ง่วงนอนมากเพราะอะไร (Why I have Drowsiness)

อาการง่วงนอน

แม้ว่าการง่วงนอน คือ สัญญานบ่งชี้ว่าคนเราจำเป็นต้องได้รับการพักผ่อน แต่หากเกิดอาการง่วงนอนตลอดเวลา นอกจากจะทำให้รู้สึกไม่สดชื่นแล้ว ยังส่งผลเสียต่อประสิทธิภาพการทำงานหรือเกิดความยากลำบากในการใช้ชีวิต สาเหตุของอาการง่วงตลอดเวลา หากปล่อยไว้ไม่แก้ไข ก็อาจทำให้ปัญหาลุกลามจนใช้ชีวิตได้ลำบากมากขึ้น หลายคนที่มีอาการง่วงนอนแบบนี้ มักเข้าใจว่าเกิดการนอนหลับไม่เพียงพอเท่านั้น ซึ่งในความเป็นจริงแล้วอาการง่วงนอนระหว่างวันนั้นเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ทั้งพฤติกรรมของผู้ที่ง่วงนอน หรือเป็นผลกระทบจากปัญหาสุขภาพต่าง ๆ

สาเหตุที่ทำให้ง่วงนอนตลอดเวลา

พฤติกรรมชอบนอนดึก 

เมื่อเรานอนดึก แล้วต้องรีบตื่นแต่เช้า ก็ย่อมเป็นธรรมดาที่ร่างการจะเกิดความรู้สึกอ่อนเพลีย และง่วงนอนได้ และบางครั้งการนอนดึกตื่นสายก็ไม่ได้สามารถแก้ความง่วงเหงาหาวนอนได้

ปัญหาสุขภาพจิต 

สุขภาพจิตนั้นส่งผลต่อร่างกายโดยตรง หากมีสุขภาพจิตที่ไม่ดี รู้สึกเบื่อหน่ายชีวิต หรือทำกิจกรรมใด ๆ ก็ส่งผลทำให้รู้สึกไม่สดชื่น อ่อนเพลีย และง่วงนอนได้

ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด 

ยาหลายชนิด เช่น ยาแก้อาการภูมิแพ้ ยากล่อมประสาทนั้นมีผลข้างเคียงทำให้ร่างการรู้สึกอ่อนเพลีย ง่วงทั้งวันได้ ซึ่งผู้ป่วยสามารถพิจารณาผลข้างเคียงจากฉลากของยาได้ อาการอาจยิ่งรุนแรงขึ้นหากใช้ยาติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือใช้ยาในปริมาณที่ไม่เหมาะสม บางครั้งการกินยานอนหลับก่อนนอน ก็อาจไม่ช่วงให้รู้สึกสดชื่นขึ้นมาได้ เพราะการกินยานอนหลับทำให้อยากนอนแบบไม่เป็นธรรมชาติ ทำให้เมื่อตื่นนอนขึ้นมาก็ยังไม่สามารถสดชื่น กระปรี้กระเปร้า ได้เหมือนกับการหลับพักผ่อนตามปกติ

ความผิดปกติในการนอน 

การนอนในลักษณะที่ผิดปกติเช่นการหยุดหายใจขณะนอนหลับ การเปลี่ยนเวลานอน หรือการนอนแปลกที่ ก็เป็นสาเหตุเหตุของการง่วงทั้งวันได้ หรือนอนหลับในท่าที่ไม่สบายก็อาจทำให้นอนหลับได้ไม่สนิทนัก

ประจำเดือนมามากผิดปกติ 

อาการประจำเดือนมามากผิดปกตินั้นอาจทำให้รู้สึกง่วงนอนได้ เนื่องจากระบบไหลเวียนเลือดของร่างกายไม่สมบูรณ์ จึงทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย และรู้สึกอยากนอนหลับพักผ่อนมากขึ้น

อาการง่วงนอนที่เป็นสาเหตุของโรคต่าง ๆ

อาการง่วงตลอดเวลาทั้งที่นอนมากแล้ว หรือหาวบ่อย หาวถี่ อาจเป็นสัญญานบ่งชี้ว่าร่างกายเกิดความผิดปกติ หรือเกิดภาวะของโรคบางอย่าง ดังนี้

 โรคนอนไม่หลับ 

ข้อสันนิษฐานนี้อาจมาจากอาการหาวบ่อย ๆ อันเนื่องมาจากอาการนอนไม่หลับ ผู้ป่วยควรสังเกตพฤติกรรมการนอนหลับของตนเองร่วมด้วย ว่าผู้ป่วยนอนไม่หลับด้วยหรือไม่ เช่น ชอบสะดุ้งตื่นขึ้นมากลางดึกบ่อย ๆ รู้สึกเพลีย และง่วงนอนทั้งวัน และไม่มีอาการป่วยอื่น ๆ ร่วม

นอนกรน 

เป็นอาการที่ส่งผลกระทบต่อการนอนหลับโดยตรง เพราะผู้ที่นอนกรนมักมีปัญหาการหายใจร่วมด้วย ทำให้นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ หรือนอนหลับไม่สนิท ทำให้รู้สึกไม่สดชื่น และง่วงนอนบ่อย ๆ

โรคอ่อนเพลียเรื้อรัง 

เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย ในปัจจุบันยังไม่สามารถหาสาเหตุที่ชัดเจนได้ว่าโรคนี้เกิดจากอะไร แต่พบว่าผู้ป่วยโรคอ่อนเพลียเรื้อรังมักมีอาการเหนื่อยล้า อ่อนแรง ปวดเมื่อยตามตัว และมักนอนไม่หลับในตอนกลางคืน เมื่อตื่นเช้ามาจึงไม่สดชื่น และรู้สึกง่วงนอนตลอดเวลาได้ แพทย์จะวินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้เมื่อผู้ป่วยมีอาการอ่อนเพลียอย่างรุนแรงต่อเนื่องกันมากนานกว่า 6 เดือน

โรคไทรอยด์ 

โรคไทรอยด์เกิดจากความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ ไม่ว่าจะเป็นภาวะขาดฮอร์โมนไทรอยด์ในร่างกาย หรือมีภาวะไทรอยด์เป็นพิษ ก็อาจทำให้ร่างกายแสดงอาการของโรคมาในรูปแบบอาการอ่อนเพลีย ง่วงนอนบ่อย ๆ จนผิดปกติได้

โรคโลหิตจาง 

สาเหตุของโรคโลหิตจางคือการที่ร่างกายขาดธาตุเหล็ก ซึ่งธาตุเหล็กนั้นสัมพันธ์กับการที่ร่างกายรู้สึกอ่อนเพลีย เมื่อยล้า อีกด้วย

โรคเบาหวาน 

การง่วงนอนบ่อยบางครั้งอาจมาจากผลข้างเคียงของโรคเบาหวานได้ เพราะเมื่อร่างการมีระดับน้ำตาลสูงหรือต่ำก็จะทำให้รู้สึกอ่อนเพลียได้ โดยเฉพาะโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เพราะจะมีอาการปัสสาวะบ่อยผิดปกติ เหนื่อยง่าย หิวน้ำบ่อย กินบ่อยแต่น้ำหนักตัวกลับลดลง เกิดอาการมองไม่ชัด แผลหายช้า หรืออาการชาที่ปลายมือ และเท้า

โรคเครียด 

อาการนอนไม่หลับคือสัญญาณของโรคเครียดได้ เนื่องจากความเครียดจะส่งผลกับระดับฮอร์โมนชนิดต่าง ๆ ของร่างกาย และฮอร์โมนยังส่งผลต่อระบบการทำงานของอวัยวะอื่น ๆ ในร่างกาย ส่งผลให้อยากนอนทั้งวันได้

โรคแพ้กลูเตน 

คือผู้ที่แพ้โปรตีนประเภทกลูเตน เมื่อรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของโปรตีนกลูเตนก็จะเกิดอาการแพ้ที่ทำให้รู้สึกอ่อนเพลีย อาจมีอาการท้องเสีย และโลหิตจางได้ จึงทำให้รู้สึกง่วงตลอดเวลาได้

โรคติดเชื้ออีบีวี 

โรคติดเชื้ออีบีวี (Glandular Fever) หรือโรคโมโนนิวคลีโอสิส (Mononucleosis) เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลียจากไข้สูง ต่อมน้ำเหลืองโต เจ็บคอ เป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยแพทย์พิจารณารักษาตามอาการ และรอให้ร่างกายกำจัดเชื้อโรคไปเองตามธรรมชาติ ซึ่งมักใช้เวลานาน แต่หากไม่รักษาอาจมีการติดเชื้ออื่น ๆ เพิ่ม จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษาเพิ่มเติม

กลุ่มอาการขาไม่อยู่สุข 

ขาอยู่ไม่สุข (Restless Legs Syndrome) เป็นอาการขาสั่นที่ควบคุมไม่ได้ และอาการปวดขาจนทำให้ไม่สามารถนอนหลับพักผ่อนได้เพียงพอในเวลากลางคืน ทำให้ง่วงตอนบ่ายได้

การรักษาอาการง่วงนอนตลอดเวลา

การแก้ไขเพื่อป้องกันไม่ให้ง่วงนอนทั้งวันคือการปรับคุณภาพการนอนให้ดีขึ้น ด้วยวิธีการดังนี้ ปรับพฤติกรรมการนอน และตื่นให้เป็นเวลา ร่างกายของคนเรามีนาฬิกาชีวภาพอยู่ หากเราทำสิ่งใดเป็นประจำ  ร่างกายก็จะจดจำสิ่งนั้น ๆ ได้ พฤติกรรมการนอนก็เช่นกัน เมื่อคนเรานอน และตื่นเป็นเวลาต่อเนื่อง จนร่างกายเกิดความเคยชิน ก็จะมีคุณภาพในการนอนที่ดีขึ้น การนอนโดยไม่ต้องพึ่งพายานอนหลับ คือการนอนหลับที่ทำให้รู้สึกสดชื่น และควรทำให้เป็นนิสัย ปรับสภาพแวดล้อมห้องนอนใหม่ บางครั้งการง่วงนอนตลอดเวลา วิธีแก้คือปรับสภาพห้องนอนให้เหมาะกับการนอน ต้องทำความเข้าใจว่าสรีระร่างกายในขณะที่นอนหลับนั้นเป็นอย่างไร ซึ่งโดยมากห้องที่มืดสนิทจะช่วยให้นอนหลับได้สนิท ลองสำรวจห้องนอนดูว่ามีแสงจากภายนอกสอดส่องเข้ามาหรือไม่ เช่น แสงไฟจากถนน หรือบ้านข้างเคียง ก็ควรปรับโดยการติดผ้าม่าน หรือหาของมาปิดทางแสงให้ดีขึ้น สิ่งต่อมาที่ต้องพิจารณา คือ อุณหภูมิห้องควรเย็นสบาย ไม่ร้อนจนเกินไป โดยอุณหภูมิห้องที่ดีไม่ควรเกิน 27 องศาเซลเซียส หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และไม่ใช่ยานอนหลับถ้าไม่จำเป็น หลายคนเชื่อว่าการดื่ม จะทำให้หลับสบายขึ้น ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะเมื่อดื่มแอลกอฮอล์เข้าไปมากๆ จนหลับไปโดยไม่รู้ตัว หรือหลับยาวตลอดคืน กลับทำให้ตื่นขึ้นมาไม่สดชื่นในตอนเช้าได้ เพราะแอลกอฮอล์ได้รบกวนระบบการนอนของร่างกาย และยังทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำมากเกินไป เพราะถูกแทนที่ด้วยแอลกอฮอล์ ดังนั้นแม้จะหลับง่าย แต่ก็ไม่ทำให้รู้สึกสดชื่นได้ หากิจกรรมคลายเครียดก่อนนอน บางทีด้วยกิจกรรมในตอนกลางวัน อาจทำให้สมองหยุดคิด หรือพักจากเรื่องเครียด ๆ ไม่ได้ แม้แต่เวลานอนเพราะสมองยังยึดติดกับเรื่องเครียดๆ อยู่ เกิดอาการนอนไม่พอ แม้จะนอนมาก ๆ วิธีการที่ดีคือการนั่งสมาธิสักครู่ก่อนนอน หรือการอ่านหนังสือที่มีเนื้อหาเบาสมองก่อนนอน หรือฟังเพลงเบา ๆ ฟังสบายก็ได้ ดื่มน้ำให้เพียงพอ การดื่มน้ำให้เพียงพอในแต่ละวัน จะทำให้สมอง และร่างกายรู้สึกสดชื่นได้ ลดความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ และสมอง ลดความอ่อนเพลียที่เกิดขึ้นระหว่างวันได้ ออกกำลังกาย การออกกำลังกายที่ดีควรทำในตอนเช้า เพราะการออกกำลังกายในช่วงเวลานี้จะทำให้ร่างกายตื่นตัว ส่งผลให้รู้สึกสดชื่น กระฉับกระเฉงขึ้นและยังทำให้ร่างกายแข็งแรงอีกด้วย หากลองแก้ไขด้วยตนเองแล้ว พบว่าอาการไม่ดีขึ้นอาจแสดงว่ามีอาการผิดปกติทางร่างกาย จึงควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยร่างกาย เพื่อหาว่าง่วงนอนตลอดเวลา เกิดจากอะไร

อาหารที่ทำให้ตื่นตัว

หากคุณมีอาการง่วงนอนและเหนื่อยล้า อาหารบางชนิดอาจช่วยเพิ่มพลังงานตามธรรมชาติและเพิ่มความตื่นตัวได้ อาหารบางชนิดที่อาจช่วยต่อสู้กับอาการง่วงนอนมีดังนี้

1. คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน:

2. อาหารที่อุดมด้วยโปรตีน:

  • เนื้อไม่ติดมัน (ไก่งวง):โปรตีนช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ และเป็นแหล่งพลังงานที่ยั่งยืนมากขึ้น
  • ปลา (ปลาแซลมอน ปลาทูน่า):อุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 ปลาสามารถรองรับการทำงานของสมองและลดความเหนื่อยล้า
  • พืชตระกูลถั่ว (ถั่ว ถั่วเลนทิล):แหล่งโปรตีนจากพืชที่ดีซึ่งยังให้เส้นใยสำหรับพลังงานที่ยั่งยืนอีกด้วย

3. ผลไม้:

  • กล้วย: กล้วยมีน้ำตาลธรรมชาติ โพแทสเซียม และวิตามินบี 6 สูงช่วยเพิ่มพลังงานได้อย่างรวดเร็ว
  • ผลเบอร์รี่:อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระและเส้นใยอาหาร ผลเบอร์รี่สามารถช่วยสุขภาพและพลังงานโดยรวมได้
  • แอปเปิ้ล:น้ำตาลธรรมชาติและเส้นใยในแอปเปิ้ลให้พลังงานที่สม่ำเสมอ

4. ถั่วและเมล็ดพืช:

  • อัลมอนด์ วอลนัท และเมล็ดฟักทอง:เป็นแหล่งที่ดีของไขมัน โปรตีน และไฟเบอร์ที่ดีต่อสุขภาพ ซึ่งให้พลังงานที่ปล่อยออกมาอย่างยั่งยืน

5. ผลิตภัณฑ์นมหรือผลิตภัณฑ์นมทดแทน:

  • กรีกโยเกิร์ต:กรีกโยเกิร์ตอุดมไปด้วยโปรตีนและโปรไบโอติกเป็นของว่างที่น่าพึงพอใจและมีชีวิตชีวา
  • นม:มีส่วนผสมของโปรตีนและคาร์โบไฮเดรต ทำให้เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับพลังงานที่ยั่งยืน

6. ดาร์กช็อกโกแลต:

  • ดาร์กช็อกโกแลต (โกโก้ 70% ขึ้นไป):มีคาเฟอีนและธีโอโบรมีนในปริมาณเล็กน้อย ซึ่งช่วยเพิ่มพลังงานได้เล็กน้อย นอกจากนี้ยังมีสารต้านอนุมูลอิสระ

7. ชาเขียว:

  • ชาเขียว:มีคาเฟอีนและแอล-ธีอะนีนในปริมาณปานกลาง ซึ่งสามารถเพิ่มความตื่นตัวและมีสมาธิโดยไม่รู้สึกกระวนกระวายใจจากกาแฟ

8. น้ำ:

  • ภาวะขาดน้ำ:ภาวะขาดน้ำสามารถส่งผลต่อความรู้สึกเหนื่อยล้าได้ ดังนั้นการได้รับน้ำอย่างเพียงพอจึงเป็นสิ่งสำคัญในการรักษาระดับพลังงาน

9. ไข่:

  • ไข่:แหล่งโปรตีนและวิตามินบีที่ดี ไข่สามารถให้พลังงานที่ยั่งยืนได้ตลอดทั้งวัน

10. อาหารทั้งหมด:

  • ผัก:อาหารที่อุดมด้วยผักหลากสีสันจะให้วิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นซึ่งสนับสนุนสุขภาพและพลังงานโดยรวม

11. ปลามัน:

  • ปลาซาร์ดีน ปลาแมคเคอเรล:อุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 ปลาเหล่านี้สนับสนุนสุขภาพสมองและอาจช่วยปรับปรุงการทำงานของการรับรู้

12. เมล็ดเจีย:

  • เมล็ดเจีย:มีเส้นใยสูง กรดไขมันโอเมก้า 3 และโปรตีน เมล็ดเจียสามารถช่วยให้ระดับพลังงานคงที่ได้

13. ขมิ้น:

  • ขมิ้น:เคอร์คูมินสารประกอบออกฤทธิ์ในขมิ้นมีคุณสมบัติต้านการอักเสบซึ่งอาจช่วยให้อารมณ์และระดับพลังงานดีขึ้น

14. ผลไม้รสเปรี้ยว:

  • ส้ม เกรปฟรุต:ผลไม้เหล่านี้มีวิตามินซีสูง ช่วยต่อสู้กับความเหนื่อยล้าและเพิ่มระบบภูมิคุ้มกัน
สิ่งสำคัญคือต้องรักษาสมดุลอาหาร รักษาร่างกายให้ชุ่มชื้น และคำนึงถึงคุณภาพโดยรวมของมื้ออาหารเพื่อรองรับระดับพลังงานที่ยั่งยืน นอกจากนี้ การนอนหลับให้เพียงพอ การออกกำลังกายเป็นประจำ และการจัดการความเครียดเป็นปัจจัยสำคัญในการต่อสู้กับอาการง่วงนอนและรักษาความเป็นอยู่โดยรวม หากอาการง่วงยังคงอยู่หรือมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย ขอแนะนำให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเพื่อรับการประเมินอย่างละเอียด

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.healthline.com/health/drowsiness
  • https://medlineplus.gov/ency/article/003208.htm
  • https://www.webmd.com/drug-medication/medications-fatigue-and-sleepiness
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด