ประโยชน์ของกรดไขมันอิ่มตัว

ผู้บริโภคหันมาให้ความสนใจกับผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพที่มาจากธรรมชาติเพื่อรักษา หรือบำรุงสุขภาพกันมากขึ้น มีงานวิจัยพบว่ากรดไขมันจำเป็น (EFAs) จะมีประโยชน์ต่อสุขภาพ ผู้บริโภคจึงควรตระหนักถึงบทบาทของ EFAs ทั้งในด้านโภชนาการ สุขภาพ และรักษาโรค เพื่อการตัดสินใจในการดูแลสุขภาพของตนเอง อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับไขมันได้ที่นี่ 

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ EFAs

EFAs เป็น “ไขมันดี” ชนิดพิเศษ ถือเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย บางครั้งถูกเรียกว่าวิตามิน F เป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อชีวิต แต่ต้องได้รับผ่านการรับประทานอาหารเพราะร่างกายไม่สามารถสร้าง EFAs ได้ ซึ่งร่างกายจะนำไปใช้สำหรับโครงสร้างและการทำงานที่เหมาะสมของทุก ๆ เซลล์ในร่างกาย และมีความสำคัญต่อสุขภาพ EFAs ช่วยเพิ่มการดูดซึมวิตามิน และแร่ธาตุต่าง ๆ บำรุงผิว ผม และเล็บ ส่งเสริมการทำงานของเส้นประสาท ช่วยผลิตฮอร์โมน เสริมกระบวนการเติบโต และพัฒนาการของร่างกายให้เป็นปกติ แรวมถึงการป้องกันและรักษาโรค ไขมัน (กรดไขมัน) แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ – ไขมันอิ่มตัว ไม่อิ่มตัว เป็นลักษณะทางโครงสร้างทางเคมี กรดไขมันไม่อิ่มตัวมี 3 ชนิดสำคัญ: โอเมก้า-3, โอเมก้า-6 และโอเมก้า-9 โอเมก้า 6 และโอเมก้า 3 มีความจำเป็นต่อร่างกาย ส่วนโอเมก้า 9 นั้นไม่จำเป็นเพราะร่างกายสามารถสร้างได้เองจากกรดไขมันชนิดอื่น ๆ กรดไขมันไม่อิ่มตัวยังจำแนกเป็นชนิดไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว หรือไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน EFA เป็นไขมันชนิดไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน ได้แก่: กรดไขมันโอเมก้า 6 กรดไลโนเลอิก (LA) และอนุพันธ์ของมัน กรดแกมมา-ไลโนเลนิก (GLA) และกรดอาราคิโดนิก (AA) กรดไขมันโอเมก้า-3 กรดอัลฟา-ไลโนเลนิก (ALA) และอนุพันธ์ของมัน กรดไอโคซาเพนทาอีโนอิก (EPA) และกรดโดโคซาเฮกซาอีโนอิก (DHA) ในทางทฤษฎี มีเพียง LA และ ALA เท่านั้นมีความจำเป็นต่อร่างกายเป็นอย่างมาก แต่กรดไขมันอิสระชนิดอื่น ๆ ของมีความสำคัญต่อร่างกายเช่นกัน การขาดกรดไขมัน EFA เกิดจากแนวทางการรับประทานอาหารและวิถีการใช้ชีวิต รวมถึงปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม บางคนมีปัญหาเมื่อร่างกายไม่สามารถย่อย LA และ ALA เป็นอนุพันธ์ที่ใช้งงานได้ ภาวะการขาด EFA อาจทำให้เกิดโรค และเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์สูงต้องทำอย่างไร อ่านต่อที่นี่

EFA ที่สำคัญและแหล่งที่มา

LA: LA มีอยู่ในผักหลายชนิดและน้ำมันพืชส่วนใหญ่ – ทานตะวัน (65-75%), ดอกคำฝอย (79%), เมล็ดอีฟนิ่งพริมโรส (72%), ข้าวโพด (57%), ถั่วลิสง (31%), คาโนลา (19 -26%) และมะกอก (8%) LA มีในอาหารหลายชนิด จึงไม่จำเป็นต้องรับประทานเสริม GLA: แหล่งอาหารที่สำคัญของ GLA คือน้ำมันโบราจ (starflower), GLA (20-24%); น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส (8-10%); และน้ำมันลูกเกดดำ (15-17%) GLA ยังมีอยู่ในนมแม่ และอาหารบางชนิดในปริมาณเล็กน้อย แต่อาหารทั่วไปจะมี GLA น้อยมาก AA: พบมากในไข่ ปลา และเนื้อสัตว์ AA มีมากในอาหารหลายชนิด จึงไม่จำเป็นต้องรับประทานอาหารเสริมเพิ่มเติม ALA: พบมากในเมล็ดแฟลกซ์ (18-22%) และน้ำมันเมล็ดแฟลกซ์ (50-60%) และพบได้เล็กน้อยในถั่วบางชนิด ผักใบเขียว คาโนลา จมูกข้าวสาลี และเมล็ดแบล็คเคอเรนท์ EPA และ DHA: EPA และ DHA พบได้ในปลาที่มีไขมัน เช่น ปลาแซลมอน ปลาแมคเคอเรล และทูน่า น้ำมันปลาซึ่งปริมาณของ EPA และ DHA จะแตกต่างกันไปตามแหล่งที่มา อาหารเสริมน้ำมันปลามักประกอบด้วย EPA 18% และ DHA 12% ซึ่งเป็นน้ำมันที่มีความเข้มข้นมาก ๆ จะประกอบด้วย EPA 30% และ DHA 20% โดยมีแหล่งที่มาจากสาหร่าย อย่างไรก็ตาม EPA และ DHA สามารถพบได้ทั่วไป fatty acid

การใช้ EFAs เพื่อการรักษาและป้องกันโรค

ภาวะขาดสาร EFA พบได้ในหลายโรค เช่น ความผิดปกติทางจิต เบาหวาน หลอดเลือด ความดันโลหิตสูง กลาก PMS ภูมิคุ้มกันบกพร่อง และภาวะอักเสบต่าง ๆ  เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ EFAs ยังช่วยบรรเทาอาการของโรคเหล่านี้ได้ และการใช้ผลิตภัณฑ์เสริม EFA ได้รับการศึกษามานานแล้ว แต่พบว่าการแปลง LA และ ALA ไปเป็นอนุพันธ์ที่ต้องการมักเกิดความบกพร่อง ดังนั้นงานวิจัยส่วนใหญ่ของ EFA จึงมุ่งเน้นไปที่ GLA, EPA และ DHA ซึ่งดูดซึมและนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า LA และ ALA เบาหวานตอนตั้งครรภ์เสี่ยงต่ออะไร อ่านต่อที่นี่

โรคหัวใจ

อาหารที่อุดมด้วยกรดไขมันอิสระอย่าง ALA, EPA และ DHA จะช่วยรักษาสุขภาพของหัวใจ และป้องกันโรคหัวใจโดยการลดระดับไขมันในเลือด และความดันโลหิตสูงได้ รวมทั้งลดการแข็งตัวของเลือด โดยพบว่าผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดีและบริโภคปลาที่มีไขมันอย่างน้อย 2 ครั้งต่อสัปดาห์ จะทำให้เกิดความเชื่อมโยงกับระดับกรดไขมันโอเมก้า 3 ที่ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ

โรคข้ออักเสบและภาวะข้อต่ออื่น ๆ

GLA จะถูกแปลงเป็น eicosanoids ที่มีคุณสมบัติต้านการอักเสบ ช่วยปรับประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกัน จึงช่วยลดอาการอักเสบและความเสียหายของข้อต่อได้ ผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์จำนวนมากมักขาด GLA และตอบสนองต่อการรักษาด้วย GLA เป็นอย่างดี การเสริม GLA จะช่วยลดอาการของโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ได้ทั้งในเด็ก และผู้ใหญ่ ลดระยะเวลาที่ข้อต่อติดขัดในตอนเช้า, ข้อต่อบวม, ความอ่อนแอและความเจ็บปวดที่เกิดจากโรคได้ และช่วยให้ผู้ป่วยสามารถลดการใช้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDS) และคอร์ติโคสเตียรอยด์ได้

ความผิดปกติของผิวหนัง

ภาวะบกพร่องของกรดไขมันอิสระ EFAs โดยเฉพาะ GLA นั้นเกี่ยวข้องกับกลากและความผิดปกติทางผิวหนังอื่นๆ EFAs ช่วยบรรเทาอาการผิวแห้ง คัน และอักเสบ และช่วยรักษาความชุ่มชื้น แม้ว่า EFAs และความผิดปกติของผิวหนังต่าง ๆ มักใช้ในการรักษาโรคกลาก และผู้ป่วยที่ใช้ GLA สามารถลดการใช้ยาหลายชนิด เช่น ยาปฏิชีวนะ ยาสเตียรอยด์ในช่องปาก และยาสเตียรอยด์เฉพาะที่ กลากน้ำนมรักษาอย่างไรอ่านได้ที่นี่

ความผิดปกติทางจิต

EFAs อย่างโอเมก้า 3 เป็นที่รู้จักกันดีว่ามีประโยชน์ในการปกป้องหัวใจ แต่ก็อาจส่งผลต่อสุขภาพจิต ความผิดปกติหลายอย่าง เช่น ภาวะซึมเศร้า โรคไบโพลาร์ อัลไซเมอร์ ภาวะสมองเสื่อม ความบกพร่องทางสติปัญญา และความผิดปกติทางพฤติกรรมและการเรียนรู้ (เช่น โรคดิสเล็กเซียและโรคสมาธิสั้น) EPA และ DHA มีประโยชน์ในการรักษาภาวะซึมเศร้า และความผิดปกติทางจิตอื่นๆ โรคซึมเศร้าทดสอบได้อย่างไร อ่านที่นี่

ภาวะสุขภาพอื่น ๆ

EFAs ช่วยเสริมสุขภาพของร่างกายได้มากมาย รวมถึงความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร เบาหวาน โรคอ้วน PMS อาการขัดเต้านม (เจ็บที่เต้านม) ความดันโลหิตสูง โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง โรคลูปัส โรคหอบหืด ภูมิแพ้ และมะเร็ง และอาจช่วยรักษาโรคมะเร็ง อาจใช้เพียงอย่างเดียว และใช้ร่วมกับยาชนิดอื่น ๆ เช่น Tamoxifen รวมถึงการบำรุงระหว่างตั้งครรภ์และให้นมบุตร สำหรับทารกและเด็กเล็ก อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับ : xxx
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด