ภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง (Borderline Personality Disorder)

ผู้เขียน Dr. Wikanda Rattanaphan
0
ภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง
ภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง (BPD) เป็นโรคทางจิต โดยพัฒนาในช่วงวัยรุ่น หรือวัยผู้ใหญ่ตอนต้น เป็นปัญหาทางจิตที่แสดงถึงความไม่มั่นคงทางอารมณ์ พฤติกรรมหุนหันพลันแล่น การเข้าใจภาพลักษณ์ที่บิดเบี้ยว และความสัมพันธ์ที่ไม่มั่นคง 

สาเหตุ Borderline Personality Disorder คืออะไร

นักวิจัยยังคงพยายามเรียนรู้สาเหตุที่แท้จริงของ BPD เพราะว่ามีหลายปัจจัยที่อาจส่งผลต่อความผิดปกตินี้ รวมถึงพันธุกรรม ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม และความผิดปกติของเซโรโทนิน

พันธุกรรม

BPD อาจเป็นภาวะทางพันธุกรรม ในการศึกษาเกี่ยวกับฝาแฝด และ BPD ที่ตีพิมพ์ใน Journal of Personality Disorders ชี้ให้เห็นว่าความผิดปกตินี้มีพันธุกรรมถือว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญ

ปัจจัยสภาพแวดล้อม

การเติบโตในสภาพแวดล้อมที่ไม่มั่นคง ไม่เหมาะสม หรือถูกทอดทิ้งอาจเพิ่มความเสี่ยงในการพัฒนาภาวะ BPD ได้

ความผิดปกติของระดับเซโรโทนิน

เซโรโทนินเป็นฮอร์โมนที่ช่วยควบคุมอารมณ์ ความผิดปกติในการผลิตเซโรโทนินอาจทำให้เสี่ยงต่อการมีภาวะ BPD ได้

ใครบ้างที่เสี่ยงมีภาวะ BPD 

คุณจะเสี่ยงมีภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง ถ้า
  • เป็ยนหนึ่งในสมาชิกในครอบครัวที่มีผู้ป่วย BPD
  • มีความรู้สึกไม่มั่นคงทางอารมณ์ หรืออ่อนไหวทางอารมณ์ตอนเป็นเด็ก
  • ในวัยเด็กเติบโตในครอบครัวที่ใช้ความรุนแรง
  • ถูกทารุณกรรมทางอารมณ์ตั้งแต่ยังเป็นเด็ก

อาการ และการวินิจฉัยภาวะ BPD

จากรายงานของสมาคมจิตแพทย์อเมริกันเกี่ยวกับความผิดปกติทางจิต (DSM) สิ่งต่อไปนี้เป็นสัญญาณของ BPD
  • คุณพยายามหลีกเลี่ยงความเป็นจริง หรือกำลังหลงอยู๋ในจินตนาการ
  • คุณมีรูความสัมพันธ์ที่ไม่มั่นคง คุณสลับไปมาระหว่างการทำให้เป็นอุดมคติ และลดคุณค่าผู้อื่นในความสัมพันธ์ของคุณ
  • คุณมีภาพพจน์ของตนเองที่ไม่มั่นคง
  • คุณแสดงออกอย่างรุนแรงในเรื่องที่อาจทำร้ายตัวเองได้ อย่างน้อย 2 เรื่อง เช่น  ใช้จ่ายเงินมากเกินไป หรือใช้สารเสพติด
  • คุณมีประวัติพฤติกรรมพยายามฆ่าตัวตาย หรือทำร้ายตัวเอง
  • คุณมีอารมณ์แปรปรวนบ่อยครั้ง ตั้งแต่ 2 ชม ไปจนถึง 2-3 วัน
  • คุณมีความรู้สึกว่างเปล่าที่รุนแรง และยาวนาน
  • คุณมีปัญหาในการควบคุมความโกรธ หรือโกรธอย่างรุนแรงโดยไม่มีสาเหตุ คุณอาจรู้สึกโกรธตลอดเวลา แสดงความโกรธบ่อยๆ หรือทะเลาะกันบ่อยๆ
  • คุณรู้สึกตึงเครียด และรู้สึกได้ว่าร่างกายกับอารมณ์แตกแยกออกจากกัน
หากมีสิ่งเหล่านี้จำนวน 5 ข้อเป็นอย่างน้อย จะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรค BPD หากมีความสงสัยว่าตนเองกำลังประสบภาวะ BPD และไปพบแพทย์ แพทย์จะส่งตัวไปต่อที่ส่วนงานที่เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาเฉพาะทาง เพราะจะสามารถวินิจฉัยได้อย่างแม่นยำ พวกเขาจะซักถาม และวิเคราะห์ประวัติทางอารมณ์ และพฤติกรรมของคุณในระหว่างการวินิจฉัย การคิดบวกเพื่อให้ชีวิตไม่เครียด ดีอย่างไร อ่านต่อที่นี่ Borderline Personality Disorder

การรักษาภาวะ Borderline Personality Disorder 

ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตขอาจจะแนะนำวิธีการรักษาดังต่อไปนี้ โดยอาจใช้แบบเดี่ยว หรือแบบผสมผสาน ด้วยวิธีการรักษาดังต่อไปนี้ จิตบำบัด การใช้ยา หรือการรักษาในโรงพยาบาล

จิตบำบัด

จิตบำบัดเป็นการรักษาหลักสำหรับ BPD ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตจะแนะนำการบำบัดดังต่อไปนี้ การบำบัดพฤติกรรมทางปัญญา (CBT) การบำบัดพฤติกรรมวิภาษ (DBT) และการบำบัดที่ทัศนคติ การบำบัด CBT ช่วยให้คุณสามารถกำหนด และเปลี่ยนแปลงความเชื่อ พฤติกรรม และการรับรู้ที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับตัวคุณเอง หรือผู้อื่น  การบำบัดนี้จะช่วยให้คุณมีการตอบสนองที่ดีเมื่อคุณรู้สึกโกรธ ไม่ปลอดภัย วิตกกังวล หรือฆ่าตัวตาย การบำบัด DBT เป็นการบำบัดเพื่อสอนวิธีรับรู้ รับทราบ และยอมรับความเชื่อ และพฤติกรรม ทำให้สามารถตอบสนองต่อพฤติกรรมที่รุนแรง หรือเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ดีขึ้น การบำบัดเกี่ยวกับทัศนคติ เป็นการสร้างความคิดเชิงบวกให้กับผู้ที่มีภาวะ BPD ทำให้มีความนับถือตนเองมากขึ้น และมองเรื่องราวความเป็นจริงต่างๆ ในเชิงบวกมากขึ้น ส่งผลให้สามารถปรับตัวเข้าสู่สภาวะอารมณ์ปกติได้ดียิ่งขึ้น รู้หรือไม่ความโกรธส่งผลต่อโรคหัวใจอย่างไร อ่านต่อที่นี่

ยารักษา

ไม่มียาที่จะรักษา BPD ได้ แต่สามารถบรรเทาอาการได้ แพทย์อาจจะสั่งจ่ายยาดังต่อไปนี้ เพื่อบรรเทาอาการต่างๆ
  • ยากล่อมประสาท รักษาอาการซึมเศร้า
  • ยารักษาโรคจิต เพื่อรักษาอาการก้าวร้าว
  • ยาลดความวิตกกังวล รักษาอาการวิตกกังวล

การรักษาในโรงพยาบาล

หากอาการของภาวะ BPD รุนแรง แพทย์อาจแนะนำให้พักรักษาตัวในโรงพยาบาลชั่วคราว โดยมักจะใช้การรักษานี้ในผู้ที่มีพฤติกรรมฆ่าตัวตาย คิดฆ่าตัวตาย หรือคิดที่จะทำร้ายตัวเอง หรือผู้อื่น

การบำบัดทางเลือก

กรดไขมันโอเมก้า 3 อาจบรรเทาอาการซึมเศร้า และความก้าวร้าวในผู้ที่มีภาวะ BPD แต่ทั้งนี้ ยังไม่มีหลักฐานที่การันตีประโยชน์ของกรดไขมันโอเมก้า 3 ต่อภาวะ BPD ได้อย่างชัดเจน วิธีรับมือกับโรคซึมเศร้าตามฤดูกาลทำได้อย่างไร อ่านต่อที่นี่

ภาวะแทรกซ้อนจาก BPD

ภาวะ BPD สามารถเพิ่มความเสี่ยงของภาวะผิดปกติดังต่อไปนี้ได้ รวมทั้งอาการของ BPD จะส่งผลกระทบต่อ
  • ปัญหาในการทำงาน
  • ปัญหาความสัมพันธ์
  • อยู่ในฐานะผู้ถูกทารุณกรรมหรือผู้ล่วงละเมิด
  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • ทำร้ายตนเอง
  • ฆ่าตัวตาย
  • ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์
  • ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรม
สรุปแล้วภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง (BPD) เป็นภาวะผิดปกติทางจิตใจที่อาจจะก่อให้เกิดอันตรายต่อตนเอง และต่อผู้อื่นในบางครั้ง หากสงสัยว่าตนเองเข้าข่าย หรือมีคนใกล้ชิดมีแนวโน้มเป็นภาวะ BPD ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อวางแผนการรักษาด้วยการบำบัดอย่างถูกวิธี หรือการรักษาอื่นๆ ที่สามารถรับมือกับภาวะ BPD ได้อย่างเหมาะสม

การดูแลผู้ป่วย Borderline Personality Disorder 

การดูแลคนที่มีความผิดปกติทางบุคลิกภาพชนิดก้ำกึ่ง (BPD) ต้องใช้ความอดทน ความเข้าใจ และความเห็นอกเห็นใจ ต่อไปนี้เป็นเคล็ดลับสำหรับผู้ดูแลและคนที่คุณรักในการให้การสนับสนุนและช่วยเหลือผู้ที่มีภาวะบุคลิกภาพก้ำกึ่ง:

  • ให้ความรู้กับตัวเอง : เรียนรู้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้เกี่ยวกับความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่ง เพื่อทำความเข้าใจสภาพและอาการให้ดียิ่งขึ้น วิธีนี้สามารถช่วยให้คุณให้การสนับสนุนที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นและสื่อสารอย่างเห็นอกเห็นใจกับคนที่คุณห่วงใยมากขึ้น
  • ให้การสนับสนุนและไม่ตัดสิน : แสดงความเห็นอกเห็นใจและความเข้าใจต่อบุคคลที่มี BPD หลีกเลี่ยงการวิพากษ์วิจารณ์หรือตัดสินความคิด ความรู้สึก หรือพฤติกรรมของพวกเขา และเสนอการตรวจสอบและการสนับสนุนแทน ให้พวกเขารู้ว่าคุณอยู่เคียงข้างพวกเขาและคุณใส่ใจความเป็นอยู่ที่ดีของพวกเขา
  • กำหนดขอบเขต : กำหนดขอบเขตที่ชัดเจนและสม่ำเสมอในความสัมพันธ์ของคุณกับบุคคลที่มีภาวะบุคลิกภาพก้ำกึ่ง สื่อสารความต้องการและขีดจำกัดของคุณอย่างแน่วแน่ และบังคับใช้ขอบเขตเมื่อจำเป็นเพื่อปกป้องความเป็นอยู่ที่ดีของคุณเอง การกำหนดขอบเขตสามารถช่วยรักษาความสัมพันธ์ที่ดีและป้องกันความเหนื่อยหน่ายได้
  • ส่งเสริมการรักษา : ส่งเสริมบุคคลที่มีภาวะบุคลิกภาพก้ำกึ่งให้ขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญและมีส่วนร่วมในการบำบัด สนับสนุนพวกเขาในการเข้าร่วมการบำบัดอย่างสม่ำเสมอและปฏิบัติตามแผนการรักษาของพวกเขา เสนอตัวไปร่วมการนัดหมายด้วยหากจะช่วยให้พวกเขารู้สึกสบายใจมากขึ้น
  • เรียนรู้ทักษะการเผชิญปัญหาร่วมกัน : เรียนรู้และฝึกฝนทักษะการเผชิญปัญหาร่วมกันเพื่อช่วยจัดการความเครียดและควบคุมอารมณ์ พิจารณาเข้าร่วมการบำบัดกับผู้ที่มี BPD เพื่อเรียนรู้ทักษะ DBT (Dialectical Behavior Therapy) หรือกลยุทธ์การรับมืออื่นๆ ร่วมกัน
  • สื่อสารอย่างมีประสิทธิผล : ใช้การสื่อสารที่ชัดเจนและเปิดกว้างเมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลที่มี BPD ตรวจสอบความรู้สึกและประสบการณ์ของพวกเขา และรับฟังอย่างเห็นอกเห็นใจโดยไม่มีการตัดสิน หลีกเลี่ยงการแย่งชิงอำนาจหรือการโต้เถียง และพยายามลดความรุนแรงของความขัดแย้งอย่างสงบ
  • ส่งเสริมการดูแลตนเอง : ส่งเสริมให้บุคคลที่มีภาวะบุคลิกภาพก้ำกึ่งผิดปกติจัดลำดับความสำคัญของกิจกรรมการดูแลตนเองที่ส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีทางร่างกาย อารมณ์ และจิตใจ ซึ่งอาจรวมถึงกิจกรรมต่างๆ เช่น การออกกำลังกาย เทคนิคการผ่อนคลาย งานอดิเรก หรือการใช้เวลาร่วมกับเพื่อนฝูงและสมาชิกในครอบครัวที่ให้กำลังใจ
  • ใจเย็นและมีสติทุกสถานการณ์: รักษาความสงบและสงบสติอารมณ์ในระหว่างสถานการณ์วิกฤติ และให้ความมั่นใจและการสนับสนุนแก่บุคคลที่มี BPD กระตุ้นให้พวกเขาใช้ทักษะการเผชิญปัญหาที่ได้เรียนรู้ในการบำบัดเพื่อจัดการกับอารมณ์ที่รุนแรงและความคิดที่น่าวิตก
โปรดจำไว้ว่าการดูแลผู้ที่มีภาวะบุคลิกภาพผิดปกติบุคลิกภาพผิดปกติอาจเป็นเรื่องที่เรียกร้องได้ และการดูแลความเป็นอยู่ที่ดีของคุณเองก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน ด้วยความเข้าใจ ความเห็นอกเห็นใจ และการสนับสนุน คุณสามารถช่วยบุคคลที่มี BPD นำทางเส้นทางการฟื้นฟูและมีชีวิตที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด