พัฒนาการของทารก (Baby Development: Your 6-Month-Old) : เด็กอายุ 6 เดือน

ไม่น่าเชื่อเลยแต่ก็ต้องเชื่อว่า คุณผ่านมาครึ่งทางของปีแรกของลูกคุณแล้ว ! ในเวลาสั้นๆเพียงหกเดือนทารกของคุณได้เรียนรู้วิธีการสื่อสารและการทานอาหารที่มีลักษณะแข็ง

พัฒนาการทารก 6 เดือน:

การเจริญเติบโต

ในช่วงสองสามเดือนแรกของชีวิต ทารกจะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นราว 700-900 กรัมต่อเดือน ดังนั้นตั้งแต่ตอนนี้ทารกจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าของน้ำหนักแรกเกิด พออายุหกเดือนไปแล้วทารกจะหนักขึ้นเดือนละราวๆ 500 กรัม แต่ความสูงก็จะเพิ่มช้าลงกว่าหกเดือนแรก ประมาณ 1.3 ซ.ม.ต่อเดือน

พัฒนาการของทารกวัยหกเดือน:ทักษะกล้ามเนื้อ

ทารกจะเริ่มนั่งเองได้ โดยครั้งแรกทารกจะใช้มือดันตัวเองขึ้นก่อน จากนั้นจะสามารถลุกขึ้นนั่งได้เอง ทารกวัยหกเดือนจะพลิกตัวไปมาได้ เด็กบางคนสามารถเคลื่อนที่ไปตามพื้นโดยใช้การพลิกตัว หรือคืบตัวไปข้างหน้าหรือถอยหลัง ใช้ท้องไถไปบนพื้น ในช่วงเวลานี้คุณอาจเห็นทารกทำท่าจะคลานและโยกตัวไปทางหน้าหรือด้านหลัง

พัฒนาการของทารกวัยหกเดือน:การนอน

ทารกส่วนใหญ่ต้องนอนเป็นเวลาหกถึงแปดชั่วโมง หากทารกไม่ยอมนอน พ่อแม่บางคนใช้วิธีของ Ferber (นายแพทย์ Richard Ferber กุมารแพทย์) โดนำทารกที่ยังไม่หลับใส่ในเตียงนอน หากทารกร้อง รอสักพักแล้วจึงไปหา ลูบตัวทารกหรืออื่นๆ แต่ไม่ให้อุ้มขึ้นมา เพื่อให้ทารกหลับได้เอง วันต่อไปเมื่อทารกร้อง ยืดเวลาออกไปอีก จนฝึกให้ทารกหลับได้เองโดยไม่ต้องร้องเพลงกล่อมนอน วิธีนี้อาจได้ผลสำหรับบางครอบครัว แต่ยังมีวิธีอื่นๆอีก คุณคงต้องลองหาวิธีที่เหมาะสมเอาเอง ตอนนี้ทารกของคุณพลิกตัวได้คล่อง ไม่ต้องกลัวหากคุณให้ลูกนอนหงาย แล้วเขาตื่นมาในท่านอนคว่ำ ความเสี่ยงที่จะเป็นโรคไหลตายในทารกจะลดลงมาก เมื่อทารกอายุเกินหกเดือน แต่ก็ควรจะเอาตุ๊กตา หมอน หรือของอ่อนนุ่มอื่นๆออกจากเตียงลูก Baby Development Your 6-Month-Old

พัฒนาการของทารกวัยหกเดือน:การทานอาหาร และอาหารเด็ก 6 เดือน

หากคุณยังไม่เริ่มให้ทารกทานอาหารแข็ง ตอนนี้เป็นเวลาที่จะให้ทารกฝึกืานอาหารแข็งแล้ว เริ่มจากซีเรียลผสมธาตุเหล็กผสมกับนมแม่หรือนมผง เมื่อทารกคุ้นเคยแล้ว ลองให้ทานผักหรือผลไม้ทีละอย่าง เพื่อเป็นอาหารเสริมลูกน้อยวัย 6 เดือน ควรรอประมาณสองสามวันก่อน เพื่อให้เด็กได้ลองอาหารใหม่ๆ และให้แน่ใจว่าไม่มีอาการแพ้เกิดขึ้น หากทารกดูเหมือนไม่ชอบอาหารใหม่ ควรรอประมาณ 2-3 วันก่อนลองทานอีกครั้ง จากนั้นทารกอาจจะยอมทานอาหารประเภทใหม่ การให้ลองอาหารทีละอย่างเพื่อจะสังเกตอาการเช่น มีผื่น ท้องเสียหรืออาเจียน ไม่ต้องกังวลถ้าจะให้ลูกลองกินไข่หรือปลา  เพราะโอกาสเกิดการแพ้น้อยมาก แต่สำหรับน้ำผึ้ง ควรรอก่อนจนกว่าทารกจะอายุถึงหนึ่งขวบ เพราะในน้ำผึ้งมีแบคทีเรียที่ทำให้เกิดอาการอาหารเป็นพิษที่มีชื่อเรียกว่า โบทูลิซึ่ม นอกจากนี้ไม่ควรให้เด็กทานน้ำนมวัว(ที่ไม่ใช่สูตรเฉพาะของทารก) โยเกิร์ต ชีสและผลิตภัณฑ์ จากนมก็เช่นกัน ซึ่งอาหารเหล่านี้ไม่ควรให้ทารกดื่มหรือกินก่อนอายุหนึ่งขวบ

พัฒนาการของทารกวัยหกเดือน:การสื่อสาร

ตอนนี้ทารกของคุณจะยิ้ม หัวเราะและเริ่มออกเสียงอ้อแอ้ (เช่น มาม่า บาบ้า) เพื่อช่วยให้ทารกเรียนรู้ภาษา คุณควรอ่านนิทานให้ทารกฟังก่อนนอน ขณะนี้ทารกอยู่ในวัยที่จะจำผู้คนและสิ่งของรอบตัวได้ ทารกจะรู้สึกสุขสบายกับคนที่คุ้นเคย เช่น พ่อ แม่ ปู่ย่าตายาย และของเล่นชิ้นโปรด คุณอาจจะเห็นความกลัวเมื่อทารกพบเจอกับคนแปลกหน้าและสิ่งแวดล้อมที่แปลกไป

เมื่อคุณแม่ต้องกลับไปทำงานแล้ว….

คุณจะโชคดีมาก หากมีเพื่อนหรือญาติที่จะดูแลลูกให้ได้ หากไม่มี นี่คือเคล็ดลับที่จะช่วยให้เลือกผู้ดูแลที่เชื่อใจได้
  • ไปเยี่ยมชมสถานรับเลี้ยงเด็กหลายๆที่ อยู่ให้นานที่สุดเพื่อดูว่าทารกของคุณจะพบเจออะไรบ้างที่นั่น หากเป็นไปได้ควรไปโดยไม่นัดล่วงหน้า จะได้เห็นความเป็นจริงของสถานที่นั้น
  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าสถานที่นั้นสะอาดและปลอดภัย ต้องไม่มีสิ่งที่อันตราย เช่นสายไฟห้อยลงมา ปลั๊กไฟที่ไม่ได้ใส่ที่ป้องกันหรือของเล่นชิ้นเล็กๆที่ทารกจะเอาใส่ปากได้ และควรมีมาตรการฉุกเฉินติดไว้ให้เห็นทั่วกัน
  • สอบถามอัตราส่วนของพี่เลี้ยงต่อทารก พี่เลี้ยงหนึ่งคนรับผิดชอบทารกน้อยเท่าไรยิ่งดี
  • ตรวจดูประวัติของพี่เลี้ยง ให้แน่ใจว่าสถานเลี้ยงเด็กนั้น ตวรจสอบภูมิหลังของพี่เลี้ยงและพนักงานทุกคน
  • อ่านนโยบายของสถานที่นั้นให้ละเอียด ว่าถ้าทารกป่วย จะต้องพักอยู่ที่บ้านหรือไม่ เช่นการมีผื่น มีไข้ หรือท้องเสีย(ซึ่งเป็นอาการของโรคที่ติดต่อได้)
  • อาหาร คุณจะนำอาหารใดมาให้ทารกได้ สถานเลี้ยงเด็กจะจัดอาหารใดให้ทารก หากคุณอยากจะจัดอาหารมาให้ลูกเอง ควรถามว่าเขาจะอนุญาตหรือไม่

อื่นๆที่ต้องสังเกตและดูแล

  • สังเกตว่าลูกของคุณไม่ได้พัฒนาไปตามปกติ เช่น ไม่เริ่มออกเสียง นั่งเองไม่ได้ ไม่ยิ้ม ไม่มองหน้าคนหรือตอบสนองต่อเสียง หากสงสัยว่าลูกไม่พัฒนาการไปตามปกติ ควรไปปรึกษากุมารแพทย์
  • เล่นจ๊ะเอ๋หรือเกมที่คล้ายๆกันกับลูก จะช่วยให้ทารกเรียนรู้ว่า คนหรือสิ่งของยังอยู่ แม้ว่าเขาจะไม่เห็น
  • วางของเล่นให้ห่างตัวทารก เพื่อกระตุ้นให้เขาหัดคืบคลาน
  • หากคุณมีเด็กโตกว่าอยู่ด้วยกัน ให้เก็บของเล่นชิ้นเล็กๆให้ห่างมือทารก เพราะทารกอาจหยิบเข้าปากและอุดตันทางเดินหายใจได้

นี่คือที่มาในแหล่งบทความของเรา

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด