การปั๊มนมสำหรับลูกน้อย (Breast Milk Pumping)

การปั๊มนม

ครั้งแรกที่คุณสัมผัสลูกน้อย ได้จ้องดวงตากลมโต  ได้เห็นหน้าอกเล็กจิ๋วที่กระเพื่อมขึ้นลงตามการหายใจ คุณหอมแก้ม และนัวเนียอยู่อย่างนั้น แสดงให้เห็นถึงความรักที่บริสุทธิ์ของแม่ที่มีต่อลูก สิ่งนี้มาพร้อมกับความรับผิดชอบบทใหม่ ที่ผู้เป็นแม่มีต่อลูกน้อยที่พึ่งลืมตาดูโลก เพื่อการมีชีวิตต่อไป ความรัก ความเอาใจใส่ และการดูแลให้นมในช่วงสองสามเดือนแรกและต่อจากนี้เป็นหน้าที่ที่ไม่ง่ายเลย คุณอาจจะเคยได้ยินว่าการให้นมลูกน้อยนั้นขึ้นอยู่กับความต้องการของเด็ก ฟังดูเหมือนจะเพียงพอ แต่ในความเป็นจริงนั้น คุณแม่ต้องอุ้มลูกเข้าเต้าทุกสองชั่วโมงตลอดทั้งวันทั้งคืน ในขณะที่คุณเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และกำลังมองหาอาหารเสริม หรือวางแผนที่จะปั๊มนมเก็บไว้ให้เพียงพอ ดูเหมือนจะเป็นความรู้สึกที่ท่วมท้นจากการอดนอนที่คุณกำลังประสบ วันนี้เรามีเนื้อหาภายในบทความที่ครอบคุมเกี่ยวกับวิธีเก็บน้ำนมแม่ด้วยเครื่องปั๊มนม ควรเริ่มปั้มนมเมื่อไร เก็บนมกี่ออนซ์ รวมไปถึงวิธีใช้เครื่องปั้มนม ไปลุยกัน

ควรเริ่มปั๊มนมเมื่อไร

ปรึกษาแพทย์ หรือนักปรึกษาคลินิกนมแม่ก่อนที่จะทำการปั้มนม คุณสามารถพูดคุยถึงเป้าหมายในการให้ลูกเข้าเต้าดูดนมแม่ หรือปั้มนมด้วยเครื่อง หาวิธีที่เหมาะสมกับครอบครัวคุณ คุณสามารถเริ่มปั๊มนมได้ตั้งแรกลูกคลอด คุณอาจเลือกที่จะให้ลูกเข้าเต้าบ่อยๆ และปั๊มนมเพียงครั้งเดียว นี่เป็นเหตุผลหลายอย่างว่าทำไมต้องใช้เครื่องปั๊มนมตั้งแต่เด็กเกิด:
  • ภาวะทางสุขภาพของลูกน้อย
  • ภาวะทางสุขภาพของคุณแม่
  • ปัญหาเรื่องการดูดนม
  • เป็นตัวช่วยในกรณีที่คุณแม่ไม่ได้อยู่เลี้ยงลูกตลอดเวลา
ปัญหาข้างต้นจะหมดไป หากคุณวางแผน อย่าให้ใครมาทำให้คุณรู้สึกละอายใจที่ตัดสินใจไปแบบนั้น คุณเท่านั้นที่เป็นคนรู้ว่าอะไรดีที่สุดสำหรับตัวคุณและลูกน้อย ข้อควรพิจารณา:
  • หากคุณเลือกใช้เครื่องปั้มนมเพราะคุณต้องการมีน้ำนมในขวดนม หรือต้องการเพิ่มการเก็บน้ำนมไว้สำรอง คุณอาจจะต้องปั้มนมภายหลังจากที่ร่างกายเป็นปกติหลังคลอด 2-3 วัน แต่ทั้งหมดก็ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำนมคุณที่คุณต้องการ
  • ในทางกลับกัน หากลูกของคุณมีปัญหาในการดูดนมหรือคุณต้องการปั้มนมเพียงอย่างเดียว คุณต้องปั้มนมแทนการให้ลูกเข้าเต้า หมายถึงการปั้มนมตลอดทั้งวันทั้งคืนให้บ่อยที่สุดเท่าที่สามารถจะป้อนนมลูกได้
  • หากคุณกำลังรอปั้มนมจนกว่าจะเลิกงานกลับบ้าน ควรแน่ใจก่อนว่าคุณมีเวลาเตรียมความพร้อมอย่างน้อยสองสัปดาห์ที่คุณจะต้องใช้นม ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมที่เก็บนม การปรับตัวให้คุ้นเคยกับเครื่องปั้มนม และการเก็บน้ำนม ขณะเดียวกันลูกของคุณก็จะมีเวลาสร้างความคุ้นเคยกับการดื่มนมจากขวดด้วยเช่นกัน

การปั๊มนมสำหรับลูกน้อย

หากคุณป้อนมนลูกด้วยขวดนม คุณจำเป็นต้องปั้มนมวันละสองสามครั้ง ตอนเช้าจะเป็นช่วงที่ปั้มนมออกง่ายที่สุด เพราะน้ำนมยังเต็มเต้า หากคุณปั้มนมเพียงเป็นตัวช่วยเสริม ควรปั้มนมภายหลังที่เอาลูกข้าเต้าให้เสร็จก่อน การให้นมลูกเป็นเรื่องของอุปสงค์และอุปทาน และเด็กก็สามารถเรียกร้องได้ เช่นเดียวกันการปั้มนมด้วยเครื่องปั้มนม หากลูกของคุณกินนม 8 – 12 ครั้งต่อวัน คุณก็ต้องปั้มนมอย่างน้อย 8 ครั้งเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของเด็ก มันไม่มีกฏที่ตายตัว มันขึ้นอยู่กับลูกน้อย และความต้องการทางโภชนาการของเด็ก คุณอาจพบตัวช่วยให้คุณสามารถปั้มนมทุกๆ 2 – 3 ชม.ตลอดทั้งวันในช่วงที่เด็กยังเป็นทารก การที่จะต้องตื่นขึ้นมาในตอนกลางคืนเพื่อปั้มนมดูเหมือนจะผิดวัตถุประสงค์ในการปั้มนมเก็บไว้ให้คนอื่นช่วยดูแลให้นมลูกเวลาคุณแม่หลับ แต่จะเอาเวลามีค่าเหล่านั้นกลับคืนมาได้อย่างไร เมื่อคุณจำเป็นต้อนปั้มนมอย่างน้อย 2 ครั้งในตอนกลางคืนเพื่อให้มีนมให้ลูกอย่างเพียงพอ ความจำเป็นในการปั้มนมตอนกลางคืนขึ้นอยู่กับว่าคุณปั้มนมในช่วงพักระหว่างวันเก็บไว้มากน้อยเพียงพอกับความต้องการของลูกหรือไม่ ถ้าเพียงพอแล้วก็ปั้มนมเฉพาะเวลากลางวัน หากไม่เพียงพออาจต้องกลับไปปั้มนมในตอนกลางคืนอีกครั้ง

การปั้มนมในกรณีที่มีน้ำนมไม่เพียงพอ

หากคุณรู้สึกว่าร่างกายสร้างน้ำนมไม่พอ อย่าพึ่งหัวเสียไป การสร้างน้ำนมของร่างกายจะแตกต่างกันไประหว่างช่วงเช้ากับเย็น  หรือในแต่ละสัปดาห์ปริมาณน้ำนมก็มีมากน้อยไม่เท่ากัน ทั้งนี้ ความเครียด ภาวะโภชนาการ และปัจจัยในด้านอื่นๆก็มีผลกระทบต่อการผลิตน้ำนมในคุณแม่ได้ คุณแม่บางรายสามารถผลิตน้ำนมได้เต็มขวดนมด้วยการปั้มนมเพียงครั้งเดียว ในขณะที่คุณแม่ท่านอื่นๆต้องปั้มนม 2 – 3 ครั้งกว่านมจะเต็มขวด ฉะนั้นนี้ไม่ใช่การแข่งขัน แต่ค่าเฉลี่ยปกติของปริมาณการสร้างน้ำนมค่อนข้างที่จะกว้างมาก หากกังวลเกี่ยวกับน้ำนมสามารถพูดคุยกับแพทย์ของคุณ หรือนักโภชนาการนมแม่ได้ มีรายการอาหารบางอย่างที่สามารถเพิ่มน้ำนมได้ เช่น แกงเลียงหัวปลี น้ำขิง และแกงมะรุม คุณแม่สามารถทำรับประทานที่บ้าน เพื่อเรียกน้ำนมได้

การปั๊มนมในคุณแม่ที่ต้องออกไปทำงาน

เมื่ออยู่ในที่ทำงาน คุณควรพยายามปั้มน้ำให้ได้ทุกๆ 3 – 4 ชม.ครั้งละ 15 นาที ดูเหมือนจะเยอะ แต่ต้องระลึกไว้ว่ามีความต้องการก็ต้องมีการผลิต ฉะนั้นเมื่อลูกต้องดื่มนมทุก 2 ชม. การปั้มนมในอัตราเดียวกันน่าจะมั่นใจได้ว่าเพียงต่อความต้องการของลูกน้อย คุณแม่สามารถลองปั้มนมพร้อมกันทั้งสองข้างได้ จะเป็นอะไรที่มีประสิทธิภาพมาก เพื่อประโยชน์ในด้านประหยัดเวลาในการปั้มนม และหากคุณกังวลกับเรื่องความเป็นส่วนตัวเวลาปั้มนม ตามกฎหมายสถานที่ทำงานที่ใดมีจำนวนพนักงานมากกว่า 50 คน จำเป็นต้องมีสถานที่ส่วนตัว หรือห้องส่วนตัวภายในที่ทำงาน ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะคุณจะได้ไม่ต้องไปนั่งปั้มนมภายในห้องน้ำอีกต่อไป ควรพูดกับหัวหน้าก่อนที่คุณจะกลับไปทำงานหลังจากที่คุณลาเพื่อคลอดลูก

วัฏจักรย้อนกลับ

หากคุณให้นมลูกจากเต้านอกเหนือจากการปั้มนมเมื่ออยู่ในที่ทำงาน คุณจะสังเกตได้ว่าลูกน้อยอาจเกิดพฤติกรรมที่เรียกว่า วัฏจักรย้อนกลับ (Reverse cycling) หมายถึง ลูกน้อยจะดูดนมจากขวดน้อยลงเวลากลางวันที่คุณไปทำงาน และจะดูดนมจากเต้ามากขึ้นเมื่อคุณกลับถึงบ้านในเวลากลางคืน

ควรปั๊มนมมากเท่าไร

ปริมาณนมที่ลูกน้อยต้องการในแต่ละครั้งไม่แน่นอน เปลี่ยนแปลงไปตามการเจริญเติบโต อาจเปลี่ยนไปในทุกๆวัน โดยเฉพาะในวัยที่การเจริญเติบโตเพิ่มเป็นหลายเท่า คุณจะรู้ได้อย่างไรว่าคุณปั้มนมให้ลูกเพียงพอแล้ว เมื่ออายุ 6 สัปดาห์ ไปจนถึง 6 เดือน เด็กจะดื่มนมประมาณ 1 ออนซ์ต่อชม. นั้นหมายถึง หากคุณไม่ได้อยู่กับลูกเป็นเวลา 10 ชม. คุณควรเตรียมนมแม่ให้พี่เลี้ยงเอาไว้ป้อนลูกประมาณ 10 – 12 ออนซ์ ในเด็กบางรายอาจต้องการมากกว่า หรือน้อยกว่า ฉะนั้น ตลอดเวลาที่เลี้ยงลูกคุณจะรู้ว่าลูกคุณต้องการนมเท่าไร พยายามปั้มนมให้ตามเวลาที่ให้ขวดนมกับลูก หากคุณพบว่ามันลำบากมาก ให้เพิ่มรอบในการปั้มนมให้มากขึ้น เพิ่มกระตุ้นให้ร่างกายผลิตน้ำนมมากขึ้น การเปลี่ยนขวดนมในแต่ละครั้ง ก็สามารถแบ่งปริมาณนมออกตามจำนวนครั้งที่ให้นมทั่วๆไป เช่น ลูกต้องการนม 24 ออนซ์ตลอด 24 ชม.ก็อาจจะแบ่งเป็น 6 มื้อ มื้อละ 4 ออนซ์ เป็นต้นBreast Milk Pumping

ระยะเวลาในการปั๊มนม

ไม่ได้มีระยะเวลาที่ตายตัวในการปั๊มนม ผู้หญิงแต่ละคนแตกต่างกันไป แต่ให้สังเกตุเวลาปั้มนมว่าถ้านมหมดเต้าแล้ว น้ำนมก็จะหยุดไหล ซึ่งควรปั้มนมให้หมดเต้าทุกครั้ง ก็ใช้เวลาโดยประมาณ 15 นาที

วิธีการปั๊มนมแบบไหนดีที่สุด

เป็นที่น่าประหลาดใจว่ามีเพียงไม่กี่วิธีที่แตกต่างกันไปในการปั้มนม การใช้มือกด หรือใช้นิ้วรีดนมลงในขวดหรือที่เก็บนม หรือการใช้อุปกรณ์อื่นๆ เช่น ช้อน การปั๊มนม — ด้วยมือ และใช้พลังงานไฟฟ้า หรือแบตเตอรี่ ในการดูดนมออกจากเต้า ดูเหมือนจะเจ็บปวด แต่ก็ไม่ควรเป็นอย่างนั้น คุณจะใช้วิธีเหล่านี้เมื่อไร
  • การใช้เครื่องปั๊มมือเป็นสิ่งที่ดีในช่วงแรกๆ หากคุณให้นมลูกไปแล้วแต่อยากให้เพิ่มอีกทางช้อน  มันจะช่วยเพิ่มนมสำรองแก่ลูกของคุณได้
  • เครื่องปั๊มแบบใช้มือสามารถพกพาสะดวก หรือคุณไม่ได้มีที่เสียบไฟฟ้าหรือ ไม่จำเป็นต้องสำรองนมมากขนาดนั้น เราแนะนำให้ซื้อเครื่องปั๊มนมแบบนี้ เพราะราคาที่ไม่แพงมาก
  • เครื่องปั๊มนมไฟฟ้าจะดีกว่าในกรณีที่คุณต้องการมีน้ำนมสำรองไว้ในปริมาณมากสำหรับเวลาที่คุณแม่ต้องไปทำงาน หรือเพื่อลูกน้อยของคุณเอง อีกทั้งหากมีแบตเตอรรี่สำรองเวลาอีกเครื่องแบตเตอรี่หมด ก็เป็นความคิดที่ดี

วิธีปั๊มนมให้ลูก

  1. ก่อนที่จะเริ่มทำการปั้มนม ล้างมือให้สะอาดและตรวจสอบสภาพพร้อมใช้งานของเครื่องปั้มนม
  2. จากนั้นหาที่นั่ง หรือจัดท่าทางในการปั้มนมที่สบาย คุณแม่บางคนบอกว่าหากเวลาปั้มนมแล้วนึกถึงลูกจะทำให้น้ำนมไหลง่ายมาก คุณอาจต้องหารูป หรือของใช้ลูกน้อยเพื่อให้นึกถึงเวลาปั้มนม
  3. สวมหัวเครื่องปั้มเข้ากับเต้านม โดยให้หัวนมอยู่ตรงกลาง แป้นของหัวปั้มนมต้อไม่แน่น หรือหลวมเกินไป สามารถเลือกขนาดที่เหมาะสมได้ 
  4. หากเป็นเครื่องปั้มนมไฟฟ้า ให้เริ่มที่ความเร็วต่ำสุด และสามารถเพิ่มความเร็วขึ้นหลังจากภายช่วงแรกไปได้
  5. ปั้มนมแต่ละข้างนานประมาณ 15 – 20 นาที หรือจะปั้มนมพร้อมกันทั้งสองข้างเพื่อประหยัดเวลาก็สามารถทำได้
  6. เก็บน้ำนมไว้ในบรรจุภัณฑ์ที่สะอาดปิดสนิท และล้างทำความสะอาดเครื่องปั้มนมให้เรียบร้อยสำหรับพร้อมใช้งานครั้งถัดไป

เคล็ดลับสำหรับการกระตุ้นน้ำนม

ดื่มน้ำเยอะๆ 

น้ำ น้ำผลไม้ และนม เป็นตัวเลือกที่ดีในการดุแลไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ ในทางกลับกัน เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น กาแฟ อาจส่งผลเสียต่อลูกน้อยได้ เพราะคาเฟอีนมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ เมื่อคุณแม่ปัสสาวะบ่อย อาจทำให้ร่างกายขาดน้ำ ยิ่งส่งผลให้ปริมาณน้ำนมลดน้อยลง ผู้เชี่ยวชาญแนะนำ หากคุณกำลังเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ให้ดื่มน้ำอย่างน้อย 13 แก้วต่อวัน หรือสังเกตได้จากสีของปัสสาวะ หากเป็นสีเหลืองใส ถือว่าดี แต่ถ้าเริ่มเป็นสีเหลืองเข้ม ให้ดื่มน้ำอีกได้เลย

รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นการเผาผลาญพลังงานที่สำคัญ ข้อเท็จจริงคือคุณแม่จำเป็นต้องได้รับพลังงานเพิ่มอีกประมาณ 450 – 500 แคลอรี่ต่อวัน การเพิ่มการรับประทานอาหารที่สมดุลควรมีวิธีการ คุณเข้าใจอาหารที่สมดุลหรือไม่ อาหารที่สมดุลหมายถึง การรับประทานธัญพืชเต็มเมล็ด ผักผลไม้สดสะอาด บริโภคแต่โปรตีนและนมที่ไขมันต่ำ และเป็นไขมันที่ดีต่อสุขภาพ  คุณอาจสอบถามผู้ให้บริการสุขภาพเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เช่น Docosahexaenoic Acid (DHA) และกลุ่มวิตามินต่างๆที่ช่วยบำรุงน้ำนม และสุขภาพโดยรวม

การนอนหลับ

ดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ แต่พยายามพักเท่าที่เป็นไปได้ เรารู้ว่า การแนะนำเรื่องการนอนหลับขณะที่ลูกน้อยนอนหลับ เป็นช่วงเวลาที่สั้นมาก แต่หากคุณไม่สามารถนอนหลับขณะที่ลูกน้อยนอนหลับได้นั้น คุณสามารถเรียกคืนพลังงานของคุณได้โดยการพักเท่าที่พักได้ หมายถึงการขอความช่วยเหลือจากสมาชิกคนอื่นๆภายในบ้าน เพื่อน และเพื่อนบ้าน มาช่วยผลัดดูแลลูกน้อยบ้าง เพียงเท่านี้พลังของคุณก็จะกลับคืนมา ช่วยสร้างน้ำนม และดูแลลูกต่อได้

หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่

คุณเคยได้ยินเรื่องของควันบุหรี่มือสอง หรือไม่ มันเป็นตัวเพิ่มความเสี่ยงในการเสียชีวิตในเด็กทารกได้ มีชื่อเรียกว่า กลุ่มอาการเสียชีวิตกระทันหันในทารก (Sudden Infant Death Syndrome :SIDS) การสูบบุหรี่ยังลดการสร้างน้ำนม และทำให้น้ำนมมีรสชาติแย่อีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้น ควันบุหรี่ยังมีผลรบกวนนิสัยการนอนที่ดีของลูกน้อย

เคล็ดลับอื่นๆ

ยังมีเคล็ดลับในการช่วยเพิ่มน้ำนมอีกหลายวิธี เช่น การรับประทานข้าวโอ๊ต การดื่มเบียร์ดำ การดื่มชา เป็นต้น แต่ควรทำตามคำแนะนำอย่างระมัดระวัง เช่น การดื่มกินเนสส์เย็น โดยเฉพาะหลัง 9 เดือนผ่านไปปริมาณแอลกอฮอล์จะน้อยลง แต่ก็มีข้อควรระวังในการใช้แอลกอฮอล์ในหญิงที่ให้นมบุตร คุณจะพบคำแนะนำมากมายบนเวปไซด์ออนไลน์ ควรพิจารณาให้ดี หรือปรึกษาแพทย์ก่อนนำไปใช้

การทำความสะอาดที่ปั๊มนม

หากการใช้ที่ปั๊มนมที่สกปรกทำให้คุณรู้สึกแย่ ฉะนั้นควรอ่านคู่มือในการทำความสะอาดที่ปั๊มนมของคุณ เพื่อการทำความสะอาดโดยเฉพาะ แม้ว่าที่ปั้มนมอาจจะไม่จำเป็นต้องฆ่าเชื้อเสมอไป แต่คุณก็ควรทำความสะอาดภายหลังการใช้งานด้วยน้ำอุ่น หรือน้ำสบู่
  • เริ่มจากการแยกชิ้นส่วนของที่ปั๊มนมออกจากกัน ทำการตรวจสอบข้อต่อ วาล์วต่างๆว่ามีความเสียหายหรือการรั่วซึมหรือไม่ หากมีก็เปลี่ยนใหม่ให้เรียบร้อย
  • ล้างทำความสะอาดส่วนประกอบทั้งหมดที่สัมผัสกับน้ำนม โดยการเปิดน้ำผ่าน
  • ทำความสะอาดส่วนต่างๆด้วยมือ แต่ก่อนที่จะวางส่วนประกอบของที่ปั้มนมไว้บนอ่าง ควรแน่ใจว่าอ่างล้างสะอาดดีแล้ว เพราะอ่างมักเป็นแหล่งของแบคทีเรีย อาจต้องล้างอ่างด้วยน้ำร้อน ใช้แปรงขัด และทิ้งไว้ให้แห้งหรือใช้กระดาษซับให้แห้ง
  • หากใช้เครื่องล้างจาน ก็ควรล้างเครื่องล้างจานให้สะอาดเสียก่อน จากนั้นนำส่วนประกอบของที่ปั๊มนมใส่เข้าไปในเครื่องล้างจาน ทำการตั้งค่าความร้อนเครื่องล้างจาน เพื่อฆ่าเชื้อต่างๆ พอเสร็จแล้วก็นำออกมาแล้วปล่อยทิ้งไว้ให้แห้งหรือใช้กระดาษเช็ดอีกที
  • อาจไม่จำเป็นต้องทำความสะอาดท่อภายในที่ปั๊มนม หากมันไม่ได้สัมผัสน้ำนม เพราะเราอาจเห็นว่ามีหยุดน้ำเล็กๆเกาะอยู่ ให้เปิดเครื่องปั๊มทิ้งไว้ 2 – 3 นาที น้ำภายในท่อจะหายไป
หากลูกน้อยอายุต่ำกว่า 3 เดือน คุณอาจลองต้มชิ้นส่วนที่ปั๊มนมเพื่อเป็นการฆ่าเชื้อ เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของลูกน้อยอาจจะยังไม่สมบูรณ์ เพียงแค่ทำวันละครั้งเท่านั้น โดยนำส่วนของที่ปั้มนมที่เป็นส่วนที่รองรับน้ำนมและฝาครอบลงไปในน้ำที่เดือดประมาณ 5 นาที จากนั้นใช้ที่คีบหยิบชิ้นส่วนออกมา 

การจัดเก็บน้ำนมแม่

การเก็บน้ำนมที่ปั๊มไว้อย่างถูกต้องเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อความปลอดภัยและคุณภาพสำหรับลูกน้อยของคุณ คำแนะนำทีละขั้นตอนเกี่ยวกับวิธีการเก็บน้ำนมที่ปั๊ม:

1. ใช้ภาชนะที่สะอาด:

  • เริ่มต้นด้วยภาชนะที่สะอาดและผ่านการฆ่าเชื้อซึ่งออกแบบมาเพื่อเก็บน้ำนมแม่โดยเฉพาะ คุณสามารถใช้ขวดนมปลอดสาร BPA หรือถุงเก็บน้ำนมแม่ได้

2. ภาชนะบรรจุฉลาก:

  • ติดฉลากแต่ละภาชนะด้วยวันที่และเวลาที่แสดงนม ซึ่งจะช่วยให้คุณใช้นมที่เก่าแก่ที่สุดก่อนตามหลักการ “เข้าก่อนออกก่อน”

3. เลือกขนาดคอนเทนเนอร์ที่เหมาะสม:

  • ใช้ภาชนะที่บรรจุปริมาณที่ทารกของคุณมักจะบริโภคในการป้อนอาหารครั้งเดียวเพื่อลดขยะ สำหรับทารกแรกเกิด ภาชนะขนาดเล็กอาจเหมาะสม ในขณะที่เด็กโตอาจต้องการภาชนะที่ใหญ่กว่า

4. เก็บเป็นสัดส่วน:

  • ลองเก็บน้ำนมแม่ในปริมาณที่น้อยลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากลูกน้อยของคุณไม่ได้กินนมในปริมาณมากระหว่างการให้นมแต่ละครั้ง ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการสิ้นเปลืองนมที่ปั๊ม

5. บรรจุลงในภาชนะที่สะอาด:

  • บีบน้ำนมแม่ลงในภาชนะจัดเก็บโดยตรง หากคุณใช้เครื่องปั๊มนมหลายชิ้น ตรวจสอบให้แน่ใจว่าชิ้นส่วนทั้งหมดสะอาดและฆ่าเชื้อแล้ว

6. ใช้นมสดก่อน:

  • หากเป็นไปได้ ให้ป้อนนมแม่ที่บีบเก็บสดๆ ให้กับลูกน้อยของคุณ นมสดมีส่วนประกอบที่เป็นประโยชน์ในระดับสูงสุด

7. เก็บในตู้เย็น:

  • นมที่ปั๊มนมสดสามารถเก็บไว้ในตู้เย็นได้นานถึงสี่วัน วางไว้ด้านหลังตู้เย็นในบริเวณที่เย็นที่สุด และอยู่ห่างจากประตูเพื่อหลีกเลี่ยงความผันผวนของอุณหภูมิ

8. เก็บในช่องแช่แข็ง:

  • หากคุณไม่ได้ใช้นมภายในสี่วัน ให้แช่แข็งนมไว้ นมแม่สามารถเก็บไว้ในช่องแช่แข็งปกติได้ประมาณ 6 เดือน และในช่องแช่แข็งแบบลึกได้นานถึง 12 เดือน

9. การละลายนมแช่แข็ง:

  • ละลายน้ำนมแม่แช่แข็งโดยวางไว้ในตู้เย็นข้ามคืนหรือใช้น้ำอุ่น หลีกเลี่ยงการใช้ไมโครเวฟ เนื่องจากอาจทำให้เกิดจุดร้อนและลดส่วนประกอบที่เป็นประโยชน์บางอย่างของน้ำนมแม่ได้

ประเด็นสำคัญ

มีข้อมูลมากมายให้ค้นหา โดยเฉพาะคุณแม่ที่ยังต้องมีความรับผิดชอบอีกมากมายที่ต้องแบกรับ ข่าวดีก็คือ คุณไม่ต้องหาทั้งหมดด้วยตัวเองแล้ว แพทย์ และนักโภชนาการนมแม่ เป็นบุคคลที่สามารถช่วยให้คุณไม่ต้องเดาสุ่มในเรื่องการปั้มนม อีกทั้งยังให้เคล็ดลับดีๆระหว่างทางอีกด้วย ดังนั้นหากคุณรู้สึกหนักใจก็ให้ขอความช่วยเหลือจากพวกเขาก่อนที่คุณจะรู้ตัวอีกทีก็เป็นคุณแม่มืออาชีพเรื่องการปั้มนมไปแล้ว 
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด