คุณจำเป็นต้องมีแผนการรับประทานอาหารเมื่อมีภาวะโรคไตเรื้อรัง (CKD) การเฝ้าระวังสิ่งที่เรารับประทานและดื่มเพื่อช่วยให้มีสุขภาพที่ดีอยู่เสมอ ข้อมูลต่อไปนี้คือข้อมูลสำหรับคนเป็นโรคไตแต่ไม่ใช่กับคนที่ฟอกไต
ข้อมูลที่มีใช้เป็นแนวทางขั้นพื้นฐาน ทุกคนต่างแตกต่างกันและต้องการสารอาหารที่แตกต่างกันไป ปรึกษานักโภชนาการโรคไต (ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องอาหารและสารอาหารในคนที่เป็นโรคไต) เพื่อหาแผนการรับประทานที่เหมาะสม
ทำไมแบบแผนการรับประทานจึงมีความสำคัญ
สิ่งที่รับประทานและดื่มล้วนส่งผลต่อสุขภาพทั้งสิ้น การพยายามรักษาน้ำหนักตัวเพื่อสุขภาพและรับประทานอาหารให้มีความสมดุลคือรับประทานเกลือและไขมันให้ต่ำเพื่อช่วยควบคุมความดันโลหิต หากมีภาวะโรคเบาหวาน เราสามารควบคุมน้ำตาลในเลือดได้โดยการเลือกสิ่งที่รับประทานและดื่มอย่างระมัดระวัง การควบคุมความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานอาจช่วยป้องกันโรคไตไม่ให้แย่ลงได้ อาหารที่ดีสำหรับไตอาจช่วยปกป้องไตไม่ให้เกิดความเสียหายในอนาคต อาหารสำหรับโรคไตจะเป็นการจำกัดอาหารบางชนิดเพื่อป้องกันแร่ธาตุในอาหารเหล่านั้นมาสะสมในร่างกายอาหารสุขภาพเบื้องต้น
ด้วยแบบแผนการรับประทานอาหารซึ่งรวมไปถึงอาหารสำหรับคนเป็นโรคไต ต้องมีการเฝ้าติดตามจำนวนสารอาหารบางชนิดที่รับประทาน เช่น:- แคลลอรี่
- โปรตีน
- ไขมัน
- คาร์โบไฮเดรต
แคลลอรี่
ร่างกายต้องการพลังงานจากแคลลอรี่ที่เรารับประทานและดื่ม แคลลอรี่ที่ได้มาจากโปรตีน คาร์โบไฮเดรตและไขมันในอาหารที่รับประทาน จำนวนแคลลอรี่ที่ต้องการขึ้นอยู่กับอายุ เพศ ขนาดรูปร่างและระดับกิจกรรมที่ทำ อาจมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนปริมาณแคลลอรี่ที่รับประทานโดยดูพื้นฐานจากเป้าหมายน้ำหนักตัว บางคนอาจจำเป็นต้องจำกัดแคลลอรี่ที่รับประทาน ในบางคนอาจต้องการแคลลอรี่เพิ่มขึ้น แพทย์หรือนักโภชนาการจะช่วยหาจำนวนแคลลอรี่ที่ควรรับประทานในแต่ละวัน การทำงานร่วมกับนักโภชนาการจะช่วยเราในการวางแบบแผนเพื่อช่วยหาจำนวนแคลลอรี่ที่ถูกต้องและคอยเฝ้าติดตามช่วยเหลือโปรตีน
โปรตีนคือหนึ่งในรากฐานของร่างกาย ร่างกายของเราต้องการโปรตีนเพื่อการเจริญเติบโต รักษาเยียวยาและมีสุขภาพที่แข็งแรง การได้รับโปรตีนน้อยเกินไปอาจเป็นสาเหตุทำให้ผิวพรรณ เส้นผมและเล็บเริ่มอ่อนแอ แต่การได้รับโปรตีนมากเกินไปก็อาจเกิดปัญหาได้ การมีสุขภาพที่ดีและช่วยทำให้รู้สึกดี เราจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนปริมาณโปรตีนที่เรารับประทาน จำนวนโปรตีนที่ควรรับประทานนั้นขึ้นอยู่กับขนาดของรูปร่าง ระดับกิจกรรมที่ต้องทำและด้านสุขภาพที่ต้องเป็นกังวล แพทย์บางท่านอาจแนะนำให้คนที่มีภาวะโรคไตจำกัดโปรตีนหรือเปลี่ยนแหล่งของโปรตีน นั้นเป็นเพราะว่าการรับประทานโปรตีนในปริมาณสูงอาจทำให้ไตทำงานหนักขึ้นและอาจเป็นสาเหตุทำให้ไตเสียหายเพิ่มขึ้น ปรึกษาแพทย์หรือนักโภชนาการอาหารถึงจำนวนโปรตีนที่ควรรับประทานและแหล่งของโปรตีนที่ดีที่สุดสำหรับคุณ ใช้ตารางด้านล่างนี้เพื่อศึกษาว่าอาหารชนิดใดมีโปรตีนสูงหรือต่ำอาหารโปรตีนต่ำ:
- ขนมปัง
- ผลไม้
- ผัก
- พาสต้าและข้าว
อาหารโปรตีนสูง:
- เนื้อแดง
- เนื้อไก่
- ปลา
- ไข่
คาร์โบไฮเดรต
คาร์โบไฮเดรต (คาร์บ) คือแหล่งของพลังงานสำหรับร่างกายในการนำมาใช้ที่ง่ายที่สุด แหล่งคาร์โบไฮเดรตที่ดีต่อสุขภาพรวมถคงในผักและผลไม้ แหล่งคาร์โบไฮเดรตที่ไม่ไดีต่อสุขภาพรวมถึงน้ำตาล น้ำผึ้ง ลูกอม เครื่องดื่มอัดลมและเครื่องดื่มรสหวานอื่นๆ คาร์โบไฮเดรตบางชนิดมีโปรแตสเซียมและฟอสฟอรัสสูง ซคางจำเป็นต้องจำกัดขึ้นอยู่กับระยะของโรคไตที่มี ซึ่งจะพูดถึงเรื่องนี้กันภายหลัง อาจจำเป็นต้องเฝ้าระวังคาร์โบไฮเดรตอย่างระมัดระวังหากมีภาวะโรคเบาหวานด้วย นักโภชนาการจะสามารถช่วยให้ความรู้เกี่ยวกัคาร์โบไฮเดรตในแบบแผนการรับประทานอาหารและบอกถึงผลกระทบของน้ำตาลในเลือดไขมัน
เราต้องการไขมันในมื้ออาหารเพื่อให้มีสุขภาพที่แข็งแรง ไขมันจะช่วยให้พลังงานและช่วยในการใช้วิตามินบางชนิดในอาหาร แต่ไขมันที่มากเกินไปอาจเป็นสาเหตุทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นและเกิดโรคหัวใจได้ พยายามจำกัดปริมาณไขมันในมื้ออาหารลงและเลือกไขมันที่ดีต่อสุขภาพแทน ไขมันที่ดีต่อสุขภาพหรือไขมัน “ดี” เช่นไขมันไม่อิ่มตัว ตัวอย่างของไขมันไม่อิ่มตัวเช่น:- น้ำมันมะกอก
- น้ำมันถั่วลิสง
- น้ำมันข้าวโพด
- เนย
- น้ำมันหมู
- ชอตเทนนิ่ง
- เนื้อ
โซเดียม
โซเดียม (เกลือ) คือแร่ธาตุมี่พบได้ในอาหารเกือบทุกชนิด การได้รับโซเดียมมากเกินไปสามารถทำให้รู้สึกกระหาย ซึ่งสามารถนำไปสู่อาการบวมและความดันโลหิตสูง แีกทั้งยังทำให้ไตเสียหายมากขึ้นและหัวใจทำงานหนักขึ้น หนึ่งในสิ่งที่ดีที่สุดที่สามารถทำได้เพื่อการมีสุขภาพที่ดีคือการจำกัดปริมาณโซเดียมที่รับประทาน คือ:- ไม่เติมเกลือใส่ในอาหารเมื่อทำอาหารหรือรับประทาน ลองทำอาหารด้วยสมุนไพรสด น้ำมะนาวหรือเครื่องปรุงรสที่ปราศจากเกลือ
- เลือกผักสดหรือแช่แข็งแทนผักกระป๋อง ล้างและสะเด็ดน้ำเพื่อกำจัดเกลือที่เกินก่อนการทำอาหารหรือรับประทาน
- หลีกเลี่ยงเนื้อที่ผ่านกระบวนการเช่นแฮม เบคอน ไส้กรอก
- รับประทานผักและผลไม้สดมากกว่าแครกเกอร์หรืออาหารว่างที่มีเกลือ
- หลีกเลี่ยงซุปกระป๋องและอาหารแช่แข็งที่มีโซเดียมสูง หลีกเลี่ยงอาหารดองเช่นมะกอกและแตงกวา จำกัดเครื่องปรุงรสที่มีโซเดียมสูงเช่นซอสถั่วเหลือง ซอสบาบีคิวและซอสมะเขือเทศ
สัดส่วน:
การเลือกอาหารเพื่อสุขภาพคือจุดเริ่มต้นที่ดีเยี่ยม แต่การรับประทานทุกสิ่งที่มากเกินไปแม้แต่กับอาหารเพื่อสุขภาพก็ตามก็อาจเป็นปัญหาได้ ส่วนสำคัญอื่นของการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพก็คือการควบคุมสัดส่วนของอาหารหรือเฝ้าระวังปริมาณที่รับประทาน การช่วยควบคุมสัดส่วนในการรับประทานคือ:- เช็คฉลากข้อมูลโภชนาการบนอาหารเพื่อเรียนรู้ขนาดต่อการบริโภคและจำนวนของสารอาหารแต่ละชนิดต่อหนึ่งหน่วยบริโภค หลายๆบรรจุภัณฑ์อาจมีมากกว่าหนึ่งหน่วยบริโภค ยกตัวอย่างเช่น โซดาขวดขนาด 20 ออนซ์จริงๆแล้วคือมีหน่วยบริโภตเท่ากับสองหน่วยครึ่ง อาหารสดทุกชนิดเช่นผักและผลไม้ จะไม่ปรากฏในฉลากข้อมูลโภชนาการ ปรกษานักโภชนาการสำหรับรายชื่อสารอาหารสำหรับอาหารสดและเคล็ดลับในการวัดปริมาณสัดส่วนของอาหารที่ถูกต้อง
- รับประทานช้าๆและหยุดรับประทานเมื่อไม่หิว กระเพาะอาหารต้องใช้เวลาประมาณ 20 นาทีเพื่อบอกสมองว่าอิ่มแล้ว หากรับประทานเร็วเกินไปอาจทำให้รับประทานมากเกินกว่าที่ต้องการ
- หลีกเลี่ยงการรับประทานในขณะทำอย่างอื่น เมื่อมีความสนใจอย่างอื่นจะทำให้ไม่ทันรู้ตัวว่ารับประทานไปมากแค่ไหน
- ไม่ควรรับประทานอาหารในกล่องที่ใส่อาหารมา ควรตักออกมาหนึ่งหน่วยบริโภคและทิ้งที่เหลือในกล่องไป
อาหารที่ดีเพื่อคนเป็นโรคไตแตกต่างอย่างไร?
เมื่อไจทำงานไม่ดีอย่างที่ควร จะเกิดของเสียและของเหลวสะสมในร่างกาย เมื่อเวลาผ่านไปของเสียและของเหลวที่เกินจะเป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาต่อหัวใจ กระดูกและสุขภาพอื่นๆ แบบแผนมื้ออาหารที่ดีสำหรับคนเป็นโรคไตจะจำกัดจำนวนแร่ธาตุบางชนิดและของเหลวที่รับประทานและดื่ม แบบแผนการจำกัดขึ้นอยู่กับระยะของโรคไต สำหรับโรคไตระยะแรกอาจถูกจำกัดหรือไม่จำกัดอาการที่รับประทานหรือดื่ม แต่เมื่อไรคไตเริ่มแย่ลง แพทย์จะจำกัดดังต่อไปนี้:- โปแตสเซียม
- ฟอสฟอรัส
- ของเหลว
โปแตสเซียม
โปแตสเซียมคือแร่ธาตุที่พบได้ในอาหารเกือบทุกชนิด ร่างกายต้องการโปแตสเซียมเพื่อการทำงานของกล้ามเนื้อ แต่หากมีโปแตสเซียมมากเกินไปอาจเป็นอันตรายได้ เมื่อไตทำงานได้ไม่ดีระดับของโปแตสเซียมอาจสูงเกินไปหรือต่ำเกินไป ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้กล้ามเนื้อหดเกร็ง มีปัญหาต่อการเต้นของหัวใจและกล้ามเนื้ออ่อนแรง หากเป็นโรคไตอาจจำเป็นต้องจำกัดปริมาณโปแตสเซียมที่รับประทาน ปรึกษาแพทย์หรือนักโภชนาการหากจำเป็นต้องจำกัดโปแตสเซียม ใช้รายชื่อด้านล่างเพื่อเรียนรู้ว่าอาหารใดมีโปแตสเซียมต่ำหรือสูง นักโภชนาการจะช่วยให้คุณเรียนรู้การรับประทานอาหารเพื่อความปลอดภัยในอาหารที่มีโปแตสเซียมสูงอาหารที่มีโปแตสเซียมต่ำ
- แอปเปิ้ล แครนเบอรี่ องุ่น สัปปะรดและสตอเบอรี่
- กระหล่ำดอก หัวหอม พริก แรดิช น้ำเต้า ผักกาดหอม
- พิต้า ทอทิลล่าและขนมปังขาว
- เนื้อวัวและเนื้อไก่ ข้าวขาว
อาหารที่มีโปแตสเซียมสูง
- อะโวคาโด กล้วย เมล่อน ส้ม พรุนและลูกเกด
- อาร์ติโชค ฟักทองเทศ กล้วยกล้าย ผักโขม มันฝรั่งและมะเขือเทศ
- ผลิตภัณฑ์รำข้าวและกราโนล่า
- ถั่ว(อบ ดำ ปินโตและอื่นๆ)
ฟอสฟอรัส
ฟอสฟอรัสคือแร่ธาตุที่พบในอาหารเกือบทุกชนิด ทำงานร่วมกับแคลเซียมและวิตามินดีเพื่อทำให้กระดูกแข็งแรง ไตที่มีสุขภาพที่ดีจะช่วยรักษาจำนวนฟอสฟอรัสในร่างกายที่ถูกต้อง เมื่อไตทำงานไม่ดี ฟอสฟอรัสจะสะสมในเลือด เมื่อเกิดมีฟอสฟอรัสมากเกินไปในเลือดอาจนำไปสู่กระดูกอ่อนแอซึ่งแตกหักได้ง่ายขึ้นของเหลว
เราต้องการของเหลวเพื่อมีชีวิต แต่เมื่อมีภาวะโรคไต เราอาจไม่ต้องการมากนัก เป็นเพราะไตเสียหายจึงไม่สามารถกำจัดของเหลวส่วนเกินอย่างที่ควรจะมี การมีของเหลวมากเกินไปในร่างกายสามารถเป็นอันตรายได้ ซึ่งเป็นสาเหตุของความดันโลหิตสูง บวมและหัวใจล้มเหลว ของเหลวส่วนเกินสามารถสะสมอยู่รอบๆปอดและทำให้ยากต่อการหายใจ ขึ้นอยู่กับระยะของโรตไตและการรักษา แพทย์จะขอให้จำกัดของเหลวจึงจำเป็นต้องตัดปริมาณการดื่ม ควรตัดอาหารบางชนิดที่มีน้ำเยอะ ซุปหรืออาหารที่ละลายได้เช่นน้ำแข็ง ไอศกรีมและเจลาตินจะมีน้ำเยอะ ผักและผลไม้เองก็มีน้ำสูงเช่นกัน หากมีการจำกัดของเหลวควรวัดปริมาณของเหลวและเครื่งดื่มให้เป็นถ้วยเล็กๆเพื่อช่วยติดตามปริมารของเหลวที่บริโภค การจำกัดโซเดียมจะเป็นลดทอนความกระหายลงอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
เมื่อจัดการกับโรคไต จำเป็นต้องรับประทานอาหารที่เป็นมิตรต่อไตเพื่อช่วยลดภาระงานของไตและรักษาสุขภาพโดยรวม ต่อไปนี้เป็นอาหารและเครื่องดื่มที่โดยทั่วไปควรจำกัดหรือหลีกเลี่ยงเมื่อคุณเป็นโรคไต:- อาหารโซเดียมสูง:โซเดียมส่วนเกินสามารถเพิ่มความดันโลหิตและทำให้ไตเครียดได้ จำกัดหรือหลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป ซุปกระป๋อง เนื้อสำเร็จรูป อาหารจานด่วน ของขบเคี้ยวรสเค็ม และเครื่องปรุงรสที่มีโซเดียมสูง (เช่น ซีอิ๊ว ซอสมะเขือเทศ และน้ำสลัด)
- อาหารที่มีโพแทสเซียมสูง:สำหรับบุคคลที่เป็นโรคไต ระดับโพแทสเซียมในเลือดสูงอาจเป็นอันตรายได้ จำกัดอาหารที่อุดมด้วยโพแทสเซียม เช่น กล้วย ส้ม มันฝรั่ง (โดยเฉพาะมันเทศ) มะเขือเทศ ผักโขม อะโวคาโด และผลไม้แห้ง
- อาหารที่มีฟอสฟอรัสสูง:ในระยะลุกลามของโรคไต ไตอาจมีปัญหาในการขจัดฟอสฟอรัสออกจากเลือด จำกัดอาหารที่อุดมด้วยฟอสฟอรัส เช่น ผลิตภัณฑ์นม (นม ชีส โยเกิร์ต) ถั่ว ธัญพืชไม่ขัดสี และอาหารแปรรูปที่เติมสารฟอสเฟต
- อาหารที่มีโปรตีนสูง:การบริโภคโปรตีนมากเกินไปอาจทำให้ภาระงานของไตเพิ่มขึ้น จำกัดอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น เนื้อแดง สัตว์ปีก ปลา ไข่ และผลิตภัณฑ์จากนม เลือกใช้แหล่งโปรตีนไร้ไขมันในปริมาณที่น้อยลง และปรับสมดุลการบริโภคโปรตีนด้วยโปรตีนทางเลือกจากพืช
- อาหารแปรรูป:อาหารแปรรูปและบรรจุหีบห่อมักจะมีโซเดียม ฟอสฟอรัส และสารปรุงแต่งในระดับสูงซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพไต จำกัดเนื้อสัตว์แปรรูป อาหารแช่แข็ง อาหารกระป๋อง และอาหารสะดวกซื้อ
- อาหารที่มีออกซาเลตสูง:นิ่วในไตบางชนิดทำจากผลึกแคลเซียมออกซาเลต หากคุณมีประวัตินิ่วในไต ให้จำกัดอาหารที่มีออกซาเลตสูง เช่น ผักโขม รูบาร์บ บีทรูท ถั่ว ช็อกโกแลต และชา
- เครื่องดื่มบางชนิด:จำกัดหรือหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่อาจส่งผลให้ร่างกายขาดน้ำ เพิ่มความดันโลหิต หรือมีสารปรุงแต่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของไต ซึ่งรวมถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่มีน้ำตาล เครื่องดื่มชูกำลัง และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนสูง
- ของเหลวมากเกินไป:สำหรับบุคคลที่เป็นโรคไตซึ่งมีข้อจำกัดเรื่องของเหลว การตรวจสอบปริมาณของเหลวอย่างระมัดระวังเป็นสิ่งสำคัญ จำกัดปริมาณของเหลวให้อยู่ในปริมาณที่แนะนำโดยผู้ให้บริการด้านสุขภาพของคุณ เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ของเหลวมีมากเกินไปและทำให้ไตเกิดความเครียด
- สมุนไพรบางชนิด:สมุนไพรและอาหารเสริมบางชนิดอาจมีผลเสียต่อการทำงานของไตหรือมีปฏิกิริยากับยา ปรึกษากับผู้ให้บริการด้านสุขภาพก่อนรับประทานสมุนไพรหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
- สารทดแทนเกลือ:หลีกเลี่ยงสารทดแทนเกลือที่มีโพแทสเซียมคลอไรด์ หากคุณต้องการจำกัดการบริโภคโพแทสเซียม สารทดแทนเหล่านี้สามารถเพิ่มระดับโพแทสเซียมในเลือดและอาจเป็นอันตรายต่อผู้ที่เป็นโรคไต
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น