อาการแพ้ถั่วเหลือง (Soy Allergy) : อาการ สาเหตุ การรักษา

ภาพรวม

แพ้ถั่วเหลือง (Soy Allergy) คือการที่ร่างกายมีปฎิกริยาตอบสนองกับผลิตภัณฑ์ถั่วเหลืองหลังจากรับประทานทำให้เกิดความผิดปกติทางร่างกายในรูปแบบของอาการแพ้ และในรายที่มีอาการแพ้ถั่วเหลืองอย่างรุนแรงอาจทำให้ถึงแก่ชีวิตได้

ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองทำจากพืชตระกูลถั่ว ซึ่งพืชตระกูลถั่วยังรวมถึง ถั่วดำหรือถั่วแดง ถั่วฝัก ถั่วเลนทิล และถั่วลิสง

ทั้งนี้ ถั่วเหลืองที่ยังไม่สุกเต็มที่เมื่อนำมาต้ม เราเรียกกันว่า ถั่วแระ ส่วนที่แก่และสุกเป็นเมล็ดสีเหลืองแล้ว มักนำมาทำเป็นเต้าหู้ แต่ก็สามารถนำมาทำเป็นอย่างอื่นได้ด้วย เช่น:

  • เครื่องปรุงรส เช่น ซอสถั่วเหลืองและมายองเนส

  • เครื่องปรุงรสทั้งแบบใช้ถั่วเหลืองโดยตรงหรือทำเทียม

  • น้ำซุปผักและแป้งถั่วเหลือง

  • ใช้แทนเนื้อสัตว์

  • ผสมกับเนื้อสัตว์แปรรูป เช่น นักเก็ตไก่

  • ทำเป็นอาหารแช่แข็ง

  • เป็นส่วนผสมในอาหารเอเชียส่วนใหญ่

  • ซีเรียลบางยี่ห้อ

  • เนยถั่ว

ดังนั้น ถั่วเหลืองจึงแทบจะพบได้ตามเกือบทุกผลิตภัณฑ์ ทำให้คนที่แพ้ถั่วเหลืองจำเป็นต้องมีความระมัดระวังเป็นอย่างมาก

อาการแพ้ถั่วเหลืองเกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเข้าใจผิดว่าโปรตีนจากถั่วเหลืองซึ่งจริง ๆ แล้วไม่มีอันตรายเลย เป็นสารอันตรายและรุกรานระบบในร่างกาย ดังนั้น ร่างกายจึงสร้างแอนติบอดีเพื่อต้านโปรตีนจากถั่วเหลืองขึ้น และเมื่อมีการบริโภคผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองครั้งต่อไป ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายจะปล่อยสาร เช่น ฮิสตามีน เพื่อ “ปกป้อง” ร่างกาย การปล่อยสารเหล่านี้ทำให้เกิดอาการแพ้

ถั่วเหลืองเป็น 1 ใน 8 อาหารที่ก่อภูมิแพ้ โดยอาหารอื่น ๆ ที่แก้ภูมิแพ้อีกได้แก่ นมวัว ไข่ ถั่วลิสง เมล็ดจากผลไม้ต่าง ๆ ข้าวสาลี ปลา และหอย อาการแพ้ถั่วเหลืองเป็นหนึ่งในอาการแพ้อาหารหลายชนิด ที่เกิดขึ้นในช่วงต้นของชีวิต โดยปกติสามารถเกิดขึ้นได้ก่อนอายุ 3 ขวบและมักจะหายได้เองเมื่ออายุ 10 ขวบ

อาการแพ้ถั่วเหลือง อาการ

อาการแพ้ถั่วเหลืองอาจมีตั้งแต่อาการเล็กน้อย ไปจนถึงอาการรุนแรง และอาจรวมถึง:

Soy Allergy

ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของถั่วเหลือง

เลซิตินถั่วเหลือง

เลซิตินถั่วเหลืองในวัตถุเจือปนอาหารปลอดสารพิษ ใช้ในอาหารที่มีส่วนผสมของสารช่วยแขวนลอยน้ำมันธรรมชาติ เลซิตินช่วยควบคุมการตกผลึกของน้ำตาลในช็อคโกแลต ช่วยยืดอายุการเก็บรักษาในผลิตภัณฑ์บางชนิด และลดการกระเด็นของน้ำมันขณะทอดอาหารบางชนิด งานวิจัยว่าด้วย อาการแพ้อาหารของมหาวิทยาลัยเนบราสก้าพบว่า คนส่วนใหญ่ที่แพ้ถั่วเหลืองอาจทนต่อเลซิตินจากถั่วเหลืองได้ เนื่องจากเลซิตินจากถั่วเหลืองมักมีโปรตีนถั่วเหลืองไม่เพียงพอที่ทำให้เกิดอาการแพ้

นมถั่วเหลือง

คาดกันว่า ทารกราว 15% ที่แพ้นมวัวก็จะแพ้ถั่วเหลืองด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ หากทารกยังดื่มนมสูตรที่มีส่วนผสมของโปรตีนเหล่านี้อยู่ ให้เปลี่ยนไปใช้สูตรที่ไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้แทน ในนมสูตรโปรตีนที่ผ่านการย่อย โปรตีนมีการย่อยสลาย จึงมีโอกาสน้อยที่จะก่อให้เกิดอาการแพ้ได้ ในสูตรอาหารที่ย่อยแล้ว โปรตีนจะยังอยู่ในรูปแบบปกติ และไม่น่าจะก่อให้เกิดปฏิกิริยาแพ้แต่อย่างใด

ซอสถั่วเหลือง

นอกจากถั่วเหลืองแล้ว ซีอิ๊วยังมีส่วนผสมของข้าวสาลี ซึ่งอาจทำให้ยากที่จะระบุได้ว่า อาการแพ้เกิดจากถั่วเหลืองหรือข้าวสาลี หากข้าวสาลีเป็นสารก่อภูมิแพ้ ให้ใช้โชยุทามาริแทนซอสถั่วเหลือง ซึ่งรสชาติก็คล้ายกับซอสถั่วเหลือง แต่มักไม่มีส่วนผสมของผลิตภัณฑ์จากข้าวสาลี ทั้งนี้ ควรใช้การตรวจผดหรือผื่นบนผิวหนัง หรือการตรวจอาการแพ้อื่น ๆ เพื่อตรวจดูว่า สารก่อภูมิแพ้ชนิดใดทำให้เกิดอาการแพ้

ทั้งนี้ น้ำมันถั่วเหลืองมักไม่มีโปรตีนจากถั่วเหลืองจริง ๆ ซึ่งแน่นอนว่า จะปลอดภัยสำหรับผู้ที่แพ้ถั่วเหลือง อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษาแพทย์ก่อนบริโภคเสมอ

นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญยังระบุอีกว่า การที่คนแพ้ถั่วเหลืองจะแพ้เฉพาะถั่วเหลืองอย่างเดียวเท่านั้นเป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้องเสมอไป  ซึ่งที่จริงแล้ว คนที่แพ้ถั่วเหลืองก็มักมีอาการแพ้ถั่วลิสง แพ้นมวัว หรือแพ้เกสรดอกเบิร์ชด้วย

ทั้งนี้ จากข้อมูลปัจจุบัน มีโปรตีนที่ก่อให้เกิดอาการแพ้อย่างน้อย 28 ชนิดในถั่วเหลือง อย่างไรก็ตาม อาการแพ้ส่วนใหญ่เกิดจากผลิตภัณฑ์ไม่กี่ประเภท ทั้งนี้ หากมีอาการแพ้ถั่วเหลือง ให้ตรวจสอบฉลากผลิตภัณฑ์ถั่วเหลืองว่ามีถั่วเหลืองรูปแบบใดบ้าง ได้แก่ :

  • แป้งถั่วเหลือง

  • เส้นใยถั่วเหลือง

  • โปรตีนถั่วเหลือง

  • เมล็ดถั่วเหลือง

  • ซอสถั่วเหลือง

  • อาหารหมักจากถั่วเมล็ดแห้ง

  • เต้าหู้

การวินิจฉัยและการตรวจอาการแพ้

มีการตรวจและทดสอบหลายวิธีเพื่อยืนยันอาการแพ้ถั่วเหลืองและอาหารอื่น ๆ ได้ ทั้งนี้ แพทย์อาจเลือกวิธีการตรวจอย่างใดอย่างหนึ่งหากสงสัยว่ามีอาการแพ้ถั่วเหลืองหรือไม่:

  • การทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนังด้วยวิธีสะกิด: วิธีนี้ จะเป็นการหยดสารก่อภูมิแพ้ที่สงสัยลงบนผิวหนัง แล้วใช้เข็มทิ่มผิวหนังชั้นบนสุดเพื่อให้สารก่อภูมิแพ้จำนวนเล็กน้อยซึมเข้าสู่ใต้ผิวหนังได้ หากแพ้ถั่วเหลืองจะมีตุ่มสีแดงคล้ายกับยุงกัดที่จุดของผดหรือผื่นที่เกิดขึ้นจากการทดสอบ

  • การทดสอบภูมิแพ้จากใต้ผิวหนัง: การทดสอบนี้คล้ายกับการทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนังด้วยวิธีสะกิด ยกเว้นว่า วิธีนี้จะใช้วิธีฉีดสารก่อภูมิแพ้จำนวนมากเข้าไปใต้ผิวหนังแทน ทั้งนี้ วิธีนี้อาจได้ผลดีกว่าการทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนังด้วยวิธีสะกิดเพื่อตรวจหาอาการแพ้ นอกจากนี้ หากการทดสอบอื่น ๆ ไม่ได้ให้คำตอบที่ชัดเจน ก็จะมีการทดสอบภูมิแพ้จากใต้ผิวหนัง

  • การตรวจเลือดเพื่อหาอิมมูโนโกลบูลินที่ไวต่อสารก่อภูมิแพ้ (RAST) บางครั้ง วิธีการตรวจเลือดจะใช้กับทารกที่อายุน้อยกว่าหนึ่งขวบ เนื่องจากผิวหนังของทารกยังไม่สามารถตอบสนองการทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนังด้วยวิธีสะกิด การตรวจเลือดเพื่อหาอิมมูโนโกลบูลินที่ไวต่อสารก่อภูมิแพ้จะวัดปริมาณของแอนติบอดี IgE ในเลือดได้

  • การทดสอบการแพ้อาหาร: การทดสอบการแพ้อาหาร ถือเป็นวิธีที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งในการทดสอบการแพ้อาหาร โดยวิธีทดสอบนี้ ผู้ที่เข้ารับการทดสอบจะค่อย ๆ ได้รับสารก่อภูมิแพ้ที่สงสัยในปริมาณที่เพิ่มขึ้น ภายใต้การดูแลจากแพทย์โดยตรง ซึ่งแพทย์สามารถติดตามอาการและให้การรักษาในกรณีฉุกเฉินได้หากจำเป็น

  • การงดรับประทานอาหารที่สงสัยว่าเป็นสาเหตุของอาการแพ้: ด้วยวิธีนี้ ผู้ที่มีอาการแพ้จะต้องหยุดกินอาหารที่ต้องสงสัยเป็นเวลา 2-3 สัปดาห์ก่อน แล้วค่อย ๆ เพิ่มกลับเข้าไปในหมู่อาหารที่กิน ทั้งนี้ ให้ผู้ที่มีอาการแพ้อาหารจดบันทึกอาการต่าง ๆ ไว้ด้วย

การรักษาอาการแพ้ถั่วเหลือง

การรักษาอาการแพ้ถั่วเหลืองประการสุดท้ายคือ การเลี่ยงไม่ทานถั่วเหลือง และผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองทั้งหมด ทั้งนี้ ผู้ที่มีอาการแพ้ถั่วเหลืองและผู้ปกครองของเด็กที่แพ้ถั่วเหลืองต้องอ่านฉลากเพื่อทำความคุ้นเคยกับส่วนผสมที่มีถั่วเหลืองในอาหาร และนอกจากนี้ ควรสอบถามถึงส่วนผสมในรายการอาหารที่เสิร์ฟในร้านอาหารด้วย

ปัจจุบัน ยังมีการวิจัยอย่างต่อเนื่อง ถึงศักยภาพของโปรไบโอติกในการป้องกันโรคภูมิแพ้ หอบหืด และโรคเรื้อนกวาง ทั้งนี้ ยังมีการศึกษาในห้องปฏิบัติการที่พอดูมีความหวังว่า จะช่วยผู้ที่มีอาการแพ้อาหารเหล่านี้ได้ แต่การศึกษาก็ยังมีไม่เพียงพอ

นอกจากนี้ ให้ลองปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านโรคภูมิแพ้ดูว่า โปรไบโอติกจะมีประโยชน์กับผู้ที่มีอาการแพ้โปรตีนหรือทารกที่มีอาการแพ้โปรตีนหรือไม่

ภาวะแทรกซ้อนของอาการแพ้ถั่วเหลือง

การแพ้ถั่วเหลืองเป็นปฏิกิริยาการแพ้โปรตีนที่พบในถั่วเหลือง อาจมีตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงรุนแรง ภาวะแทรกซ้อนจากการแพ้ถั่วเหลืองอาจเกิดขึ้นได้หากบุคคลที่เป็นภูมิแพ้สัมผัสกับโปรตีนจากถั่วเหลือง ทั้งโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัว ต่อไปนี้เป็นภาวะแทรกซ้อนและข้อควรพิจารณาที่อาจเกิดขึ้นจากการแพ้ถั่วเหลือง:
  • ปฏิกิริยาการแพ้:ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นทันทีและรุนแรงที่สุดของการแพ้ถั่วเหลืองคือปฏิกิริยาการแพ้ อาการอาจแตกต่างกันไปตามความรุนแรงและอาจรวมถึงลมพิษ อาการคัน บวม ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง หายใจมีเสียงหวีด หายใจลำบาก และภูมิแพ้ (ปฏิกิริยาภูมิแพ้ที่รุนแรงและเป็นอันตรายถึงชีวิต) ภาวะภูมิแพ้ต้องได้รับการดูแลจากแพทย์ทันที
  • การปนเปื้อน:การปนเปื้อนเกิดขึ้นเมื่อโปรตีนจากถั่วเหลืองถูกนำเข้าไปในอาหารที่ไม่ควรมีถั่วเหลืองโดยไม่ได้ตั้งใจ สิ่งนี้สามารถเกิดขึ้นได้ในโรงงานแปรรูปอาหาร ร้านอาหาร หรือครัวที่บ้าน ผู้แพ้ถั่วเหลืองต้องระมัดระวังในการอ่านฉลากอาหารและถามถึงวิธีการเตรียมอาหารเมื่อรับประทานอาหารนอกบ้าน
  • ส่วนผสมของถั่วเหลืองที่ซ่อนอยู่:ถั่วเหลืองสามารถพบได้ในสถานที่ที่ไม่คาดคิด รวมถึงอาหารแปรรูป ขนมอบ ซอส น้ำสลัด และแม้แต่ยาและอาหารเสริมบางชนิด การอ่านฉลากอาหารอย่างระมัดระวังถือเป็นสิ่งสำคัญเพื่อหลีกเลี่ยงแหล่งถั่วเหลืองที่ซ่อนอยู่
  • ข้อกังวลด้านโภชนาการ:ถั่วเหลืองเป็นแหล่งโปรตีนและสารอาหารอื่นๆ ดังนั้นผู้ที่แพ้ถั่วเหลืองจึงจำเป็นต้องหาสารอาหารเหล่านี้จากแหล่งอื่นในอาหาร พวกเขาอาจต้องทำงานร่วมกับผู้ให้บริการด้านสุขภาพหรือนักโภชนาการเพื่อให้แน่ใจว่าพวกเขาได้รับอาหารที่สมดุล
  • ผลกระทบทางอารมณ์และสังคม:การจัดการกับการแพ้อาหารอาจเป็นเรื่องท้าทายทางอารมณ์ ผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ถั่วเหลืองอาจประสบกับความเครียด วิตกกังวล หรือโดดเดี่ยวทางสังคม เนื่องจากกังวลเกี่ยวกับการสัมผัสถั่วเหลืองโดยไม่ได้ตั้งใจ การสนับสนุนจากเพื่อน ครอบครัว และผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพถือเป็นสิ่งสำคัญในการรับมือกับแง่มุมทางอารมณ์เหล่านี้
  • การใช้อะดรีนาลีน:บุคคลที่มีประวัติอาการแพ้อย่างรุนแรงต่อถั่วเหลืองอาจกำหนดให้ใช้เครื่องฉีดอะพิเนฟรีน (เช่น อีพิเพน) การรู้วิธีใช้และการพกพาตลอดเวลาถือเป็นสิ่งสำคัญในการตอบสนองต่ออาการแพ้อย่างรุนแรงได้อย่างรวดเร็ว
  • โรคหอบหืดและภูมิแพ้อื่นๆ:ผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ถั่วเหลืองอาจมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคหอบหืดหรือแพ้อาหารอื่นๆ พวกเขาควรระมัดระวังในการติดตามสุขภาพของตนเองและขอคำแนะนำจากแพทย์หากมีอาการภูมิแพ้หรือปัญหาระบบทางเดินหายใจอื่นๆ
  • ความก้าวหน้าในการรักษา:สิ่งสำคัญที่ควรทราบคือการวิจัยที่กำลังดำเนินอยู่อาจนำไปสู่การรักษาหรือการรักษาแบบใหม่สำหรับการแพ้อาหาร รวมถึงการแพ้ถั่วเหลือง บุคคลที่เป็นโรคภูมิแพ้ถั่วเหลืองควรรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาในสาขานี้และหารือเกี่ยวกับทางเลือกการรักษาที่เป็นไปได้กับผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของตน
หากคุณหรือคนที่คุณรู้จักมีอาการแพ้ถั่วเหลือง จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำงานอย่างใกล้ชิดกับผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพหรือผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้เพื่อพัฒนาแผนการจัดการ เรียนรู้วิธีรับรู้และตอบสนองต่ออาการแพ้ และทำการปรับเปลี่ยนอาหารที่จำเป็นเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนและรักษาความปลอดภัย และวิถีชีวิตที่มีสุขภาพดี

สรุป

เด็กที่มีอาการแพ้ถั่วเหลืองอาจหายเองได้เมื่ออายุได้ 10 ขวบ สิ่งสำคัญคือ ผู้ที่แพ้จะต้องรับรู้อาการแสดงเมื่อมีอาการแพ้ถั่วเหลืองได้ และระมัดระวังเรื่องอาหารการกินเพื่อหลีกเลี่ยงปฏิกิริยาแพ้ที่อาจเกิดขึ้นได้ อาการแพ้ถั่วเหลืองมักเกิดควบคู่กับอาการแพ้อื่น ๆ ในบางกรณี อาการแพ้ถั่วเหลืองอาจทำให้เกิดอาการแพ้ชนิดรุนแรง ซึ่งเป็นปฏิกิริยาที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้


นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/soy-allergy/symptoms-causes/syc-20377802

  • https://www.webmd.com/allergies/soy-allergy

  • https://www.foodallergy.org/living-food-allergies/food-allergy-essentials/common-allergens/soy

  • https://kidshealth.org/en/parents/soy-allergy.html


เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด