ปวดประสาท (Neuropathic Pain) : สาเหตุ อาการ วิธีการรักษา

อาการปวดประสาท (Neuropathic Pain) คือ อาการปวดเรื้อรัง โดยเกิดจากโรคเส้นประสาทที่ลุกลามเรื้อรัง และสามารถเกิดจากการบาดเจ็บ หรือการติดเชื้อ

โดยทั่วไปอาการปวดที่ไม่เกี่ยวกับระบบประสาท (nociceptive pain) แต่เกิดจากการได้รับบาดเจ็บ หรือความเจ็บป่วย เช่น หากเท้าถูกหนังสือตกใส่สัญญาณความเจ็บปวดจะเกิดขึ้นโดยทันที

อาการปวดประสาทโดยทั่วไปความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นไม่ได้ถูกกระตุ้นด้วยการได้รับบาดเจ็บ แต่ร่างกายจะส่งสัญญาณความเจ็บปวดไปยังสมองโดยไม่ได้รับการกระตุ้น

อาการปวดจะเป็นแบบปวดแสบปวดร้อน อาจจะปวดเป็นระยะหรือปวดตลอดเวลาก็ได้

อาการปวดประสาท

อาการปวดประสาทที่พบโดยทั่วไปได้แก่

  • ปวดแสบ ปวดร้อน หรือปวดแปล๊บๆ

  • เสียวเหมือนถูกเข็มทิ่ม

  • เจ็บปวดโดยไม่ได้ถูกกระตุ้น

  • มีความเจ็บปวดจากเหตุการณ์ที่ไม่น่าจะกระตุ้นให้เกิดความเจ็บปวดได้ เช่น การหวีผม

  • สร้างความรำคาญใจ

  • รบกวนการนอนหลับหรือพักผ่อน

  • ปัญหาทางอารมณ์เนื่องจากการพักผ่อนไม่เพียงพอ

สาเหตุของการปวดประสาท

สาเหตุหลักๆ ของการปวดประสาทสามารถแบ่งได้ดังนี้

โรคประจำตัว

อาการปวดประสาทอาจเป็นภาวะแทรกซ้อนของโรค และปัญหาทางสุขภาพจากประสาทส่วนกลาง myeloma เสื่อม และมะเร็งชนิดอื่น ๆ โดยพบในผู้ป่วยบางรายเท่านั้น

โรคเบาหวานกระทบระบบประสาทมากกว่า 30% ทำให้ส่งผลต่อการทำงานของระบบประสาท

มักจะเริ่มจากการสูญเสียความรู้สึก และชาตามมา จากนั้นตามมาด้วยอาการปวดแสบปวดร้อน

การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปในระยะยาวสามารถทำให้เกิดการปวดประสาทที่เรื้อรังได้

Trigeminal neuralgia ทำให้เกิดอาการปวดประสาทอย่างรุนแรงที่ด้านใดด้านหนึ่งของใบหน้า โดยเป็นการปวดประสาทที่พบได้บ่อยและมักไม่ทราบสาเหตุ

และการรักษามะเร็งสามารถทำให้เกิดอาการปวดประสาท การรักษาด้วยเคมีบำบัด และการฉายรังสีสามารถส่งผลกระทบต่อระบบประสาทจนทำให้ส่งสัญญาณความเจ็บปวดที่ผิดพลาดได้

การได้รับบาดเจ็บ

การได้รับบาดเจ็บที่เนื้อเยื่อ กล้ามเนื้อ หรือข้อต่อสามารถทำให้เส้นประสาทได้รับความเสียหาย และนำไปสู่อาการปวดประสาทได้

เมื่ออาการบาดเจ็บหายไป ความเสียหายของเส้นประสาทอาจไม่หายไปด้วย ทำให้หลังการเกิดอุบัติเหตุ ความเจ็บปวดจะยังคงอยู่อีกหลายปี

อุบัติเหตุ หรือการได้รับบาดเจ็บที่ส่งผลต่อกระดูกสันหลังสามารถทำให้เกิดอาการปวดประสาท เช่น หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท และกดทับไขสันหลังจะทำให้เส้นประสาทรอบไขสันหลังถูกทำลาย

การติดเชื้อ

การติดเชื้อนั้นไม่ค่อยก่อให้เกิดอาการปวดประสาท

แต่มีบางโรคเช่น โรคงูสวัดสามารถกระตุ้นให้เกิดอาการปวดประสาทตามเส้นประสาทเป็นเวลาหลายสัปดาห์ โดย Postherpetic neuralgia เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้น้อยของโรคงูสวัดทำให้เกิดอาการปวดประสาทอย่างต่อเนื่อง

การติดเชื้อซิฟิลิสนั้นสามารถนำไปสู่การปวดแสบร้อน และความเจ็บปวดที่ไม่มีสาเหตุ โดยเกิดในผู้ป่วย HIV เช่นกัน

การสูญเสียอวัยวะ

การปวดประสาทที่ผิดปกติที่เรียกว่า phantom limb syndrome สามารถเกิดขึ้นได้เมื่อแขนหรือขาถูกตัดออก แม้จะไม่มีแขนขาแล้วแต่สมองยังได้รับสัญญาณความเจ็บปวดจากแขนและขาอยู่

เพราะเส้นประสาทเหล่านั้นที่ติดกับแขนและขายังคงทำงานอยู่

นอกจากแขนหรือขา ยังสามารถเกิดขึ้นกับส่วนอื่นๆ ของร่างกายด้อีกด้วย

สาเหตุอื่นๆ

สาเหตุของอาการปวดประสาทอื่นๆ ได้แก่

  • การขาดวิตามิน B

  • โรค Carpal tunnel

  • ปัญหาของต่อมไทรอยด์

  • ปัญหาของเส้นประสาทใบหน้า

  • โรคข้ออักเสบในกระดูกสันหลัง

การรักษาอาการปวดประสาท

Neuropathic pain จะมีอาการปวดแบบปวดแสบปวดร้อน (burning pain), ปวดแปลบ (lancinating pain), ปวดตุ้บ ๆ (throbbing pain) และการปวดเหล่านี้จะเกิดขึ้นโดยไม่ต้องมีการกระตุ้น peripheral nociceptor

Oxycodone เป็นยาแก้ปวดในกลุ่มอนุพันธ์ของฝิ่น เป็นสารสังเคราะห์จาก Thebaine ซึ่งเป็นสารชนิดเดียวกับ codeine ที่ใช้เป็นยาแก้ไอ ฤทธิ์แก้ไอของ oxycodone จะแรงกว่า codeine 7-12 เท่า และมีฤทธิ์แก้ปวด 0.3-2.2 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับ morphine ส่วนใหญ่ oxycodone จะใช้แก้ปวดในกรณีที่เป็นการปวดรุนแรงจากการทำฟัน การผ่าตัด โรคมะเร็ง โรคข้ออักเสบ โดยที่มีฤทธิ์สงบ ระงับ และแก้ไอด้วย นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์เคลิ้มฝัน เคลิบเคลิ้ม เบาสบาย ซึ่งเชื่อกันว่าทำให้อาการเจ็บปวดของผู้ป่วยดีขึ้น

จากการรวบรวมข้อมูลจากฐานข้อมูลเชิงประจักษ์พบว่า ผู้ป่วยที่ได้ oxycodone เพียงชนิดเดียวบรรเทาอาการปวดรุนแรงได้ในผู้ที่มีอาการปวดเรื้อรังและปวดกล้ามเนื้อ พบ 3 การศึกษาที่มีผู้เข้าร่วม 254 คน ได้รับ oxycodone ควบคุมอาการปวด โดยปรับขนาดในช่วง 60-120 มิลลิกรัมต่อวัน ผลการศึกษาพบว่าผู้ที่ได้รับ oxycodone เพียงชนิดเดียวบรรเทาอาการปวด neuropathic pain ได้ผลยังไม่เป็นที่น่าพอใจเมื่อเปรียบเทียบกับยาหลอก โดยเฉพาะแผลเบาหวาน หรืออาการปวดหลังติดเชื้องูสวัด

กล่าวโดยสรุป แม้ยา oxycodone เป็นยาแก้ปวดที่รุนแรง การรักษาอาการปวด neuropathic pain ด้วยยา oxycodone เพียงชนิดเดียวให้ผลการรักษา neuropathic pain ไม่ดี

การรักษาอาการปวดประสาทได้อย่างไร

การได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้องจากแพทย์ จะทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษา และขจัดความเจ็บปวดอย่างถูกต้อง

Neuropathic Pain

ตัวอย่างเช่น พบว่าโรคเบาหวานเป็นสาเหตุของอาการปวดประสาท การควบคุมการรับประทานอาหาร หรือการออกกำลังสม่ำเสมอ เป็นการลดความเจ็บปวดประสาทได้

การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดก็ช่วยให้อาการปวด และชาดีขึ้นได้

การบำบัดหลายรูปแบบ

การรักษาโดยใช้ยาร่วมกับการกายภาพบำบัด หรือการรักษาทางจิตใจ หรือแม้แต่การผ่าตัด สามารถให้ผลลัพธ์ที่ดีได่

ภาวะแทรกซ้อนของอาการปวดประสาท

อาการปวดเส้นประสาทเป็นอาการปวดเรื้อรังประเภทหนึ่งซึ่งเป็นผลมาจากความเสียหายหรือความผิดปกติของระบบประสาท โดยเฉพาะเส้นประสาทส่วนปลาย ความเจ็บปวดประเภทนี้อาจมีสาเหตุหลายประการ เช่น เบาหวาน การกดทับเส้นประสาท การติดเชื้อ หรือการบาดเจ็บที่บาดแผล ภาวะแทรกซ้อนและผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับอาการปวดเส้นประสาทอาจรวมถึง:
  • อาการปวดเรื้อรัง:อาการปวดเมื่อยตามระบบประสาทมักมีลักษณะเรื้อรังโดยธรรมชาติ มันสามารถคงอยู่เป็นเวลาหลายเดือนหรือหลายปี และในบางกรณีก็อาจกลายเป็นภาวะตลอดชีวิตได้ การจัดการกับความเจ็บปวดเรื้อรังอาจเป็นเรื่องท้าทายทั้งทางร่างกายและอารมณ์
  • ความพิการทางร่างกาย:ขึ้นอยู่กับสาเหตุและตำแหน่งของความเสียหายของเส้นประสาท ความเจ็บปวดจากโรคระบบประสาทสามารถนำไปสู่ความพิการทางร่างกายได้ ตัวอย่างเช่น อาการปวดเส้นประสาทที่เกิดจากการกดทับของเส้นประสาทในกระดูกสันหลังอาจทำให้เดินหรือทำกิจกรรมประจำวันได้ยาก
  • ผลกระทบทางจิตใจ:อาการปวดเรื้อรัง รวมถึงอาการปวดจากโรคระบบประสาท อาจมีผลกระทบทางจิตใจอย่างมีนัยสำคัญ อาจทำให้เกิดความวิตกกังวล ซึมเศร้า หงุดหงิด และรบกวนการนอนหลับได้ ปัญหาสุขภาพจิตและอารมณ์เหล่านี้อาจทำให้การรับรู้ถึงความเจ็บปวดรุนแรงขึ้น ส่งผลให้เกิดวงจรที่เลวร้าย
  • คุณภาพชีวิตที่ลดลง:ความเจ็บปวดทางระบบประสาทสามารถลดคุณภาพชีวิตของแต่ละบุคคลได้ โดยการจำกัดความสามารถในการทำกิจกรรมที่พวกเขาเคยชอบ และทำให้เกิดความรู้สึกไม่สบายและความทุกข์อย่างมาก
  • ผลข้างเคียงจากยา:บุคคลจำนวนมากที่มีอาการปวดเส้นประสาทส่วนปลายจำเป็นต้องได้รับยาเพื่อจัดการกับอาการของตนเอง ยาเหล่านี้อาจมีผลข้างเคียง ซึ่งอาจรวมถึงอาการวิงเวียนศีรษะ ง่วงนอน คลื่นไส้ และน้ำหนักเพิ่มขึ้น การจัดการผลข้างเคียงเหล่านี้อาจเป็นเรื่องที่ท้าทายและส่งผลต่อความเป็นอยู่โดยรวม
  • การพึ่งพาฝิ่น:ในบางกรณี opioids ถูกกำหนดไว้สำหรับอาการปวดระบบประสาทเมื่อการรักษาอื่นไม่ได้ผล อย่างไรก็ตาม การใช้ยาฝิ่นในระยะยาวอาจนำไปสู่การเสพติดและการเสพติด ซึ่งก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพอย่างร้ายแรง
  • การแยกตัวทางสังคม:ความเจ็บปวดเรื้อรังอาจนำไปสู่การแยกทางสังคม เนื่องจากบุคคลอาจถอนตัวจากกิจกรรมทางสังคมเนื่องจากรู้สึกไม่สบายหรือไม่สามารถมีส่วนร่วมได้อย่างเต็มที่ การแยกตัวออกไปนี้สามารถนำไปสู่ความรู้สึกเหงาและซึมเศร้าได้
  • ความเครียดทางการเงิน:การจัดการความเจ็บปวดเรื้อรัง รวมถึงความเจ็บปวดจากโรคระบบประสาท มักเกี่ยวข้องกับค่ารักษาพยาบาล รวมถึงการไปพบแพทย์ ยา การกายภาพบำบัด และการรักษาอื่นๆ ค่าใช้จ่ายเหล่านี้สามารถสร้างภาระทางการเงินให้กับบุคคลและครอบครัวได้
  • การรบกวนการนอนหลับ:อาการปวดเส้นประสาทอาจรบกวนรูปแบบการนอนหลับ นำไปสู่การนอนไม่หลับหรือการนอนหลับที่มีคุณภาพไม่ดี สิ่งนี้อาจทำให้ความเจ็บปวดรุนแรงขึ้นอีกและส่งผลเสียต่อสุขภาพโดยรวม
  • ภาวะแทรกซ้อนของสภาวะแวดล้อม:อาการปวดเส้นประสาทมักเกี่ยวข้องกับสภาวะทางการแพทย์ เช่น โรคเบาหวาน หรือโรคภูมิต้านตนเอง ภาวะแทรกซ้อนของภาวะที่ซ่อนอยู่เหล่านี้อาจทำให้เกิดความท้าทายที่เกี่ยวข้องกับความเจ็บปวดทางระบบประสาทได้
สิ่งสำคัญสำหรับบุคคลที่มีอาการปวดเกี่ยวกับระบบประสาทจะต้องทำงานอย่างใกล้ชิดกับผู้ให้บริการด้านสุขภาพเพื่อพัฒนาแผนการจัดการความเจ็บปวดที่ครอบคลุม ซึ่งอาจรวมถึงการใช้ยา กายภาพบำบัด การสนับสนุนด้านจิตใจ และการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต แนวทางการจัดการความเจ็บปวดแบบสหสาขาวิชาชีพสามารถช่วยปรับปรุงการควบคุมความเจ็บปวดและความเป็นอยู่โดยรวม โดยลดผลกระทบของความเจ็บปวดจากโรคระบบประสาทและภาวะแทรกซ้อน

ภาพรวมของอาการปวดประสาท

อาการปวดประสาทสามารถส่งผลเสียต่อคุณภาพชีวิตได้ หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง

และยิ่งเมื่อเวลาผ่านไปสิ่งนี้สามารถนำไปสู่ความพิการ และภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง อาจทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า และวิตกกังวลได้ด้วย

การรักษาอาการปวดประสาทกำลังได้รับการศึกษาวิจัย เพื่อค้นคว้าหาการรักษาที่ดีขึ้น นี่คือสัญญาณทางการแพทย์ที่ดีสำหรับผู้ป่วยอาการปวดประสาท

สุดท้ายการค้นหาตัวเลือกการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมจำเป็นต้องใช้เวลา และการให้ความร่วมมือกับแพทย์จะทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ดีที่สุด


นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.webmd.com/pain-management/guide/neuropathic-pain

  • https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5371025/

  • https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/15833-neuropathic-pain

  • https://www.nhs.uk/conditions/peripheral-neuropathy/treatment/


เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด