หัวหอมกับ ประโยชน์เพื่อ (Impressive Health Benefits of Onions) 

ผักทุกชนิดล้วนมีความสำคัญต่อสุขภาพ ผักแต่ละชนิดก็มีประโยชน์เฉพาะตัวกันออกไป หัวหอม = คือพืชดอกประเภทหนึ่งของกระเทียม ซึ่งรวมถึงกระเทียม  หอมแดง  ต้นหอมญี่ปุ่นและต้นหอมจีน   ผักต่างๆเหล่านี้มีวิตามิน  แร่ธาตุหลากหลายชนิด และสารประกอบในพืชที่ทรงประสิทธิภาพนี้ยังช่วยเรื่องสุขภาพอีกหลายอย่าง ในความเป็นจริงแล้ว หัวหอมนั้นมีสรรพคุณทางยามาตั้งแต่สมัยนานมาแล้ว คนสมัยก่อนมักใช้หัวหอมในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บเช่นปวดศีรษะ  โรคหัวใจ 

ต่อไปนี้คือ 9 ประโยชน์ของหัวหอม 

1. เต็มไปด้วยสารอาหาร

หัวหอมมีสารอาหารสูง นั่นหมายความว่าพวกมันมีระดับแคลลอรี่ต่ำแต่มีวิตามินและแร่ธาตุสูง หัวหอมขนาดกลางหนึ่งหัวให้แคลลอรี่เพียงแค่ 44 แคลลอรี่ แต่ให้ปริมาณวิตามิน,เกลือแร่และใยอาหารอย่างมาก ผักชนิดนี้คือผักที่มีวิตามินซีสูง  รวมถึงสารอาหารที่ควบคุมระบบภูมิคุ้มกัน  ผลิตคอลลาเจน  ซ่อมแซมเนื้อเยื่อและดูดซึมธาตุเหล็ก  วิตามินซียังช่วยเพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระที่ทรงพลังให้แก่ร่างกาย, ช่วยป้องกันเซลล์ไม่ให้เกิดความเสียหายที่มีสาเหตุมาจากโมเลกุลที่เรียกว่าอนุมูลอิสระไม่คงที่ หัวหอมอุดมไปด้วยวิตามินบี รวมถึงโฟเลต (B9) และไพริดอกซีน (B6) -ซึ่งมีบทบาทที่สำคัญยิ่งต่อระบบเผาผลาญ  การสร้างเม็ดเลือดแดงและการทำงานของระบบประสาท สุดท้าย หัวหอมยังเป็นแหล่งของโปแตสเซียมชั้นยอด เป็นแร่ธาตุที่คนส่วนใหญ่มักขาดไป การบริโภคโปแตสเซียมเฉลี่ยในคนอเมริกันคือเพียงแค่ครึ่งหนึ่งของปริมาณที่แนะนำในแต่ละวันคือ 4,700 มิลลิกรัมเท่านั้นI. เพื่อการทำงานที่ปกติของเซลล์, การสร้างสมดุลของของเหลว, การสื่อสารของเส้นประสาท, การทำงานของไตและการหดตัวของกล้ามเนื้อล้วนต้องการโปแตสเซียมทั้งสิ้น บทสรุป หัวหอมมีแคลลอรี่ต่ำแต่มีสารอาหารสูง รวมทั้งยังมีวิตามินซี, วิตามินบีและโปแตสเซียม

2. อาจมีประโยชน์ต่อสุขภาพของหัวใจ

หัวหอมมีสารต้านอนุมูลอิสระเป็นส่วนประกอบและสารประกอบนี้ช่วยต่อสู้กับการอักเสบ  ลดไตรกลีไซด์ไลน์และลดระดับคอเรสเตอรอล-ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจให้ลดต่ำลงได้ ด้วยคุณสมบัติในการต้านการอักเสบของหัวหอมนี้เองอาจช่วยลดระดับความดันโลหิตสูงได้และยังช่วยป้องกันการเกิดลิ่มเลือด เควอซิทินคือสารต้านอนุมูลอิสระในกลุ่มฟลาโวนอยด์ที่พบว่ามีความเข้มข้นสูงในหัวหอม นอกจากประโยชน์ด้านต้านการอักเสบแล้ว ยังอาจช่วยลดปัจจัยความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจเช่น ระดับความดันโลหิตสูง จากการศึกษาคนที่มีน้ำหนักเกินจำนวน 70 คนที่มีระดับความดันโลหิตสูง พบว่าการบริโภคหัวหอมสกัดที่มีเควอซิทินเข้มข้นวันละ 162 มก.ต่อวันสามารถช่วยลดความดันซิสโตลี (ความดันช่วงบน) ลงได้ 3-6 มิลลิเมตรปรอท เมื่อเทียบกับกับกลุ่มที่ทานยาหลอก หัวหอมแสดงให้เห็นด้วยว่ายังสามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลได้ จากการศึกษาผู้หญิงจำนวน 54 คนที่มีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ พบว่าการบริโภคหอมแดงสดในปริมาณมาก (40-50 กรัมต่อวันหากมีน้ำหนักเกินและ 50-60 กรัมต่อวันหากมีภาวะโรคอ้วน) เป็นเวลา 8 อาทิตย์สามารถลดคอเรสเตอรอลไขมัน “เลว” LDL ลงได้เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม  เพิ่มเติม ผลการศึกษาจากสัตว์สนับสนุนความคิดเรื่องการบริโภคหัวหอมนั้นสามารถลดปัจจัยความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ, รวมถึงการอักเสบ,ระดับไตรกลีไซด์สูง,และการก่อตัวของลิ่มเลือด  บทสรุป จากการค้นคว้าแสดงให้เห็นว่าการรับประทานหัวหอมอาจสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ, เช่นระดับความดันโลหิตสูง, ระดับไตรกลีเซอไรด์สุง,และการอักเสบ

3. อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ

สารต้านอนุมูลอิสระคือสารประกอบที่ยับยั้งการสร้างปฏิกิริยาออกซเดชั่น, กระบวนการที่นำไปสู่การเสียหายของเซลล์และก่อให้เกิดโรคเช่นโรคมะเร็ง  โรคเบาหวานและโรคหัวใจ หัวหอมคือแหล่งสารต้านอนุมูลอิสระชั้นยอด ในหัวหอมมีสารต้านอนุมูลอิสระในกลุ่มฟลาโวนอยด์ที่แตกต่างกันมากกว่า 25 ชนิด โดยเฉพาะในหอมแดงจะมีแอนโทไซยานินเป็นส่วนประกอบ- เป็นพืชที่มีสารสีพิเศษในตระกูลฟลาโวนอยด์ที่ทำให้หัวหอมมีสีแดง จากการศึกษาประชากรที่หลากหลายพบว่าคนที่บริโภคอาหารที่อุดมไปด้วยแอนโทไซยานินจะสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจได้ ยกตัวอย่างเช่น จากการศึกษาผู้ชายทั้งหมดจำนวน 43,880 คนแสดงให้เห็นว่าการบริโภคสารแอนโทไซยานินเป็นประจำในปริมาณสูง ประมาณ 613 มก.ต่อวันสามารถลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตด้วยอาการหัวใจล้มเหลวได้ถึง 14%  ไม่ต่างกันนักจากการศึกษาผู้หญิงจำนวน 93,600 คนพบว่าคนที่บริโภคอาหารที่มีแอนโทไวยานินสูงมีแนวโน้มจะเป็นโรคหัวใจน้อยกว่าผู้หญิงที่บริโภคน้อยกว่าถึง 32% เพิ่มเติมกว่านั้นคือสารแอนโทไวยานินนั้นพบว่าสามารถต่อสู้กับโรคมะเร็งและโรคเบาหวาน บทสรุป หอมแดงอุดมไปด้วยสารแอนโทไวยานิน ซึ่งมีสารสีพิเศษที่ทรงพลังอาจช่วยป้องกันโรคหัวใจ โรคมะเร็งและโรคเบาหวาน

4. มีสารประกอบที่ต่อสู้เชื้อมะเร็ง

การรับประทานผักในตระกูลแอลเลี่ยม เช่นกระเทียมและหัวหอมนั้นทำให้มีความเสี่ยงต่ำในการเกิดโรคมะเร็ง รวมถึงโรคกระเพาะและมะเร็งลำไส้ใหญ่ จากการประเมิน 26 ตัวอย่างแสดงให้เห็นว่าคนที่บริโภคผักที่มีปริมาณแอลเลียมสูงมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหารน้อยกว่าคนที่บริโภคน้อยกว่าประมาณ 22%  ยิ่งไปกว่านั้นยังพบด้วยว่าจากการประเมินผลการศึกษา 16 ตัวอย่างจากจำนวนคนทั้งหมด 13,333 คนแสดงให้เห็นว่าคนที่นับประทานหัวหอมในปริมาณสูงลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ 15%   ด้วยคุณสมบัติในการต่อสู้กับมะเร็งนี้เองมีความเกี่ยวเนื่องไปยังสารประกอบกำมะถันและสารต้านอนุมูลอิสระในกลุ่มฟลาโวนอยด์ที่พบในผักที่มีสารแอลเลียมด้วย ยกตัวอย่างเช่น หัวหอมที่ให้สาร onionin A ,สารประกอบกำมะถันเองก้แสดงให้เห็นแล้วว่าสามารถลดการเกิดเนื้องอกและทำให้การแพร่กระจายของรังไข่และมะเร็งปอดจากการศึกษาผ่านหลอดทดลองช้าลง หัวหอมยังมีสารไฟเซตินและเควอซิทิน, สารต้านอนุมูลอิสระฟลาโวนอยด์ที่อาจยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้องอกได้ บทสรุป ผักที่อุดมไปด้วยสารแอลเลียมเช่นหัวหอมอาจช่วยป้องกันการเกิดโรคมะะเร็งได้ 9 Impressive Health Benefits of Onions

5. ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

การรับประทานหัวหอมอาจช่วยควบคุมน้ำตาลในเลือด ซึ่งโดยเฉพาะในคนที่ป่วยหรือกำลังจะป่วยเป็นโรคเบาหวาน จากการศึกษาคนจำนวน 42 คนที่ป่วยด้วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยให้ทดลองรับประทานหอมแดงสด 3.5 ออนซ์ (100 กรัม) สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างรวดเร็วประมาณ 40 mg/dl หลังรับประทานไปแล้ว 4 ชั่วโมง เพิ่มเติมคือจากการศึกษาในสัตว์แสดงให้เห็นว่าการบริโภคหัวหอมอาจมีประโยชน์ในการควบคุมระดับเลือดในน้ำตาลได้ จากการศึกษาจากหนูที่เป็นโรคเบาหวานแล้วให้กินหัวหอมสกัดปริมาณ 5% เป็นเวลา 28 วันพบว่าสามารถลดน้ำตาลในเลือดได้อย่างรวดเร็วและยังช่วยลดไขมันในร่างกายลงอย่างมากกว่ากลุ่มควบคุม สารประกอบเฉพาะที่พบในหัวหอม เช่น เควอซิทีนและกำมะถัน มีฤทธิ์ต้านเบาหวาน  ยกตัวอย่างเช่น เควอซิทีนพบว่ามีปฏิกิริยากับเซลล์ในลำไส้เล็ก, ตับอ่อน, กล้ามเนื้อโครงสร้าง  เนื้อเยื่อไขมันและตับในการควบคุมระดับน้ำตาลทั้งหมดของร่างกาย บทสรุป เพราะประโยชน์มากมายของสารประกอบที่พบในหัวหอม การบริโภคจึงอาจช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงได้

6. เสริมสร้างความหนาแน่นกระดูก

การดื่มนมสามารถช่วยเสริมสร้างสุขภาพของกระดูกได้ดีมากอยู่แล้ว แต่ก็ยังมีอาหารอื่นๆ อย่างเช่นหัวหอมเองก็สามารถช่วยทำให้กระดูกมีความแข็งแรงได้ด้วยเช่นกัน จากการศึกษาผู้หญิงวัยกลางคนและผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนพบว่าคนที่บริโภคน้ำหัวหอมประมาณ 3.4 ออนซ์ (100มล.) เป็นประจำทุกวันเป็นเวลา 8 สัปดาห์มีความหนาแน่นกระดูกที่ดีขึ้นและมีสารต้านอนุมูลอิสระได้ดีกว่ากลุ่มควบคุม จากการศึกษาอีกหนึ่งกลุ่มในผู้หญิงวัยก่อนหมดประจำเดือนและวัยหลังหมดประจำเดือนพบว่าคนที่รับประทานหัวหอมอย่างน้อยวันละ 5% มีความหนาแน่นของกระดูกโดยรวมดีขึ้น 5% มากกว่าคนที่รับประทานเพียงเดือนละครั้งหรือทานน้อยมาก การจากศึกษาผู้หญิงสูงอายุที่รับประทานหัวหอมบ่อยสามารถลดความเสี่ยงกระดูกสะโพกแตกหักได้มากกว่า 20% เมื่อเทียบกับคนที่ไม่เคยรับประทานเลย เป็นความเชื่อด้วยว่าการรับประทานหัวหอมสามารถช่วยลดภาวะเครียดออกซิเดชั่น, เสริมสร้างระดับสารต้านอนุมูลอิสระและลดการสูญเสียกระดูก ซึ่งเป็นการช่วยป้องกันภาวะกระดูกพรุนและเสริมสร้างความหนาแน่นของกระดูกได้ บทสรุป จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการบริโภคหัวหอมมีส่วนทำให้ความหนาแน่นของกระดูกดีขึ้น

7. มีคุณสมบัติในการต้านเชื้อแบคทีเรีย

หัวหอมสามารถต่อสู้กับเชื้อแบคทีเรียที่อาจทำให้เกิดอันตรายได้ เช่น เชื้อ Escherichia coli (อี โคไล)  Pseudomonas aeruginosa, Staphylococcus aureus (S. aureus) และ Bacillus cereus   ยิ่งกว่านั้น หัวหอมสกัดยังช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตเชื้อวิบริโอ คอเลอเร เชื้อแบคทีเรียที่เป็นตัวปัญหาหลักในประเทศที่กำลังพัฒนา  เคอร์ซิตินสกัดจากหัวหอมดูเหมือนจะมีพลังสูงในการต่อสู้กับเชื้อแบคทีเรีย จากการทดลองตัวอย่างเคอร์ซิตินสกัดจากผิวหอมหัวใหญ่พบว่าสามารถช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ไพโลไร (เอชไพโลไร) และ เชื้อ Methicillin-resistant Staphylococcus aureus (MRSA)         เอชไพโลไร คือเชื้อแบคทีเรียที่มีส่วนทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารและโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ในขณะที่ MRSA คือเชื้อแบคทีเรียดื้อยาที่เป็นสาเหตุของการติดเชื้อในส่วนต่างๆของร่างกาย จากการทดลองอีกชนิดหนึ่งพบว่าสารเคอร์ซิตินสามารถสร้างความเสียหายให้กับผนังเซลล์และเยื่อของเชื้ออีโคไลและเอส ออเรียส  บทสรุป หัวหอมแสดงให้เห็นว่าสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตเชื้อแบคทีเรียที่อาจทำอันตรายได้เช่นเชื้ออีโคไลและเอส ออเรียส

8. เสริมสร้างระบบย่อยอาหาร

หัวหอมเป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยใยอาหารและพรีไบโอติก ซึ่งมีความจำเป็นสำหรับสุขภาพของลำไส้ที่ดีที่สุด พรีไบโอติกคือใยอาหารรูปแบบที่ร่างกายไม่สามารถย่อยได้ ซึ่งสามารถย่อยสลายได้โดยเชื้อแบคทีเรียในลำไส้ที่มีประโยชน์ แบคทีเรียในลำไส้จะกินพรีไบโอติกและสร้างกรดไขมันสายสั้น-รวมถึงอะซิเตท, โพรพิโอเนทและบิวทิเรท  จากการค้นคว้าแสดงให้เห็นว่ากรดไขมันสายสั้นสามารถช่วยทำให้สุขภาพของลำไส้แข็งแรง เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน  ลดการอักเสบและทำให้ระบบการย่อยดีขึ้น เพิ่มเติมไปกว่านั้น การบริโภคอาหารที่อุดมไปด้วยพรีไบโอติกยังสามารถช่วยเพิ่มโพรไบโอติกส์ เช่น แลคโตบาซิลลัสและบิฟโดแบคทีเรีย ซึ่งมีประโยชน์ต่อระบบการย่อยที่ดี  การบริโภคพรีไบโอติกปริมาณมากอาจช่วยทำให้การดูดซึมแร่ธาตุที่สำคัญๆ เช่น แคลเซียมดีขึ้น ซึ่งสามารถช่วยทำให้กระดูกแข็งแรง หัวหอมคืออาหารที่อุดมไปด้วยพรีไบโอติก อินูลินและฟรุกโตโอลิโกแซ็กคาไรด์ ซึ่งสามารถช่วยเพิ่มเชื้อแบคทีเรียตัวดีในลำไส้และทำให้การทำงานของภูมิต้านทานดีขึ้น บทสรุป หัวหอมคือแหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยพรีไบโอติก ซึ่งช่วยเสริมสร้างระบบย่อยอาหาร ช่วยสร้างสมดุลของเชื้อแบคทีเรียให้ดีขึ้นและมีประโยชน์ต่อระบบภูมิต้านทาน

9. ง่ายในการเพิ่มเติมเข้าไปในอาหารที่รับประทาน

หัวหอมเป็นอาหารมี่มีติดในครัวทั่วโลก หัวหอมสร้างกลิ่นที่ดีให้กับอาหารและสามารถรับประทานได้ทั้งดิบและปรุงสุก คงไม่ต้องกล่าวอีกว่ามันมีประโยชน์ทั้งเรื่องของใยอาหาร,วิตามินและแร่ธาตุ ต่อไปนี้คือเคล็ดลับในการเพิ่มเติมลงในอาหารที่รับประทาน:
  • ใช้หัวหอมสดเพื่อเพิ่มกลิ่นลงในสูตรกัวกาโมเล
  • เติมหัวหอมที่ทอดจนเหลืองทองเพื่อเพิ่มกลิ่นในอาหารชนิดอบ
  • นำหัวหอมมาทำอาหารร่วมกับผักชนิดอื่นๆเพื่อเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ
  • ลองเติมหัวหอมใส่จานไข่เช่นออมเล็ต, ไข่อบชีสหรือคีช
  • เติมหอมผัดบนเนื้อ, ไก่หรือเต้าหู้
  • เติมหอมแดงสไลด์ลงในจานสลัดถ้วยโปรด
  • ทำสลัดที่อุดมไปด้วยใยอาหารด้วยถั่วลูกไก่, หัวหอมสับและพริกหวานแดง
  • ใช้หัวหอมและกระเทียมทำน้ำสต๊อกและซุบ
  • ใส่หัวหอมลงจานผัด
  • วางบนทาโก้, ฟาฮิต้า,และอาหารเม็กซิกันอื่นๆด้วยหัวหอมสดสับ
  • ทำซอสซัลซ่าด้วยหัวหอม, มะเขือเทศและผักชีสด
  • ทำซุบผักและหัวหอม
  • ปั่นหัวหอมสดรวมกับสมุนไพรสด, น้ำส้มสายชูและน้ำมันมะกอกสำหรับน้ำสลัด
บทสรุป หัวหอมสามารถนำมาทำอาหารร่วมกับอาหารอื่นๆได้มากมาย ทั้งไข่, กัวกาโมเล, จานเนื้อ, ซุบและอาหารอบ

ประเด็นสำคัญ

เพื่อประโยชน์ที่ดีต่อสุขภาพอันมีผลมาจากหัวหอมนั้นเป็นสิ่งที่น่าประทับใจยิ่ง หัวหอมเป็นผักที่เต็มไปด้วยสารอาหารที่มีส่วยประกอบที่ทรงพลัง ที่อาขช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและโรคมะเร็ง หัวหอมมีคุณสมบัติในการต้านเชื้อแบคทีเรียและช่วยทำให้ระบบการย่อยดีขึ้น รวมไปถึงเรื่องของการทำงานของระบบภูมิต้านทานที่ดีได้ด้วย ยิ่งไปกว่านั้น พวกมันยังเป็นอาหารสารพัดนึกที่ช่วยเพิ่มเติมแต่งกลิ่นรสให้กับทุกๆจานอาหารได้เป็นอย่างดี การบริโภคหัวหอมเพิ่มมากขึ้นเป็นเรื่องง่ายๆในการทำให้สุขภาพโดยรวมของเราดีขึ้นได้

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด