั่นเป็นประจำหลังอาบน้ำหรือหลีกเลี่ยงการขัดถูผิวที่รุนแรงเพื่อป้องกันการถลอกเป็นขุยหรือมีการอักเสบเกิดขึ้น ควรเลือกใช้สบู่หรือครีมอาบน้ำที่อ่อนโยนต่อผิว ได้แก่สบู่เด็กหรือสบู่ที่ไม่มีกลิ่น เนื่องจากสบู่ที่มีสารเคมีอาจส่งผลให้ผิวแห้งมากยิ่งขึ้น ควรใช้ยาทารักษาโรคผิวหนังเรื้องรังที่สามารถหายซื้อจากร้ายขายยาได้เองหรือแพทย์สั่งให้ ได้แก่ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ที่เป็นยาสำหรับทาผื่นผิวหนังอักเสบ เป็นต้น  ทั้งนี้ควรหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้และการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่อาจทำให้ผิวหนังทีผื่นคันขึ้นได้เช่นฝุ่นควันหรือการสัมผัสกับน้ำที่สกปรก

อาหารที่เหมาะกับผู้ป่วยโรคผิวหนังอักเสบ

  • ปลา ปลาที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 สามารถช่วยต้านการอักเสบได้ เช่น แซลมอล ปลาทูน่า ปลาซาร์ดีน ปลาทู ปลาเฮอร์ริ่ง เป็นต้น
  • อาหารที่มีโปรไบโอติก เช่น กะหล่ำปลีดอง โยเกิร์ต ซุปมิโซะ 
  • อาหารที่มีสารฟลาโวนอยด์สูง เช่น ชา มะเขือเทศ พริกแดง ผลไม้รสเปรี้ยว ถั่วเหลือง

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง

  • ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม
  • ไข่ 
  • ถั่วเหลือง
  • ถั่วต่าง ๆ 
  • ข้าว
  • น้ำมันงา
อะไรที่ทำให้ผิวหนังอักเสบแย่ลง การกำเริบของโรคผิวหนังบ่อยครั้งที่ถูกกระตุ้นจากภายนอก เช่น ผงซักฟอก  น้ำยาซักผ้า หรือสบู่ แชมพู และยังมีปัจจัยแวดล้อม เช่น อากาศที่เปลี่ยนแปลง ความชื้น รวมทั้ง เชื้อรา ไรฝุ่นในบ้าน ขนสัตว์เลี้ยง เป็นต้น   

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/dermatitis-eczema/symptoms-causes/syc-20352380
  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/atopic-dermatitis-eczema/symptoms-causes/syc-20353273
  • https://dermnetnz.org/topics/dermatitis/
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด