การเตรียมตัวสำหรับเคมีบำบัด (Prepare for Chemotherapy)

ผลกระทบจากการทำคีโม

คีโม หรือ เคมีบำบัดสามารถส่งมีผลกระทบต่อร่างกายของผู้ป่วยแต่ละคนแตกต่างกัน จึงอาจเป็นเรื่องยากที่จะทราบว่าต้องเตรียมตัวล่วงหน้าอย่างไร อย่างไรก็ตามมีบาง ประเด็นที่สามารถเตรียมการได้ล่วงหน้า อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับมะเร็งถุงน้ำดีได้ที่นี่

สิ่งที่ควรรู้และเตรียมตัวก่อนรับคีโม

ปรึกษาเกี่ยวกับการมีบุตรยาก เคมีบำบัดบางประเภทอาจส่งผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ของผู้ป่วย หากผู้ป่วยคาดว่าตนเองอาจต้องการมีลูกในอนาคต ให้ปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนเริ่มทำเคมีบำบัด สิ่งของสำหรับการทำคีโม สิ่งที่ต้องเตรียมสำหรับการให้คีโม ได้แก่: เสื้อผ้าที่ให้ความอบอุ่น ในกรณีที่เกิดอาการของหวัด ของว่างที่ดีต่อสุขภาพ ลิปบาล์ม และสิ่งของที่ใช้ฆ่าเวลา อย่างหนังสือ นิตยสาร ปริศนาอักษรไขว้ เพลงกับหูฟัง หรือคอมพิวเตอร์แล็ปท็อป หรือแท็บเล็ต การดูแลตัวเอง พยายามรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเท่าที่จะทำได้ก่อน และระหว่างการรักษา ด้วยการกินอาหารเพื่อบำรุงร่างกาย ดื่มน้ำมาก ๆ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังกาย โภชนาการที่ดีและการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะช่วยลดผลข้างเคียงบางอย่างของเคมีบำบัดได้ จัดเตรียมอุปกรณ์ช่วยเหลือเอาไว้ที่บ้าน กรณีที่ผู้ป่วยมีลูกเล็ก อาจต้องจัดให้มีผู้ดูแลเด็ก ๆ ในระหว่างที่ทำการรักษา และอาจรู้สึกไม่สบายจากผลข้างเคียงของการทำคีโม อาจหาผู้ช่วยมาดูแลงานบ้าน และการทำธุระบางอย่างเพื่อแบ่งเบาภาระบ้าง ปรึกษาเกี่ยวกับข้อกังวลของผู้ป่วย กรณีที่รู้สึกกังวลเกี่ยวกับการวินิจฉัย และการเข้ารับเคมีบำบัด ให้พูดคุยกับสมาชิกในครอบครัวหรือเพื่อน และแพทย์ประจำตัว เพื่อขอความช่วยเหลือ และยังเป็นกลยุทธ์เพื่อสร้างความผ่อนคลาย หรือการทำสมาธิเพื่อรับมือกับความวิตกกังวล เตรียมอาหารล่วงหน้า ผู้ป่วยอาจไม่รู้สึกอยากอาหารในระหว่างสัปดาห์ของการรักษาด้วยเคมีบำบัด แนะนำให้ลองทำอาหารเอาไว้ล่วงหน้าและแช่แข็งไว้ก่อน แจ้งนายจ้างให้ทราบ กรณีที่ผู้ป่วยกำลังทำงาน ให้พูดคุยกับนายจ้างเกี่ยวกับเวลาที่ต้องใช้เพื่อพักรักษา อาจเป็นการยากที่จะคาดการณ์ว่าเคมีบำบัดจะส่งผลต่อผู้ป่วยอย่างไร ดังนั้นควรแจ้งนยจ้างถึงระยะเวลาที่ยืดหยุ่น หรือเพื่อลางาน เข้ารับการรักษาฟัน ควรไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจฟันก่อนเริ่มทำคีโม ทันตแพทย์จะตรวจหาการติดเชื้อในช่องปาก และรักษาจนไม่ก่อให้เกิดปัญหาหลังรับเคมีบำบัดได้ เพราะคีโมอาจส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เตรียมใจกับผลข้างเคียง ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับผลข้างเคียงที่น่าจะเป็นของยาเคมีบำบัด สอบถามเกี่ยวกับยาป้องกันอาการคลื่นไส้อาเจียน หรือในกรณีที่มีโอกาสผมร่วง อาจลองพิจารณาตัดผมก่อนเริ่มการรักษา ตรวจสอบยาชนิดอื่น ๆ ตรวจสอบให้แน่ใจเกี่ยวกับยาหรือการรักษาอื่น ๆ ที่ผู้ป่วยใช้อยู่ ยาที่ซื้อมาเอง ยาสามัญประจำบ้าน สมุนไพร และวิตามินบางชนิดอาจรบกวนการทำคีโมได้ อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับมะเร็งไตได้ที่นี่

อาการข้างเคียงที่พบได้บ่อยจากการทำเคมีบำบัด

อาการข้างเคียงที่พบได้บ่อย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ผมร่วง เกิดแผลในปาก ระดับเม็ดเลือดลดลง เป็นต้น อาการข้างเคียงที่ต้องรีบปรึกษาแพทย์ ได้แก่มีเลือดออกหรือเป็นแผลในปาก เกิดผื่นหรืออาการแพ้ เป็นไข้ หนาวสั่น ปวดมากบริเวณที่รับเคมี หายใจลำบาก ท้องเดินหรือท้องผูกอย่างรุนแรง ปัสสาวะหรืออุจจาระพบเลือดปะปน prepare for chemotherapy

วิธีปฏิบัติตนเมื่อเกิดอาการข้างเคียง

  • รับประทานอาหารอ่อน ๆ กินง่าย
  • รับประทานครั้งละน้อย ๆ แต่บ่อย ๆ
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสจัด ไขมันมาก และของทอดทุกชนิด
  • ทำความสะอาดปาก และฟันหลังรับประทานอาหารทุกมื้อ
  • หากรู้สึกคลื่นไส้ ให้พักผ่อนและสูดหายใจยาว ๆ ช้า ๆ ลึก ๆ
  • ปรึกษาแพทย์ หากมีอาการคลื่นไส้และอาเจียนหลายวัน และรับประทานอาหารได้น้อยผิดปกติ
แนวทางรับมืออาการข้างเคียงจากเคมีบำบัด ผมร่วง
  • แนะนำให้ตัดผมสั้นเพื่อสะดวกในการดูแล
  • ใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมชนิดอ่อน ๆ เช่น แชมพูเด็ก และไม่ควรสระผมบ่อยเกินไป
  • ใช้แปรงที่มีขนอ่อนนิ่มในการแปรงผม หรือใช้หวีที่มีซี่ห่าง ๆ และไม่ควรหวีผมบ่อย
  • ห้ามไดร์ผม และใช้เคมีกับผม
  • ปรึกษากับแพทย์ หากต้องการใช้วิกผม และควรเตรียมวิกเอาไว้ล่วงหน้าก่อนผมร่วงหมด เพื่อให้ได้วิกผมที่เข้ากับรูปหน้าตามธรรมชาติมากขึ้น
แผลในปาก
  • ใช้แปรงฟันที่มีขนอ่อนนุ่ม และบ้วนปากทุกครั้งหลังรับประทานอาหาร
  • เลือกรับประทานอาหารอ่อน ๆ
  • อมน้ำแข็ง เพื่อช่วยให้รู้สึกสบายขึ้น
ท้องเสีย
  • รับประทานอาหารที่สะอาดและปรุงสุกใหม่ ๆ
  • รับประทานอาหารที่มีกากใยน้อย ๆ เช่น กล้วย
  • รับประทานอาหารอ่อน ๆ ย่อยง่าย ครั้งละไม่มาก
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร เช่น ถั่ว โซดา
  • งดดื่มนม ชา และกาแฟ และน้ำผลไม้ทุกชนิด
  • ดื่มน้ำมาก ๆ เช่น น้ำอุ่น น้ำชาอุ่น ๆ เป็นต้น
  • รับประทานยาแก้ท้องเสียตามที่แพทย์สั่ง
ท้องผูก
  • รับประทานอาหารที่มีกากใยมาก ๆ เช่น ผัก ผลไม้ ข้าวกล้อง หรือข้าวซ้อมมือ
  • ดื่มน้ำมาก ๆ วันละไม่ต่ำกว่า 3 ลิตร อาจเป็นน้ำผลไม้ก็ได้
  • ออกกำลังกายให้เพียงพอ และสม่ำเสมอ
  • รับประทานยาถ่าย หรือ ยาระบาย ตามที่แพทย์สั่ง
อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับมะเร็งมดลูกได้ที่นี่
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด