โรคมะเร็งเป็นหนึ่งในโรคที่เป็นสาเหตุการตายของคนทั่วโลก แต่จากการศึกษาพบว่าแค่การปรับเปลี่ยนชีวิตแบบง่ายๆเช่น การรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ก็สามารถป้องกันการเกิดโรคมะเร็งทั้งหมดได้ราว 30–50%   และจากหลักฐานยังพบด้วยว่าพฤติกรรมการรับประทานอาหารบางอย่างอาจไปเพิ่มหรือลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งได้ ยิ่งไปกว่านั้น สารอาหารยังมีบทบาทมราสำคัญยิ่งในการรักษาและจัดการกับโรคมะเร็งได้

การรับประทานอาหารบางชนิดที่มากเกินไปอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งมากขึ้น

เป็นเรื่องยากที่จะพิสูจน์ได้ว่าอาหารบางชนิดเป็นสาเหตุของโรคมะเร็ง แต่อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาผู้เข้าร่วมทดลองที่มีการบริโภคอาหารบางชนิดเดิมๆซ้ำๆตลอดเวลาพบว่ามีแนวโน้มเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง

น้ำตาลและคาร์บที่ผ่านการขัดสี

อาหารแปรรูปมีปริมาณน้ำตาลสูงและมีใยอาหารต่ำ อีกทั้งยังมีสารอาหารที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งสูง นักวิจัยยังพบว่าการรับประทานอาหารเป็นสาเหตุทำให้ระดับกลูโคสในเลือดพุ่งขึ้นสูงซึ่งเกี่ยวข้องกับการเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งหลายชนิด ซึ่งรวมไปถึงมะเร็งกระเพาะอาหาร หน้าอกและลำไส้ จากการศึกษาผู้ใหญ่มากกว่า 47,000 รายพบว่าคนที่บริโภคอาการที่มีคาร์บที่ผ่านการขัดสีสูงมีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าคนที่บริโภคคาร์บที่ผ่านการขัดสีต่ำจากโรคมะเร็งลำไส้ถึงสองเท่า คนที่มีระดับอินซูลินและกลูโคสในน้ำตาลสูงมีปัจจัยความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งสูง เป็นที่รู้กันดีว่าอินซูลินสามารถกระตุ้นการแบ่งตัวของเซลล์ได้ อีกทั้งยังทำให้เซลล์มะเร็งเจริญเติบโตและมีการแพร่กระจาย ซึ่งจะยิ่งทำให้ยากต่อการกำจัด ระดับอินซูลินและกลูโคสในเลือดที่สูงจะมีส่วนทำให้เกิดการอักเสบในร่างกาย ในระยะยาวก็อาจนำไปสู่การเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติและมีโอกาสเกิดเป็นโรคมะเร็งขึ้น นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมคนที่เป็นโรคเบาหวาน – ภาวะที่มีกลูโคสในเลือดและระดับอินซูลินสูง-มีความเสี่ยงสูงในการเกิดโรคมะเร็ง เพื่อป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง จึงควรจำกัดหรือหลีกเลี่ยงอาหารที่ไปทำให้ระดับอินซูลินขึ้นสูง เช่นอาหารที่มีน้ำตาลสูงและคาร์บที่ผ่านการขัดสี

เนื้อแปรรูป

องค์กรหน่วยงานย่อยขององค์การอนามัยโลก IARC เชื่อว่าเนื้อแปรรูปคือสารก่อมะเร็ง-คือบางสิ่งบางอย่างที่เป็นสาเหตุของโรคมะเร็ง เนื้อแปรรูปมักเป็นเนื้อที่สามารถเก็บรักษาไว้ได้นานด้วยการเติมเกลือ บ่มหมักหรือรมควัน ซึ่งมักเป็นอาหารเช่นฮอทดอก แฮม เบคอน ไส้กรอกโชริโซ และซาลามี่ จากการศึกษาพบว่าคนที่บริโภคเนื้อแปรรูปมีความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งสูง โดยเฉพาะมะเร็งลำไส้ อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอาหารกระป๋องอ่านต่อที่นี่

การประกอบอาหารที่สุกมากเกินไป

การประกอบอาหารบางชนิดที่ต้องใช้อุณหภูมิสูงเช่นการย่าง ทอด ผัด ปิ้งและบาบีคิว จะสร้างสารประกอบที่เป็นอันตรายขึ้นมาเช่น สารเฮเทอโรไซคลิเอมีน (HA) และผลิตภัณฑ์สุดท้ายของไกลเคชั่นขั้นสูง (AGEs)    เมื่อเกิดการสะสมของสารประกอบดังกล่าวที่มากเกินไปจะมีส่วนทำให้เกิดการอักเสบและอาจมีบทบาทที่สำคัญในการก่อเกิดโรคมะเร็งลำไส้และโรคอื่นๆ อาหารบางชนิดเช่นอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ที่มีไขมันและโปรตีนสูง รวมไปถึงอาหารที่ผ่านการแปรรูปสูง มักจะผลิตสารประกอบที่เป็นอันตรายได้มากเมื่อไปสัมผัสกับอุณหภูมิที่สูง เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงให้น้อยมากที่สุดจึงควรหลีกเลี่ยงอาหารไหม้เกรียมและเลือกวิธีการประกอบอาหารที่นุ่มนวลกว่า โดยเฉพาะเมื่อทำอาหารเกี่ยวกับเนื้อสัตว์ด้วยวิธีเช่น การนึ่ง การตุ๋นหรือต้ม การหมักอาหารก็สามารถช่วยได้

ผลิตภัณฑ์จากนม

จากการศึกษาหลายชิ้นพบว่าการบริโภคผลิตภัณฑ์จากนมในปริมาณมากอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก

น้ำหนักตัวที่มากเกินไปหรือโรคอ้วนมีส่วนทำให้เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง

นอกจากการสูบบุหรี่และการติดเชื้อแล้ว การมีภาวะโรคอ้วนก็คือปัจจัยเสี่ยงที่มีมากที่สุดตัวหนึ่งในการเกิดโรคมะเร็งทั่วโลก โรคอ้วนจะเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดโรคมะเร็งชนิดที่แตกต่างกัน 13 ชนิด ซึ่งรวมไปถึงมะเร็งหลอดอาหาร ลำไส้ ตับอ่อนและไต รวมถึงมะเร็งหน้าอกหลังวัยหมดประจำเดือน โรคอ้วนสามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งได้สามวิธีคือ:
  • ไขมันส่วนเกินของร่างกายมัส่วนทำให้เกิดการต้านอินซูลิน ส่งผลให้เซลล์ไม่สามารถใช้กลูโคสได้อย่างเหมาะสม ซึ่งจะทำให้มีการแบ่งตัวเร็วมากขึ้น
  • คนที่มีภาวะโรคอ้วนมีแนวโน้มจะทำให้การอักเสบไซโตไคน์ในเลือดระดับสูง ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการอักเสบเรื้อรังและไปเสริมให้เซลล์เกิดการแบ่งตัว
  • เซลล์ไขมันมีส่วนทำให้ระดับเอสโตรเจนสูงขึ้น ซึ่งจะเป็นการไปเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งหน้าอกและมะเร็งรังไข่ในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน
ข่าวดีก็คือจากการศึกษาพบว่าการลดน้ำหนักในคนที่มีน้ำหนักที่มาเกินไปและคนที่มีภาวะโรคอ้วนจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งได้ อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับ: ภาวะโรคอ้วนได้ที่นี่

อาหารต้านโรคมะเร็งบางชนิด

ไม่มีอาหารชนิดไหนชนิดเดียวที่จะเป็นสุดยอดอาหารในการป้องกันโรคมะเร็งได้ และการทานอาหารบำรุงสุขภาพแบบองค์รวมดูเหมือนจะมีประโยชน์มากกว่า นักวิทยาศาสตร์คิดว่าการรับประทานอาหารที่เหมาะสมสำหรับโรคมะเร็งอาจช่วยลดความเสี่ยงลงได้มากถึง 70% และน่าจะช่วยให้มีการฟื้นฟูจากโรคมะเร็งได้ดีขึ้นอีกด้วย และพวกเขาเชื่อว่าอาหารบางชนิดสามารถต่อสู้กับโรคมะเร็งได้ด้วยการไปปิดกั้นหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงมะเร็งที่เราเรียกว่าการสกัดการไหลเวียนของโลหิตเข้าสู่เซลล์มะเร็ง แต่อย่างไรก็ตามเรื่องของสารอาหารเป็นเรื่องที่ดีที่สุด อาหารบางชนิดส่งผลดีในการต่อสู้กับมะเร็งได้หลากหลายขึ้นอยู่กับการเพาะปลูก กระบวนการ การจัดเก็บและการประกอบอาหาร กลุ่มของอาหารต้านมะเร็งมีดังต่อไปนี้:

ผักต้านมะเร็ง

จากการศึกษาพบว่าการบริโภคผักในปริมาณมากมีส่วนช่วยในการลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งได้ ผักหลายชนิดมีสารต่ออนุมูลอิสระและสารพฤกษเคมีที่ช่วยต่อสู้กับมะเร็งเป็นส่วนประกอบ ยกตัวอย่างเช่น พืชตระกูลกระหล่ำซึ่งรวมไปถึงบล็อคโคลี่ กระหล่ำดอกและกระหล่ำปลีจะมีสารซัลโฟราเฟนเป็นส่วนประกอบ เป็นสารที่แสดงให้เห็นแล้วว่าช่วยลดขนาดของเนื้องอกในหนูลงได้มากกว่า 50%  ผักชนิดอื่นๆเช่นมะเขือเทศและแครอทมีส่วนในการช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก กระเพาะอาหารและมะเร็งปอด cancer and diet

ผลไม้ต้านมะเร็ง

คล้ายคลึงกับผัก ผลไม้มีสารต้านอนุมูลอิสระและสารพฤษเคมีอื่นๆซึ่งช่วยป้องกันมะเร็งได้ จากการศึกษาพบว่าการบริโภคผลไม่รสเปรี้ยวอย่างน้อยสามครั้งต่อสัปดาห์จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหารลงได้ 28%

เมล็ดเฟล็กซีด

เมล็ดเฟล็กซีดมีส่วนช่วยในการป้องกันต่อการเกิดโรคมะเร็งบางชนิดและอาจช่วยลดการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง จากการศึกษาหนึ่งพบว่าเมื่อให้ผู้ชายที่เป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากรับประทานเมล็ดเฟล็กซีดบด 30 กรัม -หรือประมาณ  4 1/4 ช้อนชา-เป็นประจำทุกวันจะช่วยลดการเจิญเติบโตและการแพร่กระจายของมะเร็งได้ดี ผลที่ได้คล้ายกันกับที่พบในผู้หญิงที่เป็นโรคมะเร็งเต้านม

เครื่องเทศ

จากการศึกษาในหลอดทดลองและในสัตว์พบว่าชินนามอนมีคุณสมบัติในการต้ามะเร็งและช้วยปกป้องไม่ให้เซลล์มะเร็งมีการแพร่กระจาย เคอร์คูมินที่พบได้ในขมิ้นชันช่วยต่อสู้กับโรคมะเร็ง จากการศึกษาเป็นเวลา 30 วันในคนที่บริโภคเคอร์คูมิน 4 กรัมต่อวันทุกวันจะช่วยลดเนื้อร้ายในลำไส้ลงได้ 40% ของคนที่ไม่ได้รับการรักษา

ถั่วและเลมกูม

ถั่วและเลมกูมมีใยอาหารสูง และเมื่อบริโภคสารอาหารเหล่านี้สูงจะช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งลำไส้

น้ำมันมะกอก

จากการศึกษาหลายชิ้นพบว่าน้ำมันมะกอกเป็นอาหารยับยั้งมะเร็งที่ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง คนที่รับประทานน้ำมันมะกอกสูงจะช่วยลดความเสียงในการเกิดโรคมะเร็งลงได้ 42% 

กระเทียม

กระเทียมมีแอลลิซินเป็นส่วนประกอบ ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีคุณสมบัติที่สามารถต่อสู้กับมะเร็งได้ในการศึกษาในหลอดทดลอง และยังพบอีกว่ากระเทียมมีส่วนยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งบางชนิด ซึ่งรวมไปถึงมะเร็งกระเพาะอาหารและมะเร็งต่อมลูกหมาก

ปลา

มีหลักฐานว่าการรับประทานปลาดิบสามารถช่วยปกป้องการเกิดมะเร็ง เพราะมีไขมันที่ดีต่อสุขภาพที่สามารถลดการอักเสบได้

ผลิตภัณฑ์จากนม

การบริโภคผลิตภัณฑ์จากนมอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ได้ ชนิดและจำนวนของผลิตภัณฑ์ที่บริโภคก็มีส่วนสำคัญ ยกตัวอย่างเช่น การดื่มผลิตภัณฑ์จากนมที่มีคุณภาพสูงเป็นประจำ เช่นนมดิบ นมหมักและนมจากวัวกินหญ้าอาจมีผลในการป้องกันที่ดี เพราะมีกรดไขมันที่เป็นประโยชน์ รวมถึงกรดคอนจูเกเตดไลโนเลอิกและวิตานมินที่ละลายได้ในไขมัน

การบริโภคอาหารที่มาจากพืชจะช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งได้

การบริโภคอาหารที่มาจากพืชในปริมาณมากม่ส่วนช่วยในการลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง จากการศึกษาพบว่าคนที่ทานมังสวิรัติจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดหรือเสียชีวิตในการเกิดโรคมะเร็ง คนที่ทานมังสวิรัติมักทานผักและผลไม้ ถั่วเหลืองและโฮลเกรนในปริมาณมากซึ่งงอาจช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งได้

การรับประทานอาหารที่ถูกต้องจะส่งผลที่เป็นประโยชน์ต่อคนที่เป็นโรคมะเร็ง

ภาวะทุพโภชนาการและการสูญเสียกล้ามเนื้อมักเกิดขึ้นกับคนที่เป็นโรคมะเร็ง ในขณะที่ยังไม่มีข้อพิสูจน์ได้ว่าการรับประทานอาหารสามารถเยียวยามะเร็งได้ การมีโภชนาการที่เหมาะสมคือสิ่งจำเป็นที่สุดในการรักษาโรคมะเร็งมาแสนนาน ช่วยในการฟื้นฟู ลดอาการไม่พึงประสงค์และยังช่วยทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น คนส่วนใหญ่ที่เป็นโรคมะเร็งมักถูกกระตุ้นให้รับประทานอาหารที่มีความสมดุลและดีต่อสุขภาพอยู่เสมอรวมไปถึงการบริโภคโปรตีนปราศจากไขมัน ไขมันที่ดี ผลไม้ ผักและโฮลเกรน รวมถึงอาหารผู้ป่วยมะเร็งไม่ควรกินคือ อาหารประเภทมีน้ำตาล คาเฟอีน เกลือ อาหารแปรรูปและแอลกอฮอล์ แหล่งอาหารที่มีโปรตีนคือเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน เนื้อไก่ ปลา ไข่ ถั่ว ธัญพืชและผลิตภัณฑ์จากนม ผลข้างเคียงจากโรคมะเร็งและการรักษาอาจทำให้ยากในการรับประทาน อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน การรับรู้รสเปลี่ยนไป ไม่อยากอาหาร การกลืนมีปัญหา ท้องเสียและท้องผูก หากมีอาการดังที่กล่าวควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาวิธีจัดการและทำให้แน่ใจว่าได้รับสารอาหารที่ดี

การรับประทานแบบคิโตเจนิคช่วยรักษามะเร็ง 

น้ำตาลในเลือดที่สูงและระดับอินซูลินสูงเป็นปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง แต่การรับประทานแบบคีโคเจนิคจะช่วยลดน้ำตาลในเลือดและระดับอินซูลินลงได้ ซึ่งทำให้เซลล์มะเร็งอดอยากหรือเตริญเติบโตในอัตราที่ช้าลง อีกทั้งยังช่วยลดการเจริญเติบโตของเนื้องอกและเพิ่มอัตราการรอดชีวิตให้ดีขึ้นทั้งในสัตว์และในหลอดทดลอง อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับ: การรับประทานอาหารแบบคีโตเจนิคได้ที่นี่

บทสรุป

แม้จะยังไม่มีอาหารมหัศจรรย์ที่สามารถช่วบป้องกันโรคมะเร็งก็ตาม แต่ก็พบหลักฐานบางอย่างว่าพฤติกรรมการรับประทานอาหารสามารถช่วยป้องกันได้ การบริโภคอาหารจำพวกผักผลไม้ โฮลเกรน ไขมันดีและโปรตีนไม่ติดมันในปริมาณสูงสามารถช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งได้ อาการจำพวกเนื้อแปรรูป คาร์บที่ผ่านการขัดสี เกลือและแอลกอฮอล์อาจไปเพิ่มความเสี่ยงได้ ยังคงไม่มีอาหารที่พิสูจน์ได้ว่ารักษามะเร็งได้ อาหารจากพืชและการรับประทายแบบคีโตเจนิคอาจช่วยลดความเสี่ยงลงและอาจมีประโยชน์ในการรักษา คนที่เป็นมะเร็งควรต้องรับประทานอาหารที่มีความสมดุลและดีต่อสุขภาพเพื่อรักษาคุณภาพของชีวิตและช่วยให้ได้ผลลัพธุ์ด้านสุขภาพที่ดี
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด