ยาโรคกระเพาะ (Gastritis Drug) – ผลข้างเคียง

สาเหตุการเกิดโรคกระเพาะ

โรคกระเพาะมีสาเหตุมาจากการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารที่มากเกินไป รวมทั้งเยื่อบุกระเพาะอาหาร และลำไส้มีความต้านทานต่อกรดลดลง ทำให้เกิดแผลที่กระเพาะอาหารได้  และปัจจุบันพบว่ามีปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะได้อีกหลายปัจจัย เช่น การติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (Helicobactor Pylori) การรับประทานอาหาร หรือสิ่งแปลกปลอมที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อกระเพาะ และลำไส้ รวมถึงพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกต้อง การสูบบุหรี่ ซึ่งเป็นการเพิ่มโอกาสทำให้เกิดแผลที่ลำไส้เล็กส่วนต้น และอาจเกิดจากการคิดมาก เครียด นอนไม่หลับ พักผ่อนไม่เพียงพอ เครียดอาการซึมเศร้าวิตกกังวล อารมณ์หงุดหงิด ในปัจจุบันการรักษา H.pylori ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะอาหาร ตัวการที่ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร และมะเร็งกระเพาะอาหาร ที่ดีที่สุดประกอบด้วยการใช้ยา 3 ชนิด ได้แก่ ใช้ยาปฏิชีวนะ 2 ชนิดร่วมกับการใช้ยาลดการหลั่งกรด หรือยาเคลือบกระเพาะ อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งวิธีนี้สามารถรักษาผู้ป่วยได้มากกว่าร้อยละ 90

อาการเมื่อเป็นโรคกระเพาะ

อาการของโรคกระเพาะจะปวดเป็นๆหายๆ วันละหลายๆครั้ง  โดยปวดแสบ ปวดร้อน จุกเสียด หรือจุกแน่นบริเวณใต้ลิ้นปี่ ซึ่งจะเกิดอาการก่อนรับประทานอาหารหรือหลังรับประทานอาหารเพิ่งเสร็จใหม่ๆ และเวลาท้องว่าง ซึ่งเมื่อได้รับประทานอาหาร หรือรับประทานยาลดกรด อาการปวดก็จะบรรเทาลง

อาการแทรกซ้อน

โรคกระเพาะดูเหมือนจะเป็นโรคที่ไม่ร้ายแรง แต่ถ้าไม่ได้รับการรักษา และดูแลที่ถูกต้อง อาจทำให้มีอาการหนักมากขึ้น และสามารถเป็นโรคกระเพราะเรื้อรัง อาจส่งผลให้เกิดเลือดออกในกระเพาะอาหาร โดยการเกิดเลือดออกในกระเพาะอาหารจะมีอาการถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ หรืออาเจียนเป็นเลือดลักษณะคล้ายผงกาแฟบดปะปนอยู่ อาจมีอาการปวดท้องรุนแรงหน้าท้องแข็ง กดเจ็บ ซึ่งเป็นผลมาจากกระเพาะลำไส้เป็นแผลทะลุ หากมีอาการปวดท้อง รับประทานอาหารได้น้อย อิ่มเร็ว และอาเจียนเป็นอาหารที่ไม่ย่อยหลังรับประทานอาหาร อาจมีผลมาจากการที่กระเพาะลำไส้เกิดการตีบตัน ซึ่งภาวะเหล่านี้นับเป็นภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรง และอาจเป็นอันตรายแก่ชีวิต 

วิธีรักษาโรคกระเพาะ

วิธีรักษาโรคกระเพาะ มีอยู่ด้วยกัน 3 แบบ คือ การรักษาโดยไม่ใช้ยา การรักษาแบบใช้ยา และการผ่าตัด ซึ่งการรักษาวิธีใดขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ ซึ่งการรักษาโดยไม่ใช้ยา จะเน้นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการรับประทานอาหาร โดยเลือกรับประทานที่สะอาดในปริมาณที่เหมาะสม รับประทานอาหารอ่อนที่ย่อยง่าย และหลีกเลี่ยงอาหารรสจัด ของทอด หรืออาหารที่มีฤทธิ์เป็นกรดสูง หรือมีไขมันมาก โดยประทานอาหารให้ตรงเวลา ล้างมือก่อน และหลังรับประทานอาหารเสมอ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคที่อาจปะปนเข้าไปในร่างกาย หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และไม่ควรดื่มชา กาแฟ น้ำอัดลม และแอลกอฮอล์ ในปริมาณที่มากเกินไป พักผ่อนให้เพียงพอ และไม่เครียด เน้นทำกิจกรรมที่ทำให้ผ่อนคลาย และสำหรับผู้ที่รับประทานยาในกลุ่มบรรเทาอาการปวด โดยเฉพาะยาแอสไพริน ควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรถึงปริมาณการใช้ยาที่เหมาะสม การรักษาด้วยยา จะต้องรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ ทานครบถูกต้องตามจำนวนและระยะเวลาที่แพทย์สั่ง แม้ว่าอาการจะดีขึ้นก็ต้องกินยาต่อจนครบ จนกว่าแพทย์จะสั่งลดยา หรือหยุดยา การผ่าตัดเป็นวิธีหนึ่งในการรักษาโรคกระเพาะแต่ไม่เป็นที่นิยมมากนัก เพราะการผ่าตัดอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้ เช่น เลือดออกในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก โดยไม่สามารถทำให้เลือดหยุดออกได้ แผลกระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กเกิดการทะลุ หรือกระเพาะอาหารมีการอุดตัน

Gastritis Drug

ยารักษาโรคกระเพาะอาหาร

ปัจจุบันยาที่ใช้รักษาโรคกระเพาะอาหารแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ

1.ยาลดกรด(Antacid)

ยาลดกรดควรรับประทานหลังอาหาร 1 ชม. หรือก่อนอาหาร 2 ชม. หรือรับประทานเป็นมื้อสุดท้ายก่อนนอน ให้รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนตวง แล้วดื่มน้ำตาม 1-2 แก้ว ในระยะแรกให้ยาทุกหนึ่งชั่วโมง เมื่ออาการดีขึ้นอาจเปลี่ยนเป็นรับประทานยาทุก 1-2 ชั่วโมง

2.ยาลดการหลั่งกรด (Acid-Supperssing Drugs)

ยาลดการหลั่งกรดมีสองชนิด คือ
  • Histamine-2 Receptor Antagonists (H2-Blockers)
เช่น  Cimetidine, Ranitidine, Famotidine, Nizatidine หลังได้รับยาไปประมาณหนึ่งสัปดาห์ สามารถลดอาการปวดได้ดี
  • Cimetidine ทานครั้งละ 400 mg วันละ 2 ครั้ง
หรือทาน 800 mg วันละครั้งโดยให้รับประทานก่อนนอน
  • Ranitidine ทานครั้งละ 150 mg วันละ 2 ครั้ง
หรือทาน 300 mg วันละครั้งโดยให้รับประทานก่อนนอน
  • Famotidine ทานครั้งละ 20 mg วันละ 2 ครั้ง
หรือทาน 40 mg วันละครั้งโดยให้รับประทานก่อนนอน
  • Nizatidine ทานครั้งละ 150 mg วันละ 2 ครั้ง
หรือทาน 300 mg วันละครั้งโดยให้รับประทานก่อนนอน
  • Proton Pump Inhibitors
เช่น Omeprazole, Lansoprazole ให้รับประทานวันละครั้งหลังอาหาร สามารถช่วยลดอาการปวดท้อง และช่วยให้แผลหายเร็วกว่ายาอื่นๆ

3.ยาปฏิชีวนะ

ยาปฏิชีวนะเป็นยาที่สำคัญที่สุดสำหรับใช้เพื่อรักษาโรคกระเพาะที่เกิดจาก H.pylori ได้แก่ Metronidazole, Tetracycline, Clarithromycin, Amoxicillin
  • Clarithromycin ทานวันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 500 mg
  • Amoxycillin ทานวันละ 2 ครั้ง ครั้งละ  1,000 mg
  • Metronidazole ทานวันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 400 mg
  • Tetracyclin ทานวันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 500 mg
โดยยาที่นิยมใช้รักษาแผลกระเพาะอาหารจากเชื้อโรค ได้แก่ การใช้ยา Amoxicillin และ Clarithromycin  และ Omeprazole

4.ยาเคลือบกระเพาะ (Stomach-Lining Protector)

เช่น Bismuth Subsalicylate, Sucralfate ใช้เพื่อเคลือบแผลในกระเพาะอาหาร

ผลข้างเคียงจากการรับประทานยาโรคกระเพาะ

การรับประทานยาเพื่อรักษาโรคกระเพาะอาหารนั้นตัวยาส่วนใหญ่มีผลข้างเคียงน้อย แต่อาจมีตัวยาบางตัวที่มีผลข้างเคียงทำให้คลื่นไส้ อาเจียน เม็ดเลือดขาวต่ำ  ตับอักเสบ เต้านมโต และทำให้ยาบางชนิดถูกทำลายลดลงก่อให้เกิดการคั่งของยา เช่น ยา Cimetidine

วิธีแก้ปวดท้องโรคกระเพาะเบื้องต้น

หากปวดท้องโรคกระเพาะแนะนำให้รับประทาน กล้วยน้ำว้า เนื่องจากมีสารอาหารมากมาย และมีเอนไซม์ต่างๆ ที่ช่วยเร่งสมานแผลในกระเพาะอาหารได้ดี การรับประทานกระเทียมสดซึ่งมีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อที่ดีมาก และว่านหางจระเข้ที่มีสรรพคุณช่วยลดอาการอักเสบ และมีสารไกลโคโปรตีนที่สามารถช่วยรักษาโรคกระเพาะ และอาการกรดไหลย้อนได้เป็นอย่างดี หรือเลือกรับประทานขมิ้นชัน ซึ่งมีสรรพคุณบรรเทาอาการปวดท้อง ท้องอืด แน่นจุกเสียด  สามารถสมานแผลในกระเพาะอาหาร ทำความสะอาดลำไส้ได้ ก็สามารถบรรเทาอาการปวดท้องจากโรคกระเพาะได้

อาหารที่ดีสำหรับคนเป็นโรคกระเพาะ

เมื่อต้องรับมือกับปัญหากระเพาะอาหาร สิ่งสำคัญคือต้องเลือกอาหารที่อ่อนโยนต่อกระเพาะอาหารและส่งเสริมสุขภาพทางเดินอาหาร ต่อไปนี้เป็นอาหารบางอย่างที่โดยทั่วไปถือว่าดีสำหรับบุคคลที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะอาหาร:

1. ข้าวโอ๊ต:

ข้าวโอ๊ตเป็นธัญพืชโฮลเกรนที่มีความเป็นกรดต่ำและย่อยง่าย เป็นแหล่งไฟเบอร์ที่ดีโดยไม่ระคายเคืองต่อเยื่อบุกระเพาะอาหาร

2. กล้วย:

กล้วยช่วยให้กระเพาะอาหารกินง่ายและช่วยเคลือบเยื่อบุกระเพาะอาหารได้ นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งโพแทสเซียมที่ดีอีกด้วย

3. ขิง:

ขิงมีคุณสมบัติต้านการอักเสบและอาจช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส้ได้ สามารถใช้เป็นชาขิง สมูทตี้ หรือใส่ในอาหารก็ได้

4. โปรตีนไร้ไขมัน:

เลือกใช้โปรตีนไร้มัน เช่น เนื้อสัตว์ปีกไม่มีหนัง ปลา เต้าหู้ และไข่ โปรตีนเหล่านี้ย่อยได้ง่ายกว่าเมื่อเทียบกับเนื้อสัตว์ที่มีไขมันหรือแปรรูปอย่างหนัก

5. โยเกิร์ตธรรมดา:

โยเกิร์ตที่มีเชื้อจุลินทรีย์ที่มีชีวิตและมีประโยชน์มีประโยชน์ต่อสุขภาพของลำไส้ ประกอบด้วยโปรไบโอติกที่สามารถส่งเสริมสมดุลของแบคทีเรียในระบบย่อยอาหาร

6. เปปเปอร์มิ้นท์:

เปปเปอร์มินต์และสเปียร์มินต์สามารถบรรเทาอาการท้องได้ ชามินต์หรือการเติมใบสะระแหน่สดลงในน้ำอาจเป็นวิธีที่อ่อนโยนในการรวมเข้ากับอาหารของคุณ

7. ข้าว:

ข้าวขาวเป็นคาร์โบไฮเดรตที่อ่อนโยนและย่อยง่ายซึ่งช่วยบรรเทาอาการท้องไส้ปั่นป่วนได้

8. มันฝรั่งต้ม:

มันฝรั่งเมื่อต้มและเตรียมโดยไม่ใส่เครื่องเทศหรือเนยหนักๆ ก็สามารถเป็นแหล่งพลังงานที่ดีได้โดยไม่ก่อให้เกิดการระคายเคือง

9. ชาคาโมมายล์:

ชาคาโมมายล์ขึ้นชื่อในด้านคุณสมบัติสงบเงียบและสามารถบรรเทาอาการท้องเสียได้
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด