ผู้เขียน Dr. Sommai Kanchana
0
โซเดียมไฮดรอกไซด์
โซเดียมไฮดรอกไซด์ (Sodium Hydroxide) หรือ โซดาไฟ หรือ คอสติกโซดา หรือ NaOH คือ สารประกอบที่มีความเป็นด่างสูง และมีฤทธิ์กัดกร่อน มีลักษณะเป็นของแข็งสีขาว เป็นเกล็ด หรือ เม็ดคล้ายทรายหยาบใส ๆ หรือผงสีขุ่น ๆ ดูดความชื้นได้ดีมาก ละลายน้ำได้ง่าย สามารถใช้ประโยชน์ทางอุตสาหกรรมได้หลายอย่างเช่นทำสบู่ ผลิตภัณฑ์ซักฟอก เคมีภัณฑ์ทำความสะอาด เส้นใยเรยอน สิ่งทอ ผลิตเยื่อกระดาษ สบู่ โรงกลั่นน้ำมัน อุตสาหกรรมโลหะ อาหาร ใช้ในการฟอกย้อม ล้างสีไหม นอกจากประโยชน์ทางอุตสาหกรรมแล้ว ยังสามารถใช้ประโยชน์ตามบ้านเรือนได้อีกด้วย ประโยชน์ของโซดาไฟ คือ การละลายท่อน้ำที่อุดตัน รวมทั้งท่อระบายน้ำ ชักโครก โถ สุขภัณฑ์ อ่างล้างหน้า อ่างล้างจาน โดยเฉพาะการอุดตันที่เกิดจากคราบไขมัน เส้นผม คราบสกปรกของโปรตีน คราบสบู่ คราบผงซักฟอก

โซดาไฟที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม

โซดาไฟเกล็ด ลักษณะเป็นเกล็ด ๆ แท่ง ๆ มีสีขาว แข็ง และลายน้ำได้ โซดาไฟเกล็ดจะมีความเข้มข้น ตั้งแต่ 40-50% จนถึง 99% ปกติโซดาไฟชนิดนี้จะบรรจุเอาไว้ในกระสอบ กระสอบละประมาณ 50 กิโลกรัม โซดาไฟน้ำ เป็นโซดาไฟที่ถูกนำมาละลายน้ำ และมีความเข้มข้นคงเหลือเพียง 50% โซดาไฟแบบน้ำจะบรรจุในแกลลอน โซดาไฟไข่มุก คล้ายโซดาไฟแบบเกล็ดแต่มีลักษณะเป็นก้อนกลม ๆ ที่มีขนาดเล็กเท่า ๆ กันจนคล้ายกับไข่มุก ส่วนมากมีฐานการผลิตที่ไต้หวัน ความเข้มข้นประมาณ 99% วิธีการบรรจุส่วนมากจะบรรจุในกระสอบ  ซึ่งการเลือกโซดาไฟที่จะใช้ จะขึ้นกับการใช้งายของ อุตสาหกรรมนั้น ๆ เป็นอย่างไร และต้องใช้โซดาไฟที่เข้มข้นเท่าใด การใช้โซดาไฟสำหรับอุตสาหกรรม มักจะบรรจุในบรรจุภัณฑ์ขนาดใหญ่ สามารถหาซื้อได้จากตัวแทนจำหน่ายเคมีภัณฑ์ต่าง ๆ นอกจากใช้ในกระบวนการผลิตแล้วยังสามารถนำไปใช้แก้ปรับสภาพน้ำ หรือปรับความเป็นกรด/ด่างของสารต่าง ๆ ที่ใช้ ซึ่งโซดาไฟถือเป็นสารเคมีที่ต้องระมัดระวังในการใช้งาน เพราะเสี่ยงจะทำให้เกิดอันตรายต่อผิว และระบบทางเดินหายใจ ผู้ใช้งานจึงต้องเพิ่มความระมัดระวังในการใช้งานให้มากSodium Hydroxide

โซดาไฟที่ใช้ในครัวเรือน

โซดาไฟสามารถหาซื้อได้ตามซุปเปอร์มาร์เก็ตทั่วไป บางครั้งอาจอยู่ในรูปแบบโซดาไฟท่อตันโดยตรง อาจมีลักษณะของผง หรือ เกล็ด และมีความเข้มข้นต่าง ๆ กัน เพื่อความสะดวกในการใช้งาน และที่บรรจุภันฑ์จะระบุวิธีใช้โซดาไฟเอาไว้ทั้งความเข้มข้น และขนาดที่ต้องใช้ ส่วนมากจะบรรจุมาให้เพียงพอกับการใช้งานเพียงครั้งเดียว เพื่อลดความเสี่ยงในการจัดการจัดเก็บที่ไม่ถูกวิธี เพราะเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย โดยเฉพาะกับเด็กเล็กและสัตว์เลี้ยง

ประโยชน์ของโซดาไฟ

โซดาไฟไม่ว่าในรูปแบบใด ๆ ก็สามารถใช้ประโยชน์ได้ดังนี้
  • ใช้สำหรับอุตสาหกรรมผลิตสบู่ ด้วยการทำปฏิกิริยากับไขมันเปลี่ยนเป็นสบู่
  • ใช้สำหรับขจัดคราบสกปรก และสิ่งอุดตันในท่อระบายน้ำ ด้วยก้อน หรือละลายน้ำเทราดบริเวณที่มีการอุดตันของท่อ
  • ใช้สำหรับปรับสภาพความเป็นกรดของน้ำให้เป็นด่าง โดยเฉพาะในระบบบำบัดน้ำเสียที่ต้องปรับความเป็นกรด-ด่างของน้ำ
  • ใช้สำหรับการตกตะกอนของแร่ธาตุ หรือโลหะหนักในกระบวนการบำบัดน้ำเสีย
  • ใช้ฟื้นสภาพของเรซินของระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำ
  • ใช้ในกระบวนการฟอกย้อมไหม โดยเฉพาะขั้นตอนการลอกกาวไหมที่ต้องต้มละลายกาวไหมด้วยโซดาไฟ สำหรับการฟอกไหมในระดับครัวเรือน ชาวบ้านเรียกโซดาไฟว่า ผงมัน ซึ่งหาซื้อได้ตามร้านขายเคมีฟอกไหม

ข้อควรระวังในการใช้โซดาไฟ

โทษของโซดาไฟต่อร่างกายมักเกิดอย่างเฉียบพลัน อาจแบ่งตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่โดนโซดาไฟได้ดังนี้ ระบบทางเดินหายใจ เมื่อสูดดมฝุ่นควันของสารเข้าไป
  • เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ
  • ปอดอักเสบ หรือน้ำท่วมปอด
  • หายใจลำบาก
  • ลำคอ หรือกล่องเสียงบวม อาจนำไปสู่ภาวะทางเดินหายใจส่วนบนอุดตัน หรือหายใจลำบากได้
ดวงตา กรณีไอของสารเคมี หรือสารเคมีเข้าตาโดยตรงจะเกิดฤทธิ์ทำลายที่ทำให้
  • รู้สึกระคายเคือง
  • มีแผลที่กระจกตา หรือกระจกตาถูกทำลาย
  • กรณีได้รับสารที่ความเข้มข้นสูง หรือปริมาณมาก ๆ อาจทำให้ตาบอดได้
ผิวหนัง หากโซดาไฟโดนผิวหนังอาจทำให้เกิดอาการ ดังนี้
  • แผลไหม้ที่อาจลึกเข้าชั้นเนื้อภายใน
  • ปวดแสบปวดร้อน เหมือนโดนไฟไหม้ เนื่องจาก โซดาไฟสามารถดูดความชื้นออกจากผิวหนัง ทำให้ผิวหนังสูญเสียความชื้นอย่างรวดเร็ว เกิดอาการปวดแสบปวดร้อนเหมือนโดนไฟไหม้ หรือ โดนกรดที่รุนแรง 
การรับประทานเข้าไป จะทำให้เกิดอันตรายดังนี้
  • เกิดแผลไหม้ในปาก ลำคอ และทางเดินอาหาร
  • คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย หมดสติ
  • หากรับเข้าไปปริมาณมาก ๆ หรือเข้มข้นสูงอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต
  • ผู้ที่เคยได้รับสารเข้าไปทางปาก มักมีความเสี่ยงจะเป็นมะเร็งได้ภายหลังที่กินเข้าไป 12 – 42 ปี
  • อาเจียนแล้วมีเลือดปนออกมาได้
  • กลืนลำบาก และมีน้ำลายไหลไม่หยุด
  • ปาก คอ หลอดอาหาร และกระเพาะอาหารถูกกัดกร่อนอย่างรุนแรง

การปฐมพยาบาลหากร่างกายสัมผัสกับโซดาไฟ

การปฐมพยาบาลเบื้องต้นจะเป็นการยับยั้งไม่ให้เกิดการบาดเจ็บรุนแรงในระหว่างเดินทางไปพบแพทย์ ดังนี้ การปฐมพยาบาลสารเคมีเข้าตา ด้วยการล้างตาด้วยน้ำสะอาดซ้ำ ๆ หลาย ๆ ครั้งทันที การปฐมพยาบาลเมื่อสัมผัสกับผิวหนัง ควรใช้สบู่ และน้ำทำความสะอาดผิวหนังบริเวณนั้นอย่างเร่งด่วน ใช้ยารักษาแผลไฟไหม้เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด และผิวหนังที่ไหม้จากการถูกโซดาไฟกัด การปฐมพยาบาลเมื่อสารเคมีเข้าปาก แนะนำให้ใช้น้ำส้มสายชูล้างท้องทันที

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโซดาไฟ

ต่อไปนี้เป็นคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโซเดียมไฮดรอกไซด์:

1. โซเดียมไฮดรอกไซด์คืออะไร 

คำตอบ:โซเดียมไฮดรอกไซด์หรือโซดาไฟเป็นสารประกอบที่มีความเป็นด่างและกัดกร่อนสูง เป็นสารสีขาวที่เป็นของแข็ง และมักใช้ในกระบวนการทางอุตสาหกรรมต่างๆ และเป็นเบสที่แข็งแกร่งในห้องปฏิบัติการเคมี

2. โซเดียมไฮดรอกไซด์มีประโยชน์อย่างไร 

คำตอบ:โซเดียมไฮดรอกไซด์ถูกนำมาใช้ในการใช้งานที่หลากหลาย ได้แก่:
  • การผลิตสบู่และผงซักฟอก
  • กระบวนการบำบัดน้ำเพื่อปรับ pH
  • การแปรรูปอาหาร เช่น ในการเตรียมการแปรรูปโฮมินีและการแปรรูปโกโก้
  • การผลิตกระดาษและเยื่อกระดาษ
  • การผลิตสิ่งทอ
  • การกลั่นปิโตรเลียม
  • การทำความสะอาดและขจัดสิ่งอุดตันของท่อระบายน้ำ

3. โซเดียมไฮดรอกไซด์เป็นอันตรายหรือไม่ 

คำตอบ:ใช่ โซเดียมไฮดรอกไซด์เป็นสารที่มีฤทธิ์กัดกร่อนสูงและอาจเป็นอันตรายได้ อาจทำให้เกิดการไหม้สารเคมีอย่างรุนแรง ทำลายดวงตา และเป็นอันตรายหากกลืนกิน ข้อควรระวังด้านความปลอดภัยที่เหมาะสม รวมถึงการใช้อุปกรณ์ป้องกัน เช่น ถุงมือและแว่นตา ถือเป็นสิ่งสำคัญในการจัดการกับโซเดียมไฮดรอกไซด์

4. โซเดียมไฮดรอกไซด์ใช้ทำความสะอาดได้หรือไม่ 

คำตอบ:ใช่ โซเดียมไฮดรอกไซด์มักใช้ในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด โดยเฉพาะน้ำยาทำความสะอาดท่อระบายน้ำและน้ำยาทำความสะอาดเตาอบ อย่างไรก็ตาม ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง และผู้ใช้ควรปฏิบัติตามแนวทางด้านความปลอดภัยเพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสทางผิวหนังและการหายใจเข้าไป

5. โซเดียมไฮดรอกไซด์ทำงานอย่างไรในการทำสบู่ 

คำตอบ:ในการทำสบู่ โซเดียมไฮดรอกไซด์ทำปฏิกิริยากับไขมันหรือน้ำมันในกระบวนการที่เรียกว่าซาพอนิฟิเคชัน ปฏิกิริยาเคมีนี้ทำให้เกิดสบู่และกลีเซอรีน สบู่เกิดจากเกลือโซเดียมของกรดไขมัน

6. โซเดียมไฮดรอกไซด์สามารถปรับ pH ในน้ำได้หรือไม่ 

คำตอบ:ใช่ โซเดียมไฮดรอกไซด์มักใช้เพื่อปรับ pH ของน้ำในกระบวนการบำบัดน้ำ  ถูกเติมเพื่อเพิ่มค่า pH และทำให้สภาวะที่เป็นกรดเป็นกลาง

7. โซเดียมไฮดรอกไซด์และโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์แตกต่างกันอย่างไร 

คำตอบ:โซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) และโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ (KOH) ต่างก็เป็นด่างแก่ แต่มีคุณสมบัติทางเคมีต่างกัน โดยทั่วไปโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์มีราคาแพงกว่าและมักใช้ในการใช้งานที่มีคุณสมบัติเฉพาะตัว เช่น ความสามารถในการละลายในแอลกอฮอล์ เป็นประโยชน์

8. โซเดียมไฮดรอกไซด์สามารถละลายในน้ำได้หรือไม่ 

คำตอบ:ใช่ โซเดียมไฮดรอกไซด์ละลายได้ดีในน้ำ กระบวนการละลายเป็นแบบคายความร้อน ซึ่งหมายความว่าจะปล่อยความร้อนออกมา

9. โซเดียมไฮดรอกไซด์มีอันตรายอะไรบ้าง 

คำตอบ:อันตรายหลักของโซเดียมไฮดรอกไซด์มีฤทธิ์กัดกร่อน ซึ่งอาจทำให้ผิวหนังและดวงตาไหม้อย่างรุนแรง การกินโซเดียมไฮดรอกไซด์อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บภายในได้

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://pubchem.ncbi.nlm.nih.gov/compound/Sodium-hydroxide
  • https://www.chemicalsafetyfacts.org/sodium-hydroxide/
  • https://www.cdc.gov/niosh/topics/sodium-hydroxide/default.html
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด