ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ (Lymphadenitis) – สาเหตุ การวินิจฉัย การรักษา

ต่อมน้ำเหลืองอักเสบคือ อะไร 

ต่อมน้ำเหลือง คือ ต่อมเล็กๆที่มีลักษณะเป็นรูปไข่ ประกอบไปด้วยเซลล์ภูมิคุ้มกัน ซึ่งมีไว้เพื่อจู่โจม และฆ่าสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามารุกรานร่างกาย เช่น เชื้อไวรัส โดยพวกมันมีความสำคัญต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย  ต่อมน้ำเหลือง (Lymph Nodes) พบได้ในส่วนต่างๆของร่างกาย เช่น ต่อมน้ำเหลืองที่ที่คอ, ต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ และต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบ โดยต่อมน้ำเหลืองเหล่านี้สามารถเชื่อมโยงกันผ่านเส้นเลือดที่มาเลี้ยงยังต่อม ซึ่งทำหน้าที่ขนส่งน้ำเหลืองไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย น้ำเหลืองมีลักษณะเป็นน้ำใสๆที่ประกอบไปด้วยเซลล์เม็ดเลือดขาว (White Blood Cells :WBCs) และเนื้อเยื่อที่ตายแล้ว และเป็นโรคเพื่อนำไปกำจัด หน้าที่แรกของต่อมน้ำเหลืองคือ เก็บรักษาเซลล์ที่ต่อสู้กับโรคที่เกิดขึ้นภายในร่างกาย และกรองน้ำเหลืองก่อนที่โรคจะกลับเข้ามาในร่างกายใหม่อีกครั้ง เมื่อคุณป่วย ต่อมน้ำเหลืองจะส่งเซลล์ที่มีลักษณะคล้ายกองกำลังออกไปสู้รบกับโรค ร่างกายจึงเกิดกระบวนการอักเสบ หรืออาการเจ็บปวดเกิดขึ้น ภาวะดังกล่าวเรียกว่า ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ (Lymphadenitis)

สาเหตุของต่อมน้ำเหลืองอักเสบ

ต่อมน้ำเหลืองอักเสบสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ เพราะทุกการติดเชื้อ ทั้งจากแบคทีเรียหรือไวรัส ยกตัวอย่าง เช่น ไข้หวัด ก็สามารถทำให้ต่อมน้ำเหลืองบวมได้ โรคมะเร็งก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ โดยเฉพาะโรคมะเร็งที่เกี่ยวกับเลือด เช่น โรคมะเร็งเม็ดเลือกขาว (Leukemia) และมะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Lymphoma)

อาการต่อมน้ำเหลืองอักเสบ

ต่อมน้ำเหลืองอักเสบมีอาการที่หลากหลาย โดยอาการจะขึ้นอยู่กับสาเหตุของการบวม และตำแหน่งที่ต่อมน้ำเหลืองบวม อาการทั่วไปของต่อมน้ำเหลืองอักเสบ ได้แก่:
  • อาการบวม ต่อมน้ำเหลืองโตที่คอ ต่อมน้ำเหลืองโตที่รักแร้ และต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบโต
  • อาการของระบบทางเดินหายใจส่วนบน เช่น มีไข้, น้ำมูกไหล หรือเจ็บคอ
  • แขนขาบวม ซึ่งบ่งบอกถึงการอุดตันของระบบน้ำเหลือง
  • มีเหงื่อออกตอนกลางคืน
  • ต่อมน้ำเหลืองมีลักษณะแข็งขึ้น และใหญ่ขึ้น ซึ่งคาดการณ์ได้ว่าอาจจะเป็นเนื้องอก

การวินิจฉัยต่อมน้ำเหลืองอักเสบ

โดยปกติแพทย์จะทำการวินิจฉัยภาวะที่ต่อมน้ำเหลืองอักเสบผ่านการตรวจร่างกาย แพทย์จะตรวจดูต่อมน้ำเหลืองโดยรอบบริเวณดังกล่าว ดูอาการบวม และความไวต่อสัมผัสของตัวต่อม แพทย์อาจซักประวัติคุณเกี่ยวกับความเกี่ยวเนื่องจากอาการที่เกิดขึ้น เช่น อาการที่กล่าวมาแล้วข้างต้น แพทย์อาจสั่งตรวจเลือดเพื่อดูการติดเชื้อ อีกทั้งอาจสั่งตรวจ X-Rays หรือ CT Scans เพื่อดูว่ามีเนื้องอก หรือแหล่งที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อ หรือไม่ เพราะมีหลายสาเหตุมากๆที่ทำให้ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ แพทย์ของคุณจากจำเป็นต้องตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจ ซึ่งการตัดชิ้นเนื้อของต่อมน้ำเหลือง เป็นหัตถการเล็กๆที่ใช้เวลาไม่นาน โดยแพทย์จะตัดเอาตัวอย่างเนื้อเยื่อของต่อมน้ำเหลือง แพทย์พยาธิวิทยาก็จะทำการตรวจชิ้นส่วนเนื้อเยื่อดังกล่าว และแปลผลทางห้องปฏิบัติการ การตัดชิ้นเนื้อมักเป็นการตรวจเพื่อวินิจฉัยภาวะต่อมน้ำเหลืองอักเสบที่เชื่อถือได้มากที่สุด

Lymphadenitis

วิธีรักษาต่อมน้ำเหลืองอักเสบ

สำหรับการรักษาภาวะต่อมน้ำเหลืองอักเสบขึ้นอยู่กับสาเหตุของการเกิดโรค ในบางรายการรักษาอาจไม่จำเป็นเสมอไป ตัวอย่างของการรักษาที่ไม่จำเป็น ได้แก่:
  • ผู้ใหญ่ที่สุขภาพดี ซึ่งมีร่างกายที่แข็งแรงพร้อมสู้กับเชื้อโรคอยู่แล้ว
  • เด็กที่มีระบบภูมิคุ้มที่ทำงานอยู่ ก็อาจเป็นผลให้เกิดอาการบวมได้อยู่บ่อยๆ
หากจำเป็นต้องรับการรักษา ก็จะมีความแตกต่างกันไปตั้งแต่เรื่องการดูแลตัวเองไปจนถึงการผ่าตัด และการบำบัดอื่นๆ

การดูแลตัวเอง

แพทย์จะแนะนำให้ทานยาลดไข้ หรือยาแก้ปวด เช่น Ibuprofen (Advil, Motrin) ร่วมกับการประคบอุ่น ยกตำแหน่งที่บวมให้สูงขึ้น เพื่อลดการอักเสบ

การใช้ยา

ในบางรายการให้ยาปฏิชีวนะอาจช่วยให้ร่างกายต่อสู้กับการติดเชื้อที่เป็นสาเหตุของต่อมน้ำเหลืองบวมได้

การระบายหนอง

หากต่อมน้ำเหลืองเกิดการติดเชื้อ จะมีหนองเกิดขึ้น อาการบวมจะทุเลาลงถ้าหากมีการระบายหนองที่อยู่ภายในออกมา ซึ่งการทำดังกล่าวแพทย์จะต้องทำให้บริเวณนั้นชาเสียก่อน แล้วค่อยๆใช้มีดเล็กๆที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้วสะกิดให้สารคัดหลั่งไหลออกมา เมื่อหนองไหลออกมาหมดแล้วก็ปิดแผลด้วยผ้าก๊อสเพื่อให้เกิดการสมานแผล

การรักษามะเร็ง

หากต่อมน้ำเหลืองบวมจากสาเหตุของเนื้องอกมะเร็ง มีแนวทางในการรักษาอยู่มากมาย เช่น การผ่าตัดเพื่อเอาก้อนเนื้อออก, การทำเคมีบำบัด การบำบัดด้วยรังสี ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้เสนอแนวทางในการรักษา ร่วมไปถึงทางเลือกต่างๆข้อดีข้อเสียให้กับคุณได้ตัดสินใจก่อนการรักษา

อาหารที่ควรทานเมื่อเป็นต่อมน้ำเหลืองอักเสบ

ต่อมน้ำเหลืองอักเสบคือการอักเสบของต่อมน้ำเหลือง ซึ่งมักเกิดจากการติดเชื้อ แม้ว่าจะไม่มีอาหารที่เฉพาะเจาะจงในการรักษาโรคต่อมน้ำเหลืองอักเสบ แต่การรับประทานอาหารที่สมดุลและมีคุณค่าทางโภชนาการสามารถสนับสนุนสุขภาพโดยรวมและระบบภูมิคุ้มกันของคุณได้ และอาจช่วยในกระบวนการฟื้นตัวได้ คำแนะนำด้านอาหารทั่วไปมีดังนี้:
  • ความชุ่มชื้น:
      • รักษาร่างกายให้ชุ่มชื้นโดยการดื่มน้ำปริมาณมาก การให้น้ำที่เหมาะสมช่วยล้างสารพิษออกจากร่างกายและส่งเสริมสุขภาพโดยรวม
  • ผลไม้และผัก:
      • รวมผักและผลไม้หลากหลายชนิดไว้ในอาหารของคุณ อุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ และสารต้านอนุมูลอิสระที่สามารถช่วยเพิ่มระบบภูมิคุ้มกันของคุณได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิตามินซีนั้นขึ้นชื่อในเรื่องคุณสมบัติในการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน
  • โปรตีนไร้มัน:
      • รวมแหล่งโปรตีนไร้ไขมัน เช่น สัตว์ปีก ปลา เต้าหู้ และพืชตระกูลถั่ว โปรตีนเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการซ่อมแซมและบำรุงรักษาเนื้อเยื่อ รวมถึงต่อมน้ำเหลืองด้วย
  • ธัญพืช:
      • เลือกใช้ธัญพืชไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ควินัว และขนมปังโฮลวีต สิ่งเหล่านี้เป็นแหล่งพลังงานที่ดีและสารอาหารที่จำเป็น
  • ไขมันเพื่อสุขภาพ:
      • รวมแหล่งไขมันที่ดีต่อสุขภาพ เช่น อะโวคาโด ถั่ว และน้ำมันมะกอก ไขมันเหล่านี้สนับสนุนสุขภาพโดยรวมและอาจมีผลต้านการอักเสบ
  • โปรไบโอติก:
      • กินอาหารที่มีโปรไบโอติกสูง เช่น โยเกิร์ตที่มีจุลินทรีย์มีชีวิต คีเฟอร์ และอาหารหมักดอง โปรไบโอติกส่งเสริมสมดุลของแบคทีเรียในลำไส้ซึ่งมีบทบาทในการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน
  • กระเทียม:
      • กระเทียมมีชื่อเสียงในด้านคุณสมบัติต้านจุลชีพและต้านการอักเสบ การเพิ่มกระเทียมในอาหารของคุณอาจช่วยได้เพิ่มเติมในระหว่างการติดเชื้อ
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลและอาหารแปรรูป:
      • จำกัดการบริโภคอาหารที่มีน้ำตาลและอาหารแปรรูป เนื่องจากอาจทำให้เกิดการอักเสบและอาจไม่ได้ให้สารอาหารที่ร่างกายต้องการเพื่อการฟื้นฟู
  • อาหารเสริมวิตามิน:
      • ในบางกรณี ผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของคุณอาจแนะนำอาหารเสริมวิตามิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณมีภาวะบกพร่อง อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพก่อนรับประทานอาหารเสริมใดๆ
  • อาหารอ่อนและย่อยง่าย:
    • หากคุณประสบปัญหาในการกลืนหรือไม่สบายตัว ให้เลือกรับประทานอาหารที่อ่อนนุ่มและย่อยง่าย เช่น ซุป สมูทตี้ และผักบด
โปรดจำไว้ว่าการตอบสนองต่ออาหารของแต่ละคนอาจแตกต่างกันไป และสิ่งสำคัญคือต้องฟังร่างกายของคุณ หากคุณเป็นโรคต่อมน้ำเหลืองอักเสบ สิ่งสำคัญคือต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพ ซึ่งอาจรวมถึงยาปฏิชีวนะหรือยาอื่นๆ ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพหรือนักโภชนาการที่ลงทะเบียนเสมอเพื่อขอคำแนะนำเฉพาะบุคคลโดยพิจารณาจากสภาวะสุขภาพเฉพาะของคุณ ความชอบด้านโภชนาการ และข้อควรพิจารณาอื่น ๆ ของแต่ละบุคคล

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/swollen-lymph-nodes/symptoms-causes/syc-20353902
  • https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/15219-swollen-lymph-nodes
  • https://www.nhs.uk/conditions/swollen-glands/
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด