พีอีทีสแกน (PET Scan) – ขอบเขตการใช้งาน, ความเสี่ยง 

ผู้เขียน Dr. Sommai Kanchana
0
พีอีที สแกน

PET scan คือ อะไร

Positron Emission Tomography หรือ PET Scan คือ การตรวจโรคโดยการถ่ายภาพที่ช่วยทำให้แพทย์สามารถตรวจสอบหาโรคในร่างกายได้การตรวจสแกนนี้จะใช้สารย้อมพิเศษที่มีสารกัมมันตรังสีเป็นส่วนประกอบ ซึ่งสารนี้สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ด้วยการกลืน สูดดม หรือฉีดเข้าสู่เส้นเลือดที่แขน ซึ่งขึ้นอยู่กับต้องการตรวจส่วนไหนของร่างกาย จากนั้นเนื้อเยื่อ และอวัยวะบางส่วนก็จะดูดซึมสารนี้ เมื่อเข้าเครื่องเพ็ทสแกน สารดังกล่าวนี้จะช่วยทำให้แพทย์มองเห็นการทำงานของอวัยวะ และเนื้อเยื่อว่าเป็นอย่างไรบ้าง สารติดตามนี้จะไปสะสมอยู่ในบริเวณที่มีการทำงานของเคมีสูงสุด ซึ่งเป็นบริเวณที่เชื้อโรคแสดงตัวเป็นจุดสว่างให้เห็นได้จากเครื่อง PET Scan      เครื่อง PET Scan สามารถวัดการไหลเวียนของเลือด การใช้ออกซิเจน การใช้น้ำตาลในร่างกาย และอื่นๆอีกมากมาย การตรววจ PET Scan เป็นการตรวจแบบคนไข้นอก นั่นหมายความว่าคุณสามารถกลับบ้านได้ภายในวันเดียวกันหลังการตรวจเสร็จสิ้น ในสหรัฐอเมริกามีการตรวจ PET Scans ราว 2 ล้านคนในแต่ละปี

ทำไมจึงต้องตรวจ PET Scan  

แพทย์อาจสั่งตรวจ PET Scan เพื่อตรวจการไหลเวียนของเลือด การใช้ออกซิเจน หรือดูการเผาผลาญของอวัยวะ และเนื้อเยื่อ การตรวจด้วย PET Scan จะแสดงให้เห็นปัญหาในระดับเซลล์ ให้ภาพที่ชัดเจนเพื่อให้แพทย์สามารถเห็นภาพของโรคทั้งหมดได้อย่างสมบูรณ์ การตรวจด้วย PET Scans มักนำมาใช้ในการตรวจโรค เช่น :
  • โรคมะเร็ง
  • มีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ
  • โรคทางสมอง รวมไปถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับระบบประสาทส่วนกลาง (CNS)    

มะเร็ง

เซลล์มะเร็งมีอัตราการเผาผลาญสูงมากกว่าเซลล์ที่ไม่ได้เป็นเซลล์มะเร็ง เพราะเหตุนี้จึงทำให้เกิดการทำงานทางเคมีในระดับสูง เซลล์มะเร็งนี้ก็จะไปแสดงตัวเป็นจุดสว่างให้เห็นบนเครื่อง PET Scans เพราะ เช่น นี้เองเครื่อง PET Scans จึงมีประโยชน์สำหรัยการตรวจหาโรคมะเร็ง และเพื่อ:
  • มองหาว่ามีการกระจายตัวของมะเร็ง หรือไม่
  • มองหาว่าการรักษามะเร็งได้ผล หรือไม่
  • เพื่อหาว่ามะเร็งกลับมากำเริบอีก หรือไม่
แต่อย่างไรก็ตาม การสแกนนี้ควรอ่านผลอย่างระมัดระวังด้วยแพทย์ อาจเป็นไปได้ว่าโรคที่ไม่ใช่มะเร็งบางครั้งอาจดูคล้ายมะเร็งได้บนเครื่องสแกน มะเร็งชนิดเป็นก้อนอาจไม่ปรากฎให้เห็นบนเครื่อง PET Scans   

ปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ

การตรวจด้วย PET Scans จะแสดงให้เห็นพื้นที่การไหลเวียนของเลือดในหัวใจที่ลดลงได้ เพราะเนื้อเยื่อหัวใจของคนที่สุขภาพดีจะเห็นสารติดตามที่รับเข้าไปได้มากกว่าเนื้อเยื่อที่สุขภาพไม่ดี หรือเนื้อเยื่อที่มีการไหลเวียนเลือดลดต่ำลง ด้วยสีที่แตกต่าง และระดับความสว่างที่ปรากฎบนเครื่องสแกนจะสามารถบอกระดับความแตกต่างการทำงานของเนื้อเยื่อ ซึ่งจะช่วยให้แพทย์ และคนไข้สามารถตัดสินใจได้ว่าควรทำอย่างไรเพื่อได้ผลดีที่สุดต่อไป

โรคทางสมอง

กลูโคสคือ พลังงานหลักของสมอง ในระหว่างการทำ PET Scans สารติดตามที่ได้รับเข้าไปจะไป “ติด”กับสารประกอบ เช่นกลูโคส ด้วยการตรวจจับกัมมันตรังสีกลูโคส การตรวจ PET Scan จะสามารถตรวจจับได้ว่ามีพื้นที่ในสมองส่วนไหนมีการใช้กลูโคสในอัตราที่สูงที่สุดได้ แพทย์จะดูการสแกนเพื่อดูการทำงานของสมองว่าเป็นอย่างไร และเพื่อตรวจเช็คสิ่งผิดปกติทั้งหมดที่เกิดขึ้น PET Scans ถูกนำมาช่วยในการวินิจฉัย และจัดการกับโรคทางระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งรวมไปถึง:

การตรวจ PET Scan เทียบกับการตรวจอื่นๆเป็นอย่างไร 

การตรวจ PET Scans จะแสดงให้เห็นการเปลี่บนแปลงการเผาผลาญที่เกิดขึ้นในระดับเซลล์ในอวัยวะ หรือเนื้อเยื่อ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญเพราะโรคมักเกิดขึ้นในระดับเซลล์ การตรวจด้วยซีทีสแกน และเอ็มอาร์ไอจะไม่สามารถแสดงให้เห็นปัญหาในระดับเซลล์ได้ การตรวจด้วย PET Scans สามารถตรวจจับการเปลี่ยนแปลงได้ตั้งแต่ในระยะเริ่มต้น ในขณะที่ซีทีสแกน และเอ็มอาร์ไอจะสามารถตรวจจับเจอได้เฉพาะในช่วงหลังเท่านั้น เมื่อโรคเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของอวัยวะ หรือเนื้อเยื่อ การตรวจจับอาการเจ็บป่วยที่ระดับเซลล์จะทำให้แพทย์เห็นความชัดเจนของโรคได้อย่างสมบูรณ์ได้ดีที่สุด เช่น: หลายๆรายอาจต้องตรวจร่วมกันทั้ง เพ็ทสแกนกับซีที หรือเพ็ทสแกนกับเอ็มอาร์ไอ 

PET Scan  

ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการตรวจ PET Scan คือ อะไร  

การตรวจ PET Scan คือ สารติดตามกัมมันตรังสี แต่เป็นสารกัมมันตรังสีที่ส่งผลอันตรายได้น้อยมาก ปริมาณที่ใช้น้อยมากทำให้เกิดความเสี่ยงต่อร่างกายต่ำ   ความเสี่ยงของการตรวจนี้มีน้อยมากเมื่อเทียบกับประโยชน์จากการได้รับเพื่อการวินิจฉัยโรคที่รุนแรง

คนที่มีภาวะภูมิแพ้ และโรคประจำตัวอื่นๆ

การเกิดปฏิกิริยาแพ้ต่อสารติดตามอาจมีโอกาสเกิดขึ้นได้ คนที่แพ้ไอโอดีน แอสปาร์แตม หรือแซ็กคาริน ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ ปฏิกิริยาแพ้จากสารติดตามไอโอดีนอาจเกิดขึ้นกับคนที่มีภาวะ เช่น :

หญิงตั้งครรภ์

สารกัมมันตรังสีไม่ปลอดภัยสำหรับการพัฒนาการของตัวอ่อน หากมีการตั้งครรภ์ หรือสงสัยว่าตั้งครรภ์ ไม่ควรทำการตรวจด้วย PET Scan    

การตรวจ PET Scan ควรเตรียมตัวอย่างไร 

แพทย์จะแนะนำการเตรียมตัวให้คนไข้ก่อนการตรวจอย่างละเอียด แจ้งให้แพทย์ทราบว่ากำลังทานยาตามแพทย์สั่ง หรือยาที่ซื้อเองตามร้านขายทั่วไป หรืออาหารเสริม

สองสามวันก่อนการตรวจ

อาจต้องเว้นการทำกิจกรรมทางร่างกายแบบหนัก เช่น การออกกำลังกาย เป็นเวลา 24-48 ชั่วโมงก่อนการตรวจ

หนึ่งวันก่อนการตรวจ

ก่อนการนัดตรวจ 24 ชั่วโมงแพทย์จะขอให้คนไข้ทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำ ไม่ทานน้ำตาล อาหาร และเครื่องดื่มที่ควรหลีกเลี่ยงคือ :
  • ซีเรียล
  • พาสต้า
  • ขนมปัง
  • ข้าว
  • นม และโยเกิร์ต 
  • แอลกอฮอล์
  • เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
  • ลูกอม รวมถึงหมากฝรั่ง
อาหารที่สามารถรับประทานได้ เช่น เนื้อสัตว์ เต้าหู้ ถั่ว และผักที่มีแป้งต่ำ

ก่อนการตรวจ

หากคุณต้องใช้ยาระงับความรู้สึกในการตรวจ ห้ามรับประทานอาหาร และน้ำทุกชนิดตลอดช่วงเช้าในวันที่ตรวจ อาจจิบน้ำได้เล็กน้อยหากจำเป็นต้องทานยา แต่หากไม่ต้องได้รับยาระงับความรู้สึก ก็ยังต้องหยุดการรับประทานอาหาร และน้ำทุกชนิดก่อนการตรวจหกชั่วโมง ต้องเปลี่ยนเสื้อผ้าเป็นชุดของทางโรงพยาบาล เพราะโลหะจะส่งผลต่อการตรวจ คุณจึงจำเป็นต้องถอดเครื่องประดับที่สวมใส่ออกก่อน 

ข้อควรพิจารณาอื่นๆ 

ควรแจ้งให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับโรคประจำตัวที่มี:
  • หากกำลังตั้งครรภ์ หรือสงสัยว่ากำลังตั้งครรภ์ควนแจ้งให้แพทย์ทราบ เพราะการตรวจนี้ไม่ปลอดภัยสำหรับเด็กในครรภ์
  • หากกำลังให้นมบุตร อาจต้องปั้มน้ำนมเก็บไว้ล่วงหน้าช่วง 24 ชั่วโมงในการตรวจ คุณจะไม่สามารถให้นมบุตรได้ภายใน 24 ชั่วโมงหลังการตรวจ
  • หากคุณเป็นโรคเบาหวาน คุณอาจได้รับคำแนะนำพิเศษในการเตรียมตัวเพราะการอดอาหารก่อนการตรวจอาจส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด

การตรวจ PET Scan ทำอย่างไร 

ก่อนการตรวจ คุณจะได้รับสารติดตามผ่านทางเส้นเลือดที่บริเวณแขน ผ่านทางการดื่ม หรือเป็นแก๊สสูดดม ร่ากายจะใช้เวลาในการดูดซึมสารติดตาม จึงต้องใช้เวลารอคอยราวหนึ่งชั่วโมงก่อนเริ่มการสแกน ระยะเวลาในการดูดซึมสารติดตามเต็มที่ของร่างกายจะขึ้นอยู่กับบริเวณของร่างกายที่ต้องการสแกน ในขณะที่รอคอยเวลา คุณจำเป็นต้องไม่เคลื่อนไหวมาก ต้องนอนพัก และพยายามอยู่เฉยๆ หากคุณต้องสแกนที่ส่วนสมอง อาจต้องหลีกเลี่ยงการดูโทรทัศน์ ฟังเพลง หรืออ่านหนังสือ ถัดมา เมื่อถึงเวลาสแกนอาจใช้เวลาราว 30-45 นาที ด้วยการนอนบนโต๊ะแคบๆที่ติดมากับเครื่องสแกน ซึ่งเป็นอุโมงค์ที่มีโต๊ะที่จะค่อยๆเลื่อนเข้าไปในเครื่องเพื่อทำการสแกน คุณต้องนอนนิ่งๆในระหว่างการสแกน ช่างเทคนิคจะคอยบอกให้คุณนอนนิ่งๆ อาจต้องมีการกลั้นหายใจบ้างในระหว่างการตรวจ คุณจะได้ยินเสียงหึ่งๆ และเสียงคลิ๊กดังเป็นระยะในระหว่างตรวจ เมื่อภาพที่ต้องการถูกเก็บบันทึกไว้สมบูรณ์แล้ว เครื่องจะเลื่อนตัวคุณออกมาเป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการในการตรวจ

จะเกิดอะไรขึ้นหลังการตรวจ  

หลังการตรวจ คุณสามารถกลับบ้านได้เลยเว้นเสียแต่ว่าแพทย์จะแนะนำอย่างอื่นเพิ่มเติม แต่อย่างไรก็ตาม เพราะสารกัมมันตรังสีจะยังคงมีค้างอยู่ในร่างกายอีกราว 12 ชั่วโมง คุณอาจต้องถูกจำกัดการสัมผัสใกล้ชิดกับหญิงตั้งครรภ์ และทารกในช่วงระหว่างเวลาดังกล่าว ควรดื่มน้ำเยอะๆหลังการตรวจเพื่อเป็นการขับสารติดตามนี้ออกจากร่างกาย ตามปกติแล้วสารนี้จะออกจากร่างกายเราได้หมดภายในสองวัน ในขณะเดียวกัน ผู้เชี่ยวชาญก็จะแปลงผลการตรวจส่งให้แพทย์เพื่อการวินิจฉัยโรค ผลอาจพร้อมภายในเวลาสองวันทำการ และแพทย์ก็จะแจ้งผลการตรวจให้คุณทราบต่อไป

ข้อควรรู้เกี่ยวกับ PET

Positron Emission Tomography หรือ PET scan เป็นเทคนิคการถ่ายภาพทางการแพทย์ที่ช่วยให้แพทย์สามารถสังเกตได้ว่ากลูโคสและสารประกอบอื่น ๆ ถูกเผาผลาญในร่างกายอย่างไร ต่อไปนี้เป็นข้อเท็จจริงสำคัญบางประการเกี่ยวกับการสแกน PET:
  • หลักการของการถ่ายภาพ PET:
      • การสแกน PET เกี่ยวข้องกับการฉีดสารกัมมันตภาพรังสีจำนวนเล็กน้อย (โดยปกติจะอยู่ในรูปของกลูโคส) เข้าไปในร่างกาย สารนี้จะปล่อยโพซิตรอนซึ่งตรวจพบโดยเครื่องสแกน PET
  • การตรวจจับการสลายตัวของสารกัมมันตภาพรังสี:
      • เมื่อโพซิตรอนที่ปล่อยออกมาจากสารกัมมันตภาพรังสีสัมผัสกับอิเล็กตรอนในร่างกาย พวกมันจะทำลายล้างซึ่งกันและกัน ทำให้เกิดรังสีแกมมา เครื่องสแกน PET จะตรวจจับรังสีแกมมาเหล่านี้และใช้ข้อมูลเพื่อสร้างภาพที่มีรายละเอียดของโครงสร้างภายในและการทำงานของอวัยวะต่างๆ
  • กิจกรรมการเผาผลาญ:
      • การสแกน PET มีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับการประเมินกิจกรรมการเผาผลาญ เนื่องจากสารที่ฉีดมักจะอยู่ในรูปแบบหนึ่งของกลูโคส การสแกนจึงเน้นบริเวณที่มีกิจกรรมการเผาผลาญสูง เช่น เนื้องอก ซึ่งมักจะใช้กลูโคสมากกว่าเนื้อเยื่อโดยรอบ
  • การวินิจฉัยและระยะมะเร็ง:
      • การสแกน PET มักใช้ในด้านเนื้องอกวิทยาเพื่อตรวจหาและระยะของมะเร็งชนิดต่างๆ สามารถช่วยระบุตำแหน่งและขอบเขตของการเจริญเติบโตของมะเร็ง ช่วยในการวางแผนและติดตามการรักษา
  • การใช้งานทางระบบประสาท:
      • การสแกน PET ใช้ในประสาทวิทยาเพื่อศึกษาการทำงานของสมองและตรวจหาความผิดปกติ มีประโยชน์ในการวินิจฉัยภาวะต่างๆ เช่น โรคอัลไซเมอร์ โรคลมบ้าหมู และเนื้องอกบางชนิด
  • การถ่ายภาพหัวใจ:
      • การสแกน PET สามารถประเมินการไหลเวียนของเลือดไปยังกล้ามเนื้อหัวใจและระบุบริเวณที่มีการไหลเวียนไม่ดี ข้อมูลนี้มีความสำคัญในการประเมินสภาวะหัวใจและหลอดเลือดและแนวทางการแทรกแซง เช่น การผ่าตัดขยายหลอดเลือดหรือการผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจ
  • การวิจัยและพัฒนายา:
      • การถ่ายภาพด้วย PET มีบทบาทสำคัญในการวิจัยทางการแพทย์และการพัฒนายา นักวิจัยใช้การสแกน PET เพื่อศึกษาผลกระทบของยาใหม่ต่ออวัยวะต่างๆ และกระบวนการเผาผลาญ
  • การได้รับรังสี:
      • การสแกน PET เกี่ยวข้องกับการสัมผัสกับรังสีไอออไนซ์เนื่องจากการใช้ตัวติดตามกัมมันตภาพรังสี ปริมาณรังสีถือว่าปลอดภัยสำหรับวัตถุประสงค์ในการวินิจฉัย แต่โดยทั่วไปสตรีมีครรภ์ควรหลีกเลี่ยงการสแกน PET เว้นแต่จำเป็นจริงๆ
  • ใช้ร่วมกับ CT หรือ MRI:
      • การสแกน PET มักใช้ร่วมกับการสแกนด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) หรือการสแกนด้วยคลื่นสนามแม่เหล็ก (MRI) เพื่อให้ข้อมูลทั้งทางกายวิภาคและการทำงาน การรวมกันนี้ช่วยเพิ่มความแม่นยำในการวินิจฉัยและการวางแผนการรักษา
  • การเตรียมผู้ป่วย:
    • ก่อนการสแกน PET ผู้ป่วยมักจะได้รับคำสั่งให้อดอาหารในช่วงระยะเวลาหนึ่งเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำ เนื่องจากระดับน้ำตาลในเลือดสูงอาจรบกวนการตรวจจับสารกัมมันตภาพรังสีที่ฉีดเข้าไป
สิ่งสำคัญที่ควรทราบคือการสแกน PET เป็นเครื่องมือวินิจฉัยที่มีประสิทธิภาพ แต่การใช้งานจะขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ป่วยแต่ละรายและคำถามทางการแพทย์เฉพาะที่ทีมดูแลสุขภาพระบุ ปรึกษากับผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของคุณเสมอสำหรับข้อมูลส่วนบุคคลและคำแนะนำเกี่ยวกับขั้นตอนการถ่ายภาพทางการแพทย์

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.nhs.uk/conditions/pet-scan/
  • https://www.mayoclinic.org/tests-procedures/pet-scan/about/pac-20385078
  • https://medlineplus.gov/ency/article/003827.htm
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด