อาหารเด็กควรเริ่มเมื่อไร (Baby Foods) – ความเสี่ยง ข้อควรระวัง

ดูเหมือนว่าลูกน้อยของคุณจะโตขึ้นทุกวัน ตอนนี้ก็คงเริ่มมีฟันน้ำนมขึ้น และเริ่มลุกนั่งด้วยตัวเองได้บ้างแล้ว พัฒนาการทุกอย่างที่เกิดขึ้นสัมพันธ์กับสิ่งที่เขาสนใจไม่ว่าจะเป็นอาหารที่คุณทาน เลยอาจจะสงสัยกันว่าทารกสามารถเริ่มทานอาหารเด็กได้เมื่อไหร่? แน่นอนว่าก็เหมือนทุกอย่างที่คุณต้องการความมั่นใจว่าอาหารเหลวที่ให้ลูกน้อยจะปลอดภัย และดีต่อสุขภาพ แต่ให้อย่างไร และเมื่อไหร่ในการเริ่มให้อาหารเด็ก แล้วควรเริ่มจากอาหารอะไรดี และมีอะไรที่ต้องรู้อีกบ้าง สามารถอ่านบทความต่อจากนี้ของเราเพื่อหาคำตอบของคำถามของคุณ

ทารกจะเริ่มทานอาหารเด็กเมื่อไหร่? 

คำตอบสั้นๆคือ เด็กทารกควรเริ่มทานอาหารเด็กเมื่อเขาอายุ 6 เดือน ส่วนที่ตามมา คือ การปรับตัวในการทานอาหาร
  • สถาบันเด็กของอเมริกา (American Academy of Pediatrics : AAP) แนะนำว่า นมแม่เป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับเด็กวัย 6 เดือนแรก จากนั้นให้เริ่มด้วยอาหารเด็กหลังจาก 6 เดือนเป็นต้นไป
  • องค์การอนามัยโลก (World Health Organization) เสริมว่า 6 เดือนแรกไม่มีอะไรที่จะสำคัญไปกว่าการให้เด็กทารกดื่มนมแม่ จากนั้นค่อยให้อาหารเด็กเมื่อเข้าสู่เดือนที่ 6
  • หากไม่สามารถให้ลูกดื่มนมแม่ได้ ก็ควรให้ดื่มนมสูตรสำหรับเด็กแรกเกิด ใน 6 เดือนแรก
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องน่าสนใจ พัฒนาการเด็กวัย 6 เดือน มีงานวิจัยศึกษาว่าการให้อาหารเด็กในช่วงเดือนที่ 6 เป็นช่วงที่ดีที่สุดเพราะจะช่วยหลีกเลี่ยงการทานอาหารยากของเด็ก อย่างไรก็ตาม มีแพทย์บางคนแนะนำว่าเป็นไปได้ที่จะเริ่มให้อาหารเด็กในช่วงก่อนอายุ 4 เดือน แม้ว่าจะไม่ค่อยมีประโยชน์เท่าไร ไม่แนะนำการเริ่มให้อาหารเด็กก่อนเวลาอันควร ทารกยังมีความเสี่ยงในการสำลักสูง และอาจมีน้ำหนักตัวลดลงเนื่องจากลดการดื่มนมแม่ หรือนมผสม หากให้เริ่มอาหารเด็กช้าเมื่ออายุเข้า 6 เดือนไปแล้วก็ไม่ดี เช่น กัน เพราะเด็กกำลังโตต้องการพลังงานแคลอรี่ที่มากขึ้น และสารอาหารที่หลากหลาย คำแนะนำของเรา คือ ปรึกษากุมารแพทย์ก่อนที่จะไปเชื่อคุณยาย และติดตามพัฒนาการของเด็ก การเริ่มอาหารเด็กใช้เวลามากกว่าหนึ่งปี หากเรารู้พัฒนาการของเด็ก และอ่านศึกษาหาข้อมูลสิ่งเหล่านั้นจะสามารถช่วยเป็นแนวทางในการเลี้ยงลูกน้อยของคุณได้

คุณจะรู้ได้อย่างไรว่าลูกน้อยพร้อมที่จะเริ่มทานอาหารเด็ก

ลูกน้อยโตขึ้นในทุกๆวัน แต่จะรู้ได้อย่างไรว่าเมื่อไหร่ที่ควรเริ่มอาหารเด็กแก่เขา บางที่ทักษะของเด็กก็เป็นตัวบ่งบอกได้ว่าจะสามารถเริ่มทานอาหารที่มีขนาดใหญ่กว่าตัวเขาได้ หรือไม่ คำถามด้านล่างนี้ช่วยได้ เช่น : 
  • ลูกน้อยคอแข็ง หรือชันคอได้ดี หรือไม่? 
  • เด็กสามารถนั่งได้ด้วยตนเอง หรือไม่? 
  • ลูกน้อยสูญเสียการกระดกลิ้น หรือไม่? 
  • ลูกน้อยมีท่าทีสนใจอาหาร หรือไม่? 
หากลูกน้อยมีข้อดังกล่าวครบ ก็แสดงว่าพร้อมสำหรับการเริ่มอาหารเด็กแล้ว แต่อย่าลืมว่าโภชนาการที่สำคัญหลักของเด็กวัยขวบปีแรก คือ นมแม่ หรือนมครบสูตร ฉะนั้นควรให้นมแม่ หรือนมผสมเป็นหลัก การแนะนำอาหารเด็กเป็นเพียงโอกาสที่เด็กจะได้มีประสบการณ์ และสัมผัสรสชาติใหม่ๆ

จะเริ่มให้อาหารเด็กอย่างไร? 

เมื่อลูกน้อยของคุณโตพอที่จะแสดงให้เห็นว่าพร้อมที่จะทานอาหารได้แล้วนั้น ต้องเริ่มเลย หรือเปล่า ก่อนอื่นเรามาเริ่มจากการเตรียมสิ่งแวดล้อมในการทานอาหารของลูกให้พร้อมเสียก่อน อุปกรณ์ในการทานอาหาร
  • เก้าอี้เด็ก
  • ภาชนะสำหรับเด็ก
  • ผ้ากันเปื้อน  ( หรือจะถอดเสื้อผ้าของลูกน้อยก่อนทานอาหาร และหลังรับประทานอาหารเสร็จก็ไปอาบน้ำ) 
  • เผื่อเวลาในการทานอาหารของลูกน้อยให้มาก เพราะต้องให้เวลาลูกในการฝึกทานอาหาร บางครั้งอาจเป็นชั่วโมงสองชั่วโมง คุณแม่ต้องใจเย็น 

ตารางในการรับประทานอาหาร

เมื่อคุณเริ่มให้อาหารเด็กครั้งแรก คุณไม่ควรให้ลูกเริ่มรับประทานทันที 3 มื้อต่อวัน แทนที่จะเริ่มให้ทานวันละมื้อ ซึ่งจะเป็นช่วงเวลาที่ได้ใช้เวลาร่วมกันมีประสบการณ์ร่วมกัน หากคุณมีปัญหากับปฏิกิริยาต่ออาหารใหม่ๆของลูกน้อย คุณควรปรึกษาแพทย์โดยเร็ว ในช่วง 2 – 3 เดือนแรก คุณอาจสังเกตุพฤติกรรมของลูก เพื่อประกอบแนวทางการให้อาหารเด็กร่วมกับการให้นมแม่อย่างไร หากลูกน้อยของคุณอดทน และมีความสุขทุกครั้งที่ได้ทานอาหารจนหมด คุณอาจจะค่อยๆเพิ่มมื้ออาหารเข้าไป ขณะที่เด็กก็ยังพร้อมที่จะทาน และมีความสุขไปกับการกิน หากลูกน้อยดูเหมือนว่าจะไม่สนใจอาหารเลย สนใจแต่นมเพียงอย่างเดียว ดังนั้นเมื่อลูกหิวให้คุณแม่พยายามป้อนอาหารหลังให้นม เช่น ป้อนโดนัทชิ้นเล็กๆเป็นของว่าง เป้าหมายคือ ค่อยๆทำตามตารางเวลาอาหารไปเรื่อยๆ จนจบขวบปีแรก โดยให้ลูกได้ทานอาหารเช้า อาหารกลางวัน และอาหารเย็น รวมทั้งอาหารว่าง ซึ่งระหว่างนี้ก็ยังให้นมแม่ หรือขวดนมคู่ไปตลอด

Baby Foods

ควรเริ่มอาหารเด็กจากอะไรก่อนดี?  

ไม่มีได้มีรายการอาหารหลักที่ควรให้ลูกทานเป็นอย่างแรก หรือแนวทางว่าคุณแม่ควรให้เด็กทานอะไร ทางเลือกสำหรับอาหารจานแรกแตกต่างกันไปในแต่ละคนหรือแต่ละครอบครัว ซึ่งแต่ละทางเลือกก้ได้รับอิทธิพลจากประเทศ หรือวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน มันขึ้นอยู่กับคุณว่าจะใช้อาหารสำเร็จรูปหรือทำอาหารให้ลูกเอง คุณอาจเริ่มจากซุปข้นๆหรือปรึกษากุมารแพทย์เกี่ยวกับการหย่านมในเด็กทารก ซึ่งมีหลายทางเลือก อย่างไรก็ตามมีข้อควรพิจารณาบางอย่างในการเลือดอาหารเด็กครั้งแรก

เริ่มจากการให้อาหารที่ละอย่าง

ควรสังเกตุอาการที่เกี่ยวกับการแพ้อาหาร (Food Allergies) คุณควรเริ่มให้ลูกน้อยทานอาหารทีละหนึ่งอย่าง และรอ 3 – 4 วันก่อนที่จะเริ่มอาหารใหม่ๆอีก ให้เกตุสัญญาณของอาการแพ้ เช่น :  รีบไปพบแพทย์ทันทีหากคุณพบพฤติกรรมต่ออาหารของลูกเปลี่ยนไป ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญว่าการแพ้ไม่ใช่เรื่องปกติในเด็กทารก เช่น การแพ้ชนิดรุนแรง (Anaphylaxis) อย่างไรก็ตามหากลูกน้อยของคุณเกิดแพ้อาหารอย่างรุนแรง ให้โทรเรียกหน่วยฉุกเฉินหรือโทร 1669 โดยทันที

พิจารณาความต้องการทางโภชนาการ

หากลูกน้อยของคุณเคยได้รับแต่นมแม่เพียงอย่างเดียว เขาอาจจำเป็นต้องให้ธาตุเหล็กเสริม สถาบันเด็กของอเมริกาแนะนำว่า การเสริมธาตุเหล็กในเด็กทารกที่ได้รับนมแม่เพียงอย่างเดียว ควรเริ่มเสริมธาตุเหล็กตั้งแต่อายุ 4 เดือน เมื่อลูกน้อยเริ่มทานอาหาร คุณสามารถเพิ่มธาตุเหล็กลงไปในอาหารได้ โดยธาตุเหล็กสามารถพบได้ไม่เพียงแค่ในซีเรียว แต่ในเนื้อสัตว์ พืชตระกูลถั่ว ถั่วเลนทิล และผักใบเขียวก็อุดมไปด้วยธาตุเหล็กตามธรรมชาติ คุณสามารถปรึกษากุมารแพทย์ว่าเมื่อไหร่ไม่จำเป็นต้องเสริมอาหารเสริม

การหลีกเลี่ยงอันตรายจากการสำลัก

เมื่อเริ่มให้ทานน้ำซุป หรือหย่านม จะมีอาหารบางประเภทที่ควรหลีกเลี่ยง เช่น: 
  • ถั่ว
  • องุ่น
  • ลูกเกด
  • ผักที่มีลักษณะ ดิบ และแข็ง
  • เนื้อสัตว์ หรือชีทชิ้นใหญ่ๆ
  • ป๊อปคอร์น
  • เนยถั่ว
  • ไส้กรอก

ไม่ควรให้น้ำผึ้งแก่เด็กทารก

เนื่องจากทำให้เด็กที่อายุต่ำกว่า 1 ปีเสี่ยงต่อโรคโบทูลิซึม (Botulism)

ให้ดื่มน้ำกับมื้ออาหาร

ลูกน้อยของคุณยังไม่พร้อมสำหรับนม หรือน้ำผลไม้ ดังนั้น น้ำเป็นเครื่องดื่มที่ดีที่สุดในการทานอาหาร

คำนึงถึงความเสี่ยงของการแพ้อาหาร

ในอดีต คำแนะนำเกี่ยวกับการอาหารที่ก่อให้เกิดการแพ้สูงนั้นแตกต่างกันไป ปัจจุบันมีงานวิจัยใหม่ๆแนะนำว่าการให้ลูกน้อยทานถั่วลิสงตั้งแต่เนิ่นๆอาจเป็นประโยชน์ในการเลี่ยงการเกิดอาการแพ้ โดยเฉพาะโรคเรื้อนกวาง (Eczema) ในเด็กทารก พูดคุยกับแพทย์หากคุณมีประวัติทางครอบครัวที่มีอาการแพ้อาหาร ถั่วลิสงเต็มเมล็ด หรือเนยถั่วในปริมาณมากเป็นสิ่งที่ไม่แนะนำในการเริ่มอาหารสำหรับเด็ก เนื่องจากหลีกเลี่ยงความเสี่ยงในการสำลัก แพทย์จะให้คำแนะนำ รวมไปถึงเคล็ดลับในการเพิ่มถั่วลิสงลงไปในมื้ออาหารของลูกน้อยอย่างไรให้ปลอดภัย อาหารที่มักก่อให้เกิดอาการแพ้ ได้แก่:
  • ไข่
  • นม
  • ต้นถั่ว
  • ปลา
  • หอย
  • ธัญพืช
  • ถั่วเหลือง

ข้อควรระวังอื่นๆ 

ให้แบ่งอาหารเป็นส่วนเล็กในแต่ละมื้อ

ควรแบ่งเสิร์ฟอาหารให้ลูกลงในภาชนะทีละน้อย เพราะเมื่อเด็กเริ่มทานอาหารจะมีน้ำลายออกมามาก ช้อนที่ใช้ตักอาหารเข้าปากอาจเต็มไปด้วยน้ำลาย ฉะนั้นช้อนที่ใช้ตักอาหารในคำถัดไปอาจมีน้ำลายปนอยู่ในอาหารภายในภาชนะ หากคุณตักอาหารให้ลูกเยอะ อาหารอาจเน่าเสียได้เนื่อจากมีน้ำลายเจือปน 

ให้ลูกนำในการทานอาหาร

หากลูกน้อยไม่สนใจทานอาหาร หันหน้าหนี งอแง หรือไม่มีความสุขในมื้ออาหาร ไม่เป็นไรเลยที่หยุดทานอาหาร วันพรุ่งนี้ หรือสัปดาห์หน้าค่อยมาเริ่มฝึกทานอาหารกันใหม่ อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องน่าสนใจ ภาวะโคลิค

พยายามลองใหม่อีกครั้งไปเรื่อยๆ

ในทางกลับกันการที่ลูกน้อยดูเหมือนจะไม่ทานอาหารในครั้งแรก นั้นไม่ได้หมายความว่าคุณจะต้องล้มเลิกให้ลูกทานอาหาร เพราะถ้าหากได้ลองให้ลูกทานอาหาร 10 ครั้ง ลูกอาจจะยอมทานซักครั้งนึง หากผ่านขั้นตอนในการทานอาหารสำเร็จ คุณอาจให้ลองส่วนผสม หรือรสชาติใหม่ๆ โดยเลือกให้มีรสชาติที่คุ้นเคย เพื่อกระตุ้นให้เด็กทานอาหารอย่างอื่นอีก

ใช้นมแม่มาทำซีเรียล หรือน้ำซุป

สิ่งนี้สามารถกระตุ้นภาวะโภชนาการ และเพิ่มรสชาติที่คุ้นเคยเมื่อให้ลูกเริ่มอาหารใหม่ๆ

ยอมรับความวุ่นวายที่จะเกิดขึ้น

เช่นเดียวกับหลายๆอย่าง การเริ่มให้อาหารเด็กเป็นประสบการณ์ใหม่ และใช้เวลานานกว่าจะเชี่ยวชาญ ควรปล่อยให้ลูกน้อยได้ลองรสชาติใหม่ๆ และเนื้อสัมผัสของอาหาร  และเก็บภาพความน่ารักเวลาที่ลูกยิ้ม, น้ำลายไหล และเราต้องผ่านเรื่องราวเหล่านี้ไปให้ได้

ประเด็น 

การนำเด็กมาสู่โลกของอาหารที่น่าอัศจรรย์เป็นอะไรที่น่าตื่นเต้นในช่วงปีแรก การพูดคุยถึงความกังวล และร่วมวางแผนกับกุมารแพทย์ และปล่อยให้เด็กได้ตัดสินใจเมื่อถึงเวลาในการทานอาหาร การเตรียมพร้อมบ้างเล็กน้อยจะสามารถนำไปสู่ความสนุกสนาน ยุ่งเหยิงมากมาย เมื่อคุณสนุกกับช่วงเวลานี้กับลูกน้อยของคุณนี่

ข้อควรระวัง

เมื่อแนะนำอาหารทารก สิ่งสำคัญคือต้องคำนึงถึงข้อกังวลที่อาจเกิดขึ้นเพื่อความปลอดภัยและความเป็นอยู่ที่ดีของลูกน้อยของคุณ ต่อไปนี้เป็นสิ่งที่ควรระวังเมื่อพูดถึงอาหารทารก:

1. อันตรายจากการสำลัก:

  • ระวัง:อาหารขนาดเล็ก แข็ง หรือกลมที่อาจเสี่ยงต่อการสำลัก ตัวอย่างเช่น องุ่นทั้งเมล็ด ถั่ว ป๊อปคอร์น เนื้อสัตว์ชิ้นใหญ่ และผักดิบ

2. อาหารที่เป็นภูมิแพ้:

  • ระวัง:การแนะนำอาหารที่เป็นภูมิแพ้เร็วเกินไปหรือทั้งหมดในคราวเดียว เริ่มต้นด้วยอาหารที่มีส่วนผสมเดียวและรอสองสามวันก่อนที่จะแนะนำอาหารชนิดใหม่ อาหารก่อภูมิแพ้ทั่วไป ได้แก่ ถั่วลิสง ถั่วเปลือกแข็ง ไข่ ผลิตภัณฑ์นม ถั่วเหลือง ข้าวสาลี และปลา

3. เพิ่มน้ำตาลและเกลือ:

  • ระวัง:อาหารที่เติมน้ำตาลหรือเกลือ ทารกไม่จำเป็นต้องเติมน้ำตาล และเกลือที่มากเกินไปอาจเป็นอันตรายต่อไตที่กำลังพัฒนาได้ อ่านฉลากและเลือกอาหารที่ไม่เติมน้ำตาลหรือเกลือมากเกินไป

4. อาหารที่ไม่ผ่านการพาสเจอร์ไรส์หรืออาหารดิบ:

  • ระวัง:การเสนออาหารที่ไม่ผ่านการพาสเจอร์ไรส์หรืออาหารดิบ รวมถึงน้ำผึ้งดิบ สิ่งเหล่านี้อาจมีแบคทีเรียที่เป็นอันตรายและควรหลีกเลี่ยงในเด็กทารก

5. ปลาที่มีสารปรอทสูง:

  • ระวัง:ปลาที่มีสารปรอทสูง เช่น ปลาฉลาม ปลาดาบ ปลาแมคเคอเรล และปลากระเบื้อง เลือกใช้ปลาที่มีสารปรอทต่ำ เช่น ปลาแซลมอน ปลาเทราท์ และทูน่ากระป๋องชนิดเบา

6. ปลาตัวใหญ่:

  • ระวัง:ปลาขนาดใหญ่ที่อาจมีสารปนเปื้อนต่อสิ่งแวดล้อม จำกัดการบริโภคปลา เช่น ปลาฉลาม และปลาทูน่า ซึ่งอาจมีระดับสารปรอทสูงกว่า

7. ขวดนมสำหรับไมโครเวฟ:

  • ระวัง:ไมโครเวฟขวดนมที่บรรจุนมแม่หรือนมผง การไมโครเวฟอาจทำให้อุณหภูมิไม่สม่ำเสมอ ทำให้เกิดจุดร้อนที่อาจทำให้ปากของทารกไหม้ได้

8. การให้อาหารมากไป:

  • ระวัง: ให้อาหารมากเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับอาหารที่มีแคลอรีสูง ทารกมีท้องเล็ก และสิ่งสำคัญคือต้องใส่ใจกับสัญญาณของความหิวและความอิ่ม

9. การรับประทานอาหารโดยไม่ได้รับการดูแล:

  • ระวัง:ปล่อยให้ลูกน้อยของคุณกินอาหารโดยไม่ได้รับการดูแล คอยดูลูกน้อยของคุณในขณะที่รับประทานอาหารอยู่เสมอเพื่อป้องกันการสำลัก
ปรึกษากุมารแพทย์ของคุณเสมอเพื่อขอคำแนะนำส่วนบุคคลในการแนะนำอาหารใหม่ๆ และเพื่อจัดการกับข้อกังวลเฉพาะหรือข้อควรพิจารณาด้านอาหารโดยพิจารณาจากสุขภาพและพัฒนาการของทารก
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด