ผู้เขียน Dr. Sommai Kanchana
0
compartment syndrome

Compartment Syndrome คืออะไร

Compartment Syndrome เป็นภาวะร้ายแรงที่เกิดขึ้นเมื่อมีแรงกดดันจำนวนมากเกิดขึนภายในช่องปิดของกล้ามเนื้อ ช่องปิดคือกลุ่มของเนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อ หลอดเลือด และเส้นประสาทที่แขนและขา ปิดล้อมด้วยเยื่อหุ้มที่แข็งแรงมากที่เรียกว่าพังผืด พังผืดไม่สามารถขยายตัวได้ ดังนั้นการบวมในส่วนนี้จะส่งผลให้เกิดความดันภายในช่องปืดมากขึ้น ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อ หลอดเลือด และเส้นประสาท ความดันที่เพิ่มขึ้นสามารถตัดการไหลเวียนของเลือด เกิดการสูญเสียออกซิเจนที่ส่งไปยังเนื้อเยื่อ (ขาดเลือด) และการตายของเซลล์ (เนื้อร้าย) อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับ : xxx

สาเหตุของ Compartment Syndrome

Compartment Syndrome อาจเกิดขึ้นเมื่อมีเลือดออกหรือบวมภายในช่อง อาจทำให้เกิดแรงกดดันภายในช่องซึ่งอาจทำให้เลือดไหลเวียนไม่ได้ จนเกิดความเสียหายแบบถาวรหากไม่ได้รับการรักษา เนื่องจากกล้ามเนื้อและเส้นประสาทจะไม่ได้รับสารอาหารและออกซิเจนที่เพียงพอ การไม่รักษาที่ทันท่วงทีอาจนำไปสู่การตัดแขนขา

ประเภทของ Compartment Syndrome

อาการแบบเฉียบพลัน อาการที่เกิดขึ้นเมื่อได้รับบาดเจ็บสาหัส ในบางกรณีก็เกิดขึ้นแม้ได้รับบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย ตัวอย่างเช่น:
  • หลังกระดูกหัก
  • หลังได้รับบาดเจ็บที่แขนหรือขา
  • เมื่อกล้ามเนื้อเกิดรอยฟกช้ำที่รุนแรง
  • เมื่อใส่เฝือกหรือผ้าพันแผลที่แน่นเกินไป
  • การดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนักหรือเสพยา
อาการแบบเรื้อรัง (รุนแรง) เมื่อออกกำลังกาย และมีการเคลื่อนไหวแบบเดิมซ้ำ ๆ อาจทำให้เกิดอาการนี้ได้ โดยพบได้บ่อยในผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 40 ปี แต่ก็สามารถพบได้ในทุกวัย ความเสี่ยงของอาการแบบเรื้อรังอาจเพิ่มขึ้น หากทำกิจกรรมหนักต่าง ๆ เช่น ว่ายน้ำ เล่นเทนนิส หรือวิ่ง การออกกำลังกายที่หนักหน่วงหรือบ่อยครั้งจะเพิ่มความเสี่ยงให้มากขึ้น compartment syndrome

Compartment Syndrome อาการอย่างไร

อาการแบบเฉียบพลัน อาการที่พบบ่อยที่สุดของกลุ่มอาการแบบเฉียบพลันคืออาการปวดที่รุนแรง ซึ่งไม่หายไปแม้ว่าอาการบาดเจ็บจะหายไป ขาหรือแขนอาจรู้สึกแย่ลงเมื่อยืดเหยียดหรือใช้กล้ามเนื้อที่บาดเจ็บ อาการอื่น ๆ อาจรู้สึกตึงที่กล้ามเนื้อ หรือรู้สึกเสียวซ่าหรือแสบร้อนของผิวหนังบริเวณที่ได้รับผลกระทบ อาการของ Compartment Syndrome แบบเฉียบพลันที่รุนแรงอาจรวมถึงอาการชาหรืออัมพาต ซึ่งมักจะเป็นสัญญาณของความเสียหายที่เกิดขึ้นแบบถาวร อาการแบบเรื้อรัง อาการปวดหรือตะคริวเมื่อออกกำลังกายเป็นอาการที่พบบ่อยที่สุดของ Compartment Syndrome แบบเรื้อรัง หลังหยุดออกกำลังกาย อาการปวดหรือตะคริวจะหายไปเองภายใน 30 นาที หากยังคงทำกิจกรรมที่ก่อให้เกิดอาการเหล่านี้ต่อ ความเจ็บปวดอาจเริ่มยาวนานขึ้น อาการอื่น ๆ อาจรวมถึง:
  • เกิดปัญหาในการเคลื่อนย้ายเท้า แขน หรือบริเวณที่ได้รับผลกระทบ
  • เหน็บชา
  • กล้ามเนื้อนูนจนเห็นได้ชัดในบริเวณที่ได้รับผลกระทบ

การรักษาภาวะ Compartment Syndrome

อาการแบบเฉียบพลัน การผ่าตัดเป็นทางเลือกเดียวในการรักษาอาการประเภทนี้ กระบวนการนี้เกี่ยวข้องกับการผ่าตัดเพื่อเปิดพังผืดออกและลดแรงกดในช่อง ในกรณีที่รุนแรงแพทย์อาจต้องรอให้อาการบวมลดลงก่อนที่จะผ่าตัด และบาดแผลบางส่วนจำเป็นต้องปลูกถ่ายผิวหนังเพื่อรักษา หากอาการเกิดจากการเข้าเฝือก หรือผ้าพันแผลที่แน่น แก้ไขโดยนำวัสดุพันแผลหรือคลายเฝือกออก อาการแบบเรื้อรัง แพทย์อาจแนะนำวิธีการรักษาโดยไม่ผ่าตัดก่อน ได้แก่:
  • ทำกายภาพบำบัดเพื่อยืดกล้ามเนื้อ
  • ยาต้านการอักเสบ
  • เปลี่ยนรูปแบบการออกกำลังกาย
  • ทำกิจกรรมที่มีผลกระทบต่ำ ซึ่งเป็นกิจวัตรของการออกกำลังกาย
  • ยกขาขึ้นค้างไว้
  • พักผ่อนหลังทำกิจกรรม หรือปรับเปลี่ยนกิจกรรม
  • ประคบเย็นหลังทำกิจกรรม
หากวิธีการเหล่านี้ไม่ได้ผล ผู้ป่วยอาจต้องผ่าตัด การผ่าตัดโดยทั่วไปจะมีประสิทธิภาพมากกว่าวิธีการรักษาโรคแบบเรื้อรังโดยไม่ผ่าตัด

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด