หากมีอาการปวดฟันแต่ไม่สามารถไปพบแพทย์ได้ทันที เราควรจะทำอย่างไร  หนึ่งในวิธีที่จะหาบรรเทาชั่วคราวคือการใช้ยาแก้ปวดตามร้านขายยานั่นเอง  ทุกวันนี้เรามีตัวเลือกมากมายที่ทันตแพทย์แนะนำเกี่ยวกับวิธีลดอาการปวดฟันว่าวิธีใดมีประสิทธิภาพมากที่สุด 

สาเหตุทั่วไปของอาการปวดฟัน

ยาแก้ปวดฟันจำหน่ายหน้าเคาน์เตอร์ยาสามารถใช้ในทันตกรรมเพื่อจัดการกับความเจ็บปวดจากปัญหาทางทันตกรรมได้หลายประการ:
  • ฟันคุด
  • โรคเหงือกและการติดเชื้อที่เหงือก
  • ฟันแตกหรือหัก
เมื่อต้องผ่าฟันคุด ควรเตรียมตัวอย่างไร อ่านต่อที่นี่

การเลือกยาแก้ปวดฟันที่เหมาะสมกับอาการ

 

การเลือกยาแก้ปวดที่จำหน่ายหน้าเคาน์เตอร์ยาที่เหมาะสมนั้น ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุของอาการปวดฟัน และที่สิ่งที่สำคัญที่ควรคำนึงถึงเป็นอย่างยิ่งคือยานั้นปลอดภัยและเหมาะกับผู้ใช้หรือไม่   การใช้ยาแก้ปวดบางชนิดอาจส่งผลข้างเคียงร้านแรงได้ เนื่องจากขึ้นอยู่กับปัจจัยทางสุขภาพของผู้ใช้  หากผู้ใช้กำลังใช้ยาที่ต้องสั่งโดยแพทย์ไม่ว่าจะเป็นยารักษาโรคประจำตัวใด ๆ  ผู้ใช้จำเป็นจะต้องระวังปฏิกิริยาระหว่างยาที่อาจเกิดขึ้น สิ่งที่ดีที่สึดคือการปรึกษาแพทย์ ทันตแพทย์ หรือเภสัชกรก่อนซื้อยายาแก้ปวดเอง และบอกเกี่ยวกับอาการและโรคประจำตัวรวมถึงยาที่รับประทานอยู่แล้กับแพทย์ทุกครั้งก่อนที่จะตัดสินใจรับยาแก้ปวดมารับประทานเพิ่ม  หลังจากนั้นควรปฏิบัติตามคำแนะนำปริมาณยาบนฉลาก หรือที่แพทย์แจ้งอย่างเคร่งครัด เนื่องจากยาทุกชนิดสามารถทำให้เกิดผลข้างเคียงที่ร้ายแรงและเพื่อป้องกันไม่ให้ได้รับยาเกินขนาดที่ควรรับประทาน  นอกจากนี้ ไม่ควรใช้ยาแก้ปวดใด ๆ เป็นเวลานาน และเมื่อมีโอกาสไปพบทันตแพทย์ได้เกี่ยวกับอาการปวดฟันแล้วควรไปให้เร็วที่สุด Tooth Pain Reliever

ยาแก้ปวดฟันมีอะไรบ้าง

ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen)

เป็นยาบรรเทาปวดปวดฟันที่จำหน่ายตามเคาน์เตอร์ยา ที่นิยมใช้กันมากที่สุดท โดยอยู่ภายใต้แบรนด์ที่เป็นที่รู้จักกันดี คือ Motrin โดยจะอยู่ในรูปแบบของยาเม็ด หรือแคปซูล   ไอบูโพรเฟน ซึ่งเป็น  ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID)สามารถระงับอาการปวดฟันได้ดีมากเนื่องจากช่วยลดการอักเสบ ซึ่งเป็นสาเหตุพบได้บ่อยในอาการปวดฟันส่วนใหญ่ ผู้ที่ใช้ยาบางชนิดไม่ควรใช้ไอบูโพรเฟน เช่นยาแอสไพริน  ยา ACE inhibitors, Lasix (furosemide) , Corticosteroids, Lithium และ Methotrexate  การใช้ไอบูโพรเฟนเป็นเวลานานอาจทำให้ระคายเคืองกระเพาะอาหาร และทำลายไต หรือตับได้ รวมไปถึงส่งผลให้เกิดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด 

อะเซตามิโนเฟน (Acetaminophen)

Tylenol เป็นแบรนด์ที่เรารู้จักกันดีของยา Acetaminophen เนื่องจากเป็นยาแก้ปวดยอดนิยมอีกตัวหนึ่งที่ใช้จัดการกับอาการปวดฟันเป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ไม่สามารถใช้ไอบูโพรเฟนได้ Acetaminophen มีอยู่ในรูปแบบของยาเม็ด แคปซูล เจล  Acetaminophen เป็นยาแก้ปวดแต่ไม่มีคุณสมบัติต้านการอักเสบ   หากรับประทานในปริมาณมากอาจส่งผลต่อตับ และไม่ควรดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในขณะที่ใช้ยาแก้ปวดชนิดนี้ เนื่องจากอาจทำให้ตับถูกทำลายได้ วิธีแก้ปวดฟันโดยไม่ใช้ยา ทำอย่างไร อ่านต่อที่นี่

วิธีบรรเทาอาการปวดอื่นๆ

นอกจากยาแก้ปวดแล้ว สิ่งที่สามารถทำได้เพื่อบรรเทาอาการปวดคือ :
  • หลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่เย็นหรือร้อนจัด รวมทั้งอาหารที่มีน้ำตาลหรือกรดมาก
  • ใช้ไหมขัดฟันบริเวณฟันที่ปวดเพื่อขจัดเศษอาหารที่อาจจะเพิ่มความเจ็บปวดได้
  • เวลานอนให้ยกศีรษะขึ้นสูงเพื่อคลายความกดดัน
  • บ้วนปากด้วยน้ำเกลืออุ่น ๆ 
  • ใช้กานพลูเพื่อบรรเทาอาการปวดฟัน
  • สามารถใช้ยาสีฟันสมุนไพรเพื่อบรรเทาอาการปวดฟัน

เมื่อไรที่ควรไปพบทันตแพทย์

ถ้าการรักษาที่บ้านและยาที่ซื้อเองตามร้านขายยาไม่สามารถบรรเทาอาการปวดฟันได้ หรือถ้าอาการปวดรุนแรงมาก ก็ควรไปพบทันตแพทย์ สัญญาณบางประการที่บ่งชี้ถึงความจำเป็นในการดูแลทันตกรรมโดยมืออาชีพ ได้แก่:
  1. อาการปวดถาวร:ความเจ็บปวดที่กินเวลามากกว่าหนึ่งหรือสองวันแม้จะได้รับการรักษาที่บ้านก็ตาม
  2. อาการบวม:อาการบวมที่เห็นได้ชัดเจนบริเวณฟันหรือใบหน้า
  3. ไข้:การมีไข้ร่วมกับอาการปวดฟัน ซึ่งอาจบ่งบอกถึงการติดเชื้อ
  4. เหงือกแดงหรือมีเลือดออก:เหงือกมีสีแดง บวม หรือมีเลือดออกมากเกินไป
  5. ของเหลวไหลออก:หนองหรือของเหลวอื่นๆ รอบฟันหรือเหงือก บ่งบอกถึงฝีหรือการติดเชื้อ
  6. ความยากลำบากในการกินหรือดื่ม:ความเจ็บปวดที่ขัดขวางการกินหรือดื่มตามปกติ

มาตรการป้องกัน

  1. สุขอนามัยช่องปากที่ดี:แปรงฟันวันละสองครั้งด้วยยาสีฟันฟลูออไรด์และใช้ไหมขัดฟันทุกวัน
  2. การตรวจสุขภาพฟันเป็นประจำ:ไปพบทันตแพทย์เป็นประจำเพื่อตรวจสุขภาพและทำความสะอาด
  3. หลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล:ลดการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลซึ่งอาจทำให้ฟันผุได้
  4. ใช้เฝือกฟัน:หากคุณกัดฟันในเวลากลางคืนหรือเล่นกีฬาที่มีการสัมผัสกัน ให้ใช้เฝือกฟันเพื่อปกป้องฟันของคุณ
การปฏิบัติตามเคล็ดลับเหล่านี้และขอรับการดูแลทันตกรรมจากมืออาชีพเมื่อจำเป็น จะทำให้คุณสามารถจัดการกับอาการปวดฟันได้อย่างมีประสิทธิภาพและรักษาสุขภาพช่องปากที่ดีได้
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด