ปัญหายาเสพติด (Drug Addiction) : การพึ่งพายา และยาเสพติด

ผู้เขียน Dr. Wikanda Rattanaphan
0
ปัญหายาเสพติด

สารเสพติด หรือยาเสพติดคือ อะไร

การติดยาเสพติดคือ อาการเกิดขึ้นเมื่อคุณต้องการยาอย่างน้อยหนึ่งชนิดเพื่อให้ทำงานได้การใช้ยาในทางที่ผิดถือเป็นจุดเริ่มต้นของการใช้ยาที่ไม่เหมาะสมซึ่งนำไปสู่การติดยา ซึ่งสังคมเรารู้ดีว่าการเสพยาเสพติดนั้นเป็นปัญหารุนแรง

ความแตกต่างระหว่างการพึ่งพายา และการเสพติด

คนส่วนใหญ่แล้วใช้สองคำนี้ร่วมกันแต่แท้จริงแล้วคือ คนละความหมาย

การเสพติด (Addiction)

การเสพติดอาจจะเกิดขึ้นได้โดยไม่ต้องพึ่งยา โดยการเสพติดเกี่ยวข้องกับเรื่องต่อไปนี้
  • ยังคงใช้ยาแม้จะมีผลที่ตามมา
  • ไม่สามารถหยุดใช้ยาได้
  • ละเลยภาระหน้าที่ และการงานเนื่องจากการใช้ยา

การพึ่งพายา (Dependence)

พึ่งพายาเสพติดโดยไม่ได้เสพติดยา การพึ่งพาสามารถตอบสนองทางร่างกายต่อสาร อาจจะหมายถึงจำเป็นต้องพึ่งพายา เพื่อควบคุมโรคเรื้อรัง การพึ่งพายาอาจจะเกี่ยวกับ
  • เป็นส่วนหนึ่งของการเสพติด
  • เกิดจากร่างกายปรับตัวเข้ากับยา ซึ่งนำไปสู่ความต้องการในปริมาณที่มากขึ้น หรือบ่อยขึ้น
  • เกิดอาการถอนเมื่อหยุดใช้ยา

โทษของยาเสพติดที่นำไปสู่การพึ่งพา

ต่อไปนี้คือ สาเหตุของการติดยาเสพติด
  • มีประวัติครอบครัวติดยาเสพติด
  • อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีการใช้ยาผิดกฎหมาย และง่ายต่อการเข้าถึง
  • มีประวัติวิตกกังวลอย่างมาก
  • มีประวัติของภาวะซึมเศร้า
  • มีประวัติปัญหาสุขภาพจิตอื่น ๆ
Jellinek Curve เป็นเส้นโค้งติดตามขั้นตอนทั่วไปที่มีประสบการณ์ผ่านการใช้งานยาเป็นครั้งคราว การพึ่งพาความผิดปกติ และการฟื้นฟูสมรรถภาพ ขั้นตอนเหล่านี้ ประกอบไปด้วย
  1. ใช้ยา เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ แต่ใช้ไม่บ่อยนัก
  2. เริ่มใช้ยาเสพติดเป็นประจำโดย ออกห่างจากครอบครัว และเพื่อนฝูง กังวลเกี่ยวกับการสูญเสียการเข้าถึงยา
  3. ต้องการยาเสพติดมากขึ้น และหมกมุ่นอยู่กับการได้รับยาเหล่านี้ ละทิ้งครอบครัว และหน้าที่
  4. จำเป็นต้องพึ่งพายาเสพติด และไม่สามารถอยู่ได้โดยปราศจากพวกเขา สุขภาพใจ และกายย่ำแย่

Drug Addiction

ปัญหายาเสพติดที่นำไปสู่การพึ่งพายา

การเสพติดจะกลายเป็นการพึ่งพาอาศัยยาหรือไม่ สามารถดูจากพฤติกรรม เมื่อคนติดยาเสพติดไม่ได้เสพยาเป็นระยะเวลาหนึ่งอาจทำให้เกิดปฏิกิริยาทางร่างกายได้ เป็นอาการถอนที่เกิดจากความเครียดของร่างกาย โดยมีอาการดังต่อไปนี้

รักษาการติดยาเสพติดมีอะไรบ้าง

เมื่อใช้ยาในทางที่ผิดลุกลามไปสู่การพึ่งพา จำเป็นต้องได้รับการรักษา แต่การหยุดโดยทันทีอาจจะทำให้เกิดอาการถอน การรักษาจึงค่อนข้างจะซับซ้อน ผู้ติดยาอาจต้องการความช่วยเหลือจากทางแพทย์ในการกำจัดสารเสพติดออกจากร่างกาย  โดยสามารถทำได้แบบเป็นผู้ป่วยใน และผู้ป่วยนอก สารที่เลียนแบบผลของยาที่ผิดกฎหมายสามารถช่วยลดอาการถอนยาในระหว่างการรักษา โปรแกรมดีท็อกซ์ใช้การบำบัดร่วมกัน และการรักษาทางการแพทย์ เพื่อลดการพึ่งพา และรักษาความผิดปกติจากอาการถอน และหลังจากรักษาแล้ว ยังคงจำเป็นต้องบำบัดอย่างต่อเนื่องจนกว่าจะหายดี ในกรณีที่มีอาการมึนเมา หรือใช้ยาเกินขนาดจำเป็นจะต้องได้รับการรักษา หรือบำบัดก่อนที่จะลุกลาม

ภาพรวมผลกระทบของยาเสพติด

หากปล่อยอาการติดยาเสพติดทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษา การพึ่งพายาผิดกฎหมายสามารถสร้างอันตรายได้ คุณต้องการที่จะใช้ยาเพิ่มขึ้น เนื่องจากร่างกายของคุณปรับตัวเข้ากับยามากขึ้น ซึ่งเป็นผลให้ร่างกายต้องการใช้ยาเกินขนาด จนอาจถึงแก่ชีวิตได้การรักษาอาการพึ่งพายาสามารถทำได้ บางครั้งการรักษานั้นประสบความสำเร็จในครั้งแรก แต่อาการอาจจะกำเริบอีก การบำบัดอย่างต่อเนื่อง และกลุ่มสนับสนุนจะช่วยให้สำเร็จ และสามารถฟื้นตัวได้เร็วขึ้น

สถานบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดในประเทศไทย

สถาบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด ได้แก่
  • โรงพยาบาลธัญญารักษ์ สายด่วนปรึกษาปัญหายาเสพติด โทร. 02 – 1165 และ โทร. 0 – 2531 – 0080 ถึง 8 2.2
  • โรงพยาบาลประจำจังหวัดทุกจังหวัด ศูนย์บำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด 
  • โรงพยาบาลนิติจิตเวช โทร 0 – 2441 – 9026 – 9 1.5
  • โรงพยาบาลราชวิถี โทร. 0 – 2246 – 0052 ต่อ 4302 1.2
  • โรงพยาบาลทหารเรือกรุงเทพฯ โทร. 0 – 2411 – 24191 1.4
  • โรงพยาบาลตากสิน โทร. 0 – 2863 – 1371 ถึง 2, 0 – 2437 – 0123 ต่อ 1153,1248
  • โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า โทร. 0 – 2246 – 1400 ถึง 1428 ต่อ 3187 1.3 
  • คลินิกยาเสพติด 1 ลุมพินี โทร. 0 – 2250 – 0286 1.7
  • คลินิกยาเสพติด 2 สี่พระยา โทร. 0 – 2236 – 4174 1.8
  • คลินิกยาเสพติด 3 บางอ้อ โทร. 0 – 2424-6933 1.9
  • คลินิกยาเสพติด 4 บางซื่อ โทร. 0 – 2587 – 0873 1.10
  • คลินิกยาเสพติด 5 ดินแดน โทร. 0 – 2245 – 0640 1.11
  • คลินิกยาเสพติด 6 วัดธาตุทอง โทร. 0 – 2391 – 8539 1.12
  • คลินิกยาเสพติด 7 สาธุประดิษฐ์ โทร. 0 – 2284 – 3244 1.13
  • คลินิกยาเสพติด 8 ซอยอ่อนนุช โทร. 0 – 2321 – 2566 1.14
  • คลินิกยาเสพติด 9 บางขุนเทียน โทร. 0 – 2468 – 2570 1.15
  • คลินิกยาเสพติด 10 สโมสรวัฒนธรรม โทร. 0 – 2281 – 9730 1.16
  • คลินิกยาเสพติด 11 ลาดพร้าว โทร. 0 – 2513 – 2509 1.17
  • คลินิกยาเสพติด 12 วงศ์สว่าง โทร. 0 – 2585 – 1672 1.18
  • คลินิกยาเสพติด 13 ภาษีเจริญ โทร. 0 – 2413 – 2435 1.19
  • คลินิกยาเสพติด 14 คลองเตย โทร. 0 – 2249 – 1852 1.20
  • คลินิกยาเสพติด 15 วัดไผ่ตัน โทร. 0 – 2270 – 1985 2. 
  • ศูนย์บำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด ประจำภาคใต้ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา โทร. (074) 467 – 453, (074) 467 – 468 2.5
  • ศูนย์บำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดประจำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น โทร. (043) 245 – 366 2.6
  • ศูนย์บำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด จังหวัดปัตตานี อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี โทร. (073) 333 – 291 3. 
  • ศูนย์บำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด ประจำภาคเหนือ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ โทร. (053) 297 – 976 ถึง 7 2.4
  • ศูนย์บำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด จังหวัดแม่ฮ่องสอน อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน โทร. (053) 612 – 607 2.7
นอกจากนี้ยังมีสถานพยาบาลอื่น ๆ หรือเอกชนมากมาย  หากใครที่ต้องการบำบัดยาเสพติด สามารถติดต่อไปยังที่ที่ใกล้บ้านหรือสะดวกและขอคำปรึกษาเบื้องต้นได้ทันที

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/drug-addiction/symptoms-causes/syc-20365112
  • https://www.webmd.com/mental-health/addiction/drug-abuse-addiction#1
  • https://www.drugabuse.gov/publications/drugfacts/understanding-drug-use-addiction
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด