ภาพรวม
การผ่าฟันคุด (Wisdom tooth extraction) คือการผ่าตัดเพื่อนำเอาฟันคุดหนึ่งซี่หรือมากกว่านั้นออก -เป็นฟันแท้ที่อยู่บริเวณมุมด้านหลังของช่องปากด้านบนและด้านล่าง หากฟันคุดไม่มีพื้นที่ว่างพอให้ขึ้นมา (ฟันคุด) ส่งผลให้เกิดอาการปวด, ติดเชื้อหรือมีปัญหาเกี่ยวกับฟันอื่นๆ คุณจึงมีความจำเป็นต้องนำมันออกมา การผ่าฟันคุดต้องทำโดยทันตแพทย์หรือแพทย์ผ่าตัดทางช่องปาก เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดปัญหาในอนาคต ทันตแพทย์บางท่านอาจแนะนำให้ทำการผ่าตัดเอาฟันคุดออกเสียแม้ฟันคุดนั้นจะยังไม่ได้ก่อปัญหาก็ตามทำไมต้องผ่าฟันคุด
ฟันคุดหรือฟันกรามซี่ที่ 3 คือฟันแท้ที่งอกขึ้นมาในช่องปาก ฟันซี่นี้มักจะปรากฎออกมาให้เห็นในช่วงอายุ 17 ถึง 25 ปี บางคนอาจไม่เคยมีฟันคุดเลย แต่กับคนอื่นๆการโผล่ปะทุขึ้นมาของฟันคุดถือว่าเป็นเรื่องปกติ- ไม่ต่างกับฟันกรามซี่อื่นๆ-และไม่ใช่สาเหตุที่เป็นปัญหา คนส่วนใหญ่มักมีฟันคุดในช่องปาก-คือฟันที่ไม่มีพื้นที่ในช่องปากมากพอให้โผล่ขึ้นมาหรือขึ้นมาตามปกติได้ ฟันคุดอาจโผล่ขึ้นมาเพียงบางส่วนเท่านั้น ไม่ใช่ทั้งหมด ฟันคุดอาจโผล่ขึ้นมาได้หลายแบบเช่น:- การขึ้นทำมุมไปทางฟันกรามซี่ถัดไป (ฟันกรามซี่ที่สอง)
- การขึ้นทำมุมไปทางด้านหลังของช่องปาก
- การขึ้นทำมุมไปยังฟันซี่อื่นๆ ราวกับว่าฟันคุดนั้นกำลัง “นอน” อยู่ภายในกระดูกขากรรไกร
- การขึ้นของฟันคุดก็เหมือนกับฟันซี่อื่นๆเพียงแต่ยังติดอยู่ภายในกระดูกขากรรไกร
ปัญหาที่เกิดกับฟันคุด
คุณอาจมีความจำเป็นต้องนำเอาฟันคุดออกหากว่าส่งผลให้เกิดปัญหาเช่น:
- อาการปวด
- มีอาหารหรือเศษอาหารไปติดอยู่ด้านหลังของฟันคุด
- มีโรคเหงือกหรือโรคติดเชื้อ (โรคปริทันต์)
- เกิดฟันผุบนฟันคุดที่โผล่ขึ้นมา
- มีความเสียหายบริเวณฟันใกล้ๆหรือรอบๆกระดูก
- เกิดถุงน้ำ (ซีสต์) ขึ้นรอบๆฟันคุด
- มีภาวะแทรกซ้อนกับฟันซี่อื่นๆในการจัดฟัน
การป้องกันการเกิดปัญหากับฟันในอนาคต
ทันตแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญไม่เห็นด้วยกับเรื่องการผ่าฟันคุดซี่ที่ไม่ได้ก่อปัญหา (แบบไม่แสดงอาการ) จึงเป็นเรื่องยากที่จะคาดเดาถึงปัญหาในอนาคตกับฟันคุด แต่อย่างไรก็ตามนี่คือเหตุผลที่ควรผ่าฟันคุดออกเพื่อเป็นการป้องกันไว้ก่อน- ฟันคุดยังเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคอยู่แม้จะไม่แสดงอาการก็ตาม
- หากไม่มีเนื้อที่พอให้ฟันคุดขึ้นมา มันจึงเป็นยากที่จะเข้าถึงและทำความสะอาดได้อย่างเหมาะสม
- ภาวะแทรกซ้อนของฟันคุดมักเกิดขึ้นได้น้อยในวัยหนุ่มสาว
- วัยผู้ใหญ่อาจประสบความยุ่งยากในการผ่าตัดและอาจมีภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดได้ (Older adults may experience difficulty with surgery and complications after surgery)
ความเสี่ยง
การผ่าฟันคุดส่วนใหญ่มักไม่ค่อยมีภาวะแทรกซ้อนในระยะยาว แต่อย่างไรก็ดีการนำเอาฟัดคุดออกจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดด้วยการกรีดเข้าไปที่เนื้อเยื่อเหงือกและนำเอากระดูกฟันออกมา ซึ่งอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้แต่พบได้ไม่บ่อยมากนัก คือ:- มีอาการปวดที่เบ้าฟัน หรือกระดูกได้รับเชื้อเมื่อเกิดลิ่มเลือดหลังการผ่าตัดในบริเวณแผลผ่าตัด (เบ้าฟัน)
- มีการติดเชื้อในเบ้าฟันจากเชื้อแบคทีเรียหรือจากเศษอาหารที่เข้าไปติดค้าง
- ฟันซี่ข้างเคียง, เส้ยประสาท, ขากรรไกรหรือโพรงจมูกเกิดความเสียหาย
ควรเตรียมตัวอย่างไร
ทันตแพทย์ของคุณอาจทำการผ่าตัดในที่ทำงาน แต่หากพบว่าฟันคุดของผู้ป่วยอยู่ลึกอาจจำเป็นต้องใช้การผ่าตัดที่มีความละเอียดมาก ทันตแพทย์อาจแนะนำให้ไปพบแพทย์ทางด้านการผ่าตัดช่องปากโดยเฉพาะ นอกจากนั้นยังต้องทำให้เกิดอาการชาด้วยยาชาเสียก่อน แพทย์อาจแนะนำยากล่อมประสาทเพื่อทำให้คนไข้รู้สึกสบายมากขึ้นในระหว่างการผ่าตัดคำถามที่ควรถาม
ต่อไปนี้คือคำถามที่คุณควรถามทันตแพทย์หรือแพทย์ผ่าตัดของคุณคือ:- มีฟันคุดกี่ซี่ที่ต้องเอาออกไป?
- ได้รับยาชารูปแบบไหน?
- มีภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดอะไรได้บ้าง?
- การผ่าตัดใช้เวลานานแค่ไหนฟันคุดนั้นๆทำให้ฟันซี่อื่นๆเสียหายด้วยไหม?
- ฟันคุดที่มีทำความเสียหายให้กับฟันซี่อื่นๆหรือไม่?
- มีความเสี่ยงให้เกิดความเสียหายต่อเส้นประสาทหรือไม่?
- มีการรักษาเกี่ยวกับฟันอื่นๆอีกบ้างไหมที่เราควรต้องมาทำวันหลัง?
- ต้องใช้เวลาในการรักษานานแค่ไหนกว่าจะสามารถกลับไปทำกิจกรรมได้ตามปกติ?
การเตรียมตัวผ่าตัด
การผ่าฟันคุดส่วนใหญ่มักเป็นการผ่าตัดแบบคนไข้นอก ซึ่งนั่นหมายความว่าสามารถกลับบ้านได้ในวันเดียวกัน คุณควรได้รับคำแนะนำจากโรงพยาบาลหรือคลีนิคทำฟันถึงสิ่งที่ควรทำก่อนการผ่าตัด และในวันผ่าตัดควรถามคำถามต่างๆเหล่านี้:- มีความจำเป็นต้องมีคนขับรถพากลับบ้านหลังการผ่าตัดหรือไม่?
- ควรมาถึงโรงพยาบาลหรือคลีนิคเมื่อไร?
- ควรหลีกเลี่ยงอาหารหรือเครื่องดื่มหรือทั้งคู่หรือไม่ ถ้าต้องอดอาหารควรเริ่มเมื่อไร?
- ต้องมียาสั่งให้รับประทานก่อนการผ่าตัดหรือไม่ ถ้ามี ควรเริ่มทานก่อนการผ่าตัดเมื่อไร?
- ควรงดยาที่แพทย์ไม่ได้สั่งก่อนการผ่าตัดหรือไม่y?
สิ่งที่ควรคาดหวัง
ในระหว่างการผ่าตัดถอนฟันคุด
ทันตแพทย์หรือแพทย์ที่รับผิดชอบการผ่าตัดของคุณอาจใช้ยาชาหนึ่งในสามอย่างดังต่อไปนี้ ขึ้นอยู่กับฟันคุดที่ตั้งใจเอาออกและระดับความสบาย ทางเลือกมีดังต่อไปนี้:- การให้ยาชาเฉพาะที่ ทันตแพทย์หรือแพทย์ผ่าตัดช่องปากอาจฉีดยาชาหนึ่งเข็มหรือมากกว่านั้นในบริเวณใกล้ๆฟันคุดแต่ละซี่ ก่อนที่จะได้รับการฉีดยาชา ทันตแพทย์จะป้ายยาชาลงที่บริเวณเหงือกเพื่อทำให้เกิดอาการชาเสียก่อน คุณจะตื่นอยู่ตลอดเวลาในระหว่างการผ่าตัด คุณจะรู้สึกถึงแรงกดและการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา แต่คุณไม่ควรรู้สึกเจ็บ
- การให้ยาระงับความรู้สึกแบบกล่อมประสาท ทันตแพทย์หรือแพทย์ผ่าตัดช่องปากจะจ่ายยาระงับความรู้สึกผ่านทางหลอดเลือดดำเข้าที่หน้าแขน ยาระงับความรู้สึกจะไปกดความรู้สึกในระหว่างการผ่าตัด คุณจะไม่รู้สึกทุกความเจ็บปวดและอาจรู้สึกสลึมสลือจำอะไรไม่ค่อยได้ในระหว่างผ่าตัด คุณอาจได้รับยาชาเฉพาะที่เพื่อทำให้เหงือกมีอาการชาด้วย
- การให้ยาระงับความรู้สึกแบบทั่วตัว ในบางสถานการณ์คุณอาจได้รับข้อเสนอให้ใช้ยาระงับความรู้สึกแบบทั่วตัว คุณอาจใช้วิธีดมยาผ่านทางจมูกหรืออาจผ่านทางหลอดเลือดดำทางหน้าแขน หรือทั้งคู่ จากนั้นคุณก็จะหมดสติ ทีมผ่าตัดจะเฝ้าติดตามดูอาการ, การหายใจ,อุณหภูมิ,และความดันเลือดอย่างใกล้ชิด คุณจะไม่รู้สึกถึงการเจ็บปวดใดๆและจำเรื่องการผ่าตัดไม่ได้เลย อาจมีการยาชาเฉพาะที่ร่วมด้วยเพื่อช่วยให้รู้สึกสบายหลังการผ่าตัด
- จะกรีดแผลเล็กๆที่บริเวณเหงือกเพื่อเปิดให้เห็นฟันและกระดูกด้านใน
- ย้ายชิ้นส่วนกระดูกที่กีดขวางการเข้าถึงรากฟัน
- แบ่งฟันออกเป็นส่วนๆหากพบว่าทำให้ง่ายต่อการนำออกมา
- นำฟันคุดออกมา
- ทำความสะอาดบริเวณเบ้าฟันที่นำฟันคุดหรือกระดูกออกมา
- เย็บปิดแผลเพื่อช่วยสมานแผล
- วางแผ่นผ้าก็อซทับบริเวณที่ถอนเพื่อควบคุมเลือดที่ไหลออกมาและช่วยป้องกันการเกิดลิ่มเลือด
หลังการผ่าตัด
หากคุณได้รับยาระงับความรู้สึกชนิดกล่อมประสาทหรือยาระงับความรู้สึกชนิดแบบทั้งตัว คุณอาจต้องพักในห้องรอดูอาการหลังการผ่าตัดก่อน หากคุณใช้เพียงยาชาเฉพาะที่คุณสามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วบนเก้าอี้ทำฟันได้เลย เพื่อการดูแลหลังการผ่าตัด ทันตแพทย์อาจให้คำแนะนำดังต่อไปนี้:- เลือดไหล อาจมีเลือดซึมออกมาในวันแรกหลังผ่าเอาฟันคุดออกมา พยายามหลีกเลี่ยงการบ้วนน้ำลายบ่อยๆเพื่อจะได้ไม่ทำให้เลือดออกมาจากเบ้าฟัน เปลี่ยนแผ่นผ้าก็อซที่ปิดทับบริเวณมี่ผ่าฟันคุดออก
- การจัดการกับอาการปวด คุณสามารถจัดการอาการปวดด้วยยาบรรเทาอาการปวดที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านยาทั่วไปได้ เช่น ยาอะเซตามีโนเฟน (ไทลินอลและอื่นๆ) หรือยาแก้ปวดตามใบสั่งแพทย์ ซึ่งแพทย์อาจต้องสั่งจ่ายยาดังกล่าวเป็นพิเศษโดยเฉพาะเพื่อช่วยหากมีการนำเอากระดูกออกในระหว่างการผ่าตัด การประคบเย็นบริเวณกรามก็สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดได้
- อาการบวมและฟกช้ำ ใช้การประคบเย็นตรงบริเวณที่ผ่า อาการบวมที่บริเวณแก้มจะดีขึ้นภายในสองถึงสามวัน รอยฟกช้ำอาจใช้เวลามากกว่าหลายวัน
- การทำกิจกรรม หลังการผ่าตัด ควรวางแผนการพักผ่อนในวันที่ทำการผ่าตัด และเริ่มกลับไปทำกิจกรรมตามปกติในวันถัดมา แต่อย่างน้อยควรหลีกเลี่ยงอย่างต่ำหนึ่งสัปดาห์สำหรับกิจกรรมที่มีความรุนแรง ที่อาจส่งผลทำให้เลิอดออกจากเบ้าฟันได้อีก
- เครื่องดื่ม. ควรดื่มน้ำเยอะๆหลังการผ่าตัด ไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์, คาเฟอีน, โซดาหรือเครื่องดื่มร้อนใน 24 ชั่วโมงแรกหลังผ่าตัด ไม่ควรดื่มน้ำผ่านหลอดดูดอย่างน้อยหนึ่งสัปดาห์เพราะการดูดทำให้เลือดออกจากเบ้าฟันได้
- อาหาร ควรรับประทานอาหารนิ่มๆเท่านั้น เช่น โยเกิร์ตหรือซอสแอปเปิ้ล ใน 24 ชั่วโมงแรกหลังผ่าตัด และเริ่มรับประทานอาหารกึ่งนุ่มเมื่อเริ่มทานอาหารไหว หลีกเลี่ยงอาหารแข็ง,อาหารที่ต้องเคี้ยว, อาหารร้อนหรือเผ็ดที่อาจเข้าไปติดค้างอยู่ในเบ้าฟันหรือแผลผ่าตัด
- การทำความสะอาดฟัน ยังไม่ควรแปรงฟัน ให้อมกลั้วปากและบ้วนออก หรือใช้น้ำยาบ้วนปากในระหว่าง 24 ชั่วโมงแรกหลังการผ่าตัด สามารถกลับมาแปรงฟันได้อีกครั้งหลังผ่านไป 24 ชั่วโมง ควรเบามือในบริเวณใกล้แผลผ่าตัดเมื่อแปรงฟัน และควรบ้วนปากด้วยน้ำอุ่นผสมเกลือทุกๆสองชั่วโมงและหลังมื้ออาหารเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์
- การสูบบุหรี่ การคุณสูบบุหรี่ ควรงดอย่างน้อย 72 ชั่วโมงหลังการผ่าตัด-และอาจคอยนานกว่านั้นหากเป็นไปได้ หากคุณเคี้ยวใบยาสูบ ควรงดอย่างน้อยหนึ่งสัปดาห์ การสูบบุหรี่หลังการผ่าตัดอาจทำให้แผลหายช้าและเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้
- รอยเย็บ คุณอาจมีรอบเย็บแบบไหมละลายที่อาจหายได้เองภายใน สองสามสัปดาห์หรือไม่มีรอยเย็บเลย หากรอยเย็บมีความจำเป็นต้องต้องไปตัดออก แพทย์จะนัดวันในการตัดไหมเอง
ควรโทรหาทันตแพทย์หรือแพทย์ผ่าตัดเมื่อไร
ควรโทรหาทันตแพทย์หรือแพทย์ผ่าตัดช่องปากของคุณหากพบว่ามีสํญญานหรืออาการที่อาจแสดงว่ากำลังติดเชื้อ, เส้นประสาทเสียหายหรือมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรงอื่นๆเช่น:- การกลืนหรือการหายใจลำบาก
- มีเลือดออกมากเกินไป
- มีไข้
- มีอาการปวดรุนแรงและไม่บรรเทาแม้จะรับประทานยาแก้ปวดแล้วก็ตาม
- มีอาการบวมแย่ลงหลังจากผ่านไปแล้วสองถึงสามวัน
- รสชาติในปากแย่และไม่หายแม้จะบ้วนปากด้วยน้ำเกลือแล้วก็ตาม
- มีหนองหรือของเหลวไหลซึมออกมาจากเบ้าฟัน
- ยังมีอาการชาหรือไม่มีความรู้สึกหลงเหลืออยู่
- มีเลือดหรือหนองในน้ำมูก
ผลลัพธ์
คุณอาจไม่มีความจำเป็นต้องไปตามนัดอีกหลังการผ่าตัดฟันคุดถ้า:- ไม่มีไหมเย็บต้องไปตัดออก
- ไม่มีอาการแทรกซ้อนเกิดขึ้นในระหว่างการผ่าตัด
- คุณไม่มีอาการใดๆ เช่นอาการปวด, บวม, ชา,หรือเลือดออก-คือภาวะแทรกซ้อนที่อาจแสดงว่ากำลังมีการติดเชื้อ, เส้นประสาทเสียหายหรือปัญหาอื่นๆ
อาหารที่แนะนำหลังจากการผ่าฟัน
หลังจากการถอนฟันคุดแล้ว จำเป็นต้องรับประทานอาหารอ่อนๆ และมีคุณค่าทางโภชนาการเพื่อส่งเสริมการรักษาและลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อน ต่อไปนี้เป็นแนวทางการบริโภคอาหารและคำแนะนำด้านอาหารสำหรับวันหลังการถอนฟันคุด:- อาหารอ่อนและผสม:ในวันหลังการผ่าตัดให้เน้นอาหารอ่อนและผสมที่กินง่ายโดยไม่ต้องเคี้ยว อาหารเหล่านี้ช่วยป้องกันการระคายเคืองหรือการบาดเจ็บบริเวณที่ทำการผ่าตัด
- อาหารเย็น:อาหารเย็นสามารถช่วยลดอาการบวมและบรรเทาอาการได้ ลองทานอาหารอย่างโยเกิร์ตเย็น ไอศกรีม และสมูทตี้
- ดื่มน้ำให้มาก:การคงความชุ่มชื้นเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการรักษา ดื่มน้ำปริมาณมาก แต่หลีกเลี่ยงการใช้หลอดดูด เนื่องจากการดูดอาจทำให้ลิ่มเลือดหลุดออกไปและทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนได้
- หลีกเลี่ยงอาหารรสเผ็ดและเป็นกรด:อาหารรสเผ็ดและเป็นกรดอาจทำให้บริเวณที่ผ่าตัดระคายเคืองและทำให้กระบวนการหายช้าลง หลีกเลี่ยงสิ่งของต่างๆ เช่น ซอสเผ็ด ผลไม้รสเปรี้ยว และมะเขือเทศ
- อาหารที่อุดมด้วยโปรตีน:โปรตีนเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ รวมแหล่งโปรตีน เช่น โยเกิร์ต พุดดิ้ง ไข่คน และชีสเนื้อนิ่ม
- ผักปรุงสุกและบด:ผักปรุงสุกและบด เช่น มันฝรั่ง มันเทศ และแครอท มีคุณค่าทางโภชนาการและบริโภคง่าย
- ซอสแอปเปิ้ล:ซอสแอปเปิ้ลไม่หวานเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับการเพิ่มสารอาหารและเส้นใยโดยไม่จำเป็นต้องเคี้ยว
- ข้าวโอ๊ตหรือครีมข้าวสาลี:ธัญพืชเหล่านี้สามารถทำให้นิ่มลงได้ด้วยนมหรือน้ำ และเป็นแหล่งพลังงานที่ดี
- คอทเทจชีส:คอทเทจชีสเป็นตัวเลือกที่อุดมด้วยโปรตีนและมีเนื้อสัมผัสที่อ่อนนุ่ม
- ซุปที่ใช้น้ำซุป:ซุปใสที่ใช้น้ำซุป เช่น ซุปไก่หรือซุปผัก สามารถให้สารอาหารที่จำเป็นและให้ความชุ่มชื้นได้
- พุดดิ้งและเจลาติน:ของหวานเหล่านี้กลืนง่ายและช่วยให้ผ่อนคลายได้
- หลีกเลี่ยงอาหารแข็งหรือกรุบกรอบ:อยู่ห่างจากอาหารที่แข็งหรือต้องเคี้ยวมาก เช่น ถั่ว เมล็ดพืช มันฝรั่งทอด และป๊อปคอร์น
- ค่อยๆ เปลี่ยนไปรับประทานอาหารแข็ง:เมื่อคุณหายดีแล้ว ให้ค่อยๆ เปลี่ยนไปรับประทานอาหารตามปกติมากขึ้น เริ่มต้นด้วยอาหารแข็งที่นิ่มกว่า เช่น พาสต้าปรุงสุก มันบด และผลไม้เนื้ออ่อน และรับประทานอาหารตามปกติตามคำแนะนำของศัลยแพทย์ช่องปากหรือทันตแพทย์
- ปฏิบัติตามคำแนะนำหลังการผ่าตัด:อย่าลืมปฏิบัติตามคำแนะนำหลังการผ่าตัดของศัลยแพทย์ช่องปากหรือทันตแพทย์เกี่ยวกับการรับประทานอาหาร ยา และสุขอนามัยในช่องปาก
- หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์และบุหรี่:งดผลิตภัณฑ์แอลกอฮอล์และบุหรี่ในระหว่างกระบวนการบำบัด เนื่องจากอาจทำให้การรักษาล่าช้าและเพิ่มความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนได้
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
- https://www.mayoclinic.org/tests-procedures/wisdom-tooth-extraction/about/pac-20395268
- https://www.nhs.uk/conditions/wisdom-tooth-removal/what-happens/
- https://www.webmd.com/oral-health/wisdom-teeth-adult
- https://www.medicalnewstoday.com/articles/321657
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น