ช้ำ (Bruising) : อาการ ประเภท สาเหตุการรักษา วิธีป้องกัน

ผู้เขียน Dr. Wikanda Rattanaphan
0
ช้ำ
รอยฟกช้ำ (Bruising) สีดำหรือสีน้ำเงินหรือบาดแผลที่มีรอยช้ำสีเขียวเกิดจากอาการบาดเจ็บต่างๆ ได้แก่บาดแผลที่เกิดขึ้นใต้ผิวหนังและอาการบางเจ็บที่ทำให้เกิดการฉีกของของเส้นเลือดฝอยทำให้มีเลือดคั่งใต้ผิวหนัง ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดรอยฟกช้ำ รอยฟกช้ำสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนและทุกวัย โดยอาจเกิดขึ้นเป็นรอยฟกช้ำขนาดเล็กที่ไม่ค่อยได้สังเกตุ รอยฟกช้ำเป็นรอยทั่วไปที่สามารถเกิดขึ้นบนร่างกาย สิ่งที่จำเป็นคือควรรักษารอยฟกช้ำที่เกิดขึ้นด้วยวิธีที่เหมาะสม Bruising

สาเหตุของรอยฟกช้ำคืออะไร

รอยฟกช้ำที่เกิดขึ้นบริเวณคางหรือหัวเข่าอาจเกิดจากการกระทบหรือชนกับวัตถุต่างๆโดยที่คุณไม่ทันระวังตัว สาเหตุทั่วไปที่ทำให้เกิดรอยฟกช้ำได้แก่
  • การบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา
  • อุบัติเหตุทางรถยนตร์
  • อาการบาดเจ็บที่ศีรษะ
  • ข้อเท้าเคล็ดขัดยอก
  • กล้ามเนื้อฉีกขาด
  • การชนหรือกระแทกกับวัจถุต่างๆเช่นลูกบอลกระทบกับศีรษะ
  • การทานยาที่ทำให้หลอดเลือดบางลดเช่นยาแอสไพรินหรือยา warfarin (Coumadin) 
  • การทานอาหารเสริม
รอยฟกช้ำส่วนใหญ่เกิดจากการบาดเจ็บของร่างกาย ซึ่งกิจกรรมบางอย่างทำให้เกิดรอยฟกช้ำเป็นปกติ สำหรับสาเหตุที่ทำให้เกิดรอยฟกช้ำ

การบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา

  • อาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในช่วงระหว่างเล่นกีฬาหรือขณะออกกำลังกาย
  • การบาดเจ็บระหว่างเล่นกีฬาได้แก่กระดูกหัก กล้ามเนื้อเคล็ดหรือฉีกขาด กระดูกเคลื่อนที่ เส้นเอ็นฉีกขาดและกล้ามเนื้ออักเสบบวม
  • นอกจากนี้การบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาอาจเกิดขึ้นจากการใช้กล้ามเนื้อบางส่วนของร่างกายมากเกินไป

โรคเกล็ดเลือดต่ำ

  • โรคเกล็ดเลือดต่ำหมายถึงการวัดค่าเกล็ดเลือดภายในร่างกายได้ต่ำกว่าปกติ ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาหลายอย่างได้
  • อาการที่เกิดขึ้นมีระดับความรุนแรงแตกต่างกัน
  • อาการของโรคเกล็ดเลือดต่ำได้แก่มีรอยฟกช้ำสีแดง ม่วงหรือน้ำตาล มีผื่นสีแดงหรือสีม่วงเกิดขึ้น เลือดกำเดาไหล มีเลือดออกที่เหงือก เลือดไหลไม่หยุด มีปัสสาวะหรืออุจจาระปนเลือด อาเจียนเป็นเลือดและมีประจำเดือนมากกว่าปกติ

โรคลูคีเมีย

  • โรคลูคีเมียเป็นโรคมะเร็งชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นเมื่อมีการผลิตเซลล์เม็ดเลือดขาวในกระดูกสันหลังมากเกินไปจนควบคุมไม่ได้
  • รคลูคีเมียสามารถแบ่งออกเป็นชนิดเรื้อรังและเฉียบพลัน โดยมะเร็งชนิดนี้สามารถเกิดจากเม็ดเลือดขาวได้ 2 ชนิด คือ lymphocyte และ myeloid 
  • อาการทั่วไปของโรคมะเร็งชนิดนี้ได้แก่ มีเหงือออกมาก โดยเฉพาะในตอนกลางคืน มีอาการเหนื่อยล้าที่ไม่หายไปด้วยการพักผ่อน รวมถึงน้ำหนักตัวลดลงอย่างไม่ได้ตั้งใจ ปวดกระดูกและมีจุดกดเจ็บ 
  • มีอาการต่อมน้ำเหลืองบวม (โดยเฉพาะที่คอและรักแร้) มีอาการตับและม้ามโต มีจุดสีแดงเกิดขึ้นบนผิวหนัง (จ้ำเลือด) นอกจากนี้ยังมีอาการเลือดออกง่ายและมีรอยฟกช้ำง่าย 

การบาดเจ็บที่ศีรษะ

  • หมายถึงอาการเจ็บปวดที่เกิดขึ้นกับสมอง กะโหลกหรือหนังศีรษะ
  • โดยปกติอาการบาดเจ็บที่ศีรษะเกิดจากการกระทบกระเทือนที่ใบหน้าหรือศีรษะ รวมถึงการสั่นสะเทือนที่ศีรษะอย่างรุนแรง
  • เป็นสิ่งสำคัญที่ควรเข้ารับการรักษาอาการบาดเจ็บของศีรษะที่รุนแรง โดยแพทย์เฉพาะทาง
  • สัญญาณอันตรายเมื่อเกิดอาการบาดเจ็บที่ศีรษะและควรได้รับการรักษาทันที ได้แก่ หมดสติ ลมชัก อาเจียน มีปัญหาเกี่ยวกับการรักษาสมดุล ปวดหัวอย่างรุนแรงมากขึ้น ไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายได้ สูญเสียความทรงจำและมีของเหลวไหลออกจากหูหรือจมูก 

ข้อเท้าเคล็ด

  • เกิดอาการบาดเจ็บที่เส้นเอ็นยึดกระดูก (ligaments) ซึ่งเป็นเอ็นที่เชื่อมต่อระหว่างกระดูกของขาและเท้า
  • โดยปกติอาการข้อเท้าเคล็ดมักเกิดขึ้นเมื่อข้อเท้าพลิกหรือข้อเท้าบิดเข้าหรือออกผิดปกติ
  • อาการของข้อเท้าเคล็ดได้แก่ เกิดจุดกดเจ็บ รอยฟกช้ำ เจ็บปวด ไม่สามารถลงน้ำหนักที่ข้อเท้าได้ ผิวหนังเปลี่ยนสีและข้อเท้าตึง

กล้ามเนื้อฉีก

  • กล้ามเนื้อฉีกขาดเกิดขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อถูกยืดมากเกินไปหรือฉีกขาดเนื่องจากการบาดเจ็บหรือการใช้งานกล้ามเนื้อมากเกินไป
  • อาการของกล้ามเนื้อฉีกได้แก่ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เคลื่อนไหวส่วนที่เกิดอาการเจ็บปวดได้จำกัด เกิดรอยฟกช้ำหรือผิวหนังเปลี่ยนสีและมีอาการกล้ามเนื้อเป็นตะคริว
  • สำหรับอาการบาดเจ็บกล้ามเนื้อที่ไม่รุนเเรงสามารถดูแลและรักษาอาการได้เองที่บ้านด้วยการหยุดใช้กล้ามเนื้อและใช้น้ำแข็งประคบบริเวณที่บาดเจ็บ รวมถึงหมั่นยืดกล้ามเนื้อเบาๆและทานยาแก้อักเสบ

โรคเลือดไหลไม่หยุด ชนิด A

  • โรคทางพันธุกรรมที่ทำให้มีเลือดไหลออกมาผิดปกติและเป็นโรคที่เกิดขึ้นกับผู้ที่มีระดับโปรตีนชนิดหนึ่งที่เรียกว่าองค์ประกอบในการเเข็งตัวของเลือด เป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการเลือดไหลไม่หยุด
  • โรคนี้เกิดจากการขาดแคลนยีนบางชนิดที่ทำหน้าที่สั่งร่างกายให้ผลิตองค์ประกอบในการเเข็งตัวของเลือดได้แก่ องค์ประกอบการเเข็งตัวของเลือดชนิด VIII, IX, หรือ XI
  • การขาดแคลนองค์ประกอบในการเเข็งตัวของเลือดเหล่านี้ทำให้เกิดเลือดไหลออกง่ายและมีปัญหาเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด 
  • อาการของโรคนี้ได้แก่ มีเลือดไหลและเกิดรอยฟกช้ำง่าย มีเลือดกำเดาไหลและเลือดออกเหงือก รวมถึงมีเลือดออกมากเกินไปหลังจากผ่าตัดหรือเมื่อเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งอาจมีภาวะเลือดออกในสมองร่วมด้วย

ประเภทของรอยฟกช้ำ

รอยฟกช้ำแบ่งออกเป็น  3  ประเภท โดยขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่เกิดรอยฟกช้ำขึ้นบนร่างกาย:
  • รอยฟกช้ำใต้ผิวหนัง หรือช้ำใน
  • รอยฟกช้ำในกล้ามเนื้อ
  • รอยฟกช้ำเยื่อหุ้มกระดูก 

ลักษณะของอาการช้ำ

ลักษณะของรอยฟกช้ำเกิดขึ้นจากสาเหตุที่แตกต่างกัน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของสีผิวเป็นสัญญาณเเรกของการเกิดรอยฟกช้ำ โดยส่วนใหญ่รอยฟกช้ำทำให้ผิวหนังเปลี่ยนสีได้ดังต่อไปนี้
  • รอยช้ำสีแดง
  • รอยช้ำสีเขียว
  • รอยช้ำสีม่วง
  • รอยช้ำสีน้ำตาล
  • รอยช้ำสีเหลือง เมื่อรอยฟกช้ำใกล้หายไป
นอกจากนี้คุณอาจมีจุดกดเจ็บบริเวณที่เกิดรอยฟกช้ำ ซึ่งอาการเจ็บปวดจะดีขึ้นเมื่อรอยฟกช้ำหายไป

วิธีการรักษารอยฟกช้ำ

วิธีรักษารอยฟกช้ำเองที่บ้านสามารถปฏิบัติตามวิธีดังต่อไปนี้: 
  • ใช้น้ำแข็งประคบเพื่อบรรเทาอาการบวม โดยสามารถใช้ผ้าพันถุงน้ำแข็งวางบนบริเวณที่เกิดรอยฟกช้ำได้โดยตรงเป็นเวลา 15 นาที โดยสามารถใช้น้ำแข็งประคบซ้ำได้ทุกชั่วโมง
  • ควรยกบริเวณที่เกิดรอยฟกช้ำให้อยู่สูงขึ้นกว่าระดับหัวใจเพื่อลดอาการเลือดคั่งในเนื้อเยื่อ
  • สามารถหาซื้อยาทานเองได้เมื่อเกิดอาการเจ็บปวดเช่นยาแก้ปวดไทลินอล ควรหลีกเลี่ยงการทานยาแอสไพรินหรือยาไอบลูโพรเฟน เนื่องจากเป็นยาที่ทำให้เลือดไหลออกได้มากขึ้น
  • ความสวมใส่เสื้อแขนยาวและกางเกงขายาวเพื่อป้งอกันการเกิดรอยฟกช้ำ

วิธีป้องกันการเกิดรอยฟกช้ำ

รอยฟกช้ำสามารถเกิดขึ้นได้ง่ายและเป็นไปได้ยากมากที่จะค่อยปกป้องร่างกายไม่ให้เกิดรอยฟกช้ำเมื่อทำกิจกรรมต่างๆเช่นเล่นกีฬาหรือขับขี่จักรยานและมอเตอร์ไซด์ ดังนั้นในขณะทำกิจกรรมต่างๆอย่างเช่นเล่นกีฬาหรือทำกิจกรรมผาดโผนต่างๆ ควรสวมใส่อุกปกรณ์ป้องกันร่างกายได้แก่หมวกกันน็อกและที่หุ้มเข่า แขน ขา หรือสะโพก

การดูแลรอยฟกช้ำด้วยวิธีธรรมชาติ

การดูแลรอยฟกช้ำด้วยวิธีธรรมชาติมีดังนี้:
  • การประคบเย็น:การประคบเย็นหรือน้ำแข็งประคบบริเวณที่ช้ำภายใน 24-48 ชั่วโมงแรกจะช่วยลดอาการบวมและบรรเทาอาการปวดได้ ห่อน้ำแข็งด้วยผ้าเพื่อป้องกันการสัมผัสผิวหนังโดยตรง และประคบครั้งละประมาณ 15-20 นาที
  • เจลอาร์นิกา:อาร์นิกาเป็นวิธีการรักษาตามธรรมชาติที่มักใช้เพื่อลดอาการช้ำและการอักเสบ มีจำหน่ายในรูปแบบครีม เจล หรือขี้ผึ้ง ทาเป็นชั้นบางๆ บนบริเวณที่มีรอยช้ำ 2-3 ครั้งต่อวัน ควรระมัดระวังและทำการทดสอบแพทช์ เนื่องจากบางคนอาจแพ้อาร์นิกาได้
  • สับปะรดและโบรมีเลน:สับปะรดมีเอนไซม์ที่เรียกว่าโบรมีเลน ซึ่งมีคุณสมบัติต้านการอักเสบ การรับประทานสับปะรดสดหรือการเสริมโบรมีเลนอาจช่วยลดอาการบวมและช้ำได้
  • ขมิ้น:ขมิ้นมีเคอร์คูมินซึ่งมีคุณสมบัติต้านการอักเสบและต้านอนุมูลอิสระ คุณสามารถบริโภคขมิ้นในอาหารหรือเครื่องดื่ม หรือทาครีมที่ทำจากขมิ้นกับน้ำโดยตรงบนรอยช้ำ
  • วิตามินเค:อาหารที่อุดมด้วยวิตามินเค เช่น ผักใบเขียว (ผักคะน้า ผักโขม บรอกโคลี) สามารถช่วยส่งเสริมการแข็งตัวของเลือดและลดรอยฟกช้ำเมื่อเวลาผ่านไป
  • ดอกคอมฟรีย์:ดอกคอมฟรีย์เป็นสมุนไพรที่ใช้รักษารอยฟกช้ำและสภาพผิวอื่นๆ แบบดั้งเดิม ประกอบด้วยอัลลันโทอิน ซึ่งเป็นสารประกอบที่เชื่อกันว่าช่วยในการรักษาผิว สามารถใช้ครีม เฉพาะบริเวณที่มีรอยช้ำได้
  • น้ำมันหอมระเหย:น้ำมันหอมระเหยบางชนิด เช่น ลาเวนเดอร์ คาโมมายล์ และเฮลิครีซัม เชื่อว่าช่วยในการรักษาและลดการอักเสบได้ ผสมน้ำมันที่เลือกไว้สองสามหยดกับน้ำมันตัวพา (เช่น มะพร้าวหรือโจโจ้บา) แล้วทาเบาๆ บนรอยช้ำ
  • การนวดเบาๆ:เมื่ออาการบวมเริ่มแรกลดลงแล้ว การนวดเบาๆ รอบบริเวณที่มีรอยฟกช้ำอาจช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้นและช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น หลีกเลี่ยงการใช้แรงกดดันมากเกินไป
  • การพักผ่อนและโภชนาการที่เหมาะสม:การพักผ่อนอย่างเพียงพอและการรับประทานอาหารที่สมดุลซึ่งอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุมีส่วนช่วยในการรักษาโดยรวม การดื่มน้ำให้เพียงพอยังช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อได้อีกด้วย
โปรดจำไว้ว่าอาการช้ำของแต่ละคนอาจแตกต่างกันไป และสิ่งที่ใช้ได้ผลดีกับคนหนึ่งอาจไม่ได้ผลเหมือนกันกับอีกคนหนึ่ง หากคุณกังวลเกี่ยวกับรอยช้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามันรุนแรง ทำให้เกิดความเจ็บปวดอย่างมาก หรือไม่สามารถรักษาได้อย่างเหมาะสม ขอแนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อรับการประเมินและคำแนะนำที่เหมาะสม

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/guide/bruises-article
  • https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/healthy-aging/in-depth/easy-bruising/art-20045762
  • https://www.nhs.uk/common-health-questions/accidents-first-aid-and-treatments/what-are-bruises/

เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด