เลือดข้น (Polycythemia Vera) : อาการ สาเหตุ การรักษา

เลือดข้นคืออะไร ?

เลือดข้น (Polycythemia vera) คือมะเร็งเม็ดเลือดที่หาได้ยาก เนื่องจากร่างกายมีการสร้างเม็ดเลือดแดงที่มากเกินไป โดยที่เซลล์เม็ดเลือดแดงจะพาออกซิเจนไปทั่วร่างกาย เมื่อคุณมีเม็ดเลือดแดงมากเกินไป เลือดของคุณจะข้นขึ้นและไหลช้าลง เซลล์เม็ดเลือดแดงสามาถรวมตัวกันเป็นก้อนอยู่ในหลอดเลือดของคุณได้ ถ้าหากไม่ได้รับการรักษา อาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ เมื่อเลือดไหลเวียนช้า ปริมาณออกซิเจนที่ไปถึงสมองและอวัยวะสำคัญอื่นๆก็จะลดลงไปด้วย อีกทั้งยังทำให้การไหลเวียนของเลือดภายในหลอดเลือดไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์ ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองสมองจนสามารถเสียชีวิตได้ ถ้าปล่อยไว้ในระยะยาวอาจเกิดแผลในกระดูกสันหลัง นำไปสู่มะเร็งเม็ดเลือดขาวได้ โรคเลือดข้นไม่สามารถรักษาให้หายได้ แต่สามารถประคับประคองอาการได้ โดยแพทย์จะทำการเจาะเลือดไปตรวจ เพื่อจ่ายยาที่ช่วยยับยั้งการเกิดลิ่มเลือด ดังนั้นจึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างมากที่คุณควรพบแพทย์ทันทีหากสงสัยว่าตัวเองมีอาการของโรคหรือเกิดความผิดปกติอื่นๆ

อาการของเลือดข้น

โรคเลือดข้นอาจจะไม่แสดงอาการให้เห็นเลยเป็นเวลาหลายปี อาการในระยะแรกอาจจะไม่รุนแรงและอาจจะไม่สามารถรู้ได้เลยว่าเป็นโรคนี้ถ้าหากไม่ได้รับการตรวจเลือดอย่างต่อเนื่อง ถ้าหากรู้อาการตั้งแต่ระยะแรกๆ คุณสามารถทำการรักษาได้อย่างทันที และสามารถป้องกันไม่ให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือดและภาวะแทรกซ้อนอื่นๆได้ อาการทั่วไปของภาวะเลือดข้นได้แก่ : 
  • อาการเหนื่อยล้า
  • อาการคัน
  • หายใจลำบากเมื่อนอน
  • ไม่มีสมาธิ
  • น้ำหนักลด
  • ปวดท้อง
  • รู้สึกอิ่มงาย
  • มองเห็นไม่ชัดหรือเห็นภาพซ้อน
  • เวียนหัว
  • ความอ่อนแอ
  • เหงื่อออกมากผิดปกติ
  • มีเลือดออกหรือช้ำง่าย
ในขณะที่เป็นโรค เลือดของคุณจะข้นขึ้น มีเม็ดเลือดแดงมากขึ้น และอาการจะร้ายแรงมากขึ้น เช่น : อาการเหล่านี้สามารถเกิดจากภาวะอื่นๆได้ด้วย ดังนั้นคุณควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุของอาการที่เกิดได้อย่างถูกต้อง

สาเหตุของอาการและความเสี่ยงจากโรคเลือดข้น

โรคเลือดข้นมักเกิดขึ้นในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง และอาการของโรคโดยส่วนมากมักพบได้ในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี แต่ก็อาจเกิดขึ้นก่อนได้ การเปลี่ยนแปลงของยีนส์ JAK2 เป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรค ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมการผลิตโปรตีนที่ช่วยสร้างเม็ดเลือด โดยส่วนมากผู้ที่เป็นโรคเลือดข้นจากการกลายพันธุ์มีอยู่ประมาณ 95% การกลายพันธุ์สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ แต่บางครั้งก็เกิดขึ้นโดยที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับครอบครัวได้เลย ซึ่งปัจจุบันยังคงมีการวิจัยเพื่อหาสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมได้ ถ้าหากคุณมีความเสี่ยงของโรคเลือดข้น คุณสามารถมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงได้ ขึ้นอยู่กับการเกิดลิ่มเลือด ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือดในโรคเลือดข้นได้แก่ : เลือดที่ข้นมากกว่าปกติ จะทำให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือดได้ ไม่ว่าสาเหตุจะเกิดจากอะไรก็ตาม

การวินิจฉัยโรคเลือดข้น

เลือดข้น (Polycythemia Vera) : อาการ สาเหตุ การรักษา หากคุณคิดว่าคุณมีอาการของโรคเลือดข้น แพทย์ขะทำการตรวจนับเม็ดเลือด (CBC) เพื่อตรวจปัจจัยดังต่อไปนี้ :
  • จำนวนของเม็ดเลือดแดง
  • จำนวนของเม็ดเลือดขาว
  • จำนวนของเกล็ดเลือด
  • ปริมาณฮีโมโกลิน (โปรตีนที่มีหน้าที่ส่งออกซิเจน)
  • ปริมาณของพื้นที่ที่เซลล์เม็ดเลือดแดงดูดเข้าไปในเลือด เรียกว่า ฮีมาโตคริต
หากคุณมีอาการเลือดข้น เป็นไปได้ว่าคุณจะมีจำนวนเม็ดเลือดแดงและฮีโมโกลบินสูงกว่าปกติ และมีค่าฮีมาโตคริตสูงผิดปกติ คุณอาจจะมีจำนวนเกล็ดเลือดหรือจำนวนเม็ดเลือดขาวผิดปกติ หากผลการตรวจ CBC ของคุณมีความผิดปกติ แพทย์จะทำการตรวจเลือดเพื่อหาการกลายพันธุ์ของ JAK2 คนส่วนใหญ่ที่ได้รับการทดสอบมักมีผลออกมาเป็นบวก นอกจากการตรวจเลือดอื่นๆ และอาจจะจำเป็นต้องทำการตรวจชิ้นเนื้อไขกระดูกเพื่อยืนยันการวินิจฉัยเลือดได้ด้วย หากพบว่าคุณสามารถตรวจพบอาการของโรคได้เร็วเท่าไหร่ ก็สามารถทำการรักษาได้เร็วมากขึ้น เพื่อช่วยลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อน

การรักษาเลือดข้น

โรคเลือดข้นเป็นภาวะเรื้อรังที่ไม่สามารถรักษาได้ ซึ่งสามาถช่วยให้คุณจัดการกับอาการและภาวะแทรกซ้อนได้  โดยที่แพทย์จะเป็นคนวางแผนการรักษาตามความเสี่ยงของอาการที่เกิดขึ้น

วิธีการรักษาสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงต่ำ

การรักษาทั่วไปสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือดต่ำมีสองวิธีได้แก่ การรับประทานแอสไพริน และการเจาะเลือด
  • การใช้แอสไพรินในปริมาณต่ำ : แอสไพรินมีผลต่อเกล็ดเลือดและลดความเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือด
  • การเจาะเลือด เป็นการใช้เข็มเจาะเพื่อเอาเลือดจำนวนเล็กน้อยจากหลอดเลือดดำของคุณ ซึ่งช่วยลดจำนวนเม็ดเลือดแดง โดยทั่วไปการเจาะเลือดจะทำสัปดาห์ละครั้งในช่วยแรก และทุกๆสองถึงสามเดือน จนกว่าระดับฮีมาโตคริตของคุณจะเข้าใกล้ภาวะปกติมากที่สุด

การรักษาสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูง

นอกเหนือจากการใช้ยาแอาไพรินและการเจาะเลือดแล้ว ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงในการเกิดลิ่มเลือด จำเป็นที่จะต้องได้รับการรักษาเฉพาะทาง เช่น 
  • ไฮดรอกซียูเรีย (Droxia, Hydrea) เป็นยารักษามะเร็งที่ป้องกันไม่ให้ร่างกายของคุณสร้างเม็ดเลือดแดงมากเกินไป และช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดลิ่มเลือด
  • อินเตอร์เฟอรอนอัลฟา จะช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันของคุณ แข็งแรงพอที่จะจัดการกับเซลล์ไขกระดูกที่เป็นส่วนหนึ่งของอาการโรคเลือดข้น  และยังช่วยให้ร่างกายของคุณไม่สร้างเม็ดเลือดแดงจนมากเกินไป
  • บูซัลแฟน (Myleran). เป็นยาที่ใช้ในการรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว
  • รูโซลิทินิบ (Jakafi). เป็นยาชนิดเดียวที่ได้รับการรับรองอย.ของสหรัฐอเมริกา แพทย์จะจ่ายยาชนิดนี้ก็ต่อเมื่อคุณไม่สามารถอดทนต่อไฮดรอกซียูเรียได้

วิธีการรักษาอื่นๆ

แพทย์ของคุณอาจแนะนำให้คุณทำการรักษาด้วยวิธีอื่น วิธีบางอย่างอาจช่วยรักษาอาการคัน ซึ่งเป็นปัญหาต่อเนื่องและน่ารำคาญสำหรับหลายๆคนที่เป็นโรคนี้ โดยวิธีการรักษาได้แก่ :
  • การใช้ยาแก้แพ้
  • ยารักษาโรคซึมเศร้า
  • การส่องไฟด้วยรังสีอัลตราไวโอเลต

อาการของผู้ที่เป็นโรคเลือดข้น

โดยทั่วไปแล้ว อาหารสำหรับผู้ที่เป็นโรคเลือดข้นจะเหมือนกันอาหารทั่วไป แต่จำเป็นที่จะต้องมีความสมดุลของผักและผลไม้ ธัญพืช โปรตีนที่ไม่มีไขมันและนมไขมันต่ำ ปริมาณแคลอรี่ที่รับประทานเข้าไปในแต่ละวันเพื่อรักษาน้ำหนักให้แข็งแรง นอกจากนี้ยังจำเป็นที่จะต้องควบคุมปริมาณเกลือ อาหารที่มีโซเดียมสูง เพราะสามารถทำให้อาการของโรคเลือดข้นสามารถร้ายแรงขึ้นได้ นอกจากนี้ควรที่จะทานน้ำให้ได้อย่างเพียงพอเพื่อที่หลีกเลี่ยงการขาดน้ำและรักษาการไหลเวียนของเลือด 

การวินิจฉัยเลือดข้น

การพยากรณ์ของโรคขึ้นอยู่กับการรักษา การลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อน เช่น
  • myelofibrosis: ระยะที่มากที่สุดของโรค ทำให้เกิดแผลที่ไขกระดูก และทำให้ตับและม้ามขยายและสามารถหัวใจวายได้
  • หัวใจวาย
  • การอุดตันของหลอดเลือด
  • โรคหลอดเลือดของสมองตีบ เกิดจากการที่เลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ
  • เส้นเลือดอุดตันในปอด การมีก้อนเลือดในปอด
  • เสียชีวิตจากการมีเลือดออก มักจะเกิดจากการที่มีเลือดออกในกระเพาะอาหารหรือส่วนอื่นๆของทางเดินอาหาร
  • ความดันโลหิตสูงพอร์ทัล เกิดจากความดันโลหิตในตับซึ่งอาจนำไปสู่ความล้มเหลวของตับ
  • มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดไมอีลอยด์เฉียบพลัน เป็นมะเร็งเม็ดเลือดชนิดหนึ่งที่มีผลต่อเซลล์เม็ดเลือดขาว
ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเลือดข้นยังคงสามารถเกิดขึ้นได้ถึงแม้ว่าจะได้รับการรักษแล้ว แต่จะมีความเสี่ยงต่ำกว่าผู้ที่ไม่ได้รับการรักษา 5-15% โดยทั่วไปจะมีการพัฒนาของ myelofibrosis 15 ปีหลังจากที่ได้รับการรักษา น้อยกว่า 10% และมักเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว 20 ปี แต่โดยรวมแล้ว ผู้ที่ได้รับการรักษามักจะมีแนวโน้มที่ดีกว่าผู้ที่ไม่ได้รับการรักษา นอกจากนี้การดูแลตัวเองและสุขภาพ สามารถลดความเสี่ยงของการเกิดลิ่มเลือดได้ การเลิกสูบบุหรี่และการออกกำลังกาย เพื่อจัดการกับสภาวะอื่นๆ เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ

อายุของโรคภาวะเลือดข้น

อาการของโรคเลือดข้นจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล แต่ผู้ที่เข้ารับการรักษาแบบเป็นประจำ จะสามารถช่วยหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อนได้ การรักษาเป็นเรื่องสำคัญ ผู้ที่ไม่ได้รับการรักษา มักจะมีชีวิตอยู่ได้น้อยกว่า 2 ปี ขึ้นอยู่กับอายุและสุขภาพโดยรวมได้ด้วย แต่ผู้ที่ได้รับการรักษา สามารถมีชีวิตอยู่ได้อีกหลายสิบปี โดยระยะเวลาเฉลี่ยอยู่ที่ 20 ปี

การรักษาตัวด้วยตัวเอง

โรคเลือดข้นเป็นโรคที่หาได้ยาก ซึ่งเป็นโรคที่ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือด ที่เป็นอันตรายรวมไปถึงภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ถ้าหากคุณมีอาการของโรคเลือดข้น ควรได้รับการปรึกษาแพทย์อย่างใกล้ๆชิด เพื่อหาวิธีการรักษาที่เหมาะกับคุณ ซึ่งอาจรวมไปถึงการเจาะเลือดและการใช้ยาต่างๆ เพื่อให้คุณได้รับการดูแลและป้องกันการอุดตันของเส้นเลือดได้อย่างเร็วที่สุด

การอยู่กับภาวะเลือดข้น

ไม่มีวิธีรักษาภาวะเลือดข้น แต่การดูแลตัวเองที่ถูกต้องสามารถช่วยลดหรือชะลอปัญหาต่างๆ ได้  ควรออกกำลังกายเพื่อเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจและปรับปรุงการไหลเวียนของเลือด วิธีอื่นในการปรับปรุงการไหลเวียนโลหิตของคุณ ได้แก่ :
  • ยืดขาและข้อเท้าของคุณ
  • อยู่ห่างจากความร้อนสูง
  • ดื่มน้ำมากๆ
เงื่อนไขนี้อาจทำให้เกิดปัญหาการไหลเวียน ดังนั้นดูแลมือและเท้าของคุณ ปกป้องพวกเขาจากการบาดเจ็บจากความเย็นและความร้อน ตัวอย่างเช่น สวมรองเท้าเสมอแม้ในบ้านของคุณ สวมถุงมือและถุงเท้าที่อบอุ่นในช่วงอากาศเย็น

ประเด็นสำคัญเกี่ยวกับเลือดข้นที่ควรทราบ

  • เลือดข้นเป็นโรคเลือดหายากซึ่งมีเซลล์เม็ดเลือดทั้งหมดเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะเซลล์เม็ดเลือดแดง
  • การเพิ่มขึ้นของเม็ดเลือดทำให้เลือดข้นขึ้น
  • เลือดข้นอาจทำให้เกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือด นี้อาจทำให้เกิดจังหวะหรือทำลายเนื้อเยื่อและอวัยวะ
  • อาการต่างๆ ได้แก่ ขาดพลังงาน (เมื่อยล้า) หรืออ่อนแรง ปวดศีรษะ วิงเวียน หายใจถี่ การมองเห็นผิดปกติ เลือดกำเดาไหล เหงือกมีเลือดออก ประจำเดือนมามาก และรอยช้ำ
  • การรักษาอาจรวมถึงการใช้ยาและการเจาะเลือด ซึ่งเป็นขั้นตอนที่กำจัดเลือดส่วนเกินออกจากร่างกายของคุณ
  • ปฏิบัติตามแผนการรักษา ออกกำลังกาย ดื่มน้ำให้เพียงพอ และอยู่ห่างจากความร้อนจัดสามารถช่วยป้องกันหรือลดอาการได้

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/polycythemia-vera/diagnosis-treatment/drc-20355855
  • https://www.webmd.com/cancer/polycythemia-vera#1
  • https://www.nhs.uk/conditions/polycythaemia/
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด