ยาพาราเซตามอล Paracetamol คืออะไร
Paracetamol (ใช้ทางปาก/ทวารหนัก) (par RA cet a MOL) ชื่อสารเคมีที่ออกฤทธิ์: acetaminophen (a SEET a MIN oh fen)ยาพาราเซตามอล สรรพคุณ
พาราเซตามอล (อะเซตามิโนเฟน) เป็นยาแก้ปวด ลดไข้ ที่ยังไม่ทราบว่ากลไกในการออกฤทธิที่แน่นอนเป็นอย่างไร พาราเซตามอลถูกนำมาใช้ในการรักษาอาการต่างๆ เช่น ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ โรคไขข้อ ปวดหลัง ปวดฟัน เป็นหวัด และ เป็นไข้ และช่วยบรรเทาอาการปวดในโรคข้ออักเสบที่มีอาการไม่มาก แต่ยังมีการรายงานว่า สามารถรักษาอาการอักเสบและปวดบวมของข้อได้ มีการใช้ยานี้ในจุดประสงค์อื่น นอกเหนือไปจากจุดประสงค์หลักของการใช้ยาตามคู่มือการใช้ยานี้คำเตือนสำหรับการใช้ยา Paracetamol
ยาพาราเซตามอลมีหลายยี่ห้อและหลายรูปแบบ แต่ในบทความนี้จะกล่าวถึงบางยี่ห้อเท่านั้น ห้ามใช้ยานี้มากเกินกว่าขนาดที่แนะนำ การใช้ยาพาราเซตามอลเกินขนาดอาจทำให้เกิดอันตรายร้ายแรงได้ ปริมาณสูงสุดสำหรับการใช้พาราเซตามอลผู้ใหญ่ คือ ครั้งละ 1 กรัม (1000 มก.) และไม่เกินวันละ 4 กรัม (4000 มก.) การกินยาพาราเซตามอลในปริมาณที่มากกว่าขนาดที่แนะนำ อาจทำให้ตับของคุณเสียหายได้ หากคุณดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์มากกว่าวันละ 3 ขวด ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยานี้ และห้ามใช้พาราเซตามอลเกินวันละ 2 กรัม (2000 มก.) หากคุณเป็นโรคตับหรือมีประวัติของการเจ็บป่วยเป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง ควรควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้พาราเซตามอล หากยังไม่ได้ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร อย่าใช้ยาแก้ไอ ยาบรรเทาหวัด ยารักษาโรคภูมิแพ้ หรือยาแก้ปวดอื่นๆ ที่แพทย์ไม่ได้สั่ง การใช้ยาเหล่านี้ร่วมในเวลาเดียวกันอาจทำให้ได้รับพาราเซตามอลมากเกินขนาดโดยไม่ได้ตั้งใจ เนื่องจากยาเหล่านี้มีพาราเซตามอลผสมอยู่ ควรตรวจสอบดูว่ายาอื่น ๆ ที่คุณใช้อยู่ มีพาราเซตามอล อะเซตามิโนเฟน หรือ APAP ผสมอยู่หรือไม่ ซึ่งการตรวจสอบสามารถทำได้โดยการอ่านจากฉลากผลิตภัณฑ์ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ร่วมกับการกินยาพาราเซตามอลอาจทำให้มีความเสี่ยงต่อการที่ตับจะถูกทำลายเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น ควรหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ในขณะที่ใช้ยานี้ก่อนกินพาราเซตามอล
ผู้ที่แพ้ยาอะเซตามิโนเฟน หรือพาราเซตามอล ห้ามใช้พาราเซตามอล ให้ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อความปลอดภัยสำหรับการใช้ยานี้ หากคุณอยู่ในภาวะดังนี้:- เป็นโรคตับ
- มีประวัติของการเจ็บป่วยด้วยโรคพิษสุราเรื้อรัง
ควรใช้พาราเซตามอลอย่างไร
ควรใช้พาราเซตามอลตามขนาดที่กำหนดไว้บนฉลากยา หรือใช้ตามขนาดที่แพทย์กำหนดให้ อย่าใช้ยานี้เกินขนาดที่แนะนำไว้บนฉลากยา การใช้พาราเซตามอลเกินขนาดอาจทำให้เกิดอันตรายร้ายแรงได้ ปริมาณสูงสุดที่กำหนดให้ใช้สำหรับผู้ใหญ่ คือครั้งละ 1 กรัม (1,000 มก.) และไม่เกินวันละ 4 กรัม (4000 มก.) การใช้พาราเซตามอลมากเกินไปอาจทำให้ตับของคุณได้รับความเสียหายได้ หากคุณดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากกว่าวันละ 3 ขวด ควรปรึกษาแพทย์ก่อนกินพาราเซตามอล และห้ามกินยานี้เกินวันละ 2 กรัม (2000 มก.) สำหรับเด็ก ให้ใช้พาราเซตามอลสำหรับเด็ก และปฏิบัติตามคำแนะนำในการใช้ยาบนฉลากยาอย่างเคร่งครัด อย่าให้ยานี้แก่เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี โดยที่ไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์ การตวงยาพาราเซตามอลชนิดน้ำให้ตวงด้วยช้อนหรือถ้วยตวงแบบพิเศษไม่ใช่ช้อนโต๊ะที่ใช้ทั่วไป หากไม่มีอุปกรณ์สำหรับตวงยาให้สอบถามจากเภสัชกร ควรเขย่าขวดก่อนการใช้ยาทุกครั้ง และให้ปฏิบัติตามคำแนะนำที่ระบุไว้บนฉลากยา การใช้ยาพาราเซตามอลชนิดเม็ดฟู่ ให้ละลายเม็ดยา 1 ห่อในน้ำอย่างน้อย 0.118 ลิตร คนส่วนผสมนี้ให้เข้ากันแล้วดื่มทั้งหมดทันที และควรดื่มลงไปทั้งหมด จากนั้นให้เติมน้ำลงไปในแก้วเดียวกันอีกเล็กน้อย จากนั้นหมุนวนแก้วน้ำเบาๆ แล้วดื่มทันที ห้ามนำยาพาราเซตามอลชนิดที่ใช้เหน็บทวารหนัก มารับประทาน ให้ใช้สำหรับการเหน็บที่ทวารหนักเท่านั้น ก่อนและหลังการเหน็บยาต้องทำการล้างมือให้สะอาด ให้ถ่ายอุจจาระและปัสสาวะก่อนการใช้ยาพาราเซตามอลชนิดเหน็บ ก่อนเหน็บให้แกะกระดาษที่ห่อด้านนอกของเม็ดยาออกก่อน ไม่ควรถือยาเหน็บไว้นานเกินไปเนื่องจากยาอาจจะละลายติดมือได้ เพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุดจากการใช้ยาเหน็บ ให้นอนราบลงกับพื้นแล้วสอดปลายด้านแหลมเหน็บเข้าไปในทวารหนัก เหน็บยาเหน็บค้างไว้ประมาณ 2-3 นาที ตัวยาจะละลายอย่างรวดเร็ว เมื่อเหน็บยาแล้วคุณจะรู้สึกไม่สบายตัวเล็กน้อย หรืออาจไม่รู้สึกว่ามีสิ่งแปลกปลอมใดๆเลย ควรหลีกเลี่ยงการใช้ห้องน้ำหลังจากใส่ที่เหน็บยาแล้ว ให้หยุดใช้พาราเซตามอลและติดต่อแพทย์ หากมีอาการดังนี้:- หลังจากใช้ยาไปแล้ว 3 วันแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น
- ยังคงมีอาการปวด หลังจากการใช้ยามาแล้ว 7 วัน (หรือ 5 วันหากใช้เพื่อรักษาอาการในเด็ก) ;
- มีผื่นปรากฏขึ้นที่ผิวหนัง ปวดศีรษะอย่างต่อเนื่อง หรือมีผื่นแดง หรือบวม; หรือ
- หากมีอาการป่วยมากขึ้น หรือมีอาการใหม่ๆ เกิดขึ้น
จะเกิดอะไรขึ้น หากลืมรับประทานยา
เนื่องจากพาราเซตามอลมักจะใช้เมื่อมีจำเป็นเท่านั้น ผู้ที่ใช้ยานี้อาจไม่ได้ใช้ยาตามระยะเวลาที่กำหนดเอาไว้ หากคุณต้องใช้นี้ยาเป็นประจำ ให้กินยาในที่ลืมทันทีที่คุณจำได้ แต่หากเกือบถึงเวลาที่ต้องกินในครั้งต่อไป ให้กินยาครั้งต่อไปตามปกติ โดยที่ไม่ต้องเพิ่มขนาดของยาเพื่อชดเชยปริมาณยาที่ขาดหายไปจะเกิดอะไรขึ้นหากได้รับยาเกิดขนาด
หากคิดว่าคุณใช้ยานี้มากเกินไป ให้ขอความช่วยเหลือจากแพทย์ฉุกเฉิน สัญญาณแรกที่บ่งบอกว่ามีการใช้ยาพาราเซตามอลเกินขนาด ได้แก่ การเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียนปวดท้อง เหงื่อออก และสับสนหรืออ่อนแรง และอาจมีอาการอย่างอื่นเช่น ปวดท้องส่วนบน ปัสสาวะมีสีเข้ม และผิวหรือตาขาวเป็นสีเหลือง เกิดขึ้นได้ในภายหลังเมื่อใช้ยานี้ ควรหลีกเลี่ยงอะไร
ห้ามใช้ยาแก้ไอ ยาแก้หวัด ยาแก้โรคภูมิแพ้ หรือยาแก้ปวดอื่นๆ ที่ไม่ได้สั่งจ่ายโดยแพทย์ หากไม่ได้รับคำแนะนำหรือปรึกษากับแพทย์และเภสัชกรก่อน ตัวยาพาราเซตามอลพบอยู่ในยาหลายชนิด ดังนั้นหากมีการใช้ผลิตภัณฑ์บางอย่างร่วมกันคุณอาจได้รับพาราเซตามอลมากจนเกินขนาดโดยที่ไม่ได้ตั้งใจ ควรตรวจสอบว่ายาอื่น ๆ ที่คุณใช้อยู่นั้นมีพาราเซตามอล อะเซตามิโนเฟน หรือ APAP ผสมอยู่ด้วยหรือไม่ โดยการอ่านฉลากของผลิตภัณฑ์ การกินพาราเซตามอลร่วมกับแอลกอฮอล์อาจทำให้ตับได้รับความเสี่ยงจากการถูกทำลายมากขึ้น จึงควรหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ในขณะที่กินยานี้Paracetamol ผลข้างเคียงของการใช้ยา
หากคุณมีแพ้ยาพาราเซตามอล อาจมีอาการต่างๆ เช่น : ลมพิษ หายใจลำบาก ใบหน้าบวม ริมฝีปากบวม ลิ้นบวม หรือมีอาการบวมที่ลำคอ ให้หยุดใช้ยานี้ทันที และโทร 1669 เพื่อขอรับความช่วยเหลือฉุกเฉินทางการแพทย์ทันที ผลข้างเคียงที่รุนแรงของการแพ้ยาพาราเซตามอล ได้แก่- มีไข้ต่ำ ๆ มีอาการคลื่นไส้ปวดท้อง และเบื่ออาหาร
- ปัสสาวะมีสีเข้ม อุจจาระสีนวล; หรือ
- เป็นดีซ่าน (ผิวหนังหรือตาขาวเป็นสีเหลือง)
ประเภทของยาพาราเซตามอลและข้อมูลการใช้
ขนาดปกติของยาพาราเซตามอลสำหรับผู้ใหญ่ที่เป็นไข้:
แนวทางสำหรับการใช้ยาโดยทั่วไปคือ ใช้ยา 325 – 650 มก. ทุกๆ 4 – 6 ชั่วโมง หรือ ใช้ยาปริมาณ 1000 มก. ทุกๆ 6 – 8 ชั่วโมง โดยการให้ยาทางปากหรือทางทวารหนัก กินพาราเซตามอล 500 มก. ครั้งละ 1-2 เม็ด ทุกๆ 4 – 6 ชั่วโมงปริมาณปกติที่ใช้สำหรับเด็กที่เป็นไข้:
ยาชนิดรับประทาน Paracetamol Syrup
เด็กที่มีอายุ 1 เดือน หรือต่ำกว่า :ให้ใช้ยาครั้งละ 10 – 15 มก. ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. ทุกๆ 6 -8 ชั่วโมง ตามความจำเป็น เด็กที่มีอายุ 1 เดือน – 12 ปี: ให้ใช้ยาในปริมาณครั้งละ 10 – 15 มก.ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. ทุกๆ 4 – 6 ชั่วโมงตามความจำเป็น (สูงสุดไม่เกิน 5 ครั้งภายในเวลาใน 24 ชั่วโมง) ในกรณีที่มีไข้: เด็กอายุ 4 เดือน – 9 ปี: ให้เริ่มต้นใช้ยาในปริมาณครั้งละ 30 มก.ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. (รายงานโดยผลการศึกษาชิ้นหนึ่ง (จำนวนทั้งสิ้น = 121 ราย) เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการลดไข้ได้ดีกว่า ให้ใช้ยา 15 มก. ต่อน้ำหนักตัว1 กก. เด็กที่มีอายุ 12 ปี หรือต่ำกว่า: ให้ใช้ยาครั้งละ 325 – 650 มก. ทุกๆ 4 – 6 ชั่วโมง หรือ 1,000 มก. ทุกๆ 6 – 8 ชั่วโมง ปริมาณปกติที่ใช้บรรเทาความเจ็บปวดในเด็ก :ยาเหน็บทางทวารหนัก :
เด็กที่มีอายุ1 เดือนหรือน้อยกว่า : ให้ใช้ยาในปริมาณครั้งละ 10 – 15 มก.ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. ทุกๆ 6 – 8 ชั่วโมง ตามความจำเป็น เด็กที่มีอายุมากกว่า 1 เดือน – 12 ปี: ให้ใช้ยาในปริมาณครั้งละ 10 -15 มก. ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. ทุกๆ 4 – 6 ชั่วโมง ตามความจำเป็น (สูงสุดไม่เกิน 5 ครั้งภายในเวลา 24 ชั่วโมง) กรณีที่เป็นไข้: เด็กที่มีอายุ 4 เดือน – 9 ปี: ให้เริ่มต้นใช้ยาในปริมาณ 30 มก.ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. (รายงานโดยผลการศึกษาชิ้นหนึ่ง (จำนวนทั้งสิ้น = 121 ราย) เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการลดไข้ได้ดีกว่า ควรใช้ยาในปริมาณ 15 มก. ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. เด็กที่มีอายุ 12 ปี หรือมากกว่า : ให้ใช้ยาในปริมาณ 325 – 650 มก. ทุกๆ 4 – 6 ชั่วโมง หรือ 1000 มก. ทุกๆ 6 – 8 ชั่วโมงยาอื่นๆ จะมีผลต่อพาราเซตามอลอย่างไร
ยาอื่น ๆ อาจทำปฏิกิริยากับพาราเซตามอลได้ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับยาที่คุณต้องใช้ตามคำสั่งแพทย์ และใบสั่งยาวิตามิน แร่ธาตุ ผลิตภัณฑ์สมุนไพร และยาอื่นๆ ที่แพทย์ระบุให้ใช้ อย่าเริ่มใช้ยาใหม่โดยที่ยังไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์ข้อมูลเพิ่มเติม
โปรดอย่าลืมว่า ต้องเก็บยานี้และยาอื่น ๆ ทั้งหมดให้พ้นจากมือเด็ก อย่าแบ่งปันยาของคุณกับผู้อื่น และให้ใช้ยานี้ตามข้อบ่งชี้ที่กำหนดเท่านั้น ปรึกษากับผู้ให้บริการด้านการสาธารณสุขใกล้บ้านของคุณอยู่เสมอ เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลที่แสดงในหน้านี้ยังคงใช้ได้กับสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับคุณข้อเท็จจริงของยาพาราเซตามอล
พาราเซตามอลที่ใช้กันอย่างแพร่หลายซึ่งมีชื่อเสียงในด้านคุณสมบัติบรรเทาอาการปวดและลดไข้ นี่คือข้อเท็จจริงที่สำคัญบางประการเกี่ยวกับพาราเซตามอล:- เป็นยาที่ใช้งานทั่วไป:พาราเซตามอลมักใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดเล็กน้อยถึงปานกลาง (เช่น ปวดศีรษะ ปวดฟัน และปวดประจำเดือน) และลดไข้
- กลไกการออกฤทธิ์:แม้ว่ายังไม่เป็นที่เข้าใจกลไกที่แน่นอนของการทำงานของยาพาราเซตามอล แต่เชื่อกันว่าสามารถลดอาการปวดและไข้ได้โดยส่งผลต่อสมองบางส่วน ต่างจากยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) เช่น ไอบูโพรเฟน ตรงที่ไม่มีคุณสมบัติต้านการอักเสบ
- มีจำหน่ายที่ร้านขายยา:พาราเซตามอลมีจำหน่ายในหลายประเทศโดยไม่ต้องมีใบสั่งยาจากแพทย์ และพบได้ในชื่อแบรนด์และสูตรทั่วไปต่างๆ
- ชื่อที่แตกต่างกัน:ในสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น เป็นที่รู้จักกันทั่วไปว่าอะเซตามิโนเฟน ในขณะที่ในส่วนอื่นๆ ของโลก รวมถึงยุโรป เรียกว่าพาราเซตามอล
- ปลอดภัยสำหรับเด็ก:พาราเซตามอลมักใช้สำหรับเด็กเพื่อบรรเทาอาการปวดและมีไข้ มีสูตรที่เหมาะสมกับวัยซึ่งออกแบบมาเพื่อใช้ในเด็ก สิ่งสำคัญคือต้องปฏิบัติตามแนวทางการให้ยาสำหรับเด็กอย่างระมัดระวัง
- การเผาผลาญของตับ:พาราเซตามอลถูกเผาผลาญโดยตับเป็นหลัก การใช้มากเกินไปหรือใช้ยาเกินขนาดอาจทำให้ตับไม่สามารถประมวลผลได้มากเกินไป และอาจนำไปสู่ความเสียหายของตับได้
- ความเสี่ยงของการใช้ยาเกินขนาด:การใช้ยาพาราเซตามอลเกินขนาดอาจเป็นอันตรายอย่างยิ่งและอาจส่งผลให้ตับวายซึ่งอาจถึงแก่ชีวิตได้ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปฏิบัติตามปริมาณที่แนะนำอย่างระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการรับประทานเกินปริมาณที่แนะนำ
- ปฏิกิริยาระหว่างยา:พาราเซตามอลสามารถโต้ตอบกับยาบางชนิดได้ โดยเฉพาะยาที่ส่งผลต่อตับหรือมีพาราเซตามอลเป็นส่วนผสม ตรวจสอบฉลากยาผสมเสมอเพื่อหลีกเลี่ยงการใช้ยาซ้ำซ้อน
- การตั้งครรภ์และให้นมบุตร:โดยทั่วไปถือว่าพาราเซตามอลปลอดภัยสำหรับการใช้ระหว่างตั้งครรภ์และขณะให้นมบุตรเมื่อรับประทานในปริมาณที่แนะนำ อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือต้องปรึกษากับผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพเพื่อขอคำแนะนำ
- ปฏิกิริยาระหว่างแอลกอฮอล์:การผสมแอลกอฮอล์กับพาราเซตามอลสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อความเสียหายของตับได้ เนื่องจากทั้งสองอย่างจะถูกเผาผลาญโดยตับ โดยทั่วไปแนะนำให้หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ขณะรับประทานยาพาราเซตามอล
- อาการแพ้และผลข้างเคียง:บางคนอาจแพ้ยาพาราเซตามอล โดยมีอาการต่างๆ เช่น ผื่น คัน บวม หรือหายใจลำบาก ผลข้างเคียงที่พบบ่อยอาจรวมถึงอาการคลื่นไส้หรือปวดท้อง
นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา
- https://www.nhs.uk/medicines/paracetamol-for-adults/
- https://www.medicines.org.uk/emc/product/5164/pil#gref
- https://www.webmd.com/drugs/2/drug-57595/paracetamol-oral/details
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น