ผู้เขียน Dr. Wikanda Rattanaphan
0
ความฝัน
ความฝัน (Dream) คืออะไร ทำไมคนเราถึงฝันเป็นเรื่องราวและภาพในจิตใจที่คนเราสร้างขึ้นในขณะที่กำลังนอนหลับ พวกเขาอาจรู้สึกสนุกสนาน  ตลก โรแมนติก หงุดหงิด หวาดกลัว และแปลกประหลาดได้ ที่มาของความฝันยังคงเป็นเรื่องลึกลับมานาน  ความฝันเกิดจากอะไร เป็นคำถามที่หลายคนสงสัย นักวิทยาศาสตร์ และจิตแพทย์ต่างตั้งคำถามว่าทำไมคนเราจึงฝัน? สาเหตุของฝันคืออะไร คนเราสามารถควบคุมความฝันได้หรือไม่? ความฝันหมายถึงอะไร?

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความฝัน

  • บางครั้งเราอาจจำความฝันของตนเองไม่ได้ แต่ส่วนมากคนเราจะฝันประมาณ 3 ถึง 6 ครั้งต่อคืน 
  • ความฝันจะใช้นานประมาณ 5 ถึง 20 นาที
  • ประมาณ 95 % ของความฝันมักถูกลืมเมื่อตื่นนอน
  • การฝันช่วยให้เกิดการเรียนรู้ และพัฒนาความทรงจำในระยะยาวได้
  • คนตาบอดฝันจากส่วนประกอบทางประสาทสัมผัส ไม่เหมือนกับผู้ที่มองเห็น

สาเหตุของความฝัน

มีหลายทฤษฎีในการหาสาเหตุที่เกิดความฝัน ความฝันเป็นส่วนหนึ่งของวงจรการนอนหลับ หรือเพื่อจุดประสงค์อื่น ๆ โดยมีคำอธิบายอื่น ดังต่อไปนี้ :
  • เป็นตัวแทนของความปรารถนา และความต้องการที่ไม่รู้ตัวมาก่อน
  • การส่งสัญญาณแบบสุ่มระหว่างสมอง และร่างกายในขณะนอนหลับ
  • การรวบรวม และประมวลผลข้อมูลที่เกิดขึ้นในระหว่างวัน
  • เป็นการทำงานรูปแบบหนึ่งของจิตบำบัด
หลักฐานและวิธีการวิจัยใหม่ ๆ นักวิจัยได้คาดเดาว่าการฝันทำหน้าที่ดังต่อไปนี้:
  • การประมวลผลหน่วยความจำของสมองแบบออฟไลน์ สมองจะรวบรวมงาน สิ่งที่เรียนรู้และความจำต่าง ๆ เข้าด้วยกัน จากนั้นสนับสนุนและบันทึกข้อมูลต่าง ๆ เมื่อรู้สึกตัวตื่น
  • เตรียมพร้อมสำหรับเรื่องร้าย ๆ ในอนาคต
  • การจำลองความรู้ความเข้าใจของประสบการณ์ชีวิต เนื่องจากความฝันจะย่อยรายละเอียดต่าง ๆ ของความรู้ที่เริ่มตั้งแต่ตื่นนาน เป็นส่วนหนึ่งของจิตใจที่ทำงานในระหว่างฝันกลางวัน
  • พัฒนาความสามารถในการเรียนรู้
  • สะท้อนจิตสำนึกที่มีอย่างไม่รู้ตัว เพราะเป็นแนวทางของจิตวิเคราะห์
  • สภาวะต่าง ๆ ของจิตสำนึกที่รวบรวมประสบการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และอดีตมาประมวลผลให้เกิดประโยชน์ต่อไปในอนาคต
  • พื้นที่ทางจิตวิทยาที่ความคิดต่าง ๆ ถูกครอบงำ ขัดแย้ง หรือซับซ้อนกันอย่างมาก แต่สามารถรวบรวมเข้าด้วยกันในฝันได้ ความคิดที่อาจไม่แน่นอนในขณะที่ตื่นอยู่จะถูกตอบสนองด้วยความต้องการ ความสมดุลทางจิตใจ และความเสมอภาค
หลายสิ่งที่ยังไม่รู้เกี่ยวกับความฝัน และเป็นเรื่องยากที่จะศึกษาในห้องปฏิบัติการ แต่ด้วยเทคโนโลยี และเทคนิคงานวิจัยที่ทันสมัย จะช่วยพัฒนาความเข้าใจในความฝันได้

ขั้นตอนของการนอนหลับ

วงจรการนอนหลับมี 5 ขั้นตอน:
  • ขั้นที่ 1: ภาวะหลับตื้น ยังคงมีการเคลื่อนไหวของดวงตาอย่างช้า ๆ และการทำงานของกล้ามเนื้อลดลง ขั้นตอนนี้กินระยะเวลา 4 ถึง 5 %ของการนอนหลับทั้งหมด
  • ขั้นที่ 2: การเคลื่อนไหวของดวงตาจะหยุดลง และคลื่นสมองทำงานช้าลง อาจมีการกระตุ้นคลื่นให้เพิ่มความเร็วขึ้นเป็นครั้งคราว เรียกว่าภาวะที่คลื่นสมองคงที่ขณะนอนหลับ ระยะนี้กินระยะเวลา 45 ถึง 55 %ของการนอนหลับทั้งหมด
  • ขั้นที่ 3: คลื่นสมองเคลื่อนไหวช้ามาก เรียกว่าคลื่นเดลต้า เริ่มปรากฏขึ้นสลับกับคลื่นที่เล็กกว่าและเร็วกว่า คิดเป็น 4 ถึง 6 %ของการนอนหลับทั้งหมด
  • ขั้นที่ 4: สมองสร้างคลื่นเดลต้าที่มีลักษณะเฉพาะ เป็นการยากที่จะปลุกให้ตื่นในช่วงของการนอนหลับขั้นที่ 3 และ 4  เรียกว่า “ภาวะหลับลึก” ไม่มีการเคลื่อนไหวของตาหรือกล้ามเนื้อ คนที่ตื่นขึ้นมาในขณะที่กำลังหลับลึกจะไม่สามารถปรับตัวได้ทันที และมักรู้สึกสับสนเป็นเวลาหลายนาทีหลังจากตื่นนอน คิดเป็น 12 ถึง 15 %ของการนอนหลับทั้งหมด
  • ขั้นที่ 5: ระยะนี้จะเกิดการเคลื่อนไหวของดวงตาอย่างรวดเร็ว (REM) การหายใจจะเร็วขึ้นและตื้นขึ้น ตากระตุกอย่างรวดเร็วในทิศทางต่าง ๆ และกล้ามเนื้อแขนขาจะเป็นอัมพาตชั่วคราว อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น ความดันโลหิตสูงขึ้น ผู้ชายจะเกิดการแข็งตัวของอวัยวะเพศ หากรู้สึกตัวตื่นในขั้นตอนการนอน REM นี้ มักสามารถบรรยายเรื่องราวที่แปลกประหลาด และไร้เหตุผล สิ่งเหล่านี้ก็คือความฝัน ขั้นตอนการนอนนี้คิดเป็น 20 ถึง 25 %ของเวลานอนทั้งหมด
ข้อมูลทางประสาทวิทยาคาดว่าความเชื่อมโยงระหว่างการเคลื่อนไหวของดวงตาอย่างรวดเร็ว (REM) และภาวะการนอนหลับคือสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการฝัน

ความฝันคืออะไร 

ความฝันคือประสบการณ์ของมนุษย์ที่เกิดขึ้นได้ทั่วโลก สามารถอธิบายได้ถึงสภาวะของจิตสำนึกที่มีลักษณะทางประสาทสัมผัส ความรู้ ความเข้าใจ และอารมณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างการนอนหลับ ผู้ฝันอาจควบคุมเนื้อหาของภาพที่มองเห็น และการนำหน่วยความจำมาใช้ได้เพียงเล็กน้อย ยังไม่มีความรู้ความเข้าใจที่ชัดเจนเกี่ยวกับความฝัน ความฝันจุงเป็นเรื่องที่ต้องศึกษาอย่างกว้างขวาง และทำความเข้าใจอีกมาก พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างวิธีการทางประสาทวิทยาศาสตร์ และจิตวิเคราะห์เพื่อทำความเข้าใจกับความฝัน นักประสาทวิทยาสนใจโครงสร้างที่เกี่ยวข้องกับการสร้างความฝันขึ้นมา องค์ประกอบของความฝัน และความสามารถในการเล่าเรื่อง ส่วนกรณีของจิตวิเคราะห์จะมุ่งเน้นไปที่ความหมายของความฝัน และความสัมพันธ์ระหว่างเรื่องราวในอดีตของของผู้ฝัน ความฝันจึงมักเป็นเรื่องราวที่เกิดจากประสบการณ์ เต็มเปี่ยมไปด้วยอารมณ์ และประสบการณ์ที่ดี มีรูปแบบ สิ่งที่เป็นกังวล จำนวนของความฝัน และจุดประสงค์ของการใช้ชีวิตเมื่อตื่น องค์ประกอบเหล่านี้สร้าง “ความเป็นจริง” ที่แตกต่างออกไป โดยไม่ได้สร้างประสบการณ์ใหม่ขึ้นมาภายในกรอบเวลา และการเชื่อมโยงกับชีวิตจริง

ฝันร้าย

ฝันร้ายคือความฝันที่น่าวิตก ทำให้ผู้ฝันรับรู้ถึงอารมณ์ที่รบกวนจิตใจ ปฏิกิริยาที่พบได้บ่อยเมื่อฝันร้าย คือความกลัว และความวิตกกังวล สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในผู้ใหญ่และเด็ก โดยมีสาเหตุดังต่อไปนี้ :
  • ความเครียด
  • ความกลัว
  • การบาดเจ็บ
  • ปัญหาทางอารมณ์
  • การเจ็บป่วย
  • การใช้ยาหรือยาบางชนิด
  • ทฤษฏีควบคุมความฝัน
ทฤษฏีควบคุมความฝันคืออาการที่ผู้ฝันรู้ตัวว่ากำลังฝัน พวกเขาจึงสามารถควบคุมความฝันบางส่วนได้ รูปแบบการควบคุมอาจแตกต่างกันระหว่างความฝันที่แท้จริง มักเกิดขึ้นกลางความฝันเมื่อผู้นอนรู้ตัวว่ากำลังฝันอยู่ บางคนอาจมีความฝันแบบสุ่ม ในขณะที่บางคนรายงานว่าสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการควบคุมความฝันของตนเองได้

การตีความความฝัน

สิ่งที่เกิดขึ้นในจิตใจของเราก่อนที่เราจะหลับ อาจส่งผลต่อสิ่งที่ฝันได้ ตัวอย่างเช่นในช่วงที่มีการสอบนักเรียนอาจฝันถึงเนื้อหาของหลักสูตร คู่รักอาจฝันถึงคู่ของพวกเขา นักพัฒนาเว็บไซด์อาจเห็นโค้ดการเขียนโปรแกรม หากพิจารณาจากสถานการณ์เหล่านี้ จะพบว่าองค์ประกอบจากชีวิตประจำวันจะปรากฏขึ้นอีกครั้งในลักษณะของภาพฝัน มักเกิดขึ้นในช่วงที่กำลังจะเปลี่ยนจากการตื่นไปสู่การนอนหลับ

ตัวละครในความฝัน

  • การศึกษาพบว่า “ตัวละคร” ที่ปรากฏในความฝัน และวิธีที่ผู้ฝันระบุถึงตัวละครเหล่านั้นมีลักษณะเฉพาะ
  • การศึกษาความฝันของผู้ใหญ่ 320 คนพบว่า:
  • 48% ของตัวละครคือตัวแทนของบุคคลที่ผู้ฝันรู้จัก
  • 35% คือตัวละครที่ระบุขึ้นจากบทบาททางสังคมของพวกเขา (เช่นตำรวจ) หรือความสัมพันธ์กับผู้ฝัน (เช่นเพื่อน)
  • 16% คือตัวละครที่ไม่รู้จัก
  • ในบรรดาตัวละครที่รู้จักชื่อ:
  • 32% จะถูกระบุโดยรูปลักษณ์
  • 21% จะถูกระบุโดยพฤติกรรม
  • 45% จะถูกระบุด้วยใบหน้า
  • 40% ถูกระบุโดย “แค่รู้จัก”
  • อีก 14% คือองค์ประกอบที่สับสนระหว่างตัวละครที่มีชื่อ และตัวละครทั่วไป
  • การศึกษายังพบว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างอารมณ์ในความฝัน กับการระบุตัวตนของตัวละครในฝัน
  • ความรักและความสุขมักเกี่ยวข้องกับตัวละครที่รู้จัก และถูกใช้ระบุตัวละครอย่างชัดเจน แม้ว่าบางครั้งเรื่องราวของตัวละครเหล่านี้จะไม่สอดคล้องกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในขณะที่ตื่น
  • ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าเยื่อหุ้มสมองส่วนหน้า ส่วนหลังนั้นเกี่ยวข้องกับความจำระยะสั้น ซึ่งจะถูกใช้งานน้อยกว่าในขณะที่กำลังฝัน ส่วนบริเวณลิมบิกที่เป็นเซลล์ต้นกำเนิดและสมองชั้นล่างจะถูกใช้งานมากกว่า

ความทรงจำ

แนวคิดเรื่อง “การควบคุมความฝัน” มีมาตั้งแต่สมัยของฟรอยด์ ฟรอยด์ยืนยันว่าความทรงจำที่ไม่พึงปรารถนาอาจถูกเก็บกดไว้ในจิตใจ ความฝันจะคลายสิ่งที่กดเอาไว้ และปลดปล่อยความทรงจำเหล่านั้นกลับคืนมา การศึกษาพบว่าการนอนหลับไม่ช่วยลืมความทรงจำที่ไม่ต้องการได้ แต่การนอนหลับ REM จะลดความสามารถในการเก็บความทรงจำเหล่านั้น ทำให้สามารถเรียกกลับคืนมาได้ง่ายขึ้น ลักษณะ 2 ประการระหว่างผลกระทบที่เกิดขึ้นชั่วคราวกับความทรงจำที่ปรากฎในความฝัน:
  • ผลกระทบตกค้างที่เกี่ยวกับการรวบรวมเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในวันก่อน
  • ผลกระทบจากความฝันที่ล้าช้า เกี่ยวกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดมานานกว่า 1 สัปดาห์
ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า:
  • การประมวลผลความทรงจำเพื่อปรากฎเป็นความฝันอาจใช้เวลาประมาณ 7 วัน
  • กระบวนการของความฝันจะช่วยเสริมความสามารถในการปรับตัวทางสังคม อารมณ์ และความทรงจำเข้าด้วยกัน

ความฝันที่ล้าช้า 

ความฝันที่ล่าช้า คือภาพจากประสบการณ์หรือผู้คนที่ปรากฏในความฝันที่มาจากประสบการณ์ หรือบุคคลที่ได้พบเมื่อเร็ว ๆ นี้ อาจเป็นวันก่อนหน้า หรือเมื่อ 1 สัปดาห์ก่อน ความฝันแบบนี้คือการนำประสบการณ์บางอย่างที่เกิดขึ้นมานาน 1 สัปดาห์มาเรียบเรียงให้กลายเป็นความทรงจำระยะยาว และภาพบางส่วนจะถูกรวบรวมจนปรากฏขึ้นในความฝัน เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะตื่น จะพบในความฝันได้ตั้งแต่ 1 ถึง 2 % และพบว่าความฝัน 65 % จะแสดงถึงประสบการณ์ชีวิตในขณะที่ตื่น มีรายงานความฝันที่ล่าช้ามักเกิดขึ้นในระยะการนอน REM แต่ไม่พบในระยะที่ 2 ของการนอน

ประเภทของความทรงจำและความฝัน

ความจำ 2 ประเภทที่ถูกใช้เป็นพื้นฐานของความฝันได้แก่:
  • ความทรงจำเกี่ยวกับอัตชีวประวัติหรือความทรงจำที่ยาวนานของตนเอง
  • ความทรงจำเป็นช่วง ๆ เป็นความทรงจำเกี่ยวกับช่วง หรือเหตุการณ์ที่เฉพาะเจาะจง
จากการศึกษาความทรงจำประเภทต่าง ๆ ที่ปรากฎในความฝันของผู้เข้าร่วมการทดสอบ 32 คน พบรายละเอียดดังต่อไปนี้:
  • ความฝันส่วนหนึ่ง (0.5 %) มาจากความจำเป็นช่วง ๆ
  • ความฝันส่วนมาก (80 %) เป็นการผสมผสานระหว่างความจำกับอัตชีวประวัติในระดับต่ำถึงปานกลาง
นักวิจัยแนะนำว่าความทรงจำที่มาจากประสบการณ์ส่วนตั วเป็นประสบการณ์ที่ไม่ต่อเนื่อง และเลือกขึ้นมาเพียงช่วงหนึ่งในขณะที่ฝัน จุดประสงค์อาจเพื่อรวบรวมความทรงจำเหล่านี้ให้กลายเป็นความทรงจำของอัตชีวประวัติที่ยาวนาน สมมติฐานที่ระบุว่าความฝันสะท้อนถึงประสบการณ์ในชีวิตได้รับการสนับสนุนจากรายงานการศึกษาเกี่ยวกับความฝันของผู้ป่วยจิตเวชและผู้ป่วยที่มีปัญหาในการนอน อันเป็นผลมาจากอาการและปัญหาที่เกิดขึ้นในเวลากลางวันจะสะท้อนให้เห็นในความฝัน ในปี พ. ศ. 2443 ฟรอยด์ได้อธิบายถึงความฝันประเภทหนึ่งที่เรียกว่า “ความฝันเกี่ยวกับชีวประวัติ” ซึ่งจะสะท้อนให้เห็นถึงประสบการณ์ในอดีตจั้งแต่ยังเป็นทารก และหลายคนยังยอมรับว่าความฝันจากเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจจะช่วยฟื้นฟูสภาพจิตใจได้ รายงานหนึ่งได้ตั้งสมมติฐานว่าประเด็นหลักของความฝันที่กระทบกระเทือนจิตใจ คือการสื่อสารประสบการณ์ที่ผู้ฝันมี แต่อาจยังไม่เข้าใจ ซึ่งเมื่อกลายเป็นความฝันที่ถูกสร้างขึ้นใหม่ ก็จะทำให้เกิดความเข้าใจและสามารถรับมือกับบาดแผลในอดีตได้

รูปแบบความฝัน

รูปแบบความฝันสามารถเชื่อมโยงกับการจัดการความคิดที่ไม่เป็นที่ต้องการได้ และเกิดจากความคิดที่ถูกกักเก็บเอาไว้ในความฝัน การทดสอบให้ผู้รับการทดสอบ 15 คน ระงับความคิดต่าง ๆ ก่อนนอน 5 นาที ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าความฝันที่เกี่ยวกับความคิดที่ไม่ต้องการ และความฝันที่น่าหวาดวิตกมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ยังบ่งบอกถึงความคิดที่ถูกเก็บกดเอาไว้ อาจนำไปสู่อาการทางจิตได้อย่างมีนัยสำคัญ งานวิจัยชี้ว่าสิ่งเร้าภายนอกที่เกิดขึ้นระหว่างการนอนหลับอาจส่งผลต่อเนื้อหาทางอารมณ์ของความฝัน ตัวอย่างเช่น การกระตุ้นด้วยดอกกุหลาบจะสร้างรูปแบบความฝันในเชิงบวกได้ แต่หากเป็นไข่เน่าก็จะทำให้เกิดรูปแบบความฝันเชิงลบมากขึ้น รูปแบบความฝันทั่วไปมักมีความคล้ายคลึงกันในคนหมู่มากได้ จากการศึกษารูปแบบของความฝันจากการทำแบบสอบถาม สามารถจัดอันดับของ 55 รูปแบบความฝันที่พบได้ทั่วไป ดังนี้:
  • โรงเรียน ครู และการศึกษา
  • ถูกไล่ล่า หรือถูกไล่ตาม
  • ประสบการณ์ทางเพศ
  • การหกล้ม
  • การเดินทางล่าช้า
  • ผู้ที่กำลังจะตาย
  • ฝันเห็นคนที่ตายไปแล้วยังมีชีวิตอยู่
  • การบินหรือทะยานขึ้นไปในอากาศ
  • ผลสอบไม่ผ่าน
  • รู้สึกใกล้ตกจากที่สูง
  • ตกอยู่ในความหวาดกลัว
  • ถูกทำร้ายร่างกาย
  • เปลือยเปล่า
  • กินอาหารอร่อย ๆ
  • ว่ายน้ำ
  • ถูกกักขัง
  • แมลงหรือแมงมุม
  • ถูกฆ่า
  • ฟันหลุด
  • ถูกมัดรั้ง หรือขยับไม่ได้
  • แต่งตัวไม่เหมาะสม
  • เป็นเด็กอีกครั้ง
  • พยายามทำงานให้สำเร็จ
  • ไม่สามารถหาห้องน้ำได้ หรือรู้สึกอับอายที่ขับถ่ายไม่ทัน
  • ค้นพบห้องใหม่ในบ้าน
  • มีความรู้หรือความสามารถทางจิตที่เหนือกว่า
  • สูญเสียการควบคุมยานพาหนะ
  • ไฟ
  • สัตว์ป่าดุร้าย
  • เห็นใบหน้าของคนใกล้ชิด
  • งู
  • มีพลังวิเศษ
  • การรับรู้ถึงสิ่งต่าง ๆ ชัดเจน แต่อาจมองไม่เห็นหรือได้ยินแต่เสียง
  • ค้นพบเงินทอง
  • น้ำท่วม หรือคลื่นยักษ์
  • ฆ่าใครบางคน
  • เห็นว่าตัวเองตาย
  • ครึ่งหลับครึ่งตื่น และรู้สึกเป็นอัมพาตอยู่บนเตียง
  • ผู้คนมีพฤติกรรมที่น่ากลัว
  • เห็นตัวเองในกระจก
  • กลายเป็นคนเพศตรงข้าม
  • หายใจไม่ออก
  • เผชิญหน้ากับพระเจ้าในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง
  • เห็นวัตถุบางอย่างบินตกลงมา
  • แผ่นดินไหว
  • เห็นนางฟ้า เทวดา
  • กลายเป็นส่วนใดส่วนหนึ่งของสัตว์ และคนแต่มีชีวิต
  • พายุทอร์นาโด หรือลมแรง
  • กำลังดูหนัง
  • เห็นมนุษย์ต่างดาว
  • เดินทางไปยังดาวดวงอื่น
  • กลายเป็นสัตว์
  • เห็นยูเอฟโอ
  • เห็นคนที่แท้ง หรือคลอดลูก
  • กลายเป็นวัตถุ
Dreams

รูปแบบความฝันมักเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา

ตัวอย่างในช่วงปีพ.ศ. 2499 ถึงปี 2543 มีผู้รายงานว่าบินในความฝันเพิ่มขึ้น สะท้อนเหตุการณ์โดยสารทางอากาศที่เพิ่มมากขึ้น

ความหมายของความฝัน

  • ความสัมพันธ์: ความฝันที่ระบุถึงการตกหล่นของวัตถุ ตกอยู่ในสถานการณ์อันตราย การหกล้ม หรือถูกไล่ล่า แสดงถึงความสัมพันธ์ที่ขัดแย้ง
  • แนวคิดเรื่องเพศ: แสดงถึงประสบการณ์ทางเพศ การหาเงิน และการกินอาหารอร่อย ๆ ที่เกิดจากแรงจูงใจทางเพศ
  • เรื่องที่สร้างความอับอาย: ความฝันเกี่ยวกับการเปลือยกาย สอบตก มาสาย ฟันหัก และการแต่งกายไม่เหมาะสม เกิดจากความกังวลทางสังคม และสิ่งที่ทำให้อับอาย

กิจกรรมของสมองและประเภทของความฝัน

ผลการศึกษาการทำงานของสมองในระบบประสาทระหว่างการนอนหลับ REM นักวิทยาศาสตร์พบว่าการทำงานของสมองอาจเชื่อมโยงกับลักษณะเฉพาะของความฝัน ความฝันแปลก ๆ มักมีความคล้ายคลึงกับกลุ่มอาการทางประสาทวิทยาที่เกิดเมื่อสมองได้รับความเสียหาย เช่น การระบุใบหน้าและสถานที่ที่ผิดพลาด

ความฝันและความรู้สึก

ความฝันของผู้ที่มีอาการปวดศีรษะ พบว่าผู้ที่เป็นไมเกรนจะฝันถึงรสชาติและกลิ่นเพิ่มขึ้น สิ่งนี้อาจแสดงถึงบทบาทของโครงสร้างสมอง อย่าง อะมิกดาลา และไฮโปทาลามัสที่เกี่ยวข้องกับการเกิดไมเกรน  การนอนหลับ และความฝัน ดนตรีในความฝัน วิทยาศาสตร์แทบไม่มีการศึกษาเกี่ยวกับวรรณกรรม แต่การศึกษานักดนตรีมืออาชีพ 35 คนและผู้ที่ไม่ใช่นักดนตรี 30 คน นักดนตรีจะฝันถึงดนตรีมากกว่า 2 เท่า ความถี่ในการฝันเรื่องดนตรี ยังสัมพันธ์กับระยะเวลาที่เรียนรู้ หรือสอนดนตรี แต่ไม่สัมพันธ์กับกิจกรรมทางดนตรีในแต่ละวัน บางคนยังสามารถประพันธ์เพลงใหม่ในความฝันได้

ความเจ็บปวด

ความฝันแสดงให้เห็นว่าความรู้สึกเจ็บปวดที่เสมือนจริง นั้นสามารถสัมผัสได้ในความฝัน ผ่านการเหตุการณ์ต่าง ๆ รวมกัน หรือเกิดจากความทรงจำที่เจ็บปวดในขณะนั้น พบว่าผู้ที่มีสุขาภพดีจะคิดถึงความเจ็บปวดน้อยกว่าผู้ที่มีอาการเจ็บป่วย จากการศึกษาด้วยการสัมภาษณ์เหยื่อไฟไหม้ 28 รายเป็นเวลา 5 วันติดต่อกันในช่วงสัปดาห์แรกของการรักษาในโรงพยาบาล ผลลัพธ์แสดงให้เห็น:

39% ฝันถึงความเจ็บปวด

ผู้ที่ฝันถึงความเจ็บปวด 30 % เป็นเรื่องราวที่ทำให้เจ็บปวด

ผู้ป่วยที่มีอาการปวดฝันแสดงให้เห็นถึงการนอนหลับที่ลดลงฝันร้ายมากขึ้นการรับประทานยาลดความวิตกกังวลในปริมาณที่สูงขึ้นและคะแนนที่สูงขึ้นต่อผลกระทบของระดับเหตุการณ์ ผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บปวด มีแนวโน้มที่จะฝันถึงความเข็บป่วยที่รุนแรงมากขึ้นในระหว่างการรักษา มากกว่า 50% ไม่พบความฝันที่เจ็บปวด ผลการทดสอบนี้ บ่งบอกว่าความฝันที่เจ็บปวดพบได้บ่อยในผู้ที่กำลังประสบกับความเจ็บปวดมากขึ้น

การตระหนักรู้ในตนเอง

การศึกษาชิ้นหนึ่งพบความเชื่อมโยงจากคลื่นสมอง frontotemporal gamma EEG กับการตระหนักรู้ในความฝัน การศึกษาพบว่าการกระตุ้นในปัจจุบันในแถบคลื่นแกมมาที่ต่ำ ๆ ในระหว่างการนอนหลับ REM มีผลต่อการทำงานของสมองและกระตุ้นให้เกิดการรับรู้ด้วยตนเองในความฝัน นักวิจัยสรุปว่าจิตสำนึกในความฝันสัมพันธ์กับการสั่นสะเทือนของคลื่นที่ความถี่ 25 และ 40 Hz

ความสัมพันธ์

งานวิจัยล่าสุดแสดงให้เห็นถึงสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบความสัมพันธ์ที่โรแมนติก และเรื่องที่ฝัน ผลการประเมินจากผู้เข้าร่วม 61 คนที่มีการออกเดทถายในระยะเวลา 6 เดือนหรือนานกว่านั้น จะแสดงถึงความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดและมั่นคง มักฝันเกี่ยวกับคู่รักที่โรแมนติกมากขึ้น การประเมินนี้ช่วยให้เกิดความเข้าใจในเรื่องของจิตใจกับระยะเวลาของความสัมพันธ์

ความตายในความฝัน

นักวิจัยได้ติดตามความฝันของผู้เข้ารับการรักษษที่สถานบำบัดจิตเวชเนื่องจากเคยพบว่าความฝันของพวกเขาในจะสัมพันธ์กับประสบการณ์ต่าง ๆ ดังนี้:
  • ภาวะซึมเศร้าและความคิดอยากฆ่าตัวตาย
  • ซึมเศร้า แต่ไม่คิดฆ่าตัวตาย
  • การกระทำที่รุนแรง แต่ไม่คิดฆ่าตัวตาย
ผู้ที่เคยคิดหรือพยายามฆ่าตัวตาย หรือใช้ความรุนแรงมักฝันเกี่ยวกับความตายและความรุนแรงในการทำลาย อัยเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อปัญหาความรุนแรงของภาวะซึมเศร้าได้

สมองซักซ้ายและขวา

สมองซีกขวาและซีกซ้ายมีส่วนในการสร้างความฝันในรูปแบบต่าง ๆ จากงานวิจัยพบว่าสมองซีกซ้ายจะทำให้เกิดความฝัน สมองซีกขวาจะสร้างสีสันให้ความฝันเป็นรูปเป็นร่าง และกระตุ้นอารมณ์มากขึ้น การศึกษาวัยรุ่นอายุ 10 ถึง 17 ปีพบว่าผู้ที่ถนัดซ้ายมีแนวโน้มที่ฝันได้ชัดเจนและจดจำความฝันได้ดี

การลืมความฝัน

การศึกษาการทำงานของสมองพบว่าคนส่วนมากที่อายุมากกว่า 10 ปีจะฝันประมาณ 4 ถึง 6 ครั้งในแต่ละคืน แต่บางคนก็จำความฝันไม่ได้ 5 นาทีหลังจากฝัน ผู้คนก็จะลืมไปแล้วว่าฝันถึงอะไร 50% และเพิ่มขึ้นเป็น 90% ในอีก 5 นาทีต่อมา ความฝันส่วนมากจะถูกลืมไปอย่างสิ้นเชิง เมื่อรู้สึกตัวตื่น แต่ยังไม่รู้แน่ชัดว่าทำไมจึงไม่สามารถจำความฝันได้ ขั้นตอนช่วยให้จำความฝันได้ ได้แก่ :
  • ตื่นขึ้นเอง โดยไม่ใช่เสียงปลุก
  • มุ่งเน้นไปยังเรื่องที่ฝันให้มากที่สุด เมื่อตื่น
  • เขียนเกี่ยวกับเรื่องที่ฝันให้มากที่สุด เมื่อตื่น
  • บันทึกความฝันให้เป็นกิจวัตร

ผู้ที่จดจำความฝันได้คือใคร 

ปัจจัยที่ทำให้ฝันมีส่วนทำให้ผู้คนจำความฝันของเขาได้  อายุ: เมื่อเวลาผ่านไปบุคคลมีแนวโน้มที่จะมีการเปลี่ยนแปลงของเวลานอนโครงสร้างและคลื่นสมองไฟฟ้า (EEG) พบว่าความจำในเรื่องที่ฝันจะลดลงเรื่อย ๆ เมื่ออายุมากขึ้น แต่ไม่ใช่ในกรณีที่เป็นผู้สูงอายุ ความรุนแรงในเรื่องที่ฝันก็จะลดน้อยลงด้วย ผู้ชายจะเกิดการเปลี่ยนแปลงเร็วกว่าผู้หญิง และความแตกต่างทางเพศยังส่งผลต่อเรื่องที่ฝัน เพศ: การศึกษาความฝันของผู้ชาย 108 คน และผู้หญิง 110 คน พบว่าไม่มีความแตกต่างเรื่องความก้าวร้าว ความเป็นมิตร หรือเพศของตัวละคร หรือเสื้อผ้าที่อยู่ในความฝัน อย่างไรก็ตามความฝันของผู้หญิงมักมีสมาชิกของครอบครัว อย่างเด็ก และสถานที่ในร่มมากกว่าผู้ชาย ความผิดปกติของการนอนหลับ: ความฝันอาจมากขึ้นเมื่อเกิดอาการนอนไม่หลับ และความฝันจะแสดงถึงความเครียดที่เผชิญอยู่ ความฝันของผู้ที่มีอาการง่วงนอนอาจเป็นแปลกประหลาด และไม่ดีมากขึ้น

ความฝันและความเป็นอยู่ที่ดี

การศึกษาพบว่าการระลึกถึงความฝันและเนื้อหาในฝันจะสะท้อนความสัมพันธ์ทางสังคมของผู้คนได้ จากการศึกษาอาสาสมัครนักศึกษาเพื่อประเมินความฝันกับคุณภาพชีวิต ผู้เข้าร่วมได้จัดระดับความฝันและรายงานความฝันพบว่า:
  • รายงานความฝัน
  • ฝันบ่อย
  • สัมผัสกับภาพที่สื่อถึงอารมณ์รุนแรงในความฝัน
อาสาสมัครที่มีอายุมากขึ้นมักหมกมุ่นกับความฝันมากกว่า พบว่า:
  • รายงานความฝัน
  • รายงานความฝันด้วยเรื่องราวที่มากกว่า
การระลึกความฝันจะเกิดขึ้นน้อยในผู้ที่ไม่สนใจ แต่หากหมกมุ่นการระลึกความฝันจะสูงกว่า

ใครฝันบ้าง 

ทุกคนล้วนมีความฝัน แม้ว่าเราจะจำความฝันไม่ได้ ช่วงเวลาต่าง ๆ ของชีวิตจะทำให้ความฝันเปลี่ยนไปได้

ความฝันของเด็ก  

การศึกษาความฝันของเด็ก 103 คนอายุ 9 ถึง 11 ปี มีข้อสังเกตดังต่อไปนี้:
  • เด็กหญิงมักมีความฝันถึงเรื่องที่วิตกกังวลมากกว่าเด็กชาย แม้ว่าจะจำความฝันไม่ค่อยได้
  • เด็กหญิงฝันมากกว่าเด็กชาย เมื่อเกิดการสูญเสียคนรู้จัก การหกล้ม เรื่องที่รบกวนใจ การเข้าสังคม สัตว์เลี้ยง หรือความก้าวร้าวของสมาชิกในครอบครัว หรือผู้ที่เขารู้จักหรือไม่ก็ได้

หญิงตั้งครรภ์

ความฝันของหญิงตั้งครรภ์และไม่ได้ตั้งครรภ์ พบความแตกต่างดังนี้:
  • การระบุรายละเอียดของทารก และเด็กมีความเฉพาะเจาะจงน้อยกว่าในหญิงที่ยังไม่ได้ตั้งครรภ์ หญิงที่อายุครรภ์มากจะฝันมากขึ้น
  • หญิงตั้งครรภ์มักฝันถึงการตั้งครรภ์ การคลอดบุตรและทารกในครรภ์
  • ฝันเรื่องการคลอดบุตรสูงขึ้นตามอายุครรภ์
  • หญิงตั้งครรภ์มีจะฝันแปลก ๆ กว่าหญิงที่ไม่ได้ตั้งครรภ์

ผู้ทำหน้าที่ดูแล

ผู้ที่ให้การดูแลครอบครัวหรือผู้ที่เจ็บป่วยมานาน มักฝันเกี่ยวกับบุคคลที่ดูแลอยู่ การศึกษาตามความฝันของผู้ใหญ่ที่ทำงานเป็นเวลาประมาณ 1 ปีในศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ พบว่า: ความฝันจะเกี่ยวข้องกับผู้ที่ได้รับการดูแลอย่างชัดเจน และโดยปกติเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริง ความฝันของผู้ดูแลเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วย แต่บางครั้งก็เกิดจากความผิดหวังที่ไม่สามารถดูแลได้ดีเท่าที่ควร

การสูญเสีย

เชื่อกันว่าความฝันที่กักเก็บเอาไว้มักเกิดกับผู้ที่กำลังเผชิญกับการสูญเสีย การศึกษาวิเคราะห์คุณภาพของความฝันตลอดจนการเชื่อมโยงความฝันที่เกิดจากความสูญเสียนั้นมีดังนี้:
  • ความฝันถี่มากในปีแรกของการสูญเสีย
  • มีแนวโน้มถี่มากขึ้นในกรณีที่ผู้ฝันมีอาการหวาดวิตก และซึมเศร้า

ในการศึกษาอื่นที่มีผู้ที่มีความสูญเสีย 278 คน:

58% ความฝันเรื่องของการสูญเสียคนที่รักไป ด้วยความถี่ที่แตกต่างกัน ผู้เข้าร่วมส่วนมากมีความฝันที่ดี หรือดีและไม่ดีผสมกัน และมีบางคนที่ฝันแต่เรื่องที่รบกวนจิตใจ รูปแบบความฝันหลากหลาย ได้แก่ ความทรงจำ เหตุการณ์ในอดีตที่ดีของผู้เสียชีวิต ที่ไม่เกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วย ผู้ตาย หรือช่วงเวลาแห่งความตายผู้เสียชีวิต ชีวิตหลังความตายที่ดูสบายและสงบ และผู้เสียชีวิตติดต่อสื่อสารด้วย 60% ความฝันแสดงถึงผลกระทบต่อกระบวนการสูญเสีย

ตวามฝันมีสีหรือไม่ 

จากการศึกษาวิจัยพบว่า :
  • ประมาณ 80 % ของผู้ที่อายุน้อยกว่า 30 ปีความฝันจะมีสีสัน
  • เมื่ออายุ 60 ปี 20 % มีความฝันที่มีสีสัน
  • กรณีอายุ 20, 30 และ 40 ปี มีความฝันที่มีสีสันมากขึ้น ในช่วงปี 1993 ถึงปี 2009 นักวิจัยคาดการณ์ว่าสัมพันธ์กับบทบาทของโทรทัศน์สีที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นความแตกต่างของยุคสมัย
  • ผู้สูงอายุพบว่าความฝันมีทั้งสีสัน และขาวดำ แต่เห็นเป็นภาพได้ชัดเจนเท่า ๆ กัย แต่กรณ๊ที่อายุยังน้อยจะพบว่าความฝันสีดำ ขาว ให้ภาพที่คุณภาพต่ำกว่า

ความฝันทำนายอนาคตได้หรือไม่ 

ความฝันบางอย่างอาจเหมือนตำทำนายเหตุการณ์ในอนาคต นักวิจัยพบว่าไม่มีหลักฐานยืนยันถึงความว่าเป็นไปได้นี้ ส่วนใหญ่มากเกิดจากความบังเอิญ ความทรงจำที่ผิดพลาด หรือจิตไร้สำนึกที่เชื่อมโยงข้อมูลที่ทราบเข้าด้วยกัน ความฝันช่วยให้เกิดการเรียนรู้เพิ่มเติม ด้านความรู้สึก ความเชื่อ และค่านิยม ภาพและสัญลักษณ์ที่ปรากฏในความฝันมีความหมายและความเชื่อมโยงแบบเฉพาะเจาะจงในแต่ละคน ผู้ที่ต้องการทำความเข้าใจกับความฝัน ควรพิจารณาว่าความฝันนั้นมีความหมายกับพวกเขาอย่างไรเป็นกรณี ๆ ไป หนังสือหรือคู่มือที่ให้ความหมายต่อรูปภาพ และสัญลักษณ์นั้นอาจไม่ถูกต้องเสมอไป

การเลิกยา

การศึกษาพบว่าความฝันของผู้ติดโคเคนและเสพเป็นประจำ หรืออยู่ช่วงที่กำลังเลิกยา จะมีความฝันดังนี้: เกือบ 90 % พบว่าจะฝันเกี่ยวกับยาเสพติดในช่วงเดือนแรก โดยมากเป็นเรื่องการใช้ยา เกือบ 61 % ฝันเกี่ยวกับยาเสพติดเมื่อเลิกยาไปได้ 6 เดือน ส่วนมากเป็นการใช้หรือการเลิกยา

ผู้ที่มองไม่เห็นและการสูญเสียการได้ยิน

ผู้ที่สูญเสียการมองเห็นโดยสิ้นเชิงจะเห็นภาพในฝันน้อยกว่าผู้ที่มองเห็น ผู้ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ตั้งแต่เกิดจะฝันในลักษณะของการได้ยิน การสัมผัส ความตื่นเต้น และการดมกลิ่นมากกว่าผู้ที่มองเห็น ความสามารถในการมองเห็นไม่ส่งผลต่อเนื้อหาของอารมณ์และความฝัน

ผู้ที่มีความบกพร่องทางร่างกาย

  • งานวิจัยผู้ที่มีร่างกายบกพร่อง 14 คนโดยเป็นผู้ที่เกิดมาพร้อมอาการอัมพาต 4 และผู้ที่ไม่สามารถได้ยินหรือพูดได้ 10 คน
  • อาการหูหนวก: เมื่อเปรียบเทียบกับบุคคลปกติ 36 คน พบว่าประมาณ 80 % ของความฝันของผู้ที่มีอาการหูหนวกไม่พบบ่งข้อบกพร่องของพวกเขาใรความฝัน
  • หลายคนพูดได้ในความฝัน และคนอื่นก็สามารถได้ยินและเข้าใจในสิ่งที่เขาพูด
  • ผู้เป็นอัมพาตครึ่งล่าง: ความฝันของผู้ที่เป็นอัมพาตคือความสามารถในการเดิน วิ่ง หรือว่ายน้ำในความฝันซึ่งไม่เคยทำมาก่อนในชีวิต
  • การศึกษากับคน 15 คนที่เกิดมาพร้อมกับอาการอัมพาต หรือเป็รแัมพาตเนื่องจากการบาดเจ็บที่ไขสันหลัง
  • พบว่าผู้มีอาการอัมพาต 14 คน ฝันว่าพวกเขาเคลื่อนไหวร่างกาย และเดินได้
  • งานวิจัยอื่น ๆ ชี้ให้เห็นว่าสมองมีความสามารถในการกำหนดรูปแบบที่สร้างประสบการณ์ชีวิต เลียนแบบผู้ที่แขน ขาและประสาทสัมผัสทำงานได้ปกติ
  • ผู้ที่เกิดมาไม่ได้ยิน หรือเคลื่อนไหวไม่ได้ มีแนวโน้มที่จะทำสิ่งต่าง ๆ ที่พวกเขาไม่สามารถทำได้มาก่อน

วิธีป้องกันฝันร้าย

ฝันร้ายสามารถสร้างความเจ็บปวดและรบกวนการนอนหลับของคุณได้ แต่ก็มีวิธีที่คุณสามารถใช้เพื่อลดโอกาสที่จะประสบฝันร้ายได้ คำแนะนำบางส่วนที่จะช่วยป้องกันฝันร้ายมีดังนี้
  • รักษาตารางการนอนหลับให้สม่ำเสมอ :

      • เข้านอนและตื่นเวลาเดิมทุกวัน แม้แต่วันหยุดสุดสัปดาห์ ซึ่งจะช่วยควบคุมนาฬิกาภายในร่างกายและอาจช่วยลดการเกิดฝันร้ายได้
  • สร้างกิจวัตรการเข้านอนที่ผ่อนคลาย :

      • ทำกิจกรรมสงบสติอารมณ์ก่อนนอน เช่น อ่านหนังสือ ฝึกเทคนิคการผ่อนคลาย (เช่น การหายใจลึกๆ การทำสมาธิ) หรือการอาบน้ำอุ่น กิจกรรมเหล่านี้สามารถช่วยลดความเครียดและความวิตกกังวลที่อาจนำไปสู่ฝันร้ายได้
  • จำกัดการเปิดเผยเนื้อหาที่ตึงเครียดหรือน่ากลัว :

      • หลีกเลี่ยงการดูหรืออ่านเนื้อหาที่น่าวิตกหรือมีความรุนแรงก่อนนอน เนื่องจากอาจส่งผลต่อเนื้อหาในฝันของคุณได้
  • สร้างสภาพแวดล้อมการนอนหลับที่สะดวกสบาย :

      • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าห้องนอนของคุณเอื้อต่อการนอนหลับพักผ่อน ซึ่งรวมถึงการมีที่นอนและหมอนที่สะดวกสบาย การรักษาห้องให้มีอุณหภูมิที่สะดวกสบาย และลดเสียงรบกวนและแสงสว่างให้เหลือน้อยที่สุด
  • จำกัดสารกระตุ้นและแอลกอฮอล์ :

      • ลดหรือเลิกการบริโภคคาเฟอีนและแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะในช่วงเวลาก่อนเข้านอน สารเหล่านี้สามารถรบกวนรูปแบบการนอนหลับและนำไปสู่ความฝันที่ชัดเจนยิ่งขึ้น รวมถึงฝันร้ายด้วย
  • จัดการความเครียดและความวิตกกังวล :

      • มีส่วนร่วมในเทคนิคการลดความเครียดในระหว่างวัน เช่น การออกกำลังกาย การมีสติ หรือการพูดคุยกับนักบำบัดหากจำเป็น การจัดการความเครียดและความวิตกกังวลสามารถช่วยลดโอกาสที่จะฝันร้ายได้
  • ติดตามอาหารของคุณ :

      • หลีกเลี่ยงอาหารมื้อหนักหรือเผ็ดในช่วงใกล้เวลานอน เพราะอาจทำให้รู้สึกไม่สบายและส่งผลต่อการนอนหลับของคุณได้ นอกจากนี้อย่าเข้านอนด้วยความหิวหรืออิ่มจนเกินไป
  • จำกัดการงีบหลับ :

      • แม้ว่าการงีบหลับช่วงสั้นๆ จะทำให้สดชื่นได้ แต่การงีบหลับในตอนกลางวันเป็นเวลานานๆ หรือไม่สม่ำเสมออาจรบกวนการนอนหลับตอนกลางคืน และนำไปสู่ความฝันที่สดใสยิ่งขึ้น รวมถึงฝันร้ายด้วย
  • แก้ไขปัญหาพื้นฐาน :

      • หากฝันร้ายยังคงอยู่และรบกวนชีวิตประจำวันของคุณ ลองปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต ฝันร้ายอาจเป็นสัญญาณของปัญหาทางจิตที่ซ่อนอยู่ เช่น โรคความเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนใจ (PTSD) หรือความวิตกกังวลที่อาจต้องได้รับการรักษา
  • หลีกเลี่ยงยาบางชนิดใกล้เวลานอน :

    • ยาบางชนิด เช่น ยาแก้ซึมเศร้าบางชนิด อาจทำให้ฝันชัดเจนขึ้นได้ ปรึกษากับผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของคุณเกี่ยวกับระยะเวลาในการรับประทานยาหากคุณสงสัยว่าอาจส่งผลต่อความฝันของคุณ
สิ่งสำคัญคือต้องจำไว้ว่าฝันร้ายเป็นครั้งคราวถือเป็นเรื่องปกติของประสบการณ์การนอนหลับ และอาจไม่สามารถป้องกันได้เสมอไป อย่างไรก็ตาม ด้วยการใช้กลยุทธ์เหล่านี้และรักษากิจวัตรการนอนหลับที่ดีต่อสุขภาพ คุณจะสามารถลดโอกาสที่จะเกิดขึ้นและปรับปรุงคุณภาพการนอนหลับโดยรวมของคุณได้
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
  • https://www.webmd.com/sleep-disorders/dreaming-overview
  • http://dreamchallenges.org/
  • https://www.verywellmind.com/why-do-we-dream-top-dream-theories-2795931
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด