ผู้เขียน Dr. Wikanda Rattanaphan
0
การสะกดจิต

การสะกดจิต คือ

การสะกดจิต การสะกดจิตบำบัด และคำแนะนำเกี่ยวกับการสะกดจิตเป็นหนึ่งในการบำบัดประเภทหนึ่งที่ทำให้ผู้เข้ารับการรักษษเกิดสภาวะมึนงง การบรรลุสภาวะนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมการรักษาเป็นรายบุคคล ในสภาวะที่เกิดารจดจ่อนี้ บุคคลจะเปิดรับแนวทางการรักษาเพิ่มมากขึ้น เช่น การเลิกบุหรี่ การสะกดจิตเป็นการบำบัดที่ถูกใช้มานานหลายร้อยปี และมีการใช้รักษาในหลากหลายพื้นที่ นักวิจัยได้ศึกษาว่าการสะกดจิตสามารถรักษาโรคต่าง ๆ ได้หรือไม่ ตั้งแต่อาการลำไส้แปรปรวน ไปจนถึงความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า เป้าหมายของการสะกดจิตคือช่วยให้ผู้ป่วยเรียนรู้ที่จะควบคุมสถานะการรับรู้ได้ดีขึ้น ในกรณีของภาวะซึมเศร้า การบำบัดด้วยการสะกดจิตอาจเน้นให้ผู้ป่วยเกิดการผ่อนคลาย เมื่อผ่อนคลายแล้วนี้ ผู้ป่วยก็จะสามารถพูดคุยถึงความรู้สึกและอารมณ์ได้ โดยไม่เพิ่มระดับความเครียดและความวิตกกังวล อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับเดจาวูได้ที่นี่

การสะกดจิตบำบัดทำงานอย่างไร

กระบวนการสะกดจิตบำบัดมักใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง นักบำบัดโรคจะที่ผ่านการฝึกอบรมใช้เทคนิคการผ่อนคลายที่หลากหลาย เพื่อนำผู้ป่วยเข้าสู่สภาวะที่ถูกสะกดจิต ในสภาวะนี้ ผู้ป่วยจะยังมีสติสัมปชัญญะอยู่ ร่างกายจะผ่อนคลายมากขึ้น และจิตใจก็ตอบสนองต่อคำแนะนำจากนักบำบัดได้ดีขึ้น คำแนะนำของนักบำบัดจะขึ้นอยู่กับสภาพ หรือพฤติกรรมที่ผู้ป่วยกำลังเข้ารับการรักษา การสะกดจิตสามารถช่วยกำหนดเป้าหมายนิสัยที่ไม่ต้องการ หรือไม่ดีต่อสุขภาพ และอาจแทนที่ด้วยพฤติกรรมที่ดีต่อสุขภาพ ตัวอย่าง ได้แก่ ความสามารถในการควบคุมความเจ็บปวดหรือความวิตกกังวลได้ดีขึ้น การปรับรูปแบบความคิดเชิงลบที่อาจทำให้อาการซึมเศร้าแย่ลง

ข้อดีของการสะกดจิต

วิธีสะกดจิตมีศักยภาพในการช่วยรักษาสภาพทางสุขภาพ โดยไม่ต้องทำการรักษาที่มีผลกระทบรุนแรง หรือยาเพิ่มเติม นักบำบัดคิดว่าการสะกดจิตเป็นตัวเลือกการรักษาที่ปลอดภัย โดยมีผลข้างเคียงน้อยที่สุด แม้ว่าอาจไม่ได้ผลสำหรับผู้ป่วยทุกคน แต่วิธีสะกดจิตคือสิ่งที่เรียกว่าการบำบัดเสริม ผู้ป่วยสามารถใช้การสะกดจิตเพิ่มเติมจากการรักษาภาวะซึมเศร้าอื่น ๆ ได้ เพื่อเพิ่มความรู้สึก ความเป็นอยู่ที่ดี อารมณ์ที่ดีขึ้น และเพิ่มความคาดหวัง นักสะกดจิตใช้รักษาอาการ ต่อไปนี้:
  • ความวิตกกังวล
  • ปวดเรื้อรัง
  • ปัญหาที่ร้ายแรง
  • อาการลำไส้แปรปรวน
  • ควบคุมการสูบบุหรี่
  • กัดฟัน
คนที่เป็นโรคซึมเศร้าจะมีอารมณ์หลากหลาย ซึ่งการสะกดจิตจะช่วยให้ผู้ป่วยเรียนรู้ที่จะลด และ/หรือ ควบคุมความรู้สึกวิตกกังวล ความเครียด และความเศร้าได้ดีขึ้น การสะกดจิตยังใช้เพื่อรักษาพฤติกรรมเชิงลบที่อาจทำให้ภาวะซึมเศร้าแย่ลง พฤติกรรมเหล่านี้อาจรวมถึงการสูบบุหรี่ นิสัยการกินและการนอนหลับที่ไม่ดี อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับการทำสมาธิได้ที่นี่ Hypnotherapy

ข้อเสียของการสะกดจิต

วิธีสะกดจิตมีความเสี่ยงบางอย่าง ความเสี่ยงที่อันตรายที่สุดคือโอกาสในการสร้างความทรงจำเท็จ ( confabulations) ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่ ปวดศีรษะ เวียนหัว และวิตกกังวล แต่ผลข้างเคียงเหล่านี้มักหายไปได้เอง หลังการสะกดจิตไปได้ไม่นาน ผู้ที่กำลังสนใจการสะกดจิตบำบัดควรปรึกษาแพทย์ห รือจิตแพทย์ก่อน เพราะการสะกดจิตก็มีโอกาสทำให้อาการแย่ลง ผู้ที่ทุกข์ทรมานจากอาการหลงผิด ภาพหลอน หรืออาการทางจิตอื่น ๆ อาจไม่เหมาะสมที่จะรับการรักษษด้วยการสะกดจิต การสะกดจิตบำบัดไม่ใช่วิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพ การบำบัดต้องการให้ผู้ป่วยเกิดสมาธิและเข้าสู่สภาวะมึนงงของการสะกดจิต สำหรับบางคนการทำเช่นนี้ก็เป็นเรื่องยากมาก

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวิธีการสะกดจิต

การสะกดจิตบำบัดจะมีประสิทธิภาพ เมื่อรักษาร่วมกับการรักษารูปแบบอื่น ๆ การสะกดจิตสามารถลดความต้านทานของผู้ป่วยที่มีต่อการรักษาแบบดั้งเดิมได้ ประสิทธิภาพการสะกดจิตจะมีมากที่สุด เมื่อเข้ารับการบำบัดพฤติกรรมทางปัญญา หรือจิตบำบัดของผู้ป่วย สิ่งสำคัญคือจำไว้ว่าภาวะซึมเศร้าเกิดพร้อมความเจ็บป่วยทางจิตที่รุนแรงและเรื้อรัง เช่นโรคไบโพลาร์ และโรคจิตเภทที่ส่งผลต่อสุขภาพร่างกายของผู้ป่วย อาการซึมเศร้าเป็นมากกว่าความรู้สึกเศร้า หรือความคิดเชิงลบ เป็นภาวะที่สารเคมีในสมองไม่สมดุล การสะกดจิตเป็นการบำบัดเสริม แต่ไม่ควรใช้เพื่อบำบัดให้ผู้ป่วยเกิดสุขภาพจิตที่ดีเพียงอย่างเดียว ความสามารถของนักสะกดจิตแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน ผู้ป่วยที่กำลังพิจารณาการสะกดจิตควรแน่ใจว่านักบำบัดโรคผ่านการรับรองในการสะกดจิต และควรเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านนี้โดยตรงด้วย อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับการสะกดจิตรักษาอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้ที่นี่
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด