เคล็ดลับเพื่อปกป้องดวงตา (How to Protect yours Eyes) – วิธีการทำงานของการป้องกัน

แม้จะไม่เคยมีปัญหาการมองเห็น จนไม่กังวล หรือตระหนักถึงความเปลี่ยนแปลงของดวงตา เมื่ออายุมากขึ้น  แต่บางอย่างอาจส่งผลกระทบต่อการมอง หรือทำให้ตาบอดได้ แต่ก็มีมาตรการป้องกันเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น การสวมแว่นกันแดด และการกินผักสีเขียว ที่สามารถช่วยปกป้องสายตา และป้องกันปัญหาการมองเห็นในภายหลังได้

วิธีปกป้องดวงตามีดังนี้

1. วิธีบำรุงสายตาด้วยอาหาร

จักษุแพทย์กล่าวว่าการรับประทานอาหารที่ดีเป็นวิธีอันดับหนึ่งในการดูแลดวงตา และแนะนำให้รับสารอาหารจากอาหารให้ครบถ้วน: “กินวิตามินแทนการทานยา” วิธีถนอมสายตาด้วยอาหาร อาจเริ่มจากผักโขม หรือผักเค หรือผักที่มีสีสันสดใส ผักใบเขียวมีสารอาหารลูทีนและซีแซนทีน ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคตาได้ และวิตามินเอที่พบในผักสีเหลือง และส้ม เช่น แครอท และมันเทศ ยังช่วยส่งเสริมสุขภาพดวงตา และการรับประทานผลไม้ เช่น สตรอเบอร์รี่ ส้ม และมะม่วง ที่อุดมด้วยวิตามินซี และสารต้านอนุมูลอิสระอื่น ๆ ยังช่วยต่อสู้กับโรคตาได้ แนะนำว่าปลาแซลมอน หรือปลาน้ำเย็นอื่น ๆ ยังมีโอเมก้า 3 ที่ช่วยในการผลิตน้ำตา ซึ่งบรรเทาอาการตาแห้งได้ดี

2. การตรวจสายตาเป็นประจำ

การตรวจสายตาจะช่วยให้พบปัญหาการมองเห็นได้เร็วขึ้น เช่น โรคต้อหิน หรือโรคตาจากเบาหวาน เพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที คนส่วนมากที่มีปัญหาการมองเห็นควรไปพบจักษุแพทย์ปีละครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่าการมองเห็นไม่เปลี่ยนแปลง ขอแนะนำ แนวทางการตรวจสายตาต่อไปนี้:
  • เมื่ออายุ 40: ควรตรวจสายตาพื้นฐาน
  • อายุ 40 ถึง 55: ควรตรวจสายตาทุก ๆ 2 ถึง 4 ปี
  • อายุ 55 ถึง 64 ปี: ควรตรวจสายตาทุก ๆ 1 ถึง 3 ปี
  • อายุ 65 ขึ้นไป ตรวจตาทุกปี
ระหว่างการตรวจ แพทย์จะสอบถามประวัติครอบครัวและตรวจรูม่านตา การมองเห็นส่วนกลาง การมองเห็นสี และความดันตา อาจมีการขยายหรือเพิ่มความกว้างของรูม่านตาด้วยยาหยอดตาชนิดพิเศษ เพื่อดูด้านหลังดวงตา และตรวจหาความเสียหายใด ๆ

3. การเลิกสูบบุหรี่

เมื่อคุณสูบบุหรี่ ไซยาไนด์จากควันจะเข้าสู่กระแสเลือดและสามารถทำลายเซลล์ของดวงตาได้ การสูบบุหรี่จึงเพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นต้อกระจก และทำให้ดวงตาแห้ง นอกจากนี้ยังเพิ่มความเสี่ยงการเสื่อมสภาพของเม็ดสีซึ่งเป็นภาวะที่รักษาไม่หาย และจะทำลายการมองเห็นที่ส่วนกลางของดวงตา

4. การถนอมสายตาจากแสงแดด

อุปกรณ์ป้องกันดวงตาที่ดีคือ ครีมกันแดด และแว่นกันแดด ผิวหนังรอบดวงตาเป็นผิวหนังที่บางที่สุดในร่างกาย และไวต่อรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) มะเร็งผิวหนังหลายชนิด เช่น มะเร็ง carcinoma และ  melanoma สามารถเกิดขึ้นบริเวณเปลือกตาและรอบดวงตา ทำให้เกิดความเสียหายต่อโครงสร้างดวงตาอย่างมาก แว่นกันแดดก็เป็นวิธีถนอมสายตาที่จำเป็นเช่นกัน แต่อย่าหลงกลคิดว่ายิ่งมืดยิ่งดี เพราะเป็นเพียงสติกเกอร์ที่สามารถลอกออกมาได้ แว่นกันแดดที่ดีควรป้องกันจากรังสี UVA และ UVB (คลื่นยาวและสั้น) ได้ 100% รังสีอัลตราไวโอเลตส่งผลให้เกิดปัญหาต่อต้อกระจก และจอประสาทตาเสื่อม ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ตาบอด

5. การพักสายตาระหว่างเวลาทำงานกับคอมพิวเตอร์

การทำงานกับคอมพิวเตอร์ทั้งวันจะส่งผลให้ตาแห้งได้ อาจเนื่องมาจากการมองอะไรในระยะใกล้ ๆ โดยกะพริบตาไม่มาก เกิดอาการตาแห้งคือดวงตาที่มีน้ำน้อย การสลายตัวของชั้นน้ำมันและเมือกของดวงตาทำให้น้ำตาระเหย และดวงตาจะชดเชยด้วยการผลิตน้ำให้มากขึ้น ภาวะตาแห้งอาจทำให้ “ตาเมื่อยล้า” ในช่วงท้ายของวันได้เช่นกัน ตาแห้งอาจเกิดจาก:
  • การอักเสบ
  • ยาบางชนิด รวมทั้งยากล่อมประสาท
  • ฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงตามวัย
วิธีการรักษา ลองใช้กฎ 20-20-20: คือทุก ๆ 20 นาที ให้มองไปทางอื่นเป็นเวลา 20 วินาที ด้วยสิ่งที่อยู่ห่างออกไปอย่างน้อย 20 ฟุต หรือใช้การประคบร้อน เพราะจะช่วยบรรเทาอาการที่ต่อมน้ำตาได้ และแพทย์อาจสั่งผลิตภัณฑ์เช่น Restasis (cyclosporine) เพื่อลดการอักเสบ protect your eyes

6. รักษาอาการเบาหวาน

เบาหวานเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ตาบอด เพราะอาจเกิดภาวะเบาหวานขึ้นจอตาได้ ผู้ป่วยโรคเบาหวานประเภท 1 เกือบทั้งหมดจะมีอาการที่ตาลักษณะนี้ ส่วนผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 2 พบประมาณ 60% ภาวะเบาหวานขึ้นตา หลอดเลือดขนาดเล็กของเรตินาจะเสียหาย แม้ว่าจะไม่แสดงอาการใด ๆ ในระยะแรก แต่ก็จะส่งผลให้เกิดภาวะจอตาเสื่อมได้ เมื่อเวลาผ่านไป การมองเห็นอาจพร่ามัวและทำให้ตาบอดได้ การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิต และโคเลสเตอรอลจะช่วยรักษาดวงตาได้ เบาหวานขึ้นจอตาอาจรักษาได้โดยการผ่าตัดด้วยเลเซอร์ ซึ่งจะลดโอกาสที่ตาจะบอดได้ แต่การรักษาจะไม่สามารถซ่อมแซมการมองเห็นที่สูญเสียไปแล้วได้

7. การดูแลจอประสาทตา

เมื่ออายุ 60 ปี จอประสาทตาจะเริ่มเสื่อม ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ตาบอด จอประสาทตาเสื่อมเกิดขึ้นเมื่อเนื้อเยื่อตาเสื่อมสภาพ ทำให้เกิดความพร่ามัวหรือสูญเสียการมองเห็นที่บริเวณส่วนกลางของดวงตา จอประสาทตาเสื่อมมี 2 รูปแบบ: แบบเปียกและแบบแห้ง หากสูญเสียการมองเห็นเนื่องจากของเหลวในเรตินา ภาวะนี้สามารถรักษาได้โดยการฉีดของเหลวเข้าตา แต่หากเกิดจากภาวะแห้งจะไม่มีการรักษา ปัจจัยเสี่ยงของการเสื่อมสภาพของเม็ดสี ได้แก่ พันธุกรรม การสูบบุหรี่ (ซึ่งทำลายหลอดเลือดของดวงตา) การขาดลูทีนและซีแซนทีนในอาหาร และไม่สามารถป้องกันได้ด้วยแว่นกันแดด

8. การรักษาต้อกระจก

ต้อกระจกคืออาการที่เกิดจากความชรา มักเกิดอาการเมื่ออายุ 60 ปี อาการต่าง ๆ อาจรวมถึง ตาพร่ามัว ตาสีจางลง รับแสงจ้าได้น้อย การมองเห็นกลางคืนลดลง และการมองเห็นภาพซ้อน ต้อกระจกมีความสัมพันธ์กับการสัมผัสกับรังสียูวี หรือการฉายรังสี เช่น การรักษามะเร็ง การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาเพรดนิโซน จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดต้อกระจกได้ แต่การรักษาต้อกระจกอาจทำให้เลนส์ตาเสียหายได้

9. ป้องกันต้อหิน

ความเสียหายต่อเส้นประสาทตาจะทำให้เกิดโรคต้อหิน อาการตานี้ เป็นภัยร้านที่น่ากลัว โรคต้อหินจะทำให้สูญเสียการมองเห็นได้ และยังยากที่จะป้องกันหรือรักษาได้ วิธีการถนอมสายตาที่ดีที่สุด คือตรวจตาอย่างสม่ำเสมอ โรคต้อหินเกิดขึ้นเมื่อความดันในดวงตาสูงขึ้น และเริ่มทำลายเส้นประสาทตา การเสื่อมสภาพจะเป็นไปอย่างช้า ๆ อาจใช้เวลาหลายปี ความเสียหายของเส้นประสาทจึงจะรุนแรงพอที่จะทำให้เกิดปัญหาในการมองเห็น ความเสี่ยงของการเป็นโรคต้อหินนั้นเป็นอาการทางพันธุกรรม หรือเป็นเบาหวาน ผู้ป่วยส่วนมากจะรักษาด้วยยาหยอดตาวันละครั้ง เพื่อลดความดันในดวงตา หรือรักษาด้วยการผ่าตัด

10. รักษาสุขภาพ เพื่อดวงตาที่ดี

ดวงตาคือเครื่องบ่งชี้ถึงสุขภาพโดยรวมของบุคคลได้  หากผู้ป่วยที่มีอาการตาแห้ง ก็มักมีสัญญาณของโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคลูปัส หรือโรคไทรอยด์ ผู้ป่วยที่มีอาการตาพร่ามัวอาจเป็นโรคเบาหวาน เนื้องอก หรือโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ที่มีอาการคันตาแดงอาจมีอาการแพ้คอนแทคเลนส์โดยไม่รู้ตัว และโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งยังทำให้การเคลื่อนไหวของตาผิดปกติ
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด