ลิ่มเลือด (Blood Clot) : อาการ สาเหตุ การรักษา

ลิ่มเลือดคืออะไร 

ลิ่มเลือดเกิดจากเลือดเปลี่ยนจากของเหลวเป็นเป็นลิ่มที่จับตัวเป็นก้อน ปกติการแข็งตัวของเลือดช่วยให้ร่างกายไม่เสียเลือดมากเกินไป เมื่อมีแผลหรือบาดเจ็บ แต่ลิ่มเลือดที่เกิดผิดที่ผิดเวลา ก่อให้เกิดปัญหาใหญ่ เมื่อเกิดลิ่มเลือดในเส้นเลือดดำ ลิ่มเลือดจะไม่สลายไปตามเวลา เป็นอันตรายและถึงแก่ชีวิตได้ ลิ่มเลือดที่ไม่เคลื่อนไปไหน ไม่ทำให้เกิดอันตราย แต่มันมีโอกาสที่จะเคลื่อนที่ไป และทำให้เกิดอันตรายได้ ถ้าลิ่มเลือดเคลื่อนที่ผ่านเส้นเลือดไปที่หัวใจหรือปอด มันจะอุดเส้นเลือดทำให้เลือดไม่ไหลเวียน ซึ่งเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ เมื่อเกิดลิ่มเลือดผู้ป่วยควรเข้าพบแพทย์โดยด่วน ถ้าสงสัยว่าจะมีลิ่มเลือดแพทย์จะตรวจดูอาการ 

ชนิดของลิ่มเลือด

ระบบไหลเวียนเลือดของคนประกอบด้วยหลอดเลือด เรียกว่าหลอดเลือดแดง และหลอดเลือดดำ ซึ่งนำเลือดไปทั่วร่างกาย ลิ่มเลือดเกิดได้ทั้งในหลอดเลือดแดงและดำ เมื่อเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดแดง จะทำให้เกิดอาการอย่างฉับพลัน และต้องการการรักษาฉุกเฉิน อาการของลิ่มเลือดในหลอดเลือดแดงคือ ปวดมาก บางส่วนของร่างกายเป็นอัมพาต และอาจทำให้เกิดหัวใจวายหรือโรคของเส้นเลือดสมองได้ ลิ่มเลือดในเส้นหลอดเลือดดำ อาจเกิดอย่างช้าๆใช้เวลา  แต่ก็ยังส่งผลให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ การอุดตันที่รุนแรงที่สุดของเส้นหลอดเลือดดำคือ ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำส่วนลึก (Deep Vein Thrombosis)

ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำส่วนลึก (Deep vein thrombosis)

เมื่อลิ่มเลือดก่อตัวในหลอดเลือดดำใหญ่ที่อยู่ลึกในร่างกาย ที่พบบ่อยคือที่ขาข้างใดข้างหนึ่ง แต่อาจเกิดที่แขน อุ้งเชิงกราน ปอด และแม้แต่ในสมอง ลิ่มเลือดเกิดได้โดยไม่มีอาการให้เห็นชัด บางครั้งมีอาการเหมือนโรคอื่น นี่คืออาการเบื้องต้นของลิ่มเลือดอุดตันในสมอง แขน ขา หัวใจ ท้องและปอด

ลิ่มเลือดอุดตันที่แขน ขา 

ที่พบบ่อยคือลิ่มเลือดอุดตันที่ขา อาการของลิ่มเลือดอุดตันที่ขา และแขน คือ ปวด บวมแดง รู้สึกร้อนบริเวณนั้น อาการจะขึ้นอยู่กับขนาดของลิ่มเลือด จึงอาจมีอาการบวมที่น่องโดยไม่ปวด หรือถ้าลิ่มเลือดก้อนใหญ่ ขาอาจบวมทั้งขาและปวดมาก ส่วนใหญ่แล้ว ลิ่มเลือดจะเกิดที่แขน หรือขาข้างใดข้างหนึ่ง หากมีอาการที่แขน ขาข้างเดียวจึงมีโอกาสมากที่จะเกิดจากลิ่มเลือด

ลิ่มเลือดหัวใจ หรือหัวใจวาย 

ลิ่มเลือดในหัวใจทำให้เกิดหัวใจวาย แม้หัวใจมักไม่ค่อยเกิดลิ่มเลือด แต่ก็ยังมีโอกาสเกิดได้ ลิ่มเลือดในหัวใจจะทำให้คุณเจ็บหน้าอก หรือรู้สึกหนักๆที่หน้าอก และมักเวียนหัว และหายใจถี่

ลิ่มเลือดในท้อง 

มีอาการท้องเสีย ปวดท้องรุนแรง และอาเจียน แต่ถ้าติดเชื้อไวรัส หรืออาหารเป็นพิษ ก็จะมีอาการคล้ายกัน

ลิ่มเลือดอุดตันในสมอง 

ทำให้มีอาการปวดหัวรุนแรง และกะทันหัน และการมองเห็น และการพูดผิดปกติในทันทีทันใด

ลิ่มเลือดในปอดหรือ Pulmonary Embolism

ลิ่มเลือดที่ไปถึงปอด ทำให้เกิดอาการดังนี้

ปัจจัยทางร่างกายที่ทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตัน

  • ตะกรันไขมันที่ผนังหลอดเลือดแตก หรือฉีกขาด และคอเลสเตอรอลในเลือดที่สูงเกินไปเป็นเวลานาน ทำให้เกิดคราบตะกรันจับอยู่ในผนังหลอดเลือด เมื่อฉีกขาดหรือแตกหลุดออกมา จะกระตุ้นให้เกล็ดเลือดจับตัวเป็นลิ่ม และอุดผนังหลอดเลือด หากจับตัวมาก เกิดการอุดตัน หรือลิ่มเลือดถูกพัดพาไปด้วยแรงบีบตัวของหัวใจ หากไปอุดตันที่ปอด สมองและหัวใจ ถึงตายได้
  • เลือดไหลเวียนผิดปกติ เลือดที่ไหลช้าอาจทำให้เกิดลิ่มเลือดได้ เช่นในผู้ป่วยที่นอนติดเตียงนานๆ หลังผ่าตัดใหญ่ และการเดินทางที่ใช้เวลานาน

Blood Clot

ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ

ปัจจัยเสี่ยงบางอย่างเพิ่มโอกาสเกิดลิ่มเลือด การที่เพิ่งออกจากโรงพยาบาลหลังนอนรักษายาวนาน หรือหลังจากการผ่าตัดใหญ่ เป็นปัจจัยที่เพิ่มโอกาสเกิดลิ่มเลือด และ
  • อายุ โดยเฉพาะเมื่อคุณอายุเกิน 65 ปี
  • การเดินทางไกลๆ เช่น การเดินทางที่นั่งนานเกินกว่าหกชั่วโมง
  • การพักอยู่ในเตียง หรือการนั่งๆนอนๆ เป็นเวลานาน
  • อ้วน
  • ตั้งครรภ์
  • มีประวัติคนในครอบครัวเคยเกิดลิ่มเลือด
  • สูบบุหรี่
  • มะเร็ง
  • ยาคุมกำเนิดบางชนิด

เมื่อไหร่ที่ควรไปพบแพทย์ 

การวินิจฉัยจากอาการเพียงอย่างเดียว ค่อนข้างยาก เพราะบางครั้งผู้ป่วยไม่มีอาการ แต่ให้สังเกตอาการที่เกิดขึ้นโดยไม่มีที่มา หากคุณมีอาการดังนี้ ควรไปพบแพทย์ทันที
  • หายใจลำบากกะทันหัน
  • แน่นหน้าอกมาก
  • หายใจลำบาก มองไม่เห็นหรือพูดลำบากอย่างกะทันหัน
เมื่อไปโรงพยาบาล แพทย์จะตรวจเพิ่มเพื่อหาสาเหตุ อันดับแรกมักเป็นการอัลตราซาวด์ เพื่อดูสภาพเส้นเลือด เพื่อช่วยให้วินิจฉัยได้ดีขึ้น

การดูแลตนเองเพิ่มเติม

ลิ่มเลือดที่อุดตันในเส้นเลือดดำส่วนลึก มักเกิดกับผู้ที่ไม่เคลื่อนไหว หรือเคลื่อนไหวร่างกายน้อยเป็นเวลานาน โดยเฉพาะในการเดินทางที่ยาวนาน การป้องกันที่ทำได้คือ
  • ลุกเดินทุก 1-2 ชั่วโมง ไม่นั่งไขว้ขา เหยียดขาเพื่อช่วยให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น
  • ดื่มน้ำมากๆ หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์
  • งดสูบบุหรี่ก่อนเดินทาง
  • หลีกเลี่ยงการกิยาที่ทำให้ง่วง เพื่อไม่ให้อยู่ในท่าเดิมนานเกินไป
  • แอสไพรินช่วยลดความเสี่ยงได้ แต่ควรปรึกษาแพทย์ก่อน

อาหารที่ดีต่อผู้ที่มีลิ่มเลือด

เป็นที่รู้กันว่าอาหารบางชนิดมีประโยชน์ในการส่งเสริมสุขภาพหัวใจและหลอดเลือดและลดความเสี่ยงของลิ่มเลือด แม้ว่าไม่มีอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งที่สามารถรับประกันการป้องกันลิ่มเลือดได้ แต่การผสมผสานอาหารที่อุดมด้วยสารอาหารหลากหลายชนิดเข้ากับอาหารของคุณสามารถช่วยให้สุขภาพหัวใจและหลอดเลือดโดยรวมดีขึ้นได้ ต่อไปนี้เป็นอาหารบางอย่างที่อาจมีบทบาทในการป้องกันลิ่มเลือด:

1. ปลาที่มีไขมัน:

  • แหล่งที่มา:ปลาแซลมอน ปลาแมคเคอเรล ปลาเทราท์ ปลาซาร์ดีน
  • ประโยชน์:อุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งมีคุณสมบัติต้านการอักเสบและอาจช่วยลดการสร้างลิ่มเลือด

2. เบอร์รี่:

  • แหล่งที่มา:บลูเบอร์รี่  สตรอเบอร์รี่  ราสเบอร์รี่
  • ประโยชน์:มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง โดยเฉพาะแอนโทไซยานิน ซึ่งอาจมีผลต้านเกล็ดเลือดและต้านลิ่มเลือด

3. ผักใบเขียว:

  • แหล่งที่มา:ผักโขม ผักคะน้า  
  • ประโยชน์:มีวิตามินเคสูง ซึ่งมีความสำคัญต่อการแข็งตัวของเลือดอย่างเหมาะสม การรักษาปริมาณวิตามินเคอย่างสม่ำเสมอเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ใช้ยาลดความอ้วนในเลือด

4. กระเทียม:

  • แหล่งที่มา:กระเทียมดิบหรือปรุงสุก
  • ประโยชน์:ประกอบด้วยอัลลิซิน ซึ่งเป็นทินเนอร์เลือดตามธรรมชาติที่มีคุณสมบัติป้องกันการแข็งตัวของเลือด

5. ขมิ้น:

  • ที่มา:เครื่องเทศขมิ้น 
  • ประโยชน์:มีเคอร์คูมินซึ่งมีฤทธิ์ต้านการอักเสบและต้านเกล็ดเลือด

6. ขิง:

  • แหล่งที่มา:ขิงสดหรือผง
  • ประโยชน์:ขิงมีคุณสมบัติต้านการอักเสบและอาจช่วยป้องกันการเกิดลิ่มเลือด

7. ถั่ว:

  • แหล่งที่มา:อัลมอนด์, วอลนัท
  • ประโยชน์:ถั่วมีกรดไขมันโอเมก้า 3 และไฟเบอร์ ซึ่งมีส่วนดีต่อสุขภาพของหัวใจ

8. น้ำมันมะกอก:

  • ที่มา:น้ำมันมะกอกเอ็กซ์ตร้าเวอร์จิ้น
  • ประโยชน์:อุดมไปด้วยไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวซึ่งอาจช่วยลดความเสี่ยงของการแข็งตัวของเลือด

9. ธัญพืช:

  • ที่มา:ควินัว ข้าวกล้อง โฮลวีต
  • ประโยชน์:ให้ไฟเบอร์ซึ่งสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่ลดลงของโรคหัวใจและหลอดเลือด

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.nhs.uk/conditions/blood-clots/
  • https://www.webmd.com/dvt/blood-clot-symptoms
  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/deep-vein-thrombosis/symptoms-causes/syc-20352557
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด