ระบบประสาทเป็นระบบสื่อสารภายในของร่างกาย ประกอบไปด้วยเซลล์ประสาทมากมาย เซลล์ประสาทรับข้อมูลจากจุดรับสัมผัสต่าง ๆ ของร่างกาย การสัมผัส การรับรส การรับกลิ่น การมองเห็น และการได้ยิน สมองแปลความรู้สึกเหล่านี้เพื่อที่จะเข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้นภายนอก และภายในร่างกาย ซึ่งทำให้เราสามารถตอบสนองต่อสิ่งรอบ ๆ ตัว และสามารถควบคุมการทำงานของร่างกายได้
ระบบประสาทนั้นซับซ้อนมาก เราพึ่งพาสมองเพื่อที่สุขภาพที่ดี และมีความปลอดภัย เหล่านี้คือความจริง 11 ประการเกี่ยวกับระบบประสาทส่วนกลาง
1. ร่างกายมีเซลล์ประสาทอยู่หลายพันล้านเซลล์
ร่างกายของมนุษย์แต่ละคนมีเซลล์ประสาทอยู่หลายพันล้านเซลล์ พบอยู่ในสมองประมาณหนึ่งแสนล้านเซลล์ และที่ไขสันหลังประมาณ 13 ล้านเซลล์ เซลล์เหล่านี้สื่อสารกันด้วยสัญญาณไฟฟ้าและเคมี2. เซลล์ประสาทประกอบไปด้วย 3 ส่วน
เซลล์ประสาทรับสัญญาณจากส่วนที่เรียกว่า เดนไดรท์ (Dendrite) และส่งสัญญาณไปที่เเอกซอน (Axon) เป็นเส้นยาว ๆ ที่สามารถมีความยาวได้ถึง 1 เมตร ในเซลล์ประสาทบางตัว แอกซอนถูกหุ้มไว้ด้วยไมอีลีน ที่ทำหน้าที่เป็นเหมือนฉนวน ช่วยให้เซลล์ประสาทส่งสัญญาณ หรือกระตุ้น ส่วนหลัก ๆ ของเซลล์ประสาทเรียกว่า ตัวเซลล์ เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดที่ทำให้เซลล์นั้น ๆ ทำงานอย่างเป็นปกติ3. เซลล์ประสาทแต่ละชนิดอาจมีลักษณะที่แตกต่างกัน
เซลล์ประสาทมีรูปร่าง และขนาดที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับว่าอยู่ในส่วนไหนของร่างกาย และมีหน้าที่ทำอะไร เซลล์ประสาทรับความรู้สึกมีเดนไดรท์อยู่ทั้ง 2 ข้าง และถูกเชื่อมกันไว้ด้วยแอกซอน ที่มีตัวเซลล์อยู่ตรงกลาง ในขณะที่เซลล์ประสาทสั่งการมีตัวเซลล์อยู่ข้างหนึ่ง และมีเดนไดรท์อยู่อีกด้านหนึ่งโดยมีแอกซอนเชื่อมอยู่ตรงกลาง4. เซลล์ประสาทต่าง ๆ มีหน้าที่แตกต่างกันออกไป
เซลล์ประสาทมีอยู่ 4 ชนิด :- รับความรู้สึก: เซลล์ประสาทรับความรู้สึกส่งสัญญาณไฟฟ้าจากภายนอกร่างกาย เช่น ต่อมต่างๆ กล้ามเนื้อ และผิวหนัง ไปสู่ระบบประสาทส่วนกลาง
- สั่งการ: ระบบประสาทส่วนกลางนำสัญญาณจากระบบประสาทส่วนกลางไปที่ส่วนที่อยู่ภายนอกร่างกาย
- ตัวรับ: ระบบประสาทชนิดนี้รับรู้ถึงสิ่งที่อยู่ภายนอก เช่ย แสง เสียง สัมผัส และสารเคมี แล้วเปลี่ยนเป็นสัญญาณไฟฟ้าเคมีที่ถูกส่งจากรับบประสาทรับความรู้สึก
- ประสานงาน: เซลล์ประสาทประสานงานส่งข้อความจากเซลล์ประสาทนึงไปสู่อีกเซลล์ประสาทนึง
5. ระบบประสาทมี 2 ส่วน
ระบบประสาทของมนุษย์ถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ระบบประสาทส่วนกลาง (CNS) และ ระบบประสาทรอบนอก (PNS) ระบบประสาทส่วนกลางอยู่ในกะโหลกศีรษะ และช่องไขสันหลัง ซึ่งรวมไปถึงระบบประสาทในสมอง และไขสันหลัง นอกนั้นเป็นระบบประสาทรอบนอกทั้งหมด6. ระบบประสาทมี 2 ชนิด
มนุษย์มีระบบประสาทส่วนกลาง และระบบประสาทรอบนอก แต่เราก็ยังมีระบบประสาทที่อยู่ภายใต้อำนาจจิตใจ (Voluntary) เช่น การขยับหัว แขน ขา และส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย ระบบประสาทที่อยู่นอกอำนาจจิตใจ หรือระบบประสาทอัตโนมัติ (Involuntary) เป็นสิ่งที่เราไม่สามารถควบคุมได้ เช่น การเต้นของหัวใจ การหายใจ การเผาผลาญ กระบวณการคิดวิเคราะห์ต่าง ๆ ของร่างกาย7. ระบบประสาทที่อยู่นอกเหนืออำนาจจิตใจแบ่งออกเป็น 3 ส่วน
ในระบบประสาทส่วนกลาง และระบบประสาทรอบนอกมีระบบประสาทที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจ และนอกเหนืออำนาจจิตใจอยู่ ในระบบประสาทส่วนกลาง ระบบประสาททั้ง 2 ชนิดนี้เชื่อมต่อกัน แต่ในระบบประสาทรอบนอก พวกมันพบอยู่ในส่วนที่แตกกต่างกันไปของร่างกาย ในระบบประสาทที่อยู่นอกเหนืออำนาจจิตใจ มีระบบประสาทซิมพาเทติก พาราซิมพาเทติก และระบบประสาทลำไส้8. ระบบประสาทที่เตรียมพร้อมสำหรับการตอบสนองของร่างกาย
ระบบประสาทซิมพาเทติกมีหน้าที่บอกร่างกายให้เตียมพร้อมต่อกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งทางร่างกาย และจิตใจ ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น แรงขึ้น และเปิดช่องทางหายใจให้หายใจง่ายขึ้น ทั้งยังสามารถหยุดการย่อยชั่วคราวได้เพื่อให้ร่างกายจดจ่อกับการตอบสนองแบบไว ๆ9. ระบบประสาทที่ควบคุมการพักของร่างกาย
ระบบประสาทพาราซิมพาเธติกควบคุมการทำงานของร่างกายเมื่อร่างกายหยุดพัก กิจกรรมต่าง ๆ เช่น กระตุ้นการย่อยอาหาร ให้ระบบเผาผลาญทำงาน และช่วยให้ร่างกายผ่อนคลาย10. มีระบบประสาทที่ช่วยควบคุมการถ่ายอุจจาระ
ร่างกายของเรามีระบบประสาทที่ช่วยควบคุมการถ่ายอุจจาระ ระบบประสาทลำไส้จะควบคุมการเคลื่อนไหวของลำไส้โดยอัตโนมัติ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบย่อยอาหาร11. ระบบประสาทของเราสามารถถูกแฮกค์ได้
นักวิทยาศาสตร์ได้พัฒนาวิธีการแฮกค์ระบบภูมิคุ้มกันของเรา ทำให้สามารถควบคุมเซลล์ในสมองด้วยแสงแฟลชได้ เซลล์สามารถถูกทำให้มีปฏิกริยากับแสงได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงยีน การแฮกค์นี้ทำให้นักวิทยาศาสตร์ได้เรียนรู้เกี่ยวกับความแตกต่างของกลุ่มเซลล์ประสาทต่าง ๆ พวกเข้าสามารถกระตุ้นเซลล์ประสาทหลายเซลล์ได้พร้อม ๆ กัน และสังเกตผลที่เกิดขึ้นต่อร่างกายได้อาหารบำรุงระบบประสาท
ระบบประสาทมีบทบาทสำคัญในความเป็นอยู่โดยรวมของเรา โดยทำหน้าที่เป็นเครือข่ายการสื่อสารของร่างกาย เพื่อรักษาประสิทธิภาพสูงสุด จำเป็นต้องรับประทานอาหารที่สมดุลและอุดมด้วยสารอาหาร ในบทความนี้ เราจะมาพูดถึงอาหารหลากหลายประเภทที่มีประโยชน์ต่อระบบประสาทเป็นพิเศษ- ปลาที่มีไขมัน: อุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 ปลาที่มีไขมัน เช่น ปลาแซลมอน ปลาเทราท์ และปลาซาร์ดีน เป็นตัวเลือกที่ดีเยี่ยมในการส่งเสริมสุขภาพทางระบบประสาท โอเมก้า 3 มีส่วนช่วยในการสร้างความสมบูรณ์ของโครงสร้างของเซลล์ประสาทและช่วยในการส่งสัญญาณระหว่างเซลล์ประสาท
- ผักใบเขียวเข้ม: อุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ และสารต้านอนุมูลอิสระ ผักใบเขียวเข้ม เช่น ผักโขมและผักคะน้า มีความสำคัญต่อสุขภาพโดยรวม รวมถึงระบบประสาทด้วย ผักเหล่านี้มีโฟเลตซึ่งมีความสำคัญต่อการผลิตและบำรุงรักษาเซลล์ประสาท
- ถั่วและเมล็ดพืช: อัลมอนด์ วอลนัท เมล็ดแฟลกซ์ และเมล็ดเจียเป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยวิตามินอี ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยปกป้องเซลล์ประสาทจากความเสียหาย นอกจากนี้ ถั่วและเมล็ดพืชเหล่านี้ยังให้ไขมันที่ดีต่อสุขภาพและสารอาหารอื่นๆ ที่สนับสนุนสุขภาพสมองโดยรวมอีกด้วย
- ผลเบอร์รี่: บลูเบอร์รี่ สตรอเบอร์รี่ และแบล็กเบอร์รี่ไม่เพียงแต่อร่อยเท่านั้น แต่ยังอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่เรียกว่าฟลาโวนอยด์ สารประกอบเหล่านี้เชื่อมโยงกับการทำงานของการรับรู้ที่ดีขึ้น และอาจช่วยลดความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชันในระบบประสาท
- ไข่: ไข่เป็นแหล่งสารอาหารที่มีโคลีน ซึ่งเป็นสารตั้งต้นของอะเซทิลโคลีน ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมอารมณ์และความจำ การใส่ไข่ไว้ในอาหารของคุณสามารถช่วยบำรุงรักษาระบบประสาทให้แข็งแรงได้
- อะโวคาโด: อะโวคาโดเป็นแหล่งที่ดีของไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว ซึ่งสนับสนุนการไหลเวียนของเลือดที่ดี การไหลเวียนโลหิตที่ดีขึ้นถือเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้แน่ใจว่าสมองได้รับออกซิเจนและสารอาหารอย่างเพียงพอ ส่งเสริมการทำงานของระบบประสาทอย่างเหมาะสม
- บรอกโคลี: บรอกโคลีอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระและวิตามินเค ซึ่งมีบทบาทต่อสุขภาพสมอง นอกจากนี้ยังมีสารประกอบที่อาจมีผลต้านการอักเสบซึ่งอาจลดการอักเสบในระบบประสาทได้
- ธัญพืชไม่ขัดสี: เมล็ดธัญพืชเช่นข้าวกล้อง ควินัว และข้าวโอ๊ตให้กลูโคสซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักสำหรับสมองอย่างสม่ำเสมอ การเลือกธัญพืชเต็มเมล็ดมากกว่าธัญพืชขัดสีช่วยให้มั่นใจได้ว่าจะได้รับพลังงานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสนับสนุนการทำงานของระบบประสาทโดยรวม
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น