ความเหงาและความรู้สึกเหมือนตัวคนเดียว (Loneliness)

ผู้เขียน Dr. Wikanda Rattanaphan
0
ความเหงาและความรู้สึกเหมือนตัวคนเดียว

ความเหงาและโดดเดี่ยว คือ

ความเหงาและการแยกตัวทางสังคมในผู้สูงอายุเป็นความเสี่ยงด้านสุขภาพที่ร้ายแรง สามารถส่งผลกระทบต่อผู้คนจำนวนมากได้ ทำให้พวกเขาเสี่ยงต่อการเป็นโรคสมองเสื่อม และภาวะทางการแพทย์ที่ร้ายแรงอื่น ๆ มีผลการศึกษาพบว่ามากกว่า 1 ใน 3 ของผู้ที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไปมักรู้สึกโดดเดี่ยว และเกือบ 1 ใน 4 ของผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปจะเข้าสังคมได้ยาก ดังนั้นอายุจึงเป็นปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงของความเหงาและการแยกตัวทางสังคม เนื่องจากพวกเขามีโอกาสที่จะเผชิญกับปัจจัยต่าง ๆ เช่น การอยู่คนเดียว การสูญเสียครอบครัวหรือเพื่อนฝูง การเจ็บป่วยเรื้อรัง และการสูญเสียการได้ยิน ความเหงาคือความรู้สึกของการอยู่คนเดียวโดยไม่เกี่ยวกับจำนวนที่ได้ติดต่อทางสังคม การแยกจากสังคมคือการขาดความสัมพันธ์ทางสังคม ความโดดเดี่ยวทางสังคมจะนำไปสู่ความเหงา แต่บางคนก็รู้สึกเหงาโดยไม่ถูกทิ้งให้อยู่ตัวคนเดียวในสังคม

ความเสี่ยงต่อสุขภาพจากความเหงา

แม้ว่าจะเป็นเรื่องยากที่จะวัดความโดดเดี่ยวทางสังคมและความเหงาได้อย่างแม่นยำ แต่พบว่าผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปส่วนมากจะรู้สึกเหงา ๆ หรือโดดเดี่ยวจากสังคมในลักษณะที่เสี่ยงต่อสุขภาพของพวกเขา การแยกตัวทางสังคมจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรได้ ความเสี่ยงนี้เทียบเท่ากับการสูบบุหรี่ โรคอ้วน และการไม่ออกกำลังกาย การแยกตัวทางสังคมสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของภาวะสมองเสื่อมประมาณ 50% ความสัมพันธ์ทางสังคมที่ไม่ดี (เกิดการแยกตัวทางสังคมหรือโดดเดี่ยว) มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น 29% ของโรคหัวใจและ 32% ของโรคหลอดเลือดสมอง คนเหงามีโอกาสเกิดภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล และการฆ่าตัวตายมีโอกาสเพิ่มสูงขึ้น ความรู้สึกเหงา กับผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตเพิ่มขึ้นเกือบ 4 เท่า ความเสี่ยงในการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจะเพิ่มขึ้น 68% และความเสี่ยงที่จะเจ็บป่วยฉุกเฉินเพิ่มขึ้น 57% loneliness

คนต่างถิ่น และเป็น LGBT มีความเสี่ยงที่จะเหงามากขึ้น

ผู้สูงอายุที่เปราะบางต่อความโดดเดี่ยวเป็นพิเศษ มีทั้งผู้อพยพ ผู้ที่เป็นเลสเบี้ยน เกย์ ไบเซ็กชวล และคนข้ามเพศ (LGBT) ชนกลุ่มน้อย และผู้ที่ตกเป็นเหยื่อการล่วงละเมิดทางเพศ มีโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง ผลกระทบ และแนวทางการดำเนินแก้ไขปัญหายากขึ้น การวิจัยพบว่ากลุ่มผู้อพยพ เลสเบี้ยน เกย์ และไบเซ็กชวล จะประสบกับความโดดเดี่ยวบ่อยกว่ากลุ่มอื่น ๆ ตัวอย่างเช่น ผู้อพยพชาวลาติน “มีความสัมพันธ์ทางสังคมน้อยกว่าและมีการรวมกลุ่มทางสังคมน้อยกว่าชาวละตินที่เกิดในประเทศ” ผู้ย้ายถิ่นฐานรุ่นแรกประสบกับความเครียดที่เพิ่มจากการแปลกแยกทางสังคมของพวกเขา เช่น อุปสรรคทางภาษา ความแตกต่างในชุมชน พลวัตทางครอบครัว และความสัมพันธ์ใหม่ที่ไม่มีลึกซึ้งหรือยาวนาน รายงานระบุ ว่าเกิดปัญหาในลักษณะเดียวกันกับกลุ่มประชากรที่เป็นเกย์ เลสเบี้ยน และไบเซ็กชวล เพราะกลุ่มคนต่างเพศมักถูกตีตรา ถูกเลือกปฏิบัติ และเกิดอุปสรรคในการสร้างความสัมพันธ์

วิธีรับมือกับอารมณ์เหงา

แพทย์จะประเมินความรุ่นแรงของความเหงา และการแยกทางสังคม เพื่อสร้างวิธีเชื่อมโยงผู้ป่วยกับชุมชน และมีองค์กรระดับชาติที่ทำหน้าที่ช่วยเหลือกลุ่มคนเหล่านี้: อย่างองค์กรให้ความช่วยเหลือผู้สูงอายุ เพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตและการเข้าถึงชุมชน หรือเครือข่ายที่ให้ข้อมูลและความช่วยเหลือเกี่ยวกับโภชนาการและมื้ออาหาร (ให้คำปรึกษา และจัดหามื้ออาหารให้) การสนับสนุนผู้ดูแล และอื่น ๆ เป็นต้น หรือองค์กรที่ให้การสนับสนุนทางการเงิน บริการดูแล และการรับส่ง เพื่อให้เกิดการเชื่อมต่อกับสังคม รวมทั้งองค์กรที่จัดทำสื่อเกี่ยวปัญหาการแยกตัวทางสังคมและความเหงาของผู้สูงอายุ ให้ผู้ดูแล และผู้ให้บริการด้านสุขภาพ

การดูแลด้านสุขภาพ

มนุษย์จะมีการเข้าสังคมโดยธรรมชาติ และความสัมพันธ์ทางสังคมที่มีคุณภาพจะช่วยให้พวกเขามีชีวิตที่ยืนยาวและสุขภาพที่ดีขึ้น ระบบการดูแลสุขภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญ แต่มักไม่ครอบคลุมถึงารจัดการกับความขี้เหงาและป้องกันเงื่อนไขทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับความเหงา ผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปควรมีการเข้าร่วมกับระบบการดูแลสุขภาพในทางใดทางหนึ่ง การพบแพทย์ตามนัดหมาย หรือการเยี่ยมเยียนของพยาบาลก็อาจเป็นหนึ่งโอกาสในการเข้าสังคม และลดความเสี่ยงต่อความเหงาหรือการแยกตัวทางสังคมได้ แต่ผู้ป่วยบางคนชอบที่จะอยู่คนเดียว สิ่งสำคัญคือต้องสังเกตว่าการแยกตัวจากสังคมและความเหงานั้นเกี่ยวข้องกันหรือไม่ เพื่อลดความเสี่ยงต่อสุขภาพ
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด