15 ข้อดีเฉพาะตัวของชาอู่หลง (Health Benefits of Oolong Tea)

ผู้เขียน Dr. Sommai Kanchana
0
15 ข้อดีเฉพาะตัวของชาอู่หลง
ชาเป็นเครื่องดื่มที่ดีต่อสุขภาพมากที่สุดในโลก ฟังดูดีเกินจริงใช่ไหม แต่ผลการศึกษาจำนวนมากแสดงว่าน่าจะจริง ชาแต่ละชนิดแตกต่างกัน และชาบางชนิดอาจจะดีต่อสุขภาพมากกว่า ซึ่งคุณสมบัตินี้ขึ้นกับชนิดของชาและวิธีการผลิตด้วย มีผลการศึกษาชิ้นหนึ่งชี้ว่าชาทั่วๆไปมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระมากกว่า “พืชที่เป็นยาอื่นๆ เห็ดที่กินได้ ผัก ผลไม้ เปลือก และเมล็ดผลไม้และผลไม้ป่า”

ชาจีนอู่หลงคืออะไร

ชาอู่หลงจัดเป็นชาป่าและมีคุณสมบัติอเนกประสงค์มากที่สุดในบรรดาชา ทำมาจากใบชา,ยอดอ่อนและกิ่งของต้น Camellia sinensis และอยู่ตรงกลางระหว่างชาเขียว และชาดำ ซึ่งมีอัตราการผสมกับออกซิเจน(oxidation rate)ได้ตั้งแต่ 10-90% ชาอู่หลงบางชนิดเกือบจะผสมกับออกซิเจนได้100% ทำให้มีคุณสมบัติเทียบเท่าชาดำ ในขณะที่ชาอื่นมีสีเขียวและรสชาติเบา แต่ชาอู่หลงใช้ชาทั้งช่อที่มีทั้งใบและยอดอ่อน รสชาติจะมีตั้งแต่กลิ่นดอกไม้อ่อนๆจนถึงกลิ่นอบเชย กลิ่นขนมปังปิ้ง ผลไม้สุกและกลิ่นน้ำตาลไหม้ ชาอู่หลงยอดนิยมมาจากจีนและไต้หวัน นอกจากนี้แล้วยังมีประเทศอื่น ๆ ที่ปลูกชาอู่หลงเช่น ไทย เวียดนาม ญี่ปุ่นและอินเดีย แต่ละชนิดจะมีกลิ่น รสและใบที่ขึ้นกับแหล่งปลูก ไต้หวันมีชื่อเสียงในการผลิตอู่หลงบนภูเขาสูง ซึ่งสูงเกิน1,000 เมตร ความสูง ภูมิอากาศเฉพาะและอากาศเย็น ทำให้เกิดกลิ่นดอกไม้ผสมผสาน รสบางเบาและหวานซึ่งคงรสกลิ่นหอมละมุน ชาจีน Dan cong มีชื่อเสียงมากจากรสชาติที่แตกต่างกันเป็นร้อย ๆ รส และเก็บจากต้นชาที่โตเต็มที่ ไม่ใช่จากต้นชาต้นเล็ก ชาอู่หลงจาก Wu Yi เช่น  Qi Lan และ Red Robe มีชื่อเสียงมากจากกลิ่นและรสชาติเฉพาะ และยังผสมกับออกซิเจนได้ดีกว่าด้วย

ประโยชน์ของชาอู่หลงที่ดีต่อสุขภาพ

ชาอู่หลงมีส่วนประกอบของทั้งชาเขียวและชาดำ เพราะถูกออกซิไดซ์มาครึ่งหนึ่งแล้ว จึงมี Catechins มากกว่าชาดำ แต่ปฏิกิริยาออกซิไดซ์ของชาไม่ได้มาจาก Catechins เพียงอย่างเดียว สาร Caffeine Theaflavine  Gallic acid  Chlorogenic acid  Ellagic acid, และ Kaempferol-3-O-glucoside เหล่านี้เป็นสารต้านอนุมูลอิสระเช่นเดียวกัน การศึกษาในจีนประเมินความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระของชา 30 ชนิด และพบว่าชาอู่หลงมีค่าเฉลี่ยในการต้านอนุมูลอิสระมากกว่าชาสีเข้ม ชาดำหรือชาขาว และมีค่านี้สูงกว่าชาเขียวบางชนิดถึง 100% ซึ่งที่จริงแล้ว ค่าเฉลี่ยของ Phenolic ในชาเขียวสูงกว่าในชาอู่หลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ถ้าต้องการผลดีจากการต้านออกซิเดชั่น (และมีผลต้านอนุมูลอิสระด้วย) ควรเลือกชาอู่หลงที่มีสีเขียว และออกซิไดซ์น้อยกว่า เช่น  Ti Kwan Yin หากไม่มีระดับค่าออกซิเดชั่นในคำอธิบายให้สังเกตสีใบชาและวิธีการชงชา จะช่วยบอกถึงระดับค่าออกซิเดชั่นได้ ใบชาที่สีเข้มและสีน้ำชาที่ออกสีแดงเป็นตัวบ่งบอกว่ามีค่าออกซิเดชั่นสูง ชาอู่หลงนั้นถูกออกซิไดซ์มากึ่งหนึ่งแล้ว จึงมี EGCg จากการศึกษาในจีนแสดงว่าในใบชาอู่หลงแห้งหนึ่งกรัมมี EGCg 20-30 มิลลิกรัม แต่ชาดำส่วนใหญ่ที่ศึกษานั้นมีน้อยกว่าหนึ่งมิลลิกรัมในใบชาแห้งหนึ่งกรัม ชาเขียวมีประมาณ 30-60 มิลลิกรัม ชาอู่หลงส่วนใหญ่จะชงได้ 5-10 ครั้งและยังคงรสและกลิ่นที่ดี และยังเพิ่มปริมาณสารอาหารขึ้นเรื่อยๆด้วย คุณชงชาด้วยน้ำร้อนที่เกือบจะเดือดและรื่นรมย์กับรสชาติของมัน

ชาอู่หหลง สรรพคุณ

1.ชาอู่หลงลดความอ้วน

ชาอู่หลงเป็นหนึ่งในชายอดนิยมที่ใช้ลดน้ำหนัก จากการศึกษาพบว่าชาอู่หลงอาจช่วยลดน้ำหนักจากการกินอาหารที่มีไขมันมาก   ชาอู่หลงอาจช่วยในการป้องกันความอ้วนได้ ที่จริงแล้วช่วยได้แม้ผู้นั้นไม่ได้ออกกำลังเพิ่มหรือพยายามจะทำอย่างอื่นเพื่อลดความอ้วน การศึกษาในจีน ในคนที่น้ำหนักเกินและอ้วน 102คน พบว่า 70% ของผู้ป่วย น้ำหนักลดไป 1 กิโลกรัมภายในหกสัปดาห์ของการดื่มชาอู่หลงทุกวัน และยิ่งกว่านั้นเกือบหนึ่งในสี่ของผู้ป่วยคือ 22% น้ำหนักลดไปถึง 3 กิโลกรัม และการศึกษายังชี้ให้เห็นว่าการดื่มชาอู่หลงเข้มข้นอาจช่วยเพิ่มการเผาผลาญและออกซิเดชั่นของไขมันได้ถึง 12%

2.เป็นชาลดความดันโลหิต

เมื่อ 35 ปีที่แล้ว นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นได้พัฒนาชาชนิดพิเศษชื่อ GABA เป็นชาอู่หลงที่ผ่านการออกซิไดซ์มีกรด Amma-aminobutyric ถึง 150มิลลิกรัมต่อใบชาแห้ง 100 กรัม มากกว่าชาชนิดอื่นๆ การศึกษาพบว่าชา GABA อาจลดความดันโลหิตได้ 14-17% เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม

3.ช่วยให้หลับสบาย

การวิจัยพบว่า GABA ร่วมกับL-theanine อาจช่วยให้นอนหลับเร็วและหลับได้นานขึ้น ซึ่งชาอู่หลงมีสารทั้งสองตัว ชาอู่หลงชนิดธรรมดามี GABA ราว 0.25 มิลลิกรัมต่อน้ำชา 200 มิลลิลิตร ในขณะที่ชาที่เพิ่ม GABA มีประมาณ 2 มิลลิกรัมต่อน้ำชา200 มิลลิลิตร

4.ช่วยลดน้ำตาลในเลือด

Polyphenol ในชาอู่หลงอาจมีประโยชน์ในการหยุดการทำงานของเอนไซม์ย่อย α–amylase การที่เอนไซม์นี้ทำงานมากไปจะทำให้น้ำตาลในเลือดสูง ชาอู่หลงจึงมีประโยชน์สำหรับผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2(ที่เกิดจาการดื้ออินซูลิน)

5. เพิ่มแบคทีเรียชนิดดีในลำไส้

ความไม่สมดุลของแบคทีเรียในลำไส้จะกระตุ้นให้เกิดปัญหาทางสุขภาพ ตั้งแต่ การอักเสบของลำไส้ อาการแพ้ โรคจากการเผาผลาญที่ผิดปกติและโรคตับ ชาอู่หลงจะช่วยเพิ่มสมดุลของแบคทีเรียชนิดดีและเอื้อต่อการทำงานของมัน โดยเฉพาะเมื่อกินอาหารไขมันสูง

6. ต่อสู้มะเร็ง

การศึกษาพบว่า polyphenol ในชาอู่หลงอาจช่วยหยุดการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านม การศึกษาอื่นยังพบว่าชาจีน Dan cong “อาจออกฤทธิ์เป็นทดแทนตัวต้านอนุมูลอิสระและต้านมะเร็ง” การดื่มชาอู่หลงเป็นประจำอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งรังไข่ด้วย

7. ลดการอักเสบของเส้นเลือด

ชาจากต้นชาทุกชนิดอาจช่วยให้สุขภาพหัวใจดีขึ้น  การศึกษาพบว่าชาอู่หลงอาจช่วยลดการอักเสบของเส้นเลือดที่เกิดจากการกินเนื้อแดงมาก จึงมีผลช่วยลดโรคของระบบหัวใจและหลอดเลือดBenefits of Oolong Green Tea

8. ป้องกันสมอง

การดื่มชาเป็นประจำอาจช่วยป้องกันโรคจากการเสื่อมของเซลล์สมอง เช่น โรคพาร์กินสัน จากการศึกษาพบว่าการดื่มชา 3 ถ้วยต่อวันเป็นเวลาสิบปี อาจช่วยลดความเสี่ยงลงได้ถึง 28% นักวิทยาศาสตร์บอกว่าเป็นเพราะEGCg และความสามรถของมันในการต่อต้านอนุมูลอิสระ

9. ลดระดับคอเลสเตอรอล

การดื่มชาอู่หลงสม่ำเสมอทุกวันมีผลต่อระดับคอเลสเตอรอล การทดลองทางคลีนิคชิ้นหนึ่งพบว่าการดื่มชาอู่หลง 600 ซีซีต่อวันลด LDL หรือโคเลสเตอรอลร้ายลงได้ 6.69% และอาจช่วยลดความเสี่ยงของการมีไขมันในเลือดผิดปกติและความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ ในการทดลองอื่น ผู้ที่ดื่มชาอู่หลงวันละ 1,000 ซีซีต่อวัน พบว่าทั้งระดับ LDL และ hemoglobin A1c(ระดับน้ำตาลในเลือดเฉลี่ยย้อนหลัง 3 เดือน)ลดลง

10. เพิ่มมวลกระดูก

แม้ว่าคุณอาจจะคาดไม่ถึง แต่มวลกระดูกนี้สำคัญในการป้องกันโรคกระดูกผุและกระดูกหัก Polyphenol ในชาอาจช่วยเพิ่มมวลกระดูกและความแข็งแรงของกระดูก

11. ลดการเกิดหินปูน และป้องกันฟันผุ

การดื่มชาอู่หลงก่อนและหลังอาหารอาจช่วยให้ฟันสะอาด มีการศึกษาพบว่าการกลั้วปากด้วยน้ำชาอู่หลงอาจ “ช่วยหยุดการสะสมของคราบฟันได้อย่างมีนัยสำคัญ”

12. เพิ่มความกระฉับกระเฉง

เหมือนกับชาจริงๆทั่วไป ชาอู่หลงมีคาเฟอีน การวิจัยในจีนแสดงว่าชาอู่หลง (Ti Kwan Yin) มีคาเฟอีนน้อยกว่าครึ่งของชาขาวและมีคาเฟอิน 26% ของคาเฟอีนในชาผู่เอ้อ แต่การศึกษาจากชาที่ขายทั่วไป 37 ชนิดพบว่าชาอู่หลง มีคาเฟอีนมากเป็นสองเท่าของชาเอิร์ลเกรย์ ชาอัสสัมและชาเบรคฟาสต์ ชาที่มีคาเฟอีนมากก็มี L-theanine มากด้วย ซึ่งL-theanine ช่วยให้ผ่อนคลาย จึงทำให้กระฉับกระเฉงแต่ไม่กระวนกระวาย

13.  ลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง

ชาอู่หลงและชาเขียวอาจช่วยลดความเสี่ยงของเส้นเลือดตีบ และโรคหลอดเลือดสมองข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ชี้ว่า ผู้ที่ดื่มชาอู่หลงหรือชาเขียว 1 ถ้วยต่อวันมีความเสี่ยงจากการเกิดเส้นเลือดในสมองตีบน้อยกว่าผู้ที่ดื่มชาไม่สม่ำเสมอและผู้ที่ดื่ม 3 ถ้วยต่อวันจะลดความเสี่ยงได้มากกว่าผู้ที่ดื่มวันละแก้วได้ถึง 21%

14. ปรับสภาพอารมณ์และคลายความเครียด

L-theanine ในชาอาจช่วยปรับอารมณ์และคลายความเครียด กรดอมิโนนี้พบในชาเกือบทุกชนิดยกเว้นในชาผู่เอ้อซึ่งมีน้อยมาก ผลการศึกษาชิ้นหนึ่งแสดงว่าชาขาว.เขียวและชาอู่หลงโดยเฉลี่ยมีL-theanineมากกว่าชาดำ จากการทดลองโดยมีผู้อาสาที่สุขภาพแข็งแรง 16 คน พบว่า L-theanine ช่วยลดความกังวลและลดความดันโลหิตสูงซึ่งเกิดจากความเครียดสูง

15. การรักษา eczema ชนิดดื้อยา

การทดลองทางคลีนิคในญี่ปุ่นพบว่าการดื่มชาอู่หลง 10กรัมต่อวันมีผลให้อาการ eczema ดีขึ้น 63% หลังจากรักษาไป 1-2 สัปดาห์

ผลข้างเคียง

การดื่มชาตามปกติไม่มีผลเสีย แต่ชาอู่หลงมีทั้งคาเฟอีน และ EGCg ใบชาอู่หลงแห้งหนึ่งกรัมมีEGCg ไม่เกิน 30 มิลลิกรัม ดังนั้นการดื่มชานี้วันละไม่เกิน 15 กรัม(น้ำหนักใบชาแห้ง)ถือว่าปลอดภัย (ใบชาอู่หลงแห้งหนึ่งกรัมมีคาเฟอีน 10-40 มิลลิกรัม เฉลี่ยราว 20-30 มิลลิกรัมต่อชาหนึ่งกรัม)  ตัวอย่างเช่น การชงชาแบบตะวันตกใช้ใบชาราว 2-3 กรัม ในขณะที่การชงแบบตะวันออกต้องใช้ใบชาราว 5-7 กรัม ต่อการชงหนึ่งครั้ง แต่ทั้งคาเฟอีนและ EGCg ต้องการอุณหภูมิของน้ำที่สูงมากและใช้เวลาแช่ชาในน้ำร้อนนาน ในการที่จะสกัดออกมาได้เต็มที่ หากคุณไวต่อคาเฟอีนควรเลี่ยงการดื่มชามากๆ

อันตรายจากการดื่มชาอู่หลง

การชงชาแบบตะวันตกใช้ใบชาราว 2-3 กรัม ในขณะที่การชงแบบตะวันออกต้องใช้ใบชาราว 5-7 กรัม ต่อการชงหนึ่งครั้ง แต่ทั้งคาเฟอีนและ EGCg ต้องการอุณหภูมิของน้ำที่สูงมากและใช้เวลาแช่ชาในน้ำร้อนนาน ในการที่จะสกัดออกมาได้เต็มที่ หากคุณไวต่อคาเฟอีนควรเลี่ยงการดื่มชาในปริมาณมากๆ อันตรายที่สำคัญของชาอู่หลงคือความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการดื่มคาเฟอีนเรื้อรังหรือมากเกินไป ประกอบด้วย:
  • หัวใจเต้นเร็ว
  • ใจสั่น
  • นอนไม่หลับ
  • ประหม่า
  • อาการสั่น
  • ปวดหัว
  • อาการปวดท้อง
  • คลื่นไส้ อาเจียน และท้องร่วง
  • ทำให้ปัสสาวะบ่อย
คาเฟอีนอาจทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนสำหรับผู้ที่มี:
  • โรควิตกกังวล
  • ความผิดปกติของเลือดออก
  • โรคเบาหวาน
  • อาการลำไส้แปรปรวน
  • ต้อหิน
  • ความดันโลหิตสูง
  • โรคกระดูกพรุน
สตรีมีครรภ์ควรจำกัดตัวเองให้ดื่มชาไม่เกินสามแก้วต่อวัน เนื่องจากคาเฟอีนส่วนเกินอาจทำให้เกิดปัญหา เช่น การคลอดก่อนกำหนด และน้ำหนักแรกเกิดน้อย การดื่มชาอาจรบกวนการดูดซึมธาตุเหล็ก ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก คุณไม่ควรดื่มชาอูหลงร่วมกับสารกระตุ้นอื่นๆ เช่น ยาบ้า หรืออีเฟดรีน การทำเช่นนี้อาจทำให้เกิดปัญหาหัวใจร้ายแรงได้ หลีกเลี่ยงชาอูหลงหากคุณใช้ยาลดความอ้วนเช่นเฮปารินหรือวาร์ฟาริน (คูมาดิน) หลีกเลี่ยงชาอูหลงหากคุณใช้สมุนไพรหรืออาหารเสริมที่ช่วยชะลอการแข็งตัวของเลือด เช่น:
  • กระเทียม
  • กานพูล
  • ขิง
  • แปะก๊วย 
ปรึกษาการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและยาทางเลือกอื่น ๆ กับแพทย์ของคุณเสมอ 

ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:

วัตถุประสงค์ของบทความนี้ไม่ใช่เพื่อวินิจฉัยหรือรักษาโรคใดๆ หรือเพื่อทดแทนความเห็นของแพทย์ อย่ารักษาโรคด้วยตัวเอง หรือดื่มน้ำชาปริมาณมาก ไม่ว่าจะเป็นชาจริงหรือชาสมุนไพร คนทุกคนมีความแตกต่าง ไม่สามารถให้ความเห็นเกี่ยวกับผลดีหรือผลข้างเคียงโดยทั่วไปได้

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.healthline.com/nutrition/oolong-tea-benefits
  • https://www.lifehack.org/articles/lifestyle/10-amazing-benefits-oolong-tea-you-didnt-know.html
  • https://www.medicalnewstoday.com/articles/319276
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด