โรคซิฟิลิส (Syphilis) : อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคซิฟิลิส (Syphilis) คือ โรคที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สามารถติดต่อได้ทั้งทางทวารหนักและทางอวัยวะเพศ  โรคซิฟิลิสสาเหตุเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชนิด ทริปโปนีมา พัลลิดุม (Treponema pallidum)  แบคทีเรียชนิดนี้มีขนาดเล็กมากและสามารถอาศัยอยู่ได้เกือบทุกส่วนในร่างกาย หากส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์จะเห็นเชื้อตัวนี้มีลักษณะเหมือนเกลียวสว่าน อาการของซิฟิลิสเริ่มแรก จะเจ็บปวดเล็กน้อย ที่บริเวณอวัยวะเพศ ปาก และปลายทวารหนัก ลักษณะของแผลจะเป็นแผลที่ไม่รู้สึกเจ็บ (Painless sore)  หรือเรียกว่าแผลริมแข็ง (Chancre) ลักษณะแผลจะไม่ค่อยสังเกตเห็นได้ง่าย  ซิฟิลิสวินิจฉัยได้ยาก ผู้ป่วยบางรายมีเชื้อซิฟิลิสแล้วแต่ไม่มีอาการใดๆ ในระยะเวลาเป็นปีเลยทีเดียว แต่หากรู้ตัวหรือตรวจพบได้เร็วว่าเป็นโรคซิฟิลิส และรักษาได้ทันเวลา จะดีกว่าไม่เจออาการ ซึ่งอาจก่อให้เกิดเป็นอาการเรื้อรังและอาจทำให้มีผลกระทบอันตรายไปถึงอวัยวะสำคัญของร่างกายคือสมองและหัวใจได้  โรคซิฟิลิสสามารถติดต่อกันได้หากได้รับการสัมผัสกับผิวที่เป็นแผลริมแข็งโดยตรง เช่นการใช้ห้องน้ำร่วมสาธารณะ สวมใส่เสื้อผ้าของผู้อื่น หรือการรับประทานอาหารร่วมกันกับผู้อื่น 

โรคซิฟิลิสมีกี่ระยะ

ซิฟิลิสมีทั้งหมด 4 ระยะ

  • ซิฟิลิสระยะที่ 1 (Primary Syphilis)
  • ซิฟิลิสระยะที่  2 (Secondary Syphilis)
  • ซิฟิลิสระยะแฝง 3 (Latent Stage)
  • ซิฟิลิสระยะ 3(Tertiary stage)
ซิฟิลิสที่มีการติดเชื้อมากที่สุดคือ ซิฟิลิสระยะที่สอง  หากมีเชื้อซิฟิลิสอยู่ในระยะแฝง เชื้อจะยังคงอยู่ในร่างกาย แต่จะไม่มีอาการใด และจะออกอาการในระยะที่ 3 นั่นหมายถึงว่าอยู่ในระยะที่อันตรายที่สุด 

โรคซิฟิลิสระยะที่ 1 (Primary Syphilis)

โรคซิฟิลิสระยะที่ 1 มักจะแสดงอาการเริ่มต้นจากการมีแผลเล็กๆ ที่เรียกว่าแผลริมแข็ง (Chancre) โดยแผลริมแข็งจะเกิดขึ้นหลังจากเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ร่างกายประมาณ 3-4  สัปดาห์ สำหรับผู้ชายแผลริมแข็งมักจะเกิดในบริเวณปลายหรือลำอวัยวะเพศ ในผู้ป่วยบางรายอาจไม่ทันสังเกตหรือไม่รู้ตัวว่ามีแผลเกิดขึ้น เนื่องจากแผลนี้จะไม่มีอาการปวด และแผลอาจซ่อนอยู่ภายในช่องคลอดหรือทวารหนัก  บางรายจะมีอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยหลังจากติดเชื้อไปแล้ว 3 สัปดาห์ แต่อาจใช้เวลา 10-90 วัน จนกว่าจะมีอาการอย่างเห็นได้ชัด หลังจากติดเชื้อแล้ว อาการเจ็บบริเวณแผลจะอยู่ระหว่างประมาณ 2-6 สัปดาห์ ผู้ที่ติดเชื้อซิฟิลิสแล้วมักจะมีอาการเจ็บปวดหากมีเพศสัมพันธ์โดยเฉพาะการมีเพศสัมพันธ์แบบการใช้ปาก 

ซิฟิลิสระยะที่  2 (Secondary Syphilis)

ผู้ป่วยโรคซิฟิลิสระยะที่ 2  อาจมีผื่นจากเชื้อซิฟิลิสขึ้นบริเวณลำตัวแต่จะไม่คัน ส่วนที่ขึ้นได้ง่ายคือฝ่ามือและฝ่าเท้า แต่ก็สามารถกระจายไปทั่วร่างกาย หรือบางครั้งอาจมีแผลคล้ายหูด (Wart-like sores) ขึ้นภายในปาก หรือบริเวณอวัยวะเพศร่วมด้วย โดยปกติผื่นซิฟิลิสจะไม่มีอาการคัน แต่อาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วยดังต่อไปนี้ อาการต่างๆ เหล่านี้สามารถหายไปเองได้ภายในไม่กี่สัปดาห์ แต่ก็สามารถกลับมาเป็นใหม่ได้เช่นเดียวกัน  โรคซิฟิลิสระยะที่ 2 อาจทำให้เข้าใจผิดว่าเกิดจากโรคแทรกซ้อนอื่นๆ 

ซิฟิลิสระยะแฝง (Latent Stage)

หากไม่ได้รักษา ซิฟิลิสระยะที่สอง (Secondary stage) สามารถดำเนินต่อไปเป็นระยะแฝง (Latent stage) หรือระยะหลบซ่อน (Hidden stage) ได้ในระยะแฝง ผู้ป่วยจะไม่มีอาการแสดงใดๆ ที่บ่งบอกถึงการติดเชื้อซิฟิลิสเลย โดยระยะแฝงนี้อาจกินระยะเวลาได้นานเป็นปี หรืออาจหายไป ไม่มีอาการกลับขึ้นมาอีกเลยก็ได้ หรืออาจจะทำไปสู่โรคซิฟิลิสระยะที่ 3

ซิฟิลิสระยะที่ 3 (Tertiary stage)

โรคซิฟิลิสระยะที่ 3 เป็นระยะสุดท้ายของการติดเชื้อซิฟิลิส และจะมีอาการอยู่นานหลายนับจากการติดเชื้อระยะที่ 1 หากไม่ได้รับการรักษาอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ผลกระทบที่จะได้รับมีดังนี้ 
  • อาจทำให้ตาบอด
  • หูหนวก 
  • มีอาการป่วยทางจิต
  • สูญเสียความจำ
  • เกิดความผิดปกติของระบบประสาทเช่น โรคหลอดเลือดสมองหรือเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • โรคหัวใจ
  • อาจส่งผลให้เชื้อเข้าสู่สมองหรือไขสันหลังได้ 
อาการของซิฟิลิสระยะที่สาม การติดเชื้ออาจทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อสมอง ระบบประสาท ตา หัวใจ เส้นเลือด ตับ หรือกระดูกและข้อต่อ ซึ่งอาการต่างๆ เหล่านี้ จะเกิดขึ้นหลายปีหลังจากติดเชื้อแต่ไม่ได้รักษา

เมื่อไหร่ที่ควรตรวจหาเชื้อซิฟิลิส

หากเป็นซิฟิลิสสามารถตรวจได้ง่าย แต่หากเป็นระยะที่ 2 อาจจะเกิดจากการแทรกซ้อนของโรคอื่นร่วมด้วย หากสงสัยว่าผู้ป่วยมีอาการในระยะที่ 1 หรือระยะที่ 2 ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจหาเชื้อซิฟิลิสทันที หากอยู่ในภาวะเสี่ยงดังนี้ :
  • เคยมีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีเชื้อซิฟิลิส
  • กำลังตั้งครรภ์
  • เป็นผู้ให้บริการทางเพศ
  • ต้องโทษจำคุก
  • มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัยมาแล้วหลายครั้ง
  • มีคู่นอนที่มีเพศสัมพันธ์กับคนหลายคน
  • มีเซ็กส์ร่วมเพศ แบบชายรักชาย
หากผลการตรวจทราบว่ามีเชื้อซิฟิลิส ควรรีบรับการรักษาทันทีตามที่แพทย์กำหนดระยะเวลาการรักษาตามอาการของผู้ป่วย นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ และควรชวนคู่รักของผู้ป่วยเข้ารับการตรวจเชื้อซิฟิลิส และ HIV ด้วยเช่นกัน หากทราบว่าผู้ป่วยติดเชื้อดังกล่าวแล้ว ควรบอกผู้ที่ผู้ป่วยเคยมีเพศสัมพันธ์ด้วย เพื่อให้เขาได้รับการรักษาเช่นกัน 

การตรวจและวินิจฉัยซิฟิลิส

หากผู้ป่วยสงสัยว่าติดเชื้อซิฟิลิส ควรรีบไปพบแพทย์ทัน แพทย์จะทำการตรวจเลือด และสารคัดหลั่งจากบริเวณที่ผิดปกติ เช่น อวัยวะเพศ ปากทวารหนัก หรือผิวที่เกิดผื่น เพื่อนำเข้าห้องปฏิบัติการ และวินิจฉัยว่ามีเชื้อซิฟิลิสอยู่หรือไม่ หากมีจะตรวจสอบระยะเวลาของการติดเชื้อ  หากผู้ป่วยมีปัญหาเกี่ยวกับระบบประสาทในร่างกาย อันเนื่องมาจากการติดเชื้อซิฟิลิส แพทย์จะทำการ เจาะน้ำไขสันหลัง (Lumbar puncture) เพื่อนำน้ำไขสันหลัง (Cerebral fluid) ไปตรวจหาความผิดปกติต่อไป หากผู้หญิงกำลังตั้งครรภ์แพทย์ตรวจหาเชื้อซิฟิลิส เพื่อป้องกันทารกในครรภ์จากการติดเชื้อซิฟิลิส แต่หากมารดามีเชื้อ อาจมีผลกระทบไปยังเด็กทารกหลังคลอดออกมา เช่น ทารกที่คลอดออกมาอาจมีภาวะตัวเหลือง จุดเลือดออกตามผิวหนัง ต่อมน้ำเหลืองโต เยื่อบุโพรงจมูกอักเสบ ปอดอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ โปรตีนรั่วทางไต หรือพบความผิดปกติที่กระดูก

วิธีรักษาซิฟิลิส

การรักษาผู้ป่วยซิฟิลิสระยะแรกและ ระยะที่ 2 สามารถรักษาด้วยการฉีดเพนนิซิลิน Penicillin เป็นหนึ่งในยาปฏิชีวนะที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย มีประสิทธิภาพในการรักษาซิฟิลิส ส่วนผู้ป่วยที่แพ้เพนิซิลลินจะได้รับการรักษาด้วยยารักษาโรคซิฟิลิสด้วยยาปฏิชีวนะชนิดต่าง ๆ เช่น:
  • Doxycycline (ด็อกซีไซคลิน) เป็นยาปฏิชีวนะในกลุ่มเตตราไซคลิน มีคุณสมบัติรักษาอาการติดเชื้อแบคทีเรียต่าง ๆ
  • Azithromycin (อะซิโธรมัยซิน) เป็นยาปฏิชีวนะในกลุ่มแมคโครไลน์ (Macrolide) ที่ใช้รักษาอาการติดเชื้อจากแบคทีเรีย
  • Ceftriaxone (เซฟไตรอะโซน) เป็นยาปฏิชีวนะในกลุ่มยาเซฟาโลสปอริน (Cephalosporin) ที่ออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียด้วยการทำลายผนังเซลล์ทำให้แบคทีเรียตาย
ในระหว่างการรักษาผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์จนกว่าแผลทั้งหมดในร่างกายจะหายไป หรือรอจนกว่าแพทย์จะบอกว่าสามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ 

วิธีป้องกันโรคซิฟิลิส

วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันโรคซิฟิลิสคือควรมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย และใช้ถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ทุกครั้งและนอกจากนี้วิธีที่ควรระมัดระวังต่อการปฏิบัติตัวหากมีเพศสัมพันธ์ มีดังนี้ :
  • Dental Dam คือ แผ่นยาง latex สี่เหลี่ยมที่ไว้ใช้คลุม อวัยวะเพศฝ่ายหญิง และทวารหนัก เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการสัมผัสโดยตรงกับปากในการป้องกันโรคที่มากับเพศสัมพันธ์
  • ใช้ถุงยางอนามัยในระหว่างมีเพศสัมพันธ์ทางปาก
  • หลีกเสี่ยงการใช้ Sex toy
  • หลีกเลี่ยงการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน เพราะซิฟิลิสสามารถติดต่อได้ทางเข็มฉีดยา
  • ควรพูดคุย ทำความเข้าใจกับคู่รักของคุณ และตรวจร่างกายก่อนที่จะมีเพศสัมพันธ์พันธ์
Syphilis

ภาวะแทรกซ้อนของโรคซิฟิลิส

ผู้หญิงระหว่างตั้งครรภ์และทารกแรกเกิด

อาการโรคซิฟิลิสในผู้หญิงระหว่างตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อซิฟิลิสมีความเสี่ยงต่อการแท้งบุตร หรืออาจคลอดก่อนกำหนด นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงที่แม่ที่เป็นซิฟิลิสจะแพร่เชื้อไปสู่ทารกในครรภ์ สิ่งนี้เรียกว่าซิฟิลิสแต่กำเนิด ทารกที่คลอดออกมาและมีเชื้อซิฟิลิส อาจตกอยู่ในภาวะดังนี้  หากทารกมีโรคซิฟิลิส แต่กำเนิดและไม่สามารถตรวจพบเชื้อซิฟิลิสได้ และนำไปสู่การเป็นโรคซิฟิลิสระยะสุดท้าย อาจส่งผลต่อส่วนต่างๆของร่างกายดังนี้ : 
  • กระดูก
  • ฟัน
  • ตา
  • หู
  • สมอง

ผู้ป่วยซิฟิลิสที่มีเชื้อเอชไอวี

ผู้ป่วยโรคซิฟิลิสมีโอกาสสูงต่อการติดเชื้อ HIV เนื่องจากแผลพุพองของโรคซิฟิลิสอาจทำทำให้เชื้อ HIVเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้น สิ่งสำคัญคือผู้ป่วยซิฟิลิสที่มีเชื้อ HIV ร่วมด้วย อาจมีอาการซิฟิลิสแตกต่างจากผู้ที่ไม่มีเชื้อ HIV  หากผู้ป่วยมีเชื้อ HIV ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อในวิธีการรักษาอาการของโรคซิฟิลิสร่วมด้วย 

คำถามที่พบบ่อย

ซิฟิลิสร้ายแรงมากไหม  หากไม่ได้รับการรักษา ซิฟิลิสอาจทำให้เกิดปัญหาร้ายแรงและอาจถึงแก่ชีวิตได้เช่น ปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง และหัวใจล้มเหลว ปัญหาทางสมองเช่นอาการชัก ปัญหาความจำ การเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพ และภาวะสมองเสื่อม ซิฟิลิสรักษาหาย 100% จริงหรือ  มีวิธีรักษาซิฟิลิสหรือไม่? ใช่ ซิฟิลิสรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะที่เหมาะสมจากผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของคุณ อย่างไรก็ตาม การรักษาอาจไม่สามารถแก้ไขความเสียหายใดๆ ที่เกิดจากการติดเชื้อได้ คุณสามารถใช้ชีวิตตามปกติกับซิฟิลิสได้หรือไม่  คุณสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ แต่สิ่งสำคัญคือต้องใช้ความระมัดระวังเพื่อปกป้องผู้อื่น  ขั้นแรก เข้ารับการรักษาและรอจนกว่าแพทย์จะแจ้งว่าคุณหายดีแล้วก่อนที่จะมีเพศสัมพันธ์ หากซิฟิลิสลุกลามถึงระยะสุดท้าย อาจส่งผลต่ออวัยวะสำคัญต่างๆ และเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ เปอร์เซ็นต์การเสียชีวิตของซิฟิลิสคืออะไร  ไม่ได้รับการรักษา มีอัตราการตาย8% ถึง 58%โดยมีอัตราการเสียชีวิตมากกว่าในผู้ชาย อุบัติการณ์การตายที่สูงขึ้นของผู้ชายเมื่อเทียบกับผู้หญิงนั้นไม่เป็นที่เข้าใจกันดีนัก แต่คิดว่าเกี่ยวข้องกับความแตกต่างทางภูมิคุ้มกันระหว่างเพศ ซิฟิลิสรักษาให้หายเร็วได้ไหม  การรักษาโรคซิฟิลิสคืออะไร? การฉีด Benzathine penicillin G ที่ออกฤทธิ์นานเพียงครั้งเดียวสามารถรักษาซิฟิลิสในระยะเริ่มต้นได้ ซึ่งรวมถึงซิฟิลิสระยะแรก ระยะที่สอง หรือระยะแฝงระยะแรก ซิฟิลิสระยะที่ 4 สามารถรักษาให้หายได้หรือไม่  ซิฟิลิสระยะที่สองรักษาได้ด้วยการรักษาทางการแพทย์ สิ่งสำคัญคือต้องได้รับการรักษาเพื่อป้องกันไม่ให้โรคลุกลามไปถึงระยะที่ 3 ซึ่งอาจไม่สามารถรักษาให้หายได้ อาจทำให้อวัยวะเสียหาย สมองเสื่อม อัมพาต หรือแม้กระทั่งเสียชีวิตได้ ซิฟิลิสสามารถหายเองได้หรือไม่  อาการและอาการแสดงของซิฟิลิสทุติยภูมิจะหายไปเองตามธรรมชาติ แม้จะไม่ได้รับการรักษาแต่หากปล่อยไว้โดยไม่รักษา ผู้ป่วยจะเข้าสู่ระยะแฝง ในระยะแฝงซึ่งอาจอยู่ได้นานหลายปี แบคทีเรียยังคงอยู่ในร่างกาย แต่ไม่มีอาการหรือสัญญาณใดๆ ซิฟิลิสมีผลต่อสมองหรือไม่  Neurosyphilis คือการติดเชื้อที่ส่งผลต่อเยื่อ หุ้มสมอง เนื้อสมอง หรือไขสันหลัง สามารถเกิดขึ้นได้ในผู้ที่เป็นโรคซิฟิลิส โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากไม่ได้รับการรักษา

ลิ้งค์ด้านล่างเป็นแหล่งที่มาบทความของเรา 

  • https://www.webmd.com/sexual-conditions/syphilis 
  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/syphilis/symptoms-causes/syc-20351756
  • https://www.cdc.gov/ref=”https://ihealzy.com/sexually-transmitted-diseases/”>std/syphilis/stdfact-syphilis.htm 
  • https://www.nhs.uk/conditions/syphilis/ 
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด