เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการอุดฟัน (Facts About Dental Fillings)

การอุดฟัน

การอุดฟันเป็นหนึ่งในการทำฟันพื้นฐาน โดยเป็นการซ่อมแซมฟันที่ผุหรือถูกทำลาย ถือว่าเป็นการทำฟันที่ไม่ค่อยเจ็บปวดเท่าไรและใช้เวลาไม่นาน ในสหรัฐฯมักพบว่าผู้คนมีภาวะฟันผุ จากข้อมูลของสถาบันสุขภาพแห่งชาติ (National Institutes of Health) รายงานว่าประมาณร้อยละ 92 ของชาวอเมริกันอายุ 20 – 64 ปี มีฟันผุ การอุดฟันจึงช่วยป้องกันการผุเพิ่มเติม และยังคงหน้าที่ของฟันให้เป็นปกติ ภายในบทความนี้เราจะเสนอข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นหากคุณต้องเข้ารับการอุดฟัน ส่วนใหญ่ใช้อะไรเป็นวัสดุอุดฟัน และระยะเวลาในการขึ้นรูปและหายกลับเป็นปกติภายหลังการอุดฟัน

สิ่งที่คาดหวัง

การอุดฟันเป็นการทำฟันที่ทำกันทั่วไป เมื่อแรกเริ่มหมอฟันจะทำการตรวจช่องปาก และใช้เครื่องมือในการตรวจหาฟันผุ พวกเขาอาจทำการ X-Ray ฟันเพื่อให้เห็นความเสียหายของฟันทั้งหมด คุณอาจถูกฉีดยาชาเฉพาะจุดบริเวณเหงือก เพื่อช่วยป้องกันการเจ็บปวด หากคุณหมออุดฟันเฉพาะส่วนผิวฟันคุณอาจไม่จำเป็นต้องใช้ยาชา  เมื่อบริเวณนั้นชาแล้ว หมอฟันจะใช้อุปกรณ์ลักษณะคล้ายสว่าน เจาะผ่านชั้นเคลือบฟันเพื่อเอาส่วนที่ผุออก คุณหมอบางท่านอาจใช้เลเซอร์ หรือเครื่องขัดอากาศในการเจาะ แต่ไม่ค่อยนิยมใช้ จากนั้น คุณหมอจะทำการฆ่าเชื้อ และเตรียมพื่นที่สำหรับการอุดฟัน และก็อุดรู วัสดุอุดฟันบางชนิดจะถูกทำให้แข็ง หรือแห้งด้วยแสงสีฟ้า สุดท้าย หมอฟันจะขัดฟัน และตรวจดูว่าการสบฟันถูกต้องหรือไม่ หากยาชาหมดฤทธิ์ คุณจะรู้สึกปวดฟันเล็กน้อย หรือรู้สีกเสียวฟันหลังการอุดฟัน แต่จะไม่มีอาการปวดใดๆ ให้หลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่ร้อนหรือเย็นจัดภายหลังอุดฟัน 1-2 วันแรก แต่ส่วนใหญ่ก็สามารถทานได้ตามปกติ

การอุดฟันใช้เวลานานแค่ไหน  

โดยทั่วไปการอุดฟันจะใช้เวลาประมาณหนึ่งชั่วโมง หรือน้อยกว่านั้น ปกติการอุดฟันจะใช้เวลาประมาณ 20 นาที สำหรับการอุดฟันขนาดใหญ่ หรืออุดหลายจุดก็อาจใช้เวลานานหน่อย นอกจากนี้ ระยะเวลาในการอุดฟันก็ขึ้นอยู่กับวัสดุอุดฟันที่ใช้ อาจต้องใช้เวลานานขึ้น หรือต้องกลับมาพบแพทย์อีกครั้ง ตัวอย่างเช่น: 
  • วัสดุอุดฟันที่ทำจากเรซินจะใช้เวลานานในการอุดฟัน แต่ทำเสร็จภายในครั้งเดียว
  • วัสดุอุดฟันที่ต้องใช้การผสมกันของวัสดุนั้นๆ อาจต้องนัดมาพบเพื่ออุดฟันอีกครั้งต่อไป
  • การใช้ทองหรือพอร์ซเลนในการอุดฟัน อาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การฝัง มักไม่เสร็จภายในครั้งแรก ต้องมีการนัดมาพบแพทย์อีก โดยในขั้นตอนแรกจะเป็นการเคลียฟันผุให้เรียบร้อย และทำการพิมพ์ฟัน เพื่อส่งไปที่ห้องปฏิบัติการในการสร้างวัสดุอุดฟัน พอมาพบหมอฟันครั้งถัดไปก็จะเป็นการมาใส่วัสดุอุดฟันก้เป็นอันเสร็จ
ส่วนในการซ่อมแซม หรือการเปลี่ยนที่อุดฟัน ก็จะใช้เวลาพอๆกับการอุดฟันครั้งแรก หรืออาจจะนานกว่าเพราะต้องนำเอาวัสดุอุดฟันเก่าออกก่อนจากนั้นทำความสะอาดแล้วก็ใส่วัสดุอุดฟันใหม่ลงไป

วัสดุอุดฟันประเภทต่างๆมีอะไรบ้าง 

คุณหมอฟันจะพูดถึงความแตกต่างของวัสดุที่สามารถนำมาอุดฟัน โดยที่นิยมกันส่วนใหญ่ได้แก่: 
  • วัสดุอุดฟันสีเงิน เป็นอมัลกัมโลหะ ซึ่งเป็นการผสมกันระหว่างปรอท, ดีบุก, เงิน และทองแดง โดยวัสดุดังกล่าวมีความทนทานมากกว่าวัสดุอุดฟันสีเหมือนฟัน และมีราคาไม่แพงเมื่อเทียบกับวัสดุอื่นๆ บางคนอาจกังวลเกี่ยวกับปริมาณสารปรอท แต่ผู้เชี่ยวชาญไม่พบหลักฐานทางคลินิกว่าการอุดฟันด้วยอมัลกัมเป็นอันตราย แม้ว่าจะถูกเอาออกไปแล้วก็ตาม
  • วัสดุอุดฟันสีเหมือนฟัน (Composites) เป็นการผสมกันระหว่างแก้ว หรืออนุภาคของควอตซ์ และเรซินอะคริลิก เหล่านี้เป็นวัสดุที่มีความทนทาน และราคาสูงกว่าโลหะอมัลกัมเล็กน้อย
  • วัสดุอุดฟันสีทอง เป็นการผสมกันระหว่างทอง, ทองแดง และวัสดุอื่นๆที่มีความทนทาน แต่มีราคาสูง วัสดุเหล่านี้ทำให้ดูไม่เป็นธรรมชาติ วัสดุอุดฟันสีทองมักทำในห้องปฏิบัติการหลักจากที่ทันตแพทย์ได้พิมพ์ฟันของคุณมาเรียบร้อยแล้ว
  • วัสดุอุดฟันแก้วไอโอโนเมอร์ วัสดุอุดฟันนี้จะมีสีเช่นเดียวกับฟัน แต่ไม่ทนทานเท่าวัสดุอุดฟันสีเหมือนฟัน โดยทำมาจากอะครีลิก และแก้วที่มีส่วนประกอบของฟลูออไรด์ที่สามารถป้องกันฟันผุ วัสดุอุดฟันชนิดนี้มักถูกใช้ในเด็ก และมีราคาสูงกว่าการอุดฟันด้วยอมัลกัม
  • วัสดุอุดฟันพอร์ซเลน วัสดุอุดฟันชนิดนี้มีราคาแพงพอๆกับวัสดุอุดฟันสีทอง แต่ดูเป็นธรรมชาติ โดยถูกทำในห้องปฏิบัติการหลักจากที่ทันตแพทย์ได้พิมพ์ฟันของคุณมาเรียบร้อยแล้ว
มีรายงานจาก Kenneth Rothschild, DDS ซึ่งเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ทางทันตกรรมกว่า 40 ปี กว่าว่าได้มีการนำเอาพลาสติกมาทำเป็นวัสดุอุดฟันสีเหมือนฟันแล้วประสบผลสำเร็จมากขึ้นในช่วยไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา เนื่องจากตัววัสดุมีความแข็งแรงมากขึ้น มีหลากหลายสี และมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าที่คาดไว้ “วัสดุอุดฟันสีเหมือนฟันไม่ได้ถูกเอามาใช้แค่อุดฟันเพียงอย่างเดียว แต่ถูกนำมาใช้กับกราม และลิ้นหัวใจ” เขากล่าวFacts About Dental Fillings

ใช้เวลานานแค่ไหนในการขึ้นรูปของการอุดฟัน 

การขึ้นรูปของฟันที่พึ่งได้รับการอุดมาขึ้นอยู่กับวัสดุอุดฟันที่ทันตแพทย์ใช้ มีรายงานของ Rothschild ว่าวัสดุอุดฟันอมัลกัมจะขึ้นรูปอย่างรวดเร็วภายใน 1 ชม. และแข็งแรงเต็มที่ใน 24 ชม. หากอุดฟันด้วยวัสดุชนิดนี้ ให้หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีลักษณะแข็งระหว่างรอวัสดุอุดฟันขึ้นรูปสมบูรณ์ ส่วนวัสดุอุดฟันสีเหมือนฟัน และแก้วไอโอโนเมอร์มักใช้แสงช่วยในการขึ้นรูป โดยความหนาของวัสดุอุดฟันประมาณ 1-2 มม.ต่อชั้น Rothschild กล่าวว่าจะใช้เวลาประมาณ 2-20 วินาทีต่อชั้น วัสดุอุดฟันที่ทำจากเซรามิกจะขึ้นรูปทันทีด้วยคลื่นแสงสีฟ้าทางทันตกรรม 

เมื่อไหร่จะหายกลับเป็นปกติหลังจากอุดฟัน 

การอุดฟันส่วนใหญ่หายเร็วโดยที่ไม่มีปัญหาตามมา หลังจากยาที่ชาหมดฤทธิ์ คุณจะรู้สึกเสียวฟันเล็กน้อย แต่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้แล้วก็จะหายไปภายในไม่กี่วัน “วัสดุอุดฟันที่เป็นโลหะ เช่น อมัลกัมและทอง มักมีช่วงที่เสียวฟันต่อความเย็นภายหลังการผ่าตัดประมาณ 2-3 วัน หรือหลายสัปดาห์,” Rothschild กล่าว “ซึ่งอาการเหล่านี้เกิดได้น้อยมากเมื่อเทียบกับวัสดุอุดฟันสีเหมือนฟัน หรือแก้วไอโอโนเมอร์” คุณสามารถลดการเสียวฟันด้วย:
  • ใช้ฟันอีกข้างในการเคี้ยวแทนข้างที่พึ่งทำการอุดฟันมา ในช่วงสองวันแรก
  • ใช้แปรงฟันและไหมขัดฟันอย่างเบามือกว่าปกติบริเวณที่พึ่งทำการอุดฟัน
  • หลีกเลี่ยงอาหาร และเครื่องดื่มที่ร้อนหรือเย็นจัด
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่เป็นกรด
  • ใช้ยาสีฟันที่ลดอาการเสียวฟัน
  • รับประทานยาต้านการอักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอย (Nonsteroidal Anti-Inflammatory Drug :NSAID)
แจ้งให้ทันตแพทย์ทราบ หากคุณเคี้ยวไม่ได้ รู้สึกเจ็บปวดยาวนาน หรือเสียวฟัน คุณหมอจะประเมินพื้นผิวที่อุดฟันเพื่อให้การเคี้ยวของคุณดีขึ้น  

การอุดฟันมีอายุในการใช้งานนานเท่าไร 

อายุงานของฟันที่อุดขึ้นอยู่กับสุขอนามัยในช่องปากของคุณ การหมั่นดูแลช่องปากจะสามารถยืดอายุการใช้งานออกไปได้ และป้องกันการเกิดฟันผุใหม่ อายุการใช้งานของการอุดฟันแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับวัสดุอุดฟันที่ใช้ วัสดุอุดฟันมีอายุการใช้งานที่แตกต่างกันไป และก็แตกต่างกันในแต่ละคน โดยทั่วไปอายุการใช้งานประมาณ:
  • วัสดุอุดฟันอมัลกัม อายุการใช้งานประมาณ 5 – 25 ปี
  • วัสดุอุดฟันสีเหมือนฟัน อายุการใช้งานประมาณ 5 – 15 ปี
  • วัสดุอุดฟันสีทอง อายุการใช้งานประมาณ 15 – 20 ปี

จะรู้ได้อย่างไรว่าถึงเวลาที่ต้องไปอุดฟัน?

ควรไปพบทันตแพทย์เป็นประจำเพื่อตรวจสุขภาพฟันของคุณ หากเจอฟันผุก็จะได้รีบรักษาล่วงหน้า เพราะยิ่งเร็วยิ่งดีต่อฟันของคุณ โพรงที่เกิดจากฟันผุจะได้ไม่ทำลายเนื้อฟันมาก สัญญาณเตือนของปัญหาฟันผุ ได้แก่: 
  • อาการเสียวฟันเมื่อทานอาหาร หรือดื่มเครื่องดื่มที่ร้อนหรือเย็นจัด
  • อาการเสียวฟันเมื่อทานอาหาร หรือดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล
  • ปวดฟัน
  • มีรูหรือจุดเล็กที่ฟัน
  • มีคราบฟัน ไม่ว่าจะเป็นสีขาวหรือสีเข้ม
หากสงสัยว่ามีฟันผุ ให้หาหมอฟันเพื่อความมั่นใจ พวกเขาสามารถบอกได้ว่าคุณควรจะอุดฟัน หรือทำการรักษาอย่างไร

การดูแลฟันที่อุด

การดูแลวัสดุอุดฟันถือเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้มีอายุยืนยาวและรักษาสุขภาพช่องปากที่ดี คำแนะนำในการดูแลวัสดุอุดฟันมีดังนี้
  • ปฏิบัติตามสุขอนามัยช่องปากที่ดี:
      • แปรงฟันอย่างน้อยวันละสองครั้งด้วยยาสีฟันฟลูออไรด์ ใช้แปรงสีฟันขนนุ่มและอ่อนโยนบริเวณที่แปรงอยู่ มั่นใจในการทำความสะอาดพื้นผิวฟันทั้งหมดอย่างทั่วถึง
  • ใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำ:
      • ใช้ไหมขัดฟันวันละครั้งเพื่อขจัดคราบจุลินทรีย์และเศษซากระหว่างฟัน การใช้ไหมขัดฟันช่วยป้องกันฟันผุและโรคเหงือกบริเวณรอบๆ และใต้ไส้ฟัน
  • ใช้น้ำยาบ้วนปากน้ำยาฆ่าเชื้อ:
      • บ้วนปากด้วยน้ำยาบ้วนปากฆ่าเชื้อหรือฟลูออไรด์เพื่อช่วยลดแบคทีเรียและทำให้ฟันแข็งแรง เลือกน้ำยาบ้วนปากที่ไม่มีแอลกอฮอล์หากคุณกังวลเรื่องการแพ้
  • อย่าใช้ฟันในทางที่ไม่เหมาะ:
      • หลีกเลี่ยงการใช้ฟันทำกิจกรรมต่างๆ เช่น การเปิดขวด ฉีกบรรจุภัณฑ์ หรือกัดวัตถุแข็ง การใช้แรงมากเกินไปอาจทำให้วัสดุอุดเสียหายและทำให้เกิดการแตกร้าวหรือแตกหักได้
  • คำนึงถึงการบดและการกัด:
      • หากคุณกัดหรือกัดฟัน ให้ลองใช้ยามกลางคืน การเจียรอาจทำให้วัสดุอุดสึกกร่อนและทำให้เกิดความเสียหายก่อนเวลาอันควร
  • จำกัดอาหารและเครื่องดื่มที่เป็นกรด:
      • ลดการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มที่เป็นกรด เช่น น้ำอัดลม ผลไม้รสเปรี้ยว และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากน้ำส้มสายชู สารที่เป็นกรดอาจทำให้เคลือบฟันอ่อนแอลงและส่งผลให้ฟันผุได้
  • หมั่นตรวจสุขภาพฟันเป็นประจำ:
      • ไปพบทันตแพทย์เป็นประจำเพื่อตรวจสุขภาพและทำความสะอาด การตรวจสุขภาพฟันเป็นประจำจะช่วยระบุปัญหาใดๆ เกี่ยวกับการอุดฟันที่มีอยู่และช่วยให้สามารถเข้ารับการรักษาได้ตั้งแต่เนิ่นๆ
  • สังเกตสัญญาณของปัญหา:
      • ระมัดระวังสัญญาณของปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับการอุดฟัน รวมถึงอาการเสียวฟัน ความเจ็บปวด หรือขอบขรุขระ หากคุณสังเกตเห็นสิ่งผิดปกติ โปรดติดต่อทันตแพทย์ของคุณทันที
  • รักษาความชุ่มชื้น:
      • ดื่มน้ำปริมาณมากตลอดทั้งวัน น้ำช่วยต่อต้านกรดในปากและส่งเสริมการผลิตน้ำลายซึ่งจำเป็นต่อสุขภาพช่องปาก
  • ปฏิบัติตามแนวทางการบริโภคอาหาร:
      • รับประทานอาหารที่สมดุลซึ่งอุดมไปด้วยสารอาหาร โดยเฉพาะแคลเซียมและวิตามินดี เพื่อสนับสนุนสุขภาพช่องปากโดยรวมและความแข็งแรงของโครงสร้างฟัน
  • ระบุอาการเสียวฟัน:
      • หากคุณรู้สึกไวต่อการอุดฟัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อสิ่งเร้าที่ร้อนหรือเย็น ให้แจ้งทันตแพทย์ของคุณ อาการเสียวฟันอาจบ่งบอกถึงปัญหาเกี่ยวกับการอุดฟันหรือฟัน
  • เลิกสูบบุหรี่:
    • หากคุณสูบบุหรี่ ควรพิจารณาเลิกบุหรี่ การสูบบุหรี่อาจทำให้เกิดโรคเหงือก ความเสื่อม และปัญหาสุขภาพช่องปากโดยรวมได้
โปรดจำไว้ว่าการอุดฟันนั้นมีอายุการใช้งาน และอาจจำเป็นต้องเปลี่ยนหรือซ่อมแซมเมื่อเวลาผ่านไป การตรวจสุขภาพฟันเป็นประจำถือเป็นสิ่งสำคัญในการติดตามสภาพการอุดฟันของคุณและแก้ไขข้อกังวลต่างๆ อย่างทันท่วงที หากคุณมีคำถามหรือข้อกังวลเกี่ยวกับการอุดฟันของคุณ โปรดปรึกษาทันตแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเฉพาะบุคคลตามความต้องการด้านสุขภาพช่องปากของคุณ

ส่งท้าย

การอุดฟันเป็นเรื่องปกติมาก และไม่ค่อยเจ็บเท่าไหร่ ซึ่งหัตถการดังกล่าวมักใช้เวลาโดยทั่วไปประมาณหนึ่งชั่วโมงกรณีไม่มีภาวะแทรกซ้อน สอบถามทันตแพทย์ถึงข้อดีข้อเสียของวัสดุอุดฟันสำหรับฟันของคุณ อีกทั้งคุณหมอยังจะแนะนำวิธีที่ดีที่สุดในการดูแลฟันที่อุดของคุณให้อีดด้วย หากคุณมีประกันทันตกรรม ให้ตรวจสอบว่าประกันครอบคลุมวัสดุอุดฟันชนิดใดบ้าง ซึ่งประกันของคุณอาจจะไม่ครอบคลุมวัสดุอุดฟันที่ราคาแพง การรักษาสุขอนามัยภายในช่องปาก จะทำให้ฟันที่พึ่งอุดมากอยู่ได้ยาวนานหลายปี 
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด