โรคเครียดหลังผ่านเหตุการณ์ร้ายแรง-Post Traumatic Stress Disorder (PTSD) 

ผู้เขียน Dr. Wikanda Rattanaphan
0
โรคเครียดหลังผ่านเหตุการณ์ร้ายแรง

โรค PTSD

โรคเครียดหลังผ่านเหตุการณ์ร้ายแรง หรือ trauma คือ ภาวะจิตใจที่ถูกกระตุ้นโดยเหตุการณ์ที่น่ากลัว ไม่ว่าจะอยู่ในเหตุการณ์นั้นเองหรือได้พบเห็น มีอาการเช่น เห็นภาพในอดีต ฝันร้าย และวิตกกังวลอย่างมาก และมีความคิดที่ควบคุมไม่ได้ คนส่วนใหญ่ที่เคยผ่านเหตุการณ์ที่ร้ายแรงมักมีความลำบากในการปรับตัวปรับใจอยู่ชั่วคราว แต่หลังจากนั้นเมื่อเวลาผ่านไปและมีการดูแลตัวเองที่ดี อาการมักจะดีขึ้น หากอาการเลวลงและมีอาการอยู่เป็นเดือนหรือปี และมีผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน คุณอาจเป็น PTSD การได้รับการรักษาที่มีประสิทธิภาพตั้งแต่เมื่อเริ่มมีอาการ จะช่วยลดอาการและทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น

โรค PTSD อาการเป็นอย่างไร

PTSD อาจเกิดภายในหนึ่งเดือนหลังจากเกิดเหตุการณ์ แต่บางครั้งอาจทิ้งช่วงนานเป็นปีๆก็ได้ อาการที่เกิดมีผลกระทบอย่างมากต่อการทำงาน การใช้ชีวิต และความสัมพันธ์ แม้แต่การดำเนินชีวิตประจำวัน อาการของ PTSD แบ่งได้เป็นสี่ชนิด คือความทรงจำที่ไม่พึงประสงค์(เห็นภาพเหตุการณ์ร้ายแรงซ้ำๆ)การหลีกหนี มีความคิดและอารมณ์ทางลบ และการเปลี่ยนแปลงของการตอบสนองทางร่างกายและอารมณ์ อาการอาจแตกต่างกันไปตามกาลเวลาหรือในแต่ละคน

ความทรงจำที่ไม่พึงประสงค์

อาการ เช่น
  • ความทรงจำต่อเหตุการณ์รุนแรงที่เป็นทุกข์และไม่ต้องการจดจำนั้น กลับมาอีก
  • ภาพเหตุการณ์นั้น เหมือนหวนกลับมาใหม่
  • ฝันร้ายหรือฝันไม่ดีเกี่ยวกับเหตุการณ์นั้น
  • มีความกังวลใจอย่างรุนแรง หรือมีปฏิกิริยาทางร่างกายต่อสิ่งที่ทำให้คิดถึงเหตุการณ์นั้น

 หลีกหนี

มีอาการเช่น 
  • หลีกเลี่ยงการคิดหรือพูดถึงเหตุการณ์นั้น
  • หลีกเลี่ยงการไปสถานที่ ทำกิจกรรมหรือพบปะคนที่ทำให้คิดถึงเหตุการณ์นั้น

การเปลี่ยนแปลงทางลบในความคิดและอารมณ์

เช่น
  • มีความคิดทางลบเกี่ยวกับตนเอง ผู้อื่นหรือโลก
  • ไม่มีความหวังเกี่ยวกับอนาคต
  • มีปัญหาความจำ เช่นจำแง่มุมที่สำคัญของเหตุการณ์นั้นๆไม่ได้
  • ยากที่จะรักษาความสัมพันธ์ใกล้ชิด
  • รู้สึกแปลกแยกจากครอบครัวและเพื่อน
  • ไม่สนใจในกิจกรรมที่เคยรู้สึกสนุกสนาน
  • ยากที่จะมีอารมณ์ในแง่ดี
  • อารมณ์เฉยชา

การตอบสนองทางร่างกายและอารมณ์เปลี่ยนไป

อาการเช่น
  • ตกใจกลัวง่าย
  • ระวังภัยอยู่ตลอดเวลา
  • มีพฤติกรรมทำร้ายตนเอง เช่น ดื่มสุรามากเกินไป ขับรถเร็วมากๆ
  • นอนไม่หลับ
  • ไม่มีสมาธิ
  • ไม่นิ่ง โกรธง่ายโกรธมากหรือมีพฤติกรรมก้าวร้าว
  • มีความรู้สึกผิดหรืออับอายอย่างมาก  
สำหรับเด็กอายุ 6 ปีและน้อยกว่า อาการและอาการแสดงอาจรวมถึง
  • จำลองเหตุการณ์นั้นหรือสะท้อนออกมาทางการเล่น
  • ฝันน่ากลัว ซึ่งจะเกี่ยวหรือไม่เกี่ยวกับแง่มุมของเหตุการณ์ร้ายแรงนั้น

ความรุนแรงของอาการ

อาการของ PTSD มีความรุนแรงแตกต่างกันตามระยะเวลาที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย ผู้ป่วยอาจมีอาการมากขึ้นหากมีความกดดันอื่น ๆร่วมด้วย หรือเมื่อพบสิ่งที่ทำให้ผู้ป่วยคิดถึงเหตุการณ์ที่ผ่านมา  หรือได้เห็นข่าวการคุกคามทางเพศและรู้สึกว่าความทรงจำในเรื่องที่ผู้ป่วยถูกคุกคามทางเพศนั้นกลับมาอีกPost Traumatic <a href=Stress Disorder (PTSD) ” width=”509″ height=”339″ />

เมื่อใดควรไปพบแพทย์

หากผู้ป่วยมีความคิดและความรู้สึกกระวนกระวายใจเกี่ยวกับเรื่องรุนแรงนั้นเกินกว่าหนึ่งเดือน หากมันรุนแรงหรือผู้ป่วยเห็นว่าไม่สามารถควบคุมตนเองได้ ควรไปพบแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวช การได้รับการรักษายิ่งเร็วยิ่งสามารถป้องกันไม่ให้อาการแย่ลง

หากคุณคิดฆ่าตัวตาย

หากผู้ป่วยเองหรือคนที่คุณรู้จักมีความคิดฆ่าตัวตาย จงขอความช่วยเหลือทันทีจาก:
  • เพื่อนสนิทหรือผู้ที่คุณรัก
  • ผู้นำทางจิตวิญญาณหรือผู้ที่เป็นที่เคารพในชุมชน
  • โทร สายด่วนสุขภาพจิต 1323 ตลอด 24 ชั่วโมง/สะมาริตันส์ กรุงเทพ 02-7136793 ทุกวัน เวลา 12.00-22.00 น./สะมาริตันส์ เชียงใหม่ 053-225977 เวลา 19.00-22.00 น.
  • นัดหมายจิตแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญทางจิตเวช

เมื่อไรควรขอความช่วยเหลือฉุกเฉิน

หากคุณคิดว่าจะทำร้ายตนเองหรือฆ่าตัวตาย โทร 191  หากคนที่คุณรู้จักมีแนวโน้มจะฆ่าตัวตายหรือพยายามฆ่าตัวตาย ควรมีคนอยู่ด้วยเพื่อให้ปลอดภัย โทร191  และหากคุณทำได้(อย่างปลอดภัย) ควรพาผู้นั้นไปห้องฉุกเฉิน

สาเหตุของโรค PTSD

ผู้ป่วยมีโอกาสเกิดโรคเครียดหลังผ่านเหตุการณ์ร้ายแรง เมื่อคุณได้ผ่านประสบการณ์ เห็น หรือรับรู้เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับความตายหรือการขู่ฆ่า การบาดเจ็บรุนแรงหรือความรุนแรงทางเพศ ปัจจุบันแพทย์ยังไม่แน่ใจว่าทำไมบางโรค PTSD จึงเกิดขึ้นกับผู้ป่วยบางราย เช่นเดียวกับการเกิดโรคจิตเวชอื่นๆ แต่ PTSD อาจเกิดจาก :
  • ประสบการณ์ที่กดดัน รวมทั้งจำนวนและความร้ายแรงของความรุนแรงที่คุณผ่านมาตลอดชีวิต
  • ความเสี่ยงในการเกิดโรคทางจิตที่ได้มาจากพันธุกรรม เช่นมีประวัติครอบครัวเรื่องความกังวลและซึมเศร้า
  • บุคลิกภาพที่ได้มาจากพันธุกรรม (นิสัย)
  • การที่สมองของคุณจัดการกับสารเคมีและฮอร์โมนที่ร่างกายหลั่งออกมาเมื่อมีความเครียด

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค PTSD

คนทุกวัยมีโอกาสเป็น PTSD แต่ปัจจัยบางอย่างอาจทำให้คุณมีโอกาสเกิดมากขึ้น เช่น
  • พบความรุนแรงที่มีความร้ายแรงหรือระยะยาว
  • มีประสบการณ์ความรุนแรงมาก่อนในชีวิต เช่น ถูกทารุณเมื่อเป็นเด็ก
  • มีอาชีพที่เพิ่มความเสี่ยงในการพบเจอกับสถานการณ์รุนแรงเช่น ทหาร
  • มีปัญหาทางจิตอื่นๆ เช่นวิตกกังวลหรือซึมเศร้า
  • มีปัญหาติดยาเสพติดหรือดื่มเหล้า
  • ขาดการสนับสนุนที่ดีจากครอบครัวและเพื่อน
  • มีความเกี่ยวพันทางสายเลือดกับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิต รวมทั้งความวิตกกังวลและซึมเศร้า

ชนิดของเหตุการณ์รุนแรง 

ที่พบบ่อยและทำให้เกิด PTSD เช่น
  • การสู้รบ
  • ถูกทำร้ายร่างกายตอนเป็นเด็ก
  • ความรุนแรงทางเพศ
  • ถูกทำร้ายร่างกาย
  • ถูกขู่ทำร้ายด้วยอาวุธ
  • อุบัติเหตุ
เหตุการณ์รุนแรงมากมายที่ก่อให้เกิด PTSD เช่น ไฟไหม้,ภัยธรรมชาติ ถูกล่อลวง ถูกปล้น เครื่องบินตก ถูกทรมาน ถูกลักพาตัว ป่วยด้วยโรคร้ายแรง อยู่ในเหตุการณ์ก่อการร้ายและเหตุการณ์ที่มีความเสี่ยงต่อชีวิตอื่นๆ

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโรค PTSD

โรคความเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนใจ (PTSD) เป็นภาวะที่ซับซ้อนและมักมีความเข้าใจผิด ต่อไปนี้เป็นคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ PTSD และคำตอบ:
  • PTSD คืออะไร?

      • PTSD คือภาวะสุขภาพจิตที่สามารถเกิดขึ้นได้เพื่อตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจ โดยมีลักษณะเฉพาะคืออาการต่างๆ เช่น ความคิดล่วงล้ำ ภาพอดีต ฝันร้าย วิตกกังวล และพฤติกรรมการหลีกเลี่ยง
  • สาเหตุทั่วไปของ PTSD คืออะไร?

      • PTSD อาจเป็นผลมาจากเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจหลายประการ รวมถึงประสบการณ์การต่อสู้ การล่วงละเมิดทางเพศ ภัยพิบัติทางธรรมชาติ อุบัติเหตุทางรถยนต์ และการพบเห็นความรุนแรง
  • อาการหลักของ PTSD คืออะไร?

      • อาการหลักของ PTSD ได้แก่ การประสบกับเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจอีกครั้ง (อาการย้อนอดีตและฝันร้าย) การหลีกเลี่ยงการนึกถึงเหตุการณ์บอบช้ำทางจิตใจ การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์และความคิดด้านลบ และความตื่นตัวที่เพิ่มมากขึ้น (เช่น หงุดหงิด นอนหลับยาก)
  • PTSD ได้รับการวินิจฉัยอย่างไร?

      • ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต เช่น จิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา สามารถวินิจฉัย PTSD ผ่านการประเมินทางคลินิกได้ การวินิจฉัยจะขึ้นอยู่กับการมีอาการเฉพาะและผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน
  • PTSD สามารถรักษาได้หรือไม่?

      • ใช่ PTSD สามารถรักษาได้ การบำบัดต่างๆ เช่น การบำบัดด้วยความรู้ความเข้าใจและพฤติกรรม (CBT) และการลดความไวและการประมวลผลใหม่ของการเคลื่อนไหวของดวงตา (EMDR) รวมถึงการใช้ยา สามารถจัดการอาการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • PTSD สามารถเกิดขึ้นได้หลายปีหลังจากเหตุการณ์กระทบกระเทือนจิตใจหรือไม่?

      • ใช่ PTSD สามารถเกิดขึ้นได้หลายปีหลังจากเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจ อาจเกิดขึ้นทันทีหลังเหตุการณ์หรือเกิดขึ้นในชีวิต
  • อาการ PTSD เหมือนกันสำหรับทุกคนหรือไม่?

      • ไม่ อาการและประสบการณ์ของ PTSD อาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล บางรายอาจมีอาการไม่รุนแรง ในขณะที่บางรายมีอาการรุนแรงและเรื้อรัง
  • เด็กและวัยรุ่นสามารถเป็นโรค PTSD ได้หรือไม่?

      • ใช่ เด็กและวัยรุ่นสามารถป่วยเป็นโรค PTSD ได้หลังจากประสบการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจ อาการของพวกเขาอาจแตกต่างไปจากในผู้ใหญ่
  • ฉันควรทำอย่างไรหากฉันคิดว่าฉันเป็น PTSD?

      • หากคุณสงสัยว่าคุณเป็นโรค PTSD ให้ขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต  
  • สามารถป้องกัน PTSD ได้หรือไม่?

      • แม้ว่าอาจไม่สามารถป้องกันได้เสมอไป แต่การแทรกแซงตั้งแต่เนิ่นๆ การสนับสนุนจากคนที่คุณรัก และกลยุทธ์การจัดการความเครียดสามารถลดความเสี่ยงของ PTSD ได้
  • มีวิธีรักษา PTSD หรือไม่?

      • ไม่มี “การรักษา” สำหรับ PTSD ในแง่ของการกำจัดอาการโดยสิ้นเชิง แต่การรักษาที่มีประสิทธิภาพสามารถช่วยจัดการและลดอาการได้ ช่วยให้บุคคลสามารถมีชีวิตที่สมหวังได้
  • PTSD จะแย่ลงเมื่อเวลาผ่านไปหรือไม่?

      • หากไม่มีการรักษา อาการ PTSD อาจแย่ลงเมื่อเวลาผ่านไป จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องขอความช่วยเหลือหากคุณสังเกตเห็นว่าอาการของคุณแย่ลงหรือรบกวนชีวิตประจำวันของคุณ
  • คนที่เป็นโรค PTSD สามารถทำงานและใช้ชีวิตได้ตามปกติหรือไม่?

      • ด้วยการรักษาและการสนับสนุนที่เหมาะสม ผู้ป่วย PTSD จำนวนมากสามารถมีชีวิตที่มีประสิทธิผล รักษาการจ้างงาน และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีได้
  • ยาสามารถช่วยเรื่อง PTSD ได้หรือไม่?

    • อาจมีการสั่งจ่ายยา เช่น ยาแก้ซึมเศร้าและยาแก้วิตกกังวล เพื่อจัดการกับอาการเฉพาะของ PTSD เช่น ภาวะซึมเศร้าและวิตกกังวล

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.psychiatry.org/patients-families/ptsd/what-is-ptsd
  • https://www.nimh.nih.gov/health/topics/post-traumatic-stress-disorder-ptsd/index.shtml
  • https://www.nhs.uk/mental-health/conditions/post-traumatic-stress-disorder-ptsd/overview/
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด